Hyperinflation เงินเฟ้อขั้นรุนแรง ทำไมถึงน่ากลัวสำหรับนักลงทุน ?

Hyperinflation
Table of Contents

หลายคนอาจจะพอทราบอยู่แล้วว่าประเทศของเรากำลังตกอยู่ในภาวะเงินเฟ้อ รวมถึงอีกหลายประเทศทั่วโลกด้วยค่ะ เพราะด้วยปัจจัยหลายอย่างจนทำให้เกิดภาวะที่ค่าเงินเท่าเดิมไม่สามารถซื้อของได้เท่าเดิมอีกต่อไป และในอนาคตอาจจะมีการพัฒนาไปเป็น Hyperinflation หรือเงินเฟ้อขั้นรุนแรงอีกด้วย ว่าแต่ภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรงเป็นอย่างไร วันนี้คุณน้าจะพาทุกคนมารู้จักไปพร้อม ๆ กันค่ะ 

Hyperinflation คืออะไร ? 


Hyperinflation คืออะไร ? 

สำหรับคำว่า Hyperinflation เป็นคำที่ใช้อธิบายการเพิ่มขึ้นของราคาทั่วไปอย่างรวดเร็วเกินไปค่ะ แถมยังไม่สามารถควบคุมได้ในระบบเศรษฐกิจ ถึงแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะสามารถวัดความเร็วของราคาสินค้าและบริการที่เพิ่มสูงขึ้นได้ (อย่างที่ประเทศไทยและหลายประเทศของโลกกำลังเผชิญอยู่) แต่อัตราเงินเฟ้อที่มากเกินไป ก็คือ อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งโดยทั่วไปจะวัดได้มากกว่า 50% ต่อเดือนค่ะ

แม้ว่าภาวะเงินเฟ้อรุนแรงเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยากสำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ก็เกิดขึ้นหลายครั้งเลยค่ะ อย่างในประวัติศาสตร์นั้นก็จะมีประเทศใหญ่ ๆ ที่ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็น อเมริกา, จีน, เยอรมนี, รัสเซีย, ฮังการี และจอร์เจีย

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อรุนแรง


สาเหตุของ Hyperinflation


ภาวะเงินเฟ้อรุนแรง หรือ Hyperinflation คือ สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของอุปทานเงินและเงินเฟ้อจากอุปสงค์ค่ะ อย่างเช่น ถ้าหากเกิดเหตุการณ์ที่รัฐบาลของประเทศเริ่มพิมพ์เงินเพื่อใช้จ่ายเพิ่มเติม เพราะเหตุนี้เมื่อเพิ่มปริมาณเงิน แปลว่าราคาสินค้าและบริการก็สูงขึ้นนั่นเองค่ะ

นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ๆ นั่นก็คือ อัตราเงินเฟ้อที่เกิดจากอุปสงค์เพิ่มขึ้นจนแซงหน้าอุปทาน ส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากเศรษฐกิจที่กำลังเติบโต, การส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน หรือการใช้จ่ายภาครัฐที่มากขึ้นด้วยค่ะ

ผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อรุนแรง


ผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อรุนแรง Hyperinflation


เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อรุนแรง (Hyperinflation ) ขึ้น จะส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนค่ะ เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายค่าสินค้ามากขึ้น ผู้คนจึงเริ่มกักตุนในวันนี้เลย และเมื่อยิ่งตุนของ ก็จะยิ่งทำให้เกิดการขาดแคลนตามมาค่ะ หากภาวะเงินเฟ้อรุนแรงยังคงดำเนินต่อไป ผู้คนจะกักตุนสินค้าที่เน่าเสียง่าย เช่น ขนมปังและนม ของใช้ประจำวันเหล่านี้จะหายาก และมีราคาแพงกว่าขึ้นไปเรื่อย ๆ จนทำให้ระบบเศรษฐกิจล่มได้ในที่สุเ

(อย่างที่เราเห็นในช่วงที่โควิด-19 มาแรก ๆ ราคาแมสก์แพงมากเลยค่ะ จนปัจจุบันราคาเหลือหลักสิบเอง) 

นอกจากนี้ยังมีในส่วนของเงินออมที่จะร่อยหรอลงเรื่อย ๆ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้สูงอายุจึงมักมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ Hyperinflation มากที่สุด รวมไปถึงฝั่งธนาคารและผู้ให้กู้ก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย เพราะมักมีแต่ผู้มากู้เพิ่มและอาจจะจ่ายได้ไม่ตรงเวลาอีกค่ะ แถมการฝากเงินจะลดลงแน่นอน เพราะผู้คนต้องถอนเงินออกมาใช้

Hyperinflation จะส่งผลต่อมูลค่าของสกุลเงิน (ของประเทศที่ได้รับผลกระทบ) ให้อ่อนค่าลงไปอีก และผู้นำเข้าของประเทศอาจต้องเลิกกิจการ เนื่องจากต้นทุนสินค้าจากต่างประเทศพุ่งสูงขึ้นด้วย 

ยิ่งไปกว่านั้นการว่างงานเพิ่มขึ้นแน่นอนค่ะ และในส่วนของรายได้ภาษีของรัฐบาลก็จะลดลงอีกแน่นอน เรียกได้ว่าน่ากลัวจริง ๆ ค่ะ

1.ตัวอย่าง ภาวะเงินเฟ้อรุนแรง (Hyperinflation) ในสหรัฐอเมริกา

ภาวะเงินเฟ้อรุนแรงในสหรัฐอเมริกา


มีเพียงครั้งเดียวที่สหรัฐฯ ประสบภาวะเงินเฟ้อรุนแรงค่ะ นั่นก็คือ ในช่วงสงครามกลางเมือง เมื่อรัฐบาลสมาพันธ์พิมพ์เงินเพื่อจ่ายค่าสงคราม พ.ศ. 2462 

2. ภาวะเงินเฟ้อรุนแรง (Hyperinflation) ต่อเนื่อง

แม้ภาวะ Hyperinflation จะเกิดขึ้นได้ยาก แต่หลายคนก็ยังกังวลเรื่องนี้อยู่ดีค่ะ แล้วถ้าเกิดต้องทำอย่างไร? ควรรับมือยังไงนะ? มีวิธีที่คุณสามารถป้องกันตัวเองจากภาวะเงินเฟ้อได้ นั่นก็คือ “การวางแผนการเงินให้ดี”

คุณน้าแนะนำให้เตรียมพร้อมโดยทำให้สินทรัพย์ของคุณมีความหลากหลาย หรือเลือกลงทุนในหลายตลาด รวมไปถึงสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงหรือปลอดภัยสูงค่ะ 

สรุป 

Hyperinflation หมายถึง การเพิ่มขึ้นของราคาอย่างรวดเร็วและไม่ถูกจำกัดในระบบเศรษฐกิจ โดยทั่วไปจะอยู่ที่อัตราที่เกิน 50% ในแต่ละเดือนเมื่อเวลาผ่านไป และภาวะเงินเฟ้อรุนแรงอาจเกิดขึ้นได้ในสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการผลิตร่วมกับธนาคารกลางพิมพ์เงินออกมามากเกินไปด้วยเช่นกันค่ะ 

ยิ่งไปกว่านั้น ภาวะเงินเฟ้อรุนแรง (Hyperinflation) อาจทำให้ราคาสินค้าจำเป็นพุ่งสูงขึ้น เช่น อาหาร และเชื้อเพลิง เนื่องจากอุปสงค์มีมากกว่าอุปทาน แถมเป็นภาวะที่ค่อนข้างจะควบคุมได้ยากด้วย เพราะฉะนั้น อย่าลืมวางแผนทางการเงินให้ดีนะคะ เพื่อให้ปัญหาเศรษฐกิจกระทบกับเราน้อยที่สุดค่ะ ด้วยความเป็นห่วงจากคุณน้าพาเทรดค่ะ 


บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

ขอบคุณข้อมูลจาก : Investopedia

คุณน้า
คุณน้า
คุณน้าเป็นเทรดเดอร์ที่คลุกคลีอยู่ในตลาดต่าง ๆ ร่วม 10 ปี จึงอยากนำความรู้ที่มีมาแบ่งปันให้กับทุกคน
Recent Post
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 16 ธันวาคม 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 16 ธันวาคม 2567 By คุณน้าพาเทรด

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 16 ธันวาคม 2567 ซึ่งมีข่าวสำคัญจากสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า ราคาทองคำมีโอกาสปรับตัวลงไปที่บริเวณ 2,645-2,647 ดอลลาร์ และเกิด QM ค่ะ

แนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุน ต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส
แนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุน ต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส

คุณน้าจะขอแนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุนต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส ไปกับตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นสหรัฐฯ เพื่อเป็นการเอาฤกษ์เอาชัย ก่อนจะเริ่มต้นปี 2025 กันค่ะ

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 11 ธันวาคม 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 11 ธันวาคม 2567 By คุณน้าพาเทรด

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันพุธที่ 11 ธันวาคม 2567 กันค่า วิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ เมื่อวานนี้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นกว่า 33 ดอลลาร์