ลงทุนหุ้นควรรู้ ROA คืออะไร ? เกณฑ์การเลือกหุ้นที่น่าสนใจเข้าพอร์ต

ลงทุนหุ้นควรรู้ ROA คืออะไร ? เกณฑ์การเลือกหุ้นที่น่าสนใจเข้าพอร์ต
Table of Contents

เราจะรู้ได้อย่างไรว่า หุ้นตัวไหนน่าลงทุน แล้วหุ้นตัวไหนน่าซื้อเก็บไว้? ทุกคนมีเกณฑ์ในการเลือกหุ้นยังไงกันบ้างคะ? ในบทความนี้ คุณน้าจะพาทุกคนไปรู้จัก ROA อัตราส่วนทางการเงินที่ช่วยให้เราสามารถเลือกซื้อหุ้นได้ง่ายขึ้นค่ะ มันคืออะไร, มีความสำคัญอย่างไร, หาได้จากที่ไหน และมีข้อจำกัดหรือไม่ ไปติดตามพร้อมกันค่ะ!

ROA คืออะไร?

ROA ย่อมาจาก Return On Asset คือ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ โดยการนำสินทรัพย์ทั้งหมดและกำไรสุทธิมาประเมินความสามารถในการทำกำไรโดยรวมของบริษัทหนึ่ง ๆ ค่ะ หากพูดง่าย ๆ ก็คือ การหาว่าบริษัทหนึ่ง ๆ จะสามารถนำสินทรัพย์ทั้งหมดของตัวเองไปต่อยอดเพื่อทำกำไรได้เท่าไหร่นั่นเองค่ะ

โดยค่า ROA จะถูกคำนวณออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ ซึ่งค่าเฉลี่ยของแต่ละอุตสาหกรรมจะมีความแตกต่างกัน เพราะมีรูปแบบการดำเนินธุรกิจ, การสร้างรายได้ ตลอดจนกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันค่ะ

ROA คืออะไร

สูตรวิธีการคำนวณ ROA คิดยังไง?

ในการจะหาค่า ROA มีสูตรวิธีการคำนวณ 2 แบบ ดังนี้ค่ะ

สูตรวิธีการคำนวณ ROA ที่ 1
ROA = (รายได้สุทธิ / สินทรัพย์รวม) x 100

สูตรวิธีการคำนวณ ROA ที่ 2
ROA = (รายได้สุทธิ / สินทรัพย์เฉลี่ยรวม)

โดยตัวแปรแต่ละตัว คือ

  • รายได้สุทธิ (Net Income) คือ รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทั้งหมดแล้ว
  • สินทรัพย์รวม (Total Assets) คือ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าและสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดทั้งหมดของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่จับต้องได้หรือจับต้องไม่ได้ก็ตาม โดยสามารถคำนวณสินทรัพย์รวมของบริษัทได้จากรายการในงบดุล ซึ่งจะมีการเปิดเผยผ่านงบการเงินในแต่ละงวดค่ะ 

สูตรในการคำนวณสินทรัพย์รวมของบริษัท 

สินทรัพย์รวม (Total Assets) = หนี้สินทั้งหมด (Total Liabilities) + ส่วนของเจ้าของ (Shareholders Equity) + (รายได้สุทธิ) – งวด

สูตรในการคำนวณสินทรัพย์เฉลี่ยรวมของบริษัท

สินทรัพย์เฉลี่ยรวม (Average Asset) = (สินทรัพย์ต้นงวด + สินทรัพย์ปลายงวด) / 2

ตัวอย่างการคำนวณ ROA

ตัวอย่างเช่น หุ้นของบริษัท A มีงบการเงินที่ชี้ให้เห็นว่า สินทรัพย์รวมของบริษัทมีทั้งหมด 2,300 ล้านบาท โดยมีกำไรสุทธิในปีดังกล่าว อยู่ที่ 145 ล้านบาท ดังนั้น หากต้องการคำนวณ ROA ของหุ้น A จะได้ดังนี้ค่ะ

ROA = (รายได้สุทธิ / สินทรัพย์รวม) x 100

หากใช้สูตรในการคำนวณดังกล่าว ROA จะเท่ากับ (145 ล้านบาท / 2,300 ล้านบาท) x 100 = 6.3%

จากผลลัพธ์แสดงว่า หุ้นบริษัท A จะมีค่า ROA อยู่ที่ 6.3% ซึ่งหมายความว่า บริษัทดังกล่าวมีความสามารถในการสร้างรายได้และบริหารเงินอยู่ค่ะ

ROA เท่าไหร่ถึงจะดี?

ROA จะถูกคำนวณออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์เพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณาผลลัพธ์ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ตัวเลข ROA เท่าไหร่ถึงจะดีนะ เรามาดูกันค่ะ

ROA สูง

หากตัวเลข ROA สูง (ROA > 0) แสดงว่า บริษัทนั้นมีความสามารถในการทำกำไรสูง การบริหารจัดการเงินและผลประกอบการเป็นไปได้ด้วยดี ดังนั้น จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในการเข้าไปลงทุน

ROA ต่ำ

หากตัวเลข ROA ต่ำ (ROA < 0) แสดงว่า บริษัทนั้นมีความสามารถในการทำกำไรต่ำ การบริหารจัดการเงินและผลประกอบการยังไม่ดีพอ ดังนั้น จึงอาจจะยังไม่ใช่ช่วงเวลาที่ดีนักในการเข้าไปลงทุนกับบริษัทดังกล่าวค่ะ

วิธีดู ROA ง่าย ๆ เพียง 3 ขั้นตอน มือใหม่สามารถทำตามได้!

หากทุกคนเห็นตัวเลขต่าง ๆ แล้วท้อแท้หรือยอมแพ้ คุณน้าขอร้องว่าอย่าเพิ่งค่ะ เพราะความจริงแล้วเราสามารถหาค่า ROA ได้ง่าย ๆ เพียงเข้าไปที่เว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ที่มีการสรุปให้ตั้งแต่สินทรัพย์รวม, หนี้สิน, กำไร, รายได้สุทธิ ตลอดจนค่า ROA หรือแม้แต่อัตราส่วนทางการเงินอื่น ๆ ด้วยเช่นกันค่ะ

ขั้นตอนที่ 1 เข้าไปที่เว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

วิธีดู ROA ง่าย ๆ เพียง 3 ขั้นตอน มือใหม่สามารถทำตามได้

ขั้นตอนที่ 2 ค้นหาชื่อหุ้นที่สนใจใน “ช่องค้นหาหลักทรัพย์, ข่าว, เนื้อหา”

วิธีดู ROA ง่าย ๆ เพียง 3 ขั้นตอน มือใหม่สามารถทำตามได้
ในตัวอย่าง คุณน้าลองค้นหาหุ้น SIRI ของบริษัทแสนสิริ จำกัด (มหาชน) ค่ะ

ขั้นตอนที่ 3 กดเลือก “งบการเงิน” เพื่อดูข้อมูล

วิธีดู ROA ง่าย ๆ เพียง 3 ขั้นตอน มือใหม่สามารถทำตามได้

เพียงแค่ 3 ขั้นตอนเท่านั้น เราก็รู้ตัวเลข ROA รวมถึงตัวเลขสำคัญทางการเงินอื่น ๆ ของแต่ละบริษัทแล้วค่ะ แถมยังมีย้อนหลัง 4 ปี ให้เปรียบเทียบด้วย สะดวกและง่ายมาก ๆ เลยใช่ไหมล่ะคะ? เพราะฉะนั้น อย่าลืมดูงบการเงินก่อนซื้อขายหุ้นกันด้วยนะคะ!

ประโยชน์และข้อจำกัดของ ROA

โดยสรุปแล้ว ROA มีประโยชน์และข้อจำกัดในการใช้งาน ดังนี้ค่ะ

ประโยชน์

  • ประเมินผลการดำเนินงานของบริษัทนั้น ๆ ว่า มีการบริหารจัดการเงินอย่างไร สามารถสร้างรายได้ให้บริษัทได้มากน้อยแค่ไหน
  • ประเมินสินทรัพย์ที่บริษัทนั้น ๆ ถือครองอยู่ว่า มีจำนวนมากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับบริษัทอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
  • ประเมินความสามารถในการทำกำไรของบริษัทนั้น ๆ ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน เพื่อหาตัวเลือกที่มีความโดดเด่นและน่าสนใจในการลงทุน

ข้อจำกัด

  • ไม่สามารถนำไปเทียบนอกกลุ่มธุรกิจหรืออุตสาหกรรมได้ เพราะสินทรัพย์รวมและแนวทางการหารายได้แตกต่างกัน
  • สูตรในการคำนวณมีข้อจำกัด เพราะมีการนับรวมถึงหนี้สินภายในด้วย

สรุป ROA คืออะไร

ROA ถือเป็นอัตราส่วนทางการเงินที่มีความน่าสนใจมากเลยใช่ไหมล่ะคะ? เพราะมันทำให้เราสามารถประเมินได้ว่า หุ้นตัวนี้น่าลงทุนหรือไม่ แถมยังทำให้เราเห็นถึงศักยภาพในการบริหารงานและเงินของบริษัทนั้น ๆ ได้ด้วย เนื่องจากแต่ละบริษัทมีต้นทุนที่ไม่เท่ากัน ดังนั้น การหาค่า ROA จึงสามารถช่วยให้เรารู้ว่า บริษัทไหนกันแน่ที่มีความสามารถในการต่อยอดเพื่อสร้างเงิน เหมาะที่จะลงทุนและฝากฝังเงินของเราไว้ด้วยนั่นเองค่ะ และแม้ทุกคนจะไม่เก่งคำนวณแต่ก็ยังสามารถดูค่า ROA รวมถึงงบการเงินได้ง่าย ๆ จากช่องทางที่คุณน้าได้สอนไปค่ะ

อย่างไรก็ดี ความรู้ถือเป็นสิ่งสำคัญในการลงทุน ดังนั้น อย่าลืมศึกษาหาความรู้และเพิ่มพูนทักษะเพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุนกันด้วยนะคะ วิธีที่คุณน้านำมาเสนอครั้งนี้ง่ายมาก ๆ ด้วย หวังว่าเมื่ออ่านจบแล้ว ทุกคนจะสามารถเลือกหุ้นดี ๆ ที่น่าลงทุนได้ด้วยตัวเองค่ะ


ขอบคุณข้อมูลจาก : Mtrading และหลักทรัพย์บัวหลวง

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

Picture of khunnaphatrade
khunnaphatrade
Recent Post
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 มกราคม 2568
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 มกราคม 2568 By คุณน้าพาเทรด

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 มกราคม 2568 ซึ่งมีข่าวสำคัญจากสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า ราคาทองคำจะปรับตัวลงไปทดสอบแนวรับที่ 2,690 ดอลลาร์อีกครั้งค่ะ

Exness ดีไหม? รีวิวทุกข้อสำคัญ ปี 2025
Exness ดีไหม? รีวิวทุกข้อสำคัญ ฉบับอัปเดตปี 2025

วันนี้คุณน้าเลยอยากจะหยิบยกโบรกเกอร์ Exness มาให้ทุกคนได้อ่านกัน เผื่อว่าท่านใดที่สนใจหาข้อมูลโบรกเกอร์อยู่จะใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ

Day Trade คืออะไร เรียนรู้การเป็นเทรดเดอร์รายวันแบบละเอียด
Day Trade คืออะไร? เรียนรู้การเป็นเทรดเดอร์รายวันแบบละเอียด

Day Trade (เดย์เทรด) คือ กลยุทธ์สำหรับเทรดเดอร์ที่ชื่นชอบการเปิดปิดออเดอร์ภายในวันเดียว ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นนักเก็งกำไรระยะสั้น