NAV คืออะไร ? : เทคนิคการเลือกกองทุนรวมด้วย NAV

NAV คืออะไร ? : เทคนิคการเลือกกองทุนรวมด้วย NAV
Table of Contents

สายกองทุนรวมห้ามพลาด! NAV คืออะไร หลายท่านอาจจะรู้กันอยู่แล้ว แต่ในบทความนี้ คุณน้าจะพาไปทบทวนความรู้กันอีกรอบ พร้อมทั้งบอกเทคนิคการเลือกกองทุนรวมด้วย NAV ซึ่งจะช่วยให้นักลงทุนมือใหม่สามารถเลือกกองทุนได้ง่ายขึ้น จะมีวิธีการดูและเลือกยังไงบ้างนะ ต้องไปดูกันค่ะ

ทบทวนความรู้เกี่ยวกับกองทุนรวม


NAV (Net Asset Value) คืออะไร ?

NAV ย่อมาจาก Net Asset Value คือ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิทั้งหมดของกองทุนรวม ตลอดจนผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่กองทุนรวมได้รับจากการลงทุน ณ ช่วงเวลาหนึ่ง หักออกด้วยค่าใช้จ่ายและหนี้สินค่ะ

ตัวอย่างทรัพย์สินของกองทุนรวม

  • ค่าธรรมเนียม 
  • ค่านายทะเบียน 
  • ค่าผู้ดูแลผลประโยชน์
  • อื่น ๆ

NAV ออกกี่โมง ?

โดยปกติ บลจ. จะเป็นผู้คำนวณและเปิดเผย NAV ให้นักลงทุนทราบ ดังกรณีต่อไปนี้ค่ะ

  • กรณีกองทุนปิด : จะมีการเปิดเผยให้นักลงทุนทราบในวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์
  • กรณีกองทุนเปิด : จะมีการเปิดเผยให้นักลงทุนทราบทุกสิ้นวันทำการที่มีการซื้อขายหน่วยลงทุน

บลจ. จะมีการเปิดเผย NAV หลังปิดตลาด ประมาณช่วง 2 ทุ่ม บนหน้าเว็บไซต์ พร้อมกับระบุว่า เป็น NAV ของวันไหนค่ะ ซึ่งราคาที่ปรากฏนั้นจะเป็นราคาของวันก่อนหน้าที่จะประกาศ 1 วันเสมอค่ะ

อย่างไรก็ดี หากเป็นกองทุนรวมต่างประเทศ อาจมีการเปิดเผย NAV ช้ากว่าบ้านเรา 1 – 3 วันทำการ เนื่องจากความแตกต่างในเรื่องของ Time Zone และเวลาเปิด-ปิดตลาดค่ะ ซึ่งหากต้องการทราบ NAV ของกองทุนต่างประเทศ ทุกคนก็อย่าลืมตรวจสอบรายละเอียดของกองทุนให้ดีกันด้วยนะคะ

ตัวอย่าง NAV ของกองทุน
ตัวอย่าง NAV ของกองทุน

ทำไม NAV ออกช้า ?

สาเหตุที่ NAV มีการอัปเดตล่าช้า นั่นก็เป็นเพราะว่า บลจ. จะต้องคำนวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนตามราคาตลาด (Mark to Market) ในแต่ละวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 – 15.30 น. เพื่อสะท้อนมูลค่าที่เป็นจริงตามสภาวะตลาดที่ได้เปลี่ยนแปลงไปนั่นเองค่ะ

NAV ดูยังไง ?

โดยทั่วไปแล้ว ราคาที่ บลจ. ประกาศนั้นจะอยู่ในรูปของ “มูลค่าต่อหน่วยลงทุน” ดังนั้น หากต้องการทราบ NAV ที่แท้จริงจะต้องคำนวณด้วยสูตรต่อไปนี้ค่ะ

สูตรในการคำนวณ NAV

NAV = (มูลค่าทรัพย์สินตามราคาตลาด + ผลตอบแทนสะสมและเงินสด) – (ค่าใช้จ่ายและหนี้สินของกองทุน)

NAV ต่อหน่วย คืออะไร ?

มูลค่าต่อหน่วย หรือ NAV ต่อหน่วย (NAV Per Unit) คือ มูลค่าของทรัพย์สินต่อ 1 หน่วยลงทุน พูดง่าย ๆ ก็คือ การทำให้อยู่ในรูปราคาต่อชิ้นนั่นเองค่ะ

สูตรในการคำนวณ NAV ต่อหน่วย

NAV ต่อหน่วย = มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ / จำนวนหน่วยลงทุน

  • หาก NAV ต่อหน่วยสูงกว่าราคาที่ลงทุน นั่นแปลว่า คุณได้กำไรค่ะ
  • หาก NAV ต่อหน่วยต่ำกว่าราคาที่ลงทุน นั่นแปลว่า คุณขาดทุนค่ะ

NAV เริ่มต้นที่เท่าไหร่ ?

เมื่อกองทุนรวมในประเทศไทยเปิดจำหน่ายเป็นครั้งแรก จะมี NAV เริ่มต้นที่ราคา 10 บาท ซึ่งหากกองทุนใดมีราคาต่ำกว่า 10 บาท นั่นหมายความว่า การบริหารงานของกองทุนนั้นไม่ดีค่ะ

ปัจจัยที่ส่งผลต่อ NAV มีอะไรบ้าง ?

  1. การนำราคาปิดของกองทุนมาประเมิน ซึ่งแต่ละที่มีเกณฑ์ต่างกัน
  2. การซื้อขายทรัพย์สินภายในกองทุน
  3. คุณภาพของทรัพย์สินภายในกองทุน
  4. ผลตอบแทนที่ยังไม่ได้รับ
  5. หนี้สินและค่าใช้จ่ายของกองทุน
  6. จำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายและไถ่ถอน
  7. การจ่ายเงินปันผล

NAV มีประโยชน์อย่างไร ?

  • บอกมูลค่าที่แท้จริงของกองทุนรวม
  • บอกปริมาณการซื้อขายกองทุนรวม
  • สะท้อนผลการดำเนินงานของกองทุนรวม
  • บอกว่ากองทุนนั้นขาดทุนหรือได้กำไร
  • ใช้เปรียบเทียบกับกองทุนอื่น ๆ ที่มีนโยบายคล้ายกัน

ข้อควรระวังเกี่ยวกับ NAV

  • NAV ต่ำ ไม่ได้แปลว่า “ถูก”
  • NAV สูง ไม่ได้แปลว่า “แพง”

อีกทั้ง NAV ที่มีตัวเลขต่ำ (ราคาถูก) ก็ไม่ใช่สิ่งที่ใช้การันตีว่า กองทุนนั้นดีและสามารถทำกำไรได้ ทุกคนยังจำเป็นต้องศึกษานโยบายการลงทุน ตลอดจนพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ให้รอบด้านก่อนตัดสินใจลงทุนเช่นเดียวกับสินทรัพย์อื่น ๆ ค่ะ

สรุป NAV คืออะไร ใช้เลือกกองทุนรวมได้ยังไงนะ ?

NAV คือ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิทั้งหมดของกองทุนรวม ซึ่งช่วยให้เราทราบว่า กองทุนนั้นมีมูลค่าที่แท้จริงเท่าไหร่, มีการบริหารอย่างไร และได้กำไรหรือขาดทุนกันแน่ ซึ่งมันทำให้เราสามารถนำไปใช้เป็นตัวเปรียบเทียบในการเลือกกองทุนนั่นเองค่ะ แต่อย่างไรก็ดี ตัวเลข NAV ต่ำ ไม่ได้แปลว่าถูก สูงก็ไม่ได้แปลว่าแพง ดังนั้น อย่าลืมศึกษาการดำเนินงานของกองทุนให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุนกันด้วยนะคะ


ขอบคุณข้อมูลจาก : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บทความในการเทรดที่น่าสนใจ : มือใหม่หัดเทรด

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

khunnaphatrade
khunnaphatrade
Recent Post
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 By คุณน้าพาเทรด

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งไม่มีมีข่าวสำคัญ สำหรับวันนี้คาดการณ์ว่า ราคาทองคำปรับตัวขึ้นไปที่บริเวณ 2,660-2,670 ดอลลาร์

รีวิว Titan FX เปิดทุกคุณสมบัติที่ควรรู้
รีวิว Titan FX เปิดทุกคุณสมบัติที่ควรรู้ ปี 2024

กลับมาพบกับคุณน้ารีวิวกันอีกแล้วนะคะ ในวันนี้ คุณน้าจะพาทุกคนไปอ่านรีวิวโบรกเกอร์ Titan FX ในทุกคุณสมบัติที่เทรดเดอร์ควรรู้ ไม่ว่าจะเป็นใบอนุญาต, ประเภทบัญชี, ค่าสเปรด, การฝากถอนเงิน รวมถึงจุดเด่นและจุดแข็งของ Titan FX กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปหาคำตอบกันเลย!