ภาวะเศรษฐกิจ คือ การบ่งชี้ทิศทางของเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งถ้าหากเป็นช่วงที่ราคาสินค้าหรือบริการสูงขึ้น เราจะเรียกว่าเงินเฟ้อ ส่วนถ้าหากราคาสินค้าบริการลดลงอย่างต่อเนื่องเรียกว่าเงินฝืด ซึ่งคุณน้าเคยเขียนบทความเรื่องเงินเฟ้อ ดังนั้นในบทความนี้จึงอยากให้ทุกคนได้รู้จักเงินฝืด เพื่อที่เราจะได้เตรียมตัวการลงทุนในช่วงภาวะเงินฝืดกันค่ะ
เงินฝืด คืออะไร ?
เงินฝืด (Deflation) เป็นภาวะที่ราคาสินค้ารือบริการลดลงอย่างต่อเนื่องที่ไม่ได้เกิดเพียงอุตสาหกรรมกลุ่มเดียว แต่เฉลี่ยราคาโดยรวมแล้วลดลง โดยเกี่ยวข้องกันกับการที่ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจลดลง ซึ่งตรงกันข้ามกับภาวะเงินเฟ้อ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อเงินฝืด
1. นโยบายทางการเงินของธนาคารกลาง คือการขึ้นอัตราดอกเบี้ยทำให้คนในประเทศอยากเก็บเงินไว้กับตัวเอง ส่งผลให้ความต้องการซื้อน้อยกว่าความต้องการขาย
2. เหตุการณ์ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสงคราม โรคระบาด ทำให้คนเกิดความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจคนในประเทศจึงมีความต้องการซื้อน้อยกว่าความต้องการขาย
ผลกระทบจากภาวะเงินฝืด
เงินฝืดส่งผลให้ เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัว (Stagnation) คือภาวะที่เศรษฐกิจไม่เติบโตหรือเติบโตน้อย ซึ่งวัดได้จากอัตราการเติบโตของ GDP ที่ต่ำลง ส่งผลกระทบต่อการซื้อสินค้าหรือบริการของประชาชนลดลง เนื่องจากรายได้ลดลงค่ะ รวมไปถึงอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นค่ะ
โดยในอดีตภาวะเงินฝืดเคยเกิดขึ้นหลายครั้งค่ะ แต่คุณน้าขอยกตัวอย่างในประเทศญี่ปุ่นเมื่อกลางทศวรรษ 1990 ซึ่ง CPI ของญี่ปุ่นติดลบเล็กน้อย ตั้งแต่ปี 1998 ผู้เชี่ยวชาญบางท่านจึงได้มีการระบุถึงช่องการผลิตของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นความแตกต่างระหว่างผลผลิตที่เกิดขึ้นจริงและศักยภาพของเศรษฐกิจญี่ปุ่น
เงินฝืดลงทุนอะไร ?
ปกติแล้วในช่วงที่เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก ไม่ว่าจะเป็นโรคระบาดหรือสงคราม นักลงทุนอย่างเราต่างเกิดความวิตกกังวลว่าสินทรัพย์ที่เราถือจะได้รับผลกระทบจากภาวะดังกล่าว ดังนั้นคุณน้าจึงได้ยกตัวอย่างสินทรัพย์ที่น่าลงทุน ดังนี้
1. ทองคำ หรือ Safe Haven เนื่องจาก ทองคำได้รับความนิยมตั้งแต่อดีต มีสภาพคล่องสูง และมีความต้องการตลอดเวลาสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้หรือเก็บไว้ในรูปแบบการลงทุน
2. หุ้นสามัญ คือ หุ้นที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จะได้รับผลกระทบน้อย เมื่อเศรษฐกิจของประเทศไม่มั่นคง และลงทุนหุ้นแบบ Defensive Stock
3.ตราสารหนี้ เป็นตราสารที่นักลงทุนเป็นเจ้าหนี้ ส่วนธนาคารเป็นลูกหนี้ โดยเราได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย อย่างสม่ำเสมอตามเงื่อนไขที่กำหนด จึงมีความเสี่ยงน้อยเนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ น้อยด้วยค่ะ
สรุป
เงินฝืดเป็นช่วงที่ราคาของสินค้าหรือบริการลงลดอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากระบบเงินในเศรษฐกิจลดลง โดยต่อปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดภาวะเงินฝืด คือนโยบายการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย และเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น โรคระบาดหรือสงคราม ทำให้คนในประเทศเกิดความกังวลต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ จึงไม่กล้าใช้เงินซื้อสินค้าหรือบริการ คือความต้องการซื้อน้อยกว่าความต้องการขาย อีกทั้งภาวะเงินฝืดยังส่งผลต่อนักลงทุนอย่างเรา ทำให้เกิดความวิตกกังวลกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เกิดขึ้น คุณน้าได้จึงได้แนะนำสินทรัพย์ที่น่าลงทุนเพื่อที่เราจะได้กระจายพอร์ตการลงทุนซึ่งช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นค่ะ
บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing
คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Investopedia