TFEX คืออะไร? ทำกำไรยังไงในช่วงตลาดหุ้นขาลง

TFEX คืออะไร?
Table of Contents

TFEX คืออะไรนะ? ทำไมเราถึงต้องทำความรู้จัก TFEX สินทรัพย์ที่ยืดหยุ่น สามารถสร้างผลตอบแทนได้ทุกสภาวะตลาด TFEX มีประโยชน์และความเสี่ยงยังไงบ้าง แล้วจะเริ่มต้นเล่น TFEX ควรมีเงินเท่าไหร่ วันนี้คุณน้าจะพาไปติดตามกันค่ะ

*หมายเหตุ : บทความนี้เป็นเพียงบทความให้คำแนะนำเท่านั้น ไม่ใช่บทความชักชวนการลงทุนแต่อย่างใด โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน

คุณน้าพาเทรด

TFEX คืออะไร? TFEX (Thailand Futures Exchange) หรือตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า คือ ศูนย์กลางการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าประเภทฟิวเจอร์ส (Futures) และออปชัน (Options) ที่ดำเนินงานอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต. โดย TFEX มีการซื้อขายสินค้าที่หลากหลาย ทั้งอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับตราสารทุน ตราสารหนี้ สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น สินค้าเกษตร โลหะมีค่า รวมถึงดัชนี ไปจนถึงอัตราการแลกเปลี่ยนสกุลเงินเลยค่ะ

ในตลาด TFEX จะมีสินทรัพย์ทางการเงินให้เลือกเทรดหลัก ๆ อยู่ 2 อย่าง ดังนี้ค่ะ

สัญญาฟิวเจอร์ส (Futures) เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ผู้ซื้อและผู้ขายมาทำการตกลงเพื่อซื้อขายสินค้ากันค่ะ โดยจะแตกต่างจากการซื้อขายทั่วไป คือ มีการตกลงเพื่อทำสัญญากันก่อนจากนั้นค่อยส่งมอบสินค้าและจ่ายเงินในภายหลัง ซึ่งในสัญญาก็จะมีการกำหนดราคาไว้ตั้งแต่แรก แถมระบุวันที่ต้องส่งมอบสินค้าและรายละเอียดสำคัญอื่น ๆ ด้วยนะคะ ผู้ซื้อและผู้ขายไม่จำเป็นต้องถือสัญญาไว้จนครบกำหนด แต่อาจซื้อขายเปลี่ยนมือกันได้ผ่านตลาด TFEX ค่ะ ซึ่งการเทรดฟิวเจอร์สจะทำให้เราสามารถลงทุนได้ทั้งตลาดขาขึ้นและขาลงนั่นเองค่ะ

Long Position คืออะไร?

Long Position คือ การเปิดสถานะซื้อในตลาด TFEX โดยเทรดเดอร์คาดหวังว่าสินทรัพย์หรือผลิตภัณฑ์ที่เทรดจะมีราคาเพิ่มขึ้นในอนาคต เมื่อสินทรัพย์หรือผลิตภัณฑ์ราคาขึ้นตามที่คาดหวังเทรดเดอร์จะได้กำไรจากการเทรดค่ะ

Short Position คืออะไร?

Short Position คือ การเปิดสถานะขายในตลาด TFEX โดยเทรดเดอร์คาดหวังว่าสินทรัพย์หรือผลิตภัณฑ์ที่เทรดจะมีราคาลดลงในอนาคต เมื่อสินทรัพย์หรือผลิตภัณฑ์ราคาลงตามที่คาดหวังเทรดเดอร์จะได้กำไรจากการเทรดค่ะ

ตลาด TFEX เทรดอะไรได้บ้าง?

สัญญาออปชัน (Options) คือ สัญญาที่ผู้ซื้อได้รับ “สิทธิซื้อ” หรือ “สิทธิขาย” สินทรัพย์อ้างอิงตามราคา จำนวน และระยะเวลาที่ระบุไว้จากผู้ขาย โดยผู้ซื้อต้องจ่าย “ค่าพรีเมียม” (Premium) และสามารถเลือกที่จะใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้ แต่ผู้ขายมีหน้าที่ปฏิบัติตามสัญญาหากผู้ซื้อขอใช้สิทธิ โดยออปชันแบ่งตามลักษณะการใช้สิทธิได้เป็น 2 แบบ ได้แก่

Call Options คืออะไร?

Call Options หรือสิทธิในการซื้อ คือ การที่เทรดเดอร์ซื้อสัญญา Call Options โดยคาดหวังว่าสินทรัพย์ที่อ้างอิงนั้นจะราคาเพิ่มขึ้นในอนาคต ดังนั้นเทรดเดอร์สามารถใช้สิทธิในการซื้อทรัพย์สินที่ราคาต่ำกว่าราคาตลาด และใช้สิทธิที่ถือนั้นทำกำไรจากส่วนต่างของราคาได้ค่ะ

Put Options คืออะไร?

Put Options หรือสิทธิในการขาย คือ การที่เทรดเดอร์ซื้อสัญญา Put Options โดยคาดหวังว่าสินทรัพย์ที่อ้างอิงนั้นจะราคาลดลงในอนาคต ดังนั้นเทรดเดอร์สามารถใช้สิทธิในการขายทรัพย์สินที่ราคาสูงกว่าราคาตลาด และใช้สิทธิที่ถือนั้นทำกำไรจากส่วนต่างของราคาได้ค่ะ

ในการเทรดตลาด TFEX นั้นมีสินค้าหลากหลายประเภท ที่เทรดเดอร์สามารถเทรดทำกำไรได้ โดยสินค้าในตลาด TFEX จะแบ่งเป็น 5 ประเภท มีดังนี้ค่ะ

ตลาด TFEX มีสินค้าอะไรบ้าง?

1. ตราสารทุน (Equity)

ตราสารทุน (Equity Instruments) ในตลาด TFEX หมายถึงสัญญาอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับตราสารทุน เช่น หุ้นหรือดัชนีหุ้น ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนใน TFEX ได้แก่

  • SET50 Index Futures
  • SET50 Index Options
  • Single Stock Futures
  • Sector Index Futures

2. โลหะมีค่า (Precious Metal)

โลหะมีค่า (Precious Metal) ในตลาด TFEX หมายถึงการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับโลหะมีค่า เช่น ทองคำ แร่เงิน ซึ่งเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในการลงทุนและป้องกันความเสี่ยง ผลิตภัณฑ์หลักที่เกี่ยวข้องกับโลหะมีค่าใน TFEX ได้แก่

  • Gold Futures 
  • Gold-D
  • Gold Online Futures
  • Silver Online Futures 

3. ตราสารหนี้ (Interest Rate)

ตราสารหนี้ (Interest Rate) ในตลาด TFEX หมายถึงสัญญาอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับสินค้ากลุ่มอัตราดอกเบี้ย โดยในตลาด TFEX จะมี 2 ประเภท นั่นคือ อัตราดอกเบี้ย BIBOR ประเภท 3 เดือน และ พันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี

  • Interest Rate Futures (3M BIBOR Futures และ 5Y Government Bond Futures)

4. สินค้าเกษตร (Agriculture)

สินค้าเกษตร (Agriculture) ในตลาด TFEX หมายถึงการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับสินค้าเกษตรด้วยเช่นกัน ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ช่วยให้นักลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกษตรสามารถบริหารความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสินค้าเกษตร รวมถึงใช้ในการเก็งกำไร ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรใน TFEX ได้แก่

  • Rubber Futures (RSS3D Futures และ RSS3 Futures)
  • Japanese Rubber Futures

5. อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน (Currency Futures)

อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน (Currency Futures) ในตลาด TFEX หมายถึงการซื้อขายผลิตภัณฑ์อนุพันธ์ที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินเพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถบริหารความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และเพื่อใช้ในการเก็งกำไร ผลิตภัณฑ์หลักที่เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนใน TFEX ได้แก่

  • USD Futures
  • EUR/USD Futures
  • USD/JPY Futures

1. ลักษณะสัญญา

  • สัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นไม่มีมูลค่าในตัวเอง แต่มีมูลค่าตามสินค้าที่อ้างอิง
  • สัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีอายุจำกัด แต่การถือหุ้นสามัญไม่มีอายุจำกัด
  • สัญญาซื้อขายล่วงหน้าใช้เงินลงทุนน้อยกว่าการซื้อสินทรัพย์โดยตรง
  • การซื้อขายสัญญาล่วงหน้าทำให้สามารถรับรู้กำไร/ ขาดทุน ได้ตลอดชั่วโมงการซื้อขาย

2. การวางเงินหลักประกัน

การซื้อขายอนุพันธ์เทรดเดอร์ไม่ต้องจ่ายเงินเต็มจำนวนตามมูลค่าสัญญา แต่จะวางเพียงแค่เงินหลักประกันประมาณ 5-20% ของมูลค่าสัญญาหรือตามที่โบรกเกอร์กำหนด โดยในบัญชีอนุพันธ์จะต้องมีเงินเพียงพอ อย่างน้อยเท่ากับหลักประกันขั้นต้น (Initial Margin) ของสินค้านั้นก่อนการส่งคำสั่งซื้อขายค่ะ

การวาง Margin

อัตราหลักประกัน 3 ระดับ

  • ระดับที่ 1 หลักประกันขั้นต้น (Initial Margin – IM) : จำนวนหลักประกันขั้นต่ำที่โบรกเกอร์เป็นผู้กำหนดค่ะ 
  • ระดับที่ 2 หลักประกันรักษาสภาพ (Maintenance Margin – MM) : หลักประกันที่เป็นเหมือนเกณฑ์เฝ้าระวังซึ่งอยู่ที่ 70% ถ้าระดับเงินประกันอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์จะเทรดเดอร์จะต้องนำเงินประกันมาวางเพิ่มค่ะ (Margin Call) โดยจะต้องอยู่ในระดับ IM ด้วยค่ะ
  • ระดับที่ 3 หลักประกันปิดสถานะ (Force Close Margin – FM) : อยู่ที่ 30% ของ IM ในกรณีที่ตลาดมีความผันผวนสูง จนทำให้บัญชีอนุพันธ์มีผลขาดทุนมาก และเงินประกันลดลงจนต่ำกว่าระดับ Force Close Margin เทรดเดอร์จะถูกเรียกให้ต้องนำเงินประกันมาวางเพิ่มเช่นกัน ซึ่งหากไม่สามารถดำเนินการได้ตามระยะเวลาที่กำหนดก็จะถูกบังคับปิดสถานะรับรู้ผลขาดทุนทันทีค่ะ

3. สัญลักษณ์ซื้อขายในตลาด TFEX

ในการซื้อขายอนุพันธ์ TFEX มีการกำหนดสัญลักษณ์หรือชื่อย่อของสินค้า เพื่อความสะดวกในการซื้อขายและเป็นไปตามหลักสากล โดยชื่อย่อนั้นจะประกอบด้วยข้อมูลสำคัญ คือ ชื่อย่อสินค้า ตามด้วยเดือนและปีที่สัญญาครบกำหนดอายุค่ะ

สัญลักษณ์ซื้อขายในตลาด TFEX

คุณน้าหาข้อมูลเปิดบัญชี TFEX มาให้แล้วนะคะ สามารถทำง่าย ๆ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้ค่ะ

1. เลือกโบรกเกอร์ที่สนใจ

เทรดเดอร์เองสามารถเลือกโบรกเกอร์ได้จาก การบริการ, เครื่องมือ, บทวิเคราะห์, กิจกรรม ไปจนถึงค่าธรรมเนียมเลยค่ะ

2. เปิดบัญชี TFEX ออนไลน์

เทรดเดอร์สามารถเปิดบัญชี TFEX ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ง่ายและสะดวกมากเลยค่ะ เพียงแค่ใช้ บัตรประชาชน / Statement ตามที่โบรกเกอร์กำหนด เพียงเท่านี้ก็สามารถเปิดบัญชีได้แล้วค่ะ

3. เปิดบัญชี TFEX สำเร็จ พร้อมซื้อขาย

หากทำตาม 2 ขั้นตอนแรกที่คุณน้าแนะนำ เพียงเท่านี้ก็สามารถเทรด TFEX ได้แล้วค่ะ

หากได้เปิดบัญชีตามที่คุณน้าแนะนำแล้ว วันนี้คุณน้าจะพาทุกท่านมาดูวิธีการเล่น TFEX กันนะคะ

TFEX เล่นยังไง?

1. เปิดบัญชีอนุพันธ์กับทางโบรกเกอร์

การที่เทรดเดอร์จะส่งคำสั่งซื้อและขาย Futures หรือ Options เทรดเดอร์ต้องส่งคำสั่งผ่านโบรกเกอร์ที่เป็นสมาชิกของตลาด TFEX ดังนั้นเทรดเดอร์ต้องเปิดบัญชีอนุพันธ์ก่อน ซึ่งบัญชีอนุพันธ์จะสามารถซื้อได้ทุกสินค้าในตลาด TFEX

2. ช่องทางการซื้อขาย

การที่เทรดเดอร์เปิดบัญชีอนุพันธ์กับทางโบรกเกอร์แล้ว แต่ละโบรกเกอร์จะมีแพลตฟอร์มเทรด TFEX ไม่เหมือนกันบางโบรกเกอร์มีแพลตฟอร์มเทรด TFEX ของตัวเอง บางโบรกเกอร์สามารถเทรด TFEX ได้ผ่าน Streaming ด้วยนะคะ

3. การฝากถอนเงินบัญชี TFEX

การฝากถอนบัญชี TFEX จะดำเนินการโดยผ่านธนาคารที่ให้บริการฝากเงินเข้าบัญชี TFEX ซึ่งปัจจุบันสามารถฝากถอนได้ผ่าน Mobile Banking

4. วางเงินประกันก่อนการซื้อขาย

การซื้อขายอนุพันธ์เทรดเดอร์ไม่ต้องจ่ายเงินเต็มจำนวนตามมูลค่าสัญญา แต่จะวางเพียงแค่เงินหลักประกันประมาณ 5-20% ของมูลค่าสัญญาหรือตามที่โบรกเกอร์กำหนดค่ะ

5. คำสั่งซื้อขาย

การซื้อขายในตลาด TFEX ใช้วิธีการจับคู่คำสั่งระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย คล้ายกับการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยการส่งคำสั่งซื้อขาย Futures และ Options ใน TFEX จะต้องระบุรายละเอียดดังนี้ค่ะ

  • ต้องการ Long หรือ Short 
  • สินค้าประเภทไหน
  • สัญญาหมดวันที่เท่าไร
  • ต้องการที่ “ราคา” เท่าใด
  • ต้องการซื้อขายจำนวนกี่สัญญา

การเปิด / ปิดสถานะสัญญา TFEX

สัญญา Futures และ Options จะมีการระบุเดือนที่หมดอายุ และในแต่ละสินค้าอาจจะมีสัญญาหลายช่วงอายุให้ผู้ลงทุนเลือกซื้อขาย เมื่อผู้ลงทุนมีการเปิดสถานะเอาไว้และต้องการจะปิด ผู้ลงทุนจะต้องปิดสัญญาฝั่งตรงกันข้ามกับที่ผู้ลงทุนถือ โดยเป็นสัญญาที่มีเดือนหมดอายุเดือนเดียวกัน

6. ติดตามผลกำไรและขาดทุน

เมื่อคำสั่งซื้อขายสำเร็จแล้ว เทรดเดอร์ควรติดตามสถานะสัญญา ผลกำไรและขาดทุน รวมถึงหลักประกันอย่างสม่ำเสมอด้วยนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

การเทรดในตลาด TFEX นั้นเป็นการเทรดโดยการใช้ Leverage และมีการวางเงินทุน (Margin) ซึ่งสามารถทำกำไรได้สองทางทั้งขึ้นและลง แต่กระนั้นการเทรด TFEX ก็มีทั้งข้อดีและข้อจำกัดอยู่มากค่ะ

  • ใช้บริหารความเสี่ยงได้ เพราะเทรดเดอร์สามารถทำกำไรตอนสินทรัพย์ราคากำลังลงได้ค่ะ
  • TFEX สามารถเก็งกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง
  • ใช้เงินลงทุนค่อนข้างน้อย เพราะการเทรด TFEX นั้นสามารถใช้ Leverage ได้ ทำให้เทรดเดอร์สามารถวางหลักประกันของสัญญาซึ่งอยู่ที่ 5-20% ของมูลค่าสัญญาได้ค่ะ 
  • สภาพคล่องสูง ตัวอย่างสินค้าในตลาด TFEX ที่มีสภาพคล่องสูงเช่น SET50 Index Futures และ Gold Futures ค่ะ 
  • ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ในตลาด TFEX ไม่ว่าจะเป็น Futures, Options และอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับสินทรัพย์หลากหลายประเภทค่ะ
  • การเทรดในตลาด TFEX มีการใช้ Leverage ทำให้เทรดเดอร์มีโอกาสได้กำไรสูงและสูญเสียเงินทั้งหมดได้เช่นกัน
  • การเทรดในตลาด TFEX นอกจากจะต้องทำความเข้าใจผลิตภัณฑ์ ยังต้องทำความเข้าใจวันหมดอายุ และต้องมี Money Management อีกด้วย
  • ความผันผวนในตลาดอนุพันธ์นั้นสูงมาก ทำให้เทรดเดอร์อาจได้รับความเสี่ยงอย่างไม่คาดคิดได้ค่ะ
  • การเทรด TFEX นั้นจะต้องทำตามกฎระเบียบและข้อกำหนดที่เข้มงวด ซึ่งอาจสร้างความยุ่งยากให้เทรดเดอร์ได้ค่ะ
  • การเทรด TFEX นั้นมีค่าใช้จ่าย เช่น ค่าคอมมิชชันและค่าธรรมเนียม
  • เทรดเดอร์ต้องมีการวางเงินประกันจึงสามารถเทรดในตลาด TFEX ได้ ซึ่งถ้าเทรดเดอร์วางแผนไม่ดี เทรดเดอร์อาจต้องวางเงินประกันเพิ่มหรือสูญเสียเงินทั้งหมดได้เลยค่ะ

📢 การเทรดตราสารทุน สินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงสกุลเงินต่าง ๆ นอกจากการเทรดบนตลาด TFEX เทรดเดอร์สามารถเทรดสินทรัพย์ต่าง ๆ บนสัญญา CFD ได้นะคะ


โบรกเกอร์แนะนำจากคุณน้า

ประเภทบัญชี : Standard, Standard+, Raw และ Pro
ฝากขั้นต่ำ : $10
Free Swap : ใช่

โบรกเกอร์ IUX
โบรกเกอร์ IUX


TFEX กับ Forex ต่างกันยังไง?

TFEX กับ Forex มีความแตกต่างกันในเรื่องของเวลาเปิดปิด สินทรัพย์ในการเทรด การสนับสนุนของภาครัฐ และขนาดของ Leverage คุณน้าได้เปรียบเทียบมาให้แล้วดังตารางนี้ค่ะ

ความแตกต่างTFEXForex
เวลาเปิด-ปิดเปิด 09.45 – 16.55 น. ตามเวลา SET กรณีเป็นสินทรัพย์ในประเทศไทย ถ้าเป็น Gold Futures เปิด Day 09.45 – 16.55 น. และ Night 18.50 – 03.00 น. (วันถัดไป) เปิด 5 วันต่อสัปดาห์ ปิดวันเสาร์และอาทิตย์เปิดตลอด 24 ชั่วโมง
เปิด 5 วันต่อสัปดาห์
ปิดวันเสาร์และอาทิตย์
สินทรัพย์ที่ให้เทรดมีความหลากหลาย ทั้งดัชนีหุ้น SET50, หุ้นรายตัว, โลหะมีค่า, สินค้าทางการเกษตร และการแลกเปลี่ยนสกุลเงินสินทรัพย์จะมีแค่สกุลเงินที่จับคู่กัน โดยจะมีคู่เงินหลัก คู่เงินรอง และคู่เงินทางเลือก 
การสนับสนุนของภาครัฐมีการสนับสนุนจากภาครัฐอยู่ภายใต้ข้อกำหนด SETไม่มีการสนับสนุนจากภาครัฐแต่มีใบอนุญาตสากลที่สามารถยอมรับกันได้ทั่วโลก 
ขนาดของ Leverageมี Leverage ไม่เยอะ ซึ่งการวาง Margin จะอยู่ที่ 5-20% ของขนาดสัญญาที่เปิด มี Leverage ให้เลือกหลากหลายตั้งแต่ 1:1, 1:100 ไปจนถึง 1:3000 หรือไม่จำกัด
ภูมิภาคในการเทรดต้องเปิดบัญชีในประเทศไทยรวมถึงต้องทำตามข้อกำหนดของทาง SET ด้วยค่ะสามารถเปิดบัญชีได้ทั่วโลกไม่จำเป็นแค่ประเทศไทย หรือตามที่นโยบายของโบรกเกอร์กำหนดค่ะ

เปิดบัญชี TFEX ขั้นต่ำเท่าไร?

การเปิดบัญชีขั้นต่ำของบัญชี TFEX จะแล้วแต่โบรกเกอร์ที่เทรดเดอร์สนใจ ซึ่งขั้นต่ำอาจจะเริ่มตั้งแต่ 0 บาท ไปจนถึง 1,000,000 บาทเลยค่ะ

TFEX 1 สัญญากี่บาท?

จำนวนเงินของการเทรด TFEX 1 สัญญานั้นขึ้นอยู่กับสินทรัพย์ที่เทรดเดอร์เลือกด้วยค่ะ โดยคุณน้าจะยกตัวอย่างเป็น SET50 Futures สัญลักษณ์ S50H25 การเทรด 1 สัญญา การวางเงินของเทรดเดอร์จะอยู่ที่ 6,720 บาทต่อ 1 สัญญา หลักประกันรักษาสภาพอยู่ที่ 4,723.20 บาท และหลักประกันบังคับปิดสัญญาอยู่ที่ 2,035.20 บาทค่ะ (ข้อมูล S50H25 ณ วันที่ 03/07/24) โดยแต่ละสินทรัพย์จะมีจำนวนเงินต่อสัญญาที่แตกต่างกันนะคะ เทรดเดอร์ควรหมั่นตรวจเช็กมูลค่าของสัญญาและหลักประกันของตัวเองด้วยนะคะ

กำไรจากการเทรด TFEX เสียภาษีหรือไม่?

กำไรจากการเทรด TFEX นั้นบุคคลทั่วไปจะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีบนส่วนต่างราคาซื้อขาย (Capital Gain Tax) แต่สำหรับนิติบุคคล จะมีภาระภาษีจากส่วนต่างราคาซื้อขาย โดยในการซื้อขายจะไม่มีภาษีหัก ณ ที่จ่าย แต่นิติบุคคล จะต้องนำรายได้ในส่วนนี้ไปรวมเพื่อคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามอัตราที่กฎหมายกำหนดค่ะ

Futures กับ TFEX ต่างกันอย่างไร?

ความแตกต่างระหว่าง TFEX และ Futures คือ TFEX เป็นของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขณะที่ Futures เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ตลาด TFEX ให้บริการค่ะ

TFEX คือ ศูนย์กลางการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าประเภทฟิวเจอร์ส (Futures) และออปชัน (Options) ที่ดำเนินงานภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต. โดย TFEX มีการซื้อขายสินค้าหลากหลาย ครอบคลุมทั้งอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับตราสารทุน ตราสารหนี้ สินค้าโภคภัณฑ์ ไปจนถึงอัตราการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน 

สิ่งที่ทำให้การเทรด TFEX น่าสนใจ คือ การที่สามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง มีการใช้ Leverage โดยการวางเงิน Margin ค่ะ แต่อย่างไรก็ดี เทรดเดอร์จะต้องหมั่นตรวจสอบราคาของสินทรัพย์หลังเปิดสัญญา หลักประกันของสัญญา รวมถึงการมี Money Management ของเทรดเดอร์เองนะคะ เพราะถ้าวางแผนไม่ดีอาจจะโดน Margin Call ได้เลยค่ะ บทความหน้าคุณน้าจะพาไปทำความรู้จักสินทรัพย์หรือวิธีการลงทุนต่าง ๆ อย่าลืมติดตามกันด้วยนะคะ


สำหรับใครที่สนใจอ่านรีวิวโบรกเกอร์ : Review Brokers

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

khunnaphatrade
khunnaphatrade
Recent Post
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 16 ธันวาคม 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 16 ธันวาคม 2567 By คุณน้าพาเทรด

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 16 ธันวาคม 2567 ซึ่งมีข่าวสำคัญจากสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า ราคาทองคำมีโอกาสปรับตัวลงไปที่บริเวณ 2,645-2,647 ดอลลาร์ และเกิด QM ค่ะ

แนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุน ต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส
แนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุน ต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส

คุณน้าจะขอแนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุนต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส ไปกับตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นสหรัฐฯ เพื่อเป็นการเอาฤกษ์เอาชัย ก่อนจะเริ่มต้นปี 2025 กันค่ะ

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 11 ธันวาคม 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 11 ธันวาคม 2567 By คุณน้าพาเทรด

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันพุธที่ 11 ธันวาคม 2567 กันค่า วิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ เมื่อวานนี้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นกว่า 33 ดอลลาร์