ตราสารหนี้ คืออะไร? กับ 4 เรื่องที่ควรเข้าใจ!

ตราสารหนี้ คือ
Table of Contents

ในช่วงที่สภาวะตลาดเกิดความผันผวนรุนแรงมาก ๆ นั้น หนึ่งในการลงทุนที่คุณน้าอยากแนะนำให้ทุกคนรู้จัก นั่นก็คือ ตราสารหนี้ หรือ Bonds ค่ะ เพราะตราสารหนี้มีความเสี่ยงต่ำ, สามารถให้ดอกเบี้ยที่สูงกว่าเงินฝากทั่ว ๆ ไป และที่สำคัญไม่ผันผวนรุนแรงตามสภาวะตลาดแน่นอนค่ะ ดังนั้น คุณน้าจึงเห็นได้ว่า ตราสารหนี้เป็นตัวเลือกที่ดีในการกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนนั่นเองค่ะ

ในวันนี้คุณน้าจะพามาส่อง ตราสารหนี้ คืออะไร? กับ 4 เรื่องที่ควรเข้าใจก่อนการลงทุน เพื่อให้ทุกคนสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับตราสารหนี้ได้มากยิ่งขึ้น จะมีเรื่องอะไรบ้างนั้น ไปหาคำตอบกัน!

ตราสารหนี้ คืออะไร?

ตราสารหนี้ คือ

ที่มา : jcomp

ตราสารหนี้ หรือ Bonds คือ ตราสารทางการเงินที่ผู้ถือหรือนักลงทุน มีสถานะเป็นเจ้าหนี้ และผู้ออกตราสารมีสถานะเป็นลูกหนี้นั่นเองค่ะ โดยตราสารหนี้จะมีการกำหนดระยะเวลาในการไถ่ถอน ซึ่งเรียกง่าย ๆ อีกอย่างว่า สัญญาที่ผู้ถือถือครองไว้ตามสัญญาที่กำหนด เมื่อครบกำหนดสัญญาผู้ถือจะได้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่ถือครองและจะได้รับเงินต้นคืน

จุดเด่นของตราสารหนี้

  • ความเสี่ยงต่ำ
  • ผลตอบแทนสม่ำเสมอ
  • ได้ดอกเบี้ยสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก

ข้อสังเกต

  • ตราสารหนี้ที่น่าลงทุนจะอยู่ในระดับ AAA ถึง BBB-
  • ตราสารหนี้กลุ่มเก็งกำไรจะอยู่ที่ระดับ BB+ ไปจนถึง D

อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้

  • ผลตอบแทนจะอยู่ที่เฉลี่ย 2%-5% โดยสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประมาณ 0.3%-0.5%

ตราสารหนี้สามารถซื้อได้ที่ไหน?

  • ตราสารหนี้สามารถหาซื้อได้จากสถาบันการเงิน และบริษัทหลักทรัพย์ที่มีการดำเนินการเกี่ยวกับธุรกรรมการค้าตราสารหนี้ เช่น บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เป็นต้น

4 ประเภทของตราสารหนี้ มีอะไรบ้าง?

โดยปกติแล้ว ตราสารหนี้จะแบ่งออกได้ 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ 1. ตราสารหนี้โดยภาครัฐและ 2. ตราสารหนี้โดยเอกชนค่ะ ซึ่งประเภทของตราสารหนี้สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้

1. หุ้นกู้เอกชน

ตราสารหนี้ คือ

ที่มา : Freepik

หุ้นกู้ (Debenture) คือ ตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชนค่ะ โดยมีจุดประสงค์เพื่อระดมทุนในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของบริษัท จุดเด่นของหุ้นกู้ คือ สามารถทำให้เงินลงทุนมีความมั่นคง, สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้, ได้รับอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าเงินฝากประจำ และหุ้นกู้มีการกระจายความเสี่ยงการลงทุนได้ดีอีกด้วยค่ะ

นอกจากนี้ บริษัทเอกชนต่าง ๆ จะเปิดให้จับจองหุ้นกู้ในระยะเวลาที่แตกต่างกันค่ะ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและนโยบายของแต่ละบริษัท โดยหุ้นกู้จะต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบข้อบังคับจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก่อนเสมอค่ะ

ตัวอย่างหุ้นกู้เอกชน

บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย จำกัด (มหาชน) ดำเนินกิจการประเภทธุรกิจให้บริการด้านหลักทรัพย์ โดยอัตราหุ้นกู้มีความน่าเชื่อถืออยู่ที่ BBB+ (tha) ซึ่งจำหน่ายหุ้นกู้รุ่นอายุ 2 ปี มีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 3.60% ต่อปี (จ่ายทุก ๆ 3 เดือน) เปิดจองวันที่ 25 สิงหาคม 2566 โดยบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย จำกัด (มหาชน) และมีผู้แทนผู้ถือหุ้น คือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ค่ะ

2. พันธบัตรรัฐบาล

ตราสารหนี้ คือ

ที่มา : currency.com

พันธบัตรรัฐบาล (Government Bonds) คือ ตราสารหนี้ที่ออกโดยหน่วยงานรัฐหรือรัฐวิสาหกิจค่ะ จุดเด่นของพันธบัตรรัฐบาล คือ เงื่อนไขไม่มีความซับซ้อนและมีความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้นกู้ แต่ผลตอบแทนก็ได้ต่ำกว่าหุ้นกู้เช่นกันค่ะ

นอกจากนี้ พันธบัตรรัฐบาลสามารถลงทุนได้ 2 ตลาด คือ 1. ตลาดแรก (Primary Market) เป็นการซื้อขายระหว่างสถาบันออกพันธบัตรและนักลงทุน และ 2. ตลาดรอง (Secondary Market) เป็นการซื้อขายพันธบัตรระหว่างนักลงทุนด้วยกันเอง เพราะเป็นการซื้อขายที่ผ่านโบรกเกอร์หรือมีการซื้อขายแบบตกลงกันเอง โดยนักลงทุนที่ต้องการขายพันธบัตรก่อนหมดสัญญาก็จะมาขายในตลาดรองกันค่ะ

ตัวอย่างพันธบัตรรัฐบาล

พันธบัตรออมทรัพย์รุ่นออมอุ่นใจของกระทรวงการคลัง ในงบประมาณปี 2566 รุ่นอายุ 7 ปี มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.70% ต่อปี จัดจำหน่ายในวันที่ 15-17 พฤษาคม 2566 และรุ่น 10 ปี มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.60% ต่อปี จัดจำหน่ายในวันที่ 22-23 พฤษภาคม 2566 ผ่านเคาน์เตอร์สาขาของธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ หรือผ่าน Mobile Application ของธนาคารสาขาดังกล่าว

3. ตั๋วเงินคลัง

ตราสารหนี้ คือ

ที่มา : money.howstuffworks.com

ตั๋วเงินคลัง (Treasury Bill) คือ หลักทรัพย์ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อกู้ยืมเงินระยะสั้นจากประชาชน หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ผู้ถือตั๋วเงินคลังจะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ของรัฐบาลนั่นเองค่ะ โดยปกติแล้วตั๋วเงินคลังจะมีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีเท่านั้น ซึ่งจุดเด่นของตั๋วเงินคลัง คือ มีความมั่นคงสูง, มีสภาพคล่องสูง, สามารถลงทุนในการเก็งกำไรได้ และผลตอบแทนของตั๋วเงินคลังจะมาในรูปแบบของส่วนลดหน้าตั๋ว

ตัวอย่างตั๋วเงินคลัง

นักลงทุน ก ซื้อตั๋วเงินคลังอายุ 1 ปี โดยราคาหน้าตั๋วอยู่ที่ 1,000 บาท แต่นักลงทุน ก ได้ราคามาที่ 900 บาท เมื่อนักลงทุน ก ถือครองตั๋วเงินคลังจนครบกำหนดตามสัญญาระบุไว้ นักลงทุน ก จะได้ผลตอบแทนอยู่ที่ 1,000 บาท แสดงว่านักลงทุน ก ได้กำไรจากการลงทุน 100 บาท ค่ะ

4. ตั๋วแลกเงิน

ตราสารหนี้ คือ

ที่มา : blog.globartis.com

ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) คือ การกำหนดการเรียกเก็บเงินผ่านเอกสารสั่งซื้อ นั่นก็คือ ตั๋วแลกเงิน ซึ่งตราสารนี้จะมีคำสั่งให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งจ่ายเงินให้แก่บุคคลหนึ่ง โดยผู้ออกตั๋วจะเป็นธนาคาร

นอกจากนี้ ตั๋วแลกเงินมี 2 ประเภท ได้แก่ 1. Sight Draft เป็นตั๋วเงินที่จ่ายเมื่อมีการทวงถามค่ะ ถ้าธนาคารได้รับ Draft นี้จะสั่งเรียกให้ผู้ซื้อเข้ามาจ่ายเงินและส่งมอบให้แก่ธนาคาร ส่วนประเภทที่ 2 คือ Time Draft คือ เป็นตั๋วเงินที่จ่ายเงินภายในระยะเวลาที่สัญญากำหนดไว้

ตัวอย่างตั๋วแลกเงิน

ตั๋วแลกเงินระยะสั้นของบริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 67/2566 มูลค่า 1,500 ล้านบาท โดยมีวันครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 และเปิดให้มีการเสนอขายในวันที่ 18 สิงหาคม 2566

ระยะเวลาของตราสารหนี้

ตราสารหนี้มีระยะเวลาที่แตกต่างกันค่ะ โดยปกติแล้วจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะเวลา ได้แก่ ตราสารหนี้ระยะสั้น, ตราสารหนี้ระยะกลาง และตราสารหนี้ระยะยาว ซึ่งความแตกต่างของตราสารหนี้ในแต่ละระยะเวลามีข้อแตกต่าง ดังต่อไปนี้

ตราสารหนี้ระยะสั้น

  • ตราสารหนี้ระยะสั้นจะมีระยะเวลาน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ปี

ตราสารหนี้ระยะกลาง

  • ตราสารหนี้ระยะกลางจะมีระยะเวลาอยู่ที่ 2-10 ปี

ตราสารหนี้ระยะยาว

  • ตราสารหนี้ระยะยาวจะมีระยะเวลาอยู่ที่ 10-20 ปี

ความแตกต่างระหว่างตราสารหนี้และตราสารทุน

ตราสารหนี้ คือ

ที่มา : Freepik

หลังจากที่ทุกคนทำความเข้าใจตราสารหนี้แล้ว ยังมีอีกตราสารหนึ่งที่นักลงทุนให้ความสนใจเช่นเดียวกัน นั่นก็คือ ตราสารทุนค่ะ โดยตราสารทุนจะมีความแตกต่างจากตราสารหนี้ เพราะตราสารทุน คือ ตราสารที่มีจุดประสงค์เพื่อระดมทุนหมุนเวียนในกิจการของบริษัท ดังนั้นแล้ว ผู้ที่มีสิทธิ์ในการถือครองตราสารทุนได้จะต้องเป็นประธานบริษัท หรือผู้มีสิทธิในสินทรัพย์และรายได้ของกิจการเท่านั้นค่ะ

นอกจากนี้ ผลตอบแทนของตราสารทุนจะมาในรูปแบบของเงินปันผล โดยการได้ผลตอบแทนมากหรือน้อยนั้นจะขึ้นอยู่กับกำไรและการเติบโตของบริษัทนั้น ๆ ค่ะ อีกทั้ง ตราสารทุนสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ 1. หุ้นสามัญ (Common Stock) และ 2. หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock)

ข้อดีและข้อจำกัดของตราสารหนี้

สำหรับตราสารหนี้ (Bonds) สามารถแบ่งข้อดีและข้อจำกัด ได้ดังต่อไปนี้

ข้อดี

  • มีการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนได้ดี
  • ได้รับผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ
  • เหมาะสำหรับการลงทุนในะยะยาว
  • สามารถรักษาเงินต้นได้
  • เป็นการออมเงินที่ดี
  • มีความเสี่ยงต่ำ
  • สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ (ตลาดรอง)

ข้อจำกัด

  • ความเสี่ยงทางด้านสภาพคล่อง
  • อัตราเงินเฟ้อ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยสูงได้
  • ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้
  • ความเสี่ยงทางด้านเครดิต


สรุป ตราสารหนี้

สรุปได้ว่า ตราสารหนี้ หรือ Bonds เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับนักลงทุนมือใหม่เป็นอย่างมากค่ะ เพราะคุณน้าเห็นว่า ตราสารหนี้เป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำและยังได้รับผลตอบแทนที่สม่ำเสมออีกด้วยค่ะ

อย่างไรก็ตาม ก่อนลงทุนทุกครั้ง นักลงทุนควรศึกษาการลงทุนทางด้านตราสารหนี้โดยตรงค่ะ เพื่อที่เราจะสามารถวิเคราะห์ได้ว่า ตราสารหนี้ประเภทไหนเหมาะกับเป้าหมายการลงทุนของคุณ เพราะมูลค่าในการลงทุนแต่ละครั้งก็ค่อนข้างลงทุนสูงค่ะ ดังนั้น คุณควรพิจารณาการลงทุนให้รอบคอบมากที่สุด ด้วยความห่วงใยจากทีมงานคุณน้าพาเทรด

“สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับตราสารหนี้ (Bonds) ได้ที่ ก.ล.ต.


สำหรับใครที่สนใจอ่านรีวิวโบรกเกอร์ : Review Brokers

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

Picture of khunnaphatrade
khunnaphatrade
Recent Post
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 มกราคม 2568
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 มกราคม 2568 By คุณน้าพาเทรด

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 มกราคม 2568 ซึ่งมีข่าวสำคัญจากสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า ราคาทองคำจะปรับตัวลงไปทดสอบแนวรับที่ 2,690 ดอลลาร์อีกครั้งค่ะ

Exness ดีไหม? รีวิวทุกข้อสำคัญ ปี 2025
Exness ดีไหม? รีวิวทุกข้อสำคัญ ฉบับอัปเดตปี 2025

วันนี้คุณน้าเลยอยากจะหยิบยกโบรกเกอร์ Exness มาให้ทุกคนได้อ่านกัน เผื่อว่าท่านใดที่สนใจหาข้อมูลโบรกเกอร์อยู่จะใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ

Day Trade คืออะไร เรียนรู้การเป็นเทรดเดอร์รายวันแบบละเอียด
Day Trade คืออะไร? เรียนรู้การเป็นเทรดเดอร์รายวันแบบละเอียด

Day Trade (เดย์เทรด) คือ กลยุทธ์สำหรับเทรดเดอร์ที่ชื่นชอบการเปิดปิดออเดอร์ภายในวันเดียว ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นนักเก็งกำไรระยะสั้น