Market Sentiment คืออะไร? ทำไมเทรดเดอร์ควรให้ความสำคัญ

Market Sentiment ของตลาดคืออะไร
Table of Contents

สำหรับโลกแห่งการลงทุนของเรา คงปฏิเสธไม่ได้กันนะคะว่า มีหลายเหตุผลและปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาแต่ละตราสาร ไม่ว่าจะเป็น นโยบายทางการเงิน, ข่าว, เศรษฐกิจ, การเมือง และการนำเข้า-ส่งออก เป็นต้น ในวันนี้คุณน้าจะพาทุกคนมารู้จักอีกหนึ่งปัจจัยที่สามารถส่งผลต่อราคาตราสารในทุกตลาดได้ อย่าง Market Sentiment นั่นเองค่ะ

ว่าแต่ความหมายที่แท้จริงของ Market Sentiment คืออะไร? มีผลอย่างไรต่อตลาดการลงทุน? เราควรจะให้ความสนใจกับ Market Sentiment มากน้อยแค่ไหน? บทความนี้มีคำตอบค่ะ

คุณน้าพาหาคำตอบเรื่อง Sentiment ของตลาด


คำนิยามของคำว่า Sentiment คืออะไร?

Market Sentiment คืออะไร

ในบริบทของตลาดการลงทุนนั้น “Sentiment” หมายถึงแนวทางความคิด และความรู้สึกของนักลงทุนในตลาด ซึ่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อหรือขายสินทรัพย์ทางการเงินค่ะ โดยเป็นความรู้สึกหรืออารมณ์โดยรวมที่นักลงทุนและเทรดเดอร์มีต่อตลาดนั้น ๆ ซึ่งในแต่ละตลาดการลงทุนก็จะมีมุมมองที่แตกต่างออกไป

ดังนั้น Market Sentiment คือ ความเชื่อมั่นที่นักลงทุนมีต่อตลาด โดยสามารถบ่งบอกได้ว่า นักลงทุนส่วนใหญ่มีมุมมองต่อตลาดในทิศทางไหน

โดยปกติแล้ว Market Sentiment จะแบ่งมุมมองของตลาดออกเป็น 3 เทรนด์ ดังนี้ค่ะ

เชื่อว่าตลาดอยู่ในสภาวะขาขึ้น (Uptrend)

หากนักลงทุนหรือเทรดเดอร์มีความเชื่อมั่นสูงว่า สินทรัพย์จะมีราคาสูงขึ้นในอนาคต ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ราคาสินทรัพย์มีแนวโน้มอยู่ในสภาวะขาขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น ปรากฏการณ์ Bitcoin Halving ที่จะเกิดขึ้นในทุก ๆ 4 ปี นักลงทุนมีความเชื่อมั่นว่าราคาของ Bitcoin จะพุ่งสูงขึ้นในช่วงที่เกิดการ Halving ค่ะ เนื่องจากรางวัลจากการขุดบิตคอยน์จะลดลงครึ่งหนึ่ง แต่มูลค่าของบิตคอยน์นั้นเท่าเดิม ทำให้ความต้องการหรืออุปสงค์นั้นเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคา Bitcoin เพิ่มขึ้นนั่นเองค่ะ

เชื่อว่าตลาดอยู่ในสภาวะขาลง (Downtrend)

หากนักลงทุนแสดงถึงความกังวล โดยคาดการณ์ว่า ราคาสินทรัพย์จะมีราคาลดลงในอนาคต อาจทำให้ราคาสินทรัพย์นั้น ๆ มีแนวโน้มอยู่ในสภาวะขาลงได้เช่นกันค่ะ

ยกตัวอย่างเช่น หุ้นไทย มีแนวโน้มติดลบในรอบ 10 เดือน เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยยังคงมีโมเดลที่คล้ายเดิม คือ เน้นพึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลัก ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยยังไม่เติบโตเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตลาดหุ้นไทยจะไม่เติบโตเท่าที่ควร แต่มีสินทรัพย์ประเภทหนึ่งที่ราคามีแนวโน้มสูงขึ้นนั่นก็คือ ทองคำ เพราะเมื่อใดก็ตามที่นักลงทุนเกิดความกังวลต่อเศรษฐกิจ นักลงทุนจะหันไปลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ ทำให้ราคาทองคำมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นนั่นเอง

เชื่อว่าตลาดยังหาทิศทางไม่ได้ (Sideway)

ในกรณีนี้ เราจะเห็นได้เลยว่ากราฟจะไหลในแบบ Sideway ที่ค่อนข้างจะอึดอัดหัวใจสำหรับเทรดเดอร์หน่อย ๆ เพราะราคาจะวิ่งน้อยมาก ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่า Sentiment ของตลาดจะยังคงหาทิศทางไปไม่ได้ ซึ่งอาจกำลังรอข้อมูลเพิ่มเติมหรือสัญญาณที่ชัดเจนก่อน (อย่างเช่น ข่าว) ซึ่งจะช่วยให้นักลงทุนสามารถตัดสินใจได้ว่า ตลาดอยู่ในเทรนด์ไหนค่ะ

โดยปกติแล้ว เทรดเดอร์และนักวิเคราะห์จะใช้เครื่องมือและตัวบ่งชี้ต่าง ๆ เพื่อวัดความเชื่อมั่นของตลาด เช่น แบบสำรวจ, ดัชนีความเชื่อมั่น, ข้อมูลการซื้อขาย Options และการวิเคราะห์ทางเทคนิคเข้ามาช่วยเพื่อตัดสินใจว่า ทิศทางตลาดควรเป็นยังไง

*คำเตือน : ความเชื่อมั่นของตลาด หรือ Market Sentiment อาจไม่แน่นอนและผันผวนค่อนข้างมาก ซึ่งบางครั้งก็นำไปสู่ความสวิงของกราฟราคา ดังนั้น เทรดเดอร์อย่าลืมตั้ง TP และ SL อยู่เสมอนะคะ


ปกติแล้ว Market Sentiment มีผลมากน้อยแค่ไหน?

ต้องบอกเลยค่ะว่า ปกติแล้วเรามักจะเจอกับ Market Sentiment อยู่แล้ว เพราะเมื่อมีปัจจัยอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารใด ๆ เข้ามา ตลาดก็มักจะมองไปในทิศทางเดียวกันเป็นส่วนใหญ่

📢 แต่สิ่งหนึ่งที่เทรดเดอร์ควรพึงระวัง Market Sentiment ไว้ให้ดีก็คือ วันที่ไม่มีข่าวสำคัญ

🔍 ทำไมวันที่ไม่มีข่าวสำคัญเราควรระวัง Market Sentiment เป็นพิเศษ ?

เหตุผลที่ Market Sentiment จะมีผลมากในวันที่ไม่มีข่าว นั่นก็เป็นเพราะว่าเราต้องมาเดาทิศทางอารมณ์ของตลาดด้วยตัวเอง โดยที่ไม่มีข่าวชี้นำนั่นเองค่ะ

เราคงจะพอเห็นภาพว่า โดยปกติหากตัวเลขว่างงานออกมาสูง นั่นแปลว่าเศรษฐกิจอาจจะย่ำแย่กว่าเดิมเพราะมีคนว่างงานมากขึ้นใช่มั้ยล่ะคะ นั่นแปลว่าสินทรัพย์ปลอดภัยอาจจะมั่นคงกว่าในแง่ของการลงทุน ซึ่งก็จะทำให้ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้น นี่ก็เป็นตัวอย่างของการที่เรามองทิศทางจากข่าวและเศรษฐกิจค่ะ

ลองนึกภาพช่วงหรือวันที่ไม่มีข่าวหรือเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นสิคะ นั่นแปลว่าเราไม่มีปัจจัยสำคัญชี้นำ และเราต้องมาเดาอารมณ์หรือความคิดของนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดล้วน ๆ เลย

Market Sentiment มีในทุกตลาดหรือไม่?

Market Sentiment มีในทุกตลาดหรือไม่

ที่มารูปภาพ : TradingView

จากที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่า Market Sentiment มีผลต่อตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเวลานั้น ๆ แล้วอย่างนี้หลายคนคงเกิดความสงสัยว่า แล้ว Market Sentiment มีในทุกตลาดไหม? คุณน้าขอตอบว่า มีค่ะ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ตลาดหุ้น

Market Sentiment เป็นปัจจัยสำคัญในตลาดหุ้นเลยค่ะ เพราะปกติแล้วเทรดเดอร์และนักลงทุนจะตัดสินใจจากการพิจารณาแนวโน้มของหุ้นรายตัว, ตลาดโดยรวม, ข่าวสารสำคัญ และรายงานผลประกอบการในช่วง 5-10 ปี เป็นต้น

ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์

สำหรับสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ, น้ำมัน และสินค้าเกษตรก็ได้รับอิทธิพลจากความเชื่อมั่นของตลาดเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น พลวัตของอุปสงค์และอุปทาน, เหตุการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ และแนวโน้มเศรษฐกิจโลกก็เป็นตัวชี้วัดสำคัญที่มีผลต่อตลาดสินค้าโภคภัณฑ์

ตลาดอสังหาริมทรัพย์

ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ Sentiment ของตลาดก็มีอิทธิพลต่อราคาและอุปสงค์ของอสังหาริมทรัพย์ ยกตัวอย่างเช่น ความเชื่อมั่นในโครงการนั้น ๆ หากนักลงทุนมีความเชื่อมั่นสูง แน่นอนว่าราคาอสังหาริมทรัพย์ก็จะมีแนวโน้มสูงขึ้นตามไปด้วย

ตลาดสกุลเงินดิจิทัล

ตลาดสกุลเงินดิจิทัลได้รับอิทธิพลจาก Sentiment ของตลาดค่อนข้างมากค่ะ เพราะตลาดสกุลเงินดิจิทัลไม่ได้มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการขึ้น-ลงของราคาแบบตายตัว โดยหลาย ๆ ครั้งราคามักจะผันแปรตามสถาบันทางการเงินหรือนักลงทุนรายใหญ่ค่ะ ยกตัวอย่างเช่น การทวีตของ Elon Musk ส่งผลให้ราคาสกุลเงินดิจิทัลผันผวนเป็นอย่างมากค่ะ

ตลาด Forex

ตลาด Forex ถือเป็นอีกหนึ่งในไฮไลต์ของ Market Sentiment เลยค่ะ เพราะตลาด Forex เป็นตลาดที่ไหลตามข่าวค่อนข้างมาก และวันไหนที่เป็นวันที่ธนาคารหยุดทำการหรือไม่ค่อยมีข่าวสำคัญ เทรดเดอร์จะใช้ Sentiment Forex ในการหาแนวโน้มของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

⭐ Tip! การหา Sentiment ในตลาด Forex

ปกติแล้ว การหา Sentiment ในตลาด Forex จะเป็นการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของราคาสกุลเงิน โดยมาจากปริมาณการซื้อ-ขาย (Volume) ของผู้เล่นในตลาด ณ ขณะนั้น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ฝั่งนั่นก็คือ Buy และ Sell เพื่อให้เทรดเดอร์สามารถเตรียมรับมือกับความผันผวนของตลาดได้อย่างทันท่วงที

ตลาดตราสารหนี้

แม้แต่ตลาดตราสารหนี้ที่นักลงทุนให้ความสำคัญกับผลตอบแทนและความเสี่ยงมากกว่า Sentiment ก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญค่ะ เพราะไม่ว่าจะเป็น การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย, ความคาดหวังทางเศรษฐกิจ และการรับรู้ความน่าเชื่อถือทางเครดิตสามารถส่งผลต่อความเชื่อมั่นของตลาดตราสารหนี้ได้เหมือนกัน

เครื่องมือที่ช่วยวัด Markets Sentiment มีอะไรบ้าง?

สำหรับเครื่องมือที่ช่วยวัด Markets Sentiment นั้นมีมากมาย ซึ่งแต่ละเครื่องมือก็มีจุดเด่นและจุดด้อยที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งานของแต่ละคนค่ะ โดยคุณน้าขอยกตัวอย่าง 2 ประเภทที่นักลงทุนและเทรดเดอร์นิยมใช้ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

การวิเคราะห์ทางเทคนิค

การวิเคราะห์ทางเทคนิคจะช่วยให้นักลงทุนและเทรดเดอร์สามารถคาดการณ์แนวโน้มของตลาดในอนาคตได้

  • Indicator : MACD, RSI, The VIX, Bullish Percent Index และ Bollinger Band เป็นต้น
  • Chart Pattern : Triangles และ Head and Shoulder

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะช่วยให้นักลงทุนและเทรดเดอร์สามารถวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของสินทรัพย์แต่ละตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การวิเคราะห์ข่าวสารสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการเมือง, เศรษฐกิจ และภัยพิบัติธรรมชาติ เป็นต้น

เหตุการณ์ที่ควรระวังสำหรับ Market Sentiment

เหตุการณ์ที่ควรระวังสำหรับ Market Sentiment

การเทขายเพราะความกังวลของตลาดหรือ Panic Sell

Panic Sell หมายถึงสถานการณ์ที่เทรดเดอร์หรือนักลงทุนเทขายสินทรัพย์ที่ถืออยู่อย่างรวดเร็ว เนื่องจากเกิดความกลัวและทัศนคติเชิงลบเกี่ยวกับสินทรัพย์นั้น ๆ ค่ะ โดยพฤติกรรมนี้ได้รับแรงผลักดันจากความเชื่อที่ว่าตลาดกำลังมุ่งหน้าไปสู่การลดลงอย่างมีนัยสำคัญหรือมูลค่าของสินทรัพย์กำลังจะดิ่งลงนั่นเอง การขายแบบตื่นตระหนกมักเกิดจากเหตุการณ์ที่ผิดคาด จนทำให้สินทรัพย์ที่เราถืออยู่นั้นดูไม่มีความน่าเชื่อถือ และต้องรีบเทขายเพื่อทำกำไร จนราคาลดต่ำลงค่ะ

การเข้าซื้อเพราะมีอุปทานสูงหรือ Serious Buy

Serious Buy หมายถึงสถานการณ์ที่เทรดเดอร์หรือนักลงทุนแสดงพฤติกรรมการซื้ออย่างรุนแรงเพราะว่ามั่นใจในสินทรัพย์นั้น ๆ ค่ะ ซึ่งเหตุการณ์นี้จะเกิดจากความเชื่อที่ว่า ตลาดหรือสินทรัพย์นั้น ๆ ถูกประเมินต่ำเกินไปหรือเป็นโอกาสที่น่าสนใจในการรีบเข้าซื้อ เพราะราคาจะขึ้นสูงกว่านี้แน่นอน ทำให้เราจะเห็นแท่งสีเขียวยาวประมาณ 8 เมตรอยู่เป็นประจำในช่วง Serious Buy ค่ะ


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยว Market Sentiment

Market Sentiment คืออะไร?

Market Sentiment คือ ความเชื่อมั่นที่นักลงทุนมีต่อตลาด โดยสามารถบ่งบอกได้ว่า นักลงทุนส่วนใหญ่มีมุมมองต่อตลาดในทิศทางไหน

Sentiment Forex คืออะไร?

Sentiment Forex คือ การวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของราคาสกุลเงิน โดยมาจากปริมาณการซื้อ-ขาย (Volume) ของผู้เล่นในตลาด Forex

Sentiment Forex Indicator มีอะไรบ้าง?

คุณน้าขอแนะนำ Indicator ที่ใช้ในการหา Sentiment Forex เช่น MACD, RSI, The VIX, Bullish Percent Index และ Bollinger Band เป็นต้น


สรุป

คุณน้าต้องขอบอกเลยว่า Market Sentiment เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เทรดเดอร์หรือนักลงทุนควรรู้จักไว้และไม่ควรมองข้ามค่ะ เพราะสามารถกำหนดทิศทางราคาหรือตลาดได้เลย ซึ่งอาจจะเป็นเทรนด์ใหญ่หรือเทรนด์เล็กก็ได้

และ Market Sentiment จะมีความสำคัญมากโดยเฉพาะในวันที่ไม่มีข่าวหรือปัจจัยสำคัญชี้นำ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการสวิงของราคาขึ้นได้ ทุกคนอย่าลืมกำหนดจุด TP และ SL ในการเปิดออเดอร์อยู่เสมอนะคะ

คุณน้าพาเทรด

ขอบคุณข้อมูลจาก : Investopedia

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

Picture of คุณน้า
คุณน้า
คุณน้าเป็นเทรดเดอร์ที่คลุกคลีอยู่ในตลาดต่าง ๆ ร่วม 10 ปี จึงอยากนำความรู้ที่มีมาแบ่งปันให้กับทุกคน
Recent Post
Exness ดีไหม? รีวิวทุกข้อสำคัญ ฉบับอัปเดตปี 2025
Exness ดีไหม? รีวิวทุกข้อสำคัญ ฉบับอัปเดตปี 2025

วันนี้คุณน้าเลยอยากจะหยิบยกโบรกเกอร์ Exness มาให้ทุกคนได้อ่านกัน เผื่อว่าท่านใดที่สนใจหาข้อมูลโบรกเกอร์อยู่จะใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 13 มกราคม 2568
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 13 มกราคม 2568 By คุณน้าพาเทรด

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันจันทร์ที่ 13 มกราคม 2568 กันค่า วิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ บทวิเคราะห์ภาพรวมปัจจัยพื้นฐาน เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาราคาทองคำปรับตัวขึ้น 18

IUX ดีจริงไหม รีวิวฉบับอัปเดต 2025
IUX ดีจริงไหม? รีวิวทุกคุณสมบัติ อัปเดตปี 2025

IUX เป็นโบรกเกอร์สัญชาติอังกฤษ สิงคโปร์ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่อังกฤษและไซปรัส ซึ่งทาง IUX ได้จดทะเบียนกับ SVGFSA, FSCA, ASIC และ FSC Mauritius ที่เป็นหน่วยงานทางการเงินที่มีความน่าเชื่อถือ