Stock 101 : Defensive Stock คืออะไร? รองรับทุกภาวะตลาดจริงหรือ?

Defensive Stock คืออะไร? รองรับทุกภาวะตลาดจริงหรือ?
Table of Contents


อยากลงทุนในหุ้น แต่ไม่รู้จะเลือกหุ้นกลุ่มไหนดี? มีใครเกิดอาการนี้บ้างคะ เมื่อลงทุนหุ้นครั้งแรก ไม่ต้องกังวลไปค่ะ คุณน้าก็เคยผ่านมาเหมือนกัน แต่ถ้าจะให้หาคำตอบตายตัวสำหรับคำถามข้างต้นก็คงตอบไม่ได้ เพราะการเลือกหุ้นนั้นขึ้นอยู่กับความถนัด หรือการมองการณ์ไกลของแต่ละคนค่ะ อย่างไรก็ดี หากใครไม่รู้ว่าจะลงทุนในหุ้นอะไร Defensive Stock อาจจะเป็นคำตอบค่ะ

อย่าเพิ่งเชื่อคุณน้านะคะ เราลองมาทำความรู้จักกันก่อนว่า Defensive Stock คืออะไร? ทำไมถึงได้ชื่อว่า “หุ้นตั้งรับ” ที่รองรับการกระแทกของแต่ละภาวะตลาด


Defensive Stock คืออะไร ?


Defensive Stock คืออะไร


Defensive Stock หรือที่เราเรียกกันว่า “หุ้นตั้งรับ” ถือเป็นหนึ่งในหลุมหลบภัยของนักลงค่ะ เพราะมันเป็นหุ้นที่มีความทนทานในทุกสภาพตลาด ทั้งขาขึ้นและขาลง จากพื้นฐานหุ้นที่ค่อนข้างแข็งแรง ความเสี่ยงต่ำ และมีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ

อย่างไรก็ดี มันเป็นหุ้นที่มีการเติบโตไม่หวือหวานัก รวมทั้งไม่ค่อยมีจุดขายเท่าไหร่ ดังนั้น มันจึงอาจจะไม่ค่อยถูกใจนักลงทุนที่ต้องการทำกำไรจำนวนมากค่ะ 

พูดง่าย ๆ ก็คือ หุ้นในกลุ่มของ Defensive Stock คือสินค้าจำเป็นที่มีความต้องการใช้อยู่เสมอ ๆ ขาดไม่ได้ เช่น อาหาร ยา โรงพยาบาล ไฟฟ้า และประปา เป็นต้น ดังนั้น ราคาหุ้นกลุ่มนี้จึงร่วงน้อยกว่าหุ้นทั่วไปในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ แต่ช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัว ก็จะไม่โดดเด่นเท่ากับกลุ่มอื่น ๆ ค่ะ


ตัวอย่าง Defensive Stock


Defensive Stock คือ ตัวอย่าง


1.หุ้นกลุ่มสินค้าจำเป็น

สินค้าจำเป็น คือ สินค้าที่ผู้บริโภคซื้อเป็นประจำ และเมื่อซื้อแล้วก็ต้องกลับมาซื้อใหม่อีก เช่น อาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน และผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล ยังไงมนุษย์เราก็ต้องกินและดื่มเป็นประจำอยู่แล้วใช่มั้ยล่ะคะ


2. หุ้นกลุ่มสาธารณูปโภค

สาธารณูปโภค คือ บริการของผู้ให้บริการน้ำและพลังงาน รวมถึงพลังงานทดแทน ถือเป็นอีกสิ่งจำเป็นที่มนุษย์เราใช้บริการเป็นประจำทุกวัน และแทบจะขาดไม่ได้ โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรม ถ้านึกไม่ออกก็ลองนึกถึงเวลาเราชาร์จโทรศัพท์ก็ได้ค่ะ


3. หุ้นกลุ่มสุขภาพ

เมื่อเราเกิดมา เติบโต ไปจนถึงแก่ชรา สถานที่ที่ทุกคนมักจะเข้าอยู่บ่อย ๆ เลยก็คือ โรงพยาบาลค่ะ ดังนั้น หุ้นเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพทั้งหมด อย่างเภสัชกรรม อุปกรณ์การแพทย์ และเทคโนโลยีชีวภาพจึงมีความสำคัญ และได้รับความสนใจมากค่ะ


4. หุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์

แน่นอนว่า เมื่อมีอาหาร ไฟฟ้า และยาแล้ว จะขาดที่พักไปได้อย่างไร ดังนั้น มันจึงมีการลงทุนที่เรียกว่า REITs ที่สร้างผลตอบแทนจากการให้เช่า โดยมีบริษัทที่ใช้เงินทุนของนักลงทุนเพื่อซื้อและจัดการพอร์ตอสังหาริมทรัพย์ค่ะ


การเลือก Defensive Stock


Defensive Stock คืออะไร


1. การเลือกหุ้นจากขนาด

หากต้องการลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ก็ควรหลีกเลี่ยงหุ้นที่มี Market Cap เล็กเกินไปค่ะ ซึ่งอาจเลือกจากหุ้นที่ติดอันดับตลาดหุ้น เช่น SET50 เป็นต้น เพราะหุ้นขนาดเล็กส่วนมากต้องการเงินหมุนเวียนเพื่อบริหารงาน ทำให้อาจไม่มีการจ่ายปันผลค่ะ ขณะที่บริษัทขนาดใหญ่จะมีฐานะแข็งแกร่ง ผลประกอบการคงที่ ก็จะมีการจ่ายปันผลค่ะ


2. ภาระหนี้สินน้อย

สิ่งที่ใช้พิจารณาว่า หุ้นตัวนั้นมีความเสี่ยงต่ำ คือ ภาระหนี้สินค่ะ ดังนั้น เราจึงควรเลือกหุ้นที่มีหนี้สินน้อย ต่ำกว่าต้นทุนเป็นหลัก เพราะภาระหนี้สินนอกจากจะแสดงถึงความเสี่ยงทางการเงินที่ต่ำแล้ว ยังสื่อถึงความสามารถในการบริหารงานของผู้บริหาร และการเติบโตในอนาคตด้วยค่ะ


3. กำไรสม่ำเสมอ

แม้ว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทเหล่านี้จะเป็นสินค้าจำเป็นและต้องบริโภคอยู่เสมอ ๆ แต่ก็ไม่ใช่ทุกผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคจะประทับใจจนกลับมาซื้อซ้ำเรื่อย ๆ ดังนั้น ผลประกอบการและกำไรของบริษัทจึงถือเป็นสิ่งที่ใช้วัดความสามารถของผู้บริหาร โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจย่ำแย่ค่ะ เพราะฉะนั้น อย่าลืมดูผลประกอบการของบริษัทย้อนหลังกันด้วยนะคะ


4. จ่ายปันผลสม่ำเสมอ

หนึ่งในเกณฑ์ที่นักลงทุนส่วนมากใช้พิจารณาหุ้นกลุ่มนี้ คือ การจ่ายเงินปันผลค่ะ เพราะคนที่ลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ส่วนมากไม่ต้องการความเสี่ยง มีรายได้จากเงินปันผลที่ค่อนข้างแน่นอน ดังนั้น นักลงทุนจึงควรดูการจ่ายเงินปันผลของบริษัทย้อนหลัง 10 ปีประกอบด้วยค่ะ เพราะเมื่อบริษัทมีกำไรก็ควรจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอ


5. ราคาหุ้นไม่แพง

นอกจากเกณฑ์ข้างต้นแล้ว อีกสิ่งสำคัญเลย คือ หุ้นดีราคาถูก ซึ่งดูได้จากราคาเทียบกับกำไรต่อหุ้น (P/E Ratio) หรือราคาเทียบกับมูลค่าทางบัญชี (P/BV Ratio) ค่ะ


กลยุทธ์การลงทุน Defensive Stock


Defensive Stock


นอกจากจะดูว่าหุ้นไหนเข้าเกณฑ์แล้ว กลยุทธ์ก็สำคัญเช่นกันค่ะ เพราะไม่ใช่ทุกช่วงที่เหมาะสำหรับลงทุนหุ้นกลุ่มนี้ นั่นเพราะว่า หากเราลงทุนหุ้นกลุ่มนี้ในช่วงตลาดกำลังจะเข้าสู่ช่วงขาลง ก็จะทำให้เราได้หุ้นที่มีราคาต่ำกว่าตลาดค่ะ ดังนั้น อย่าลืมดูช่วงเวลาที่เหมาะสมกันด้วยนะคะ


ความเสี่ยงที่นักลงทุนต้องเผชิญเมื่อลงทุน Defensive Stock


1) ความเสี่ยงเป็นระบบ

ความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนที่กระทบทั้งตลาด ไม่สามารถหลีกเหลี่ยงได้ เช่น การปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง หรือราคาน้ำมัน เป็นต้น


2) ความเสี่ยงไม่เป็นระบบ

ความเสี่ยงที่กระทบหุ้นโดยตรง ซึ่งเกิดจากความไม่แน่นอนต่าง ๆ จากปัจจัยภายนอก เช่น อุบัติเหตุ อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติ เป็นต้น


Defensive Stock เหมาะกับนักลงทุนแบบไหน ?


Defensive Stock


Defensive Stock คือหุ้นตั้งรับที่เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการความแน่นอน ความเสี่ยงต่ำ มีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ เพราะรายได้และกำไรของหุ้นกลุ่มนี้ค่อนข้างมั่งคง ไม่ต้องเสียเวลามาตามข่าวสาร หรือปรับพอร์ตบ่อย ๆ ค่ะ


ข้อดี-ข้อเสียของ Defensive Stock


ข้อดี

  • ความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้นอื่น ๆ
  • มีอัตราส่วนผลตอบแทนส่วนเกินต่อส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Sharpe Ratio สูงกว่าตลาดหุ้นโดยรวม
  • จำกัดการขาดทุน
  • รองรับทุกสภาวะตลาด


ข้อเสีย


สรุป

Defensive Stock คือ หุ้นที่มีความคงทนต่อวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งส่วนมากเป็นสินค้าจำเป็น ผู้บริโภคมีการซื้ออยู่บ่อยครั้ง ทำให้ราคาหุ้นกลุ่มนี้ร่วงน้อยกว่าหุ้นทั่วไป มันจึงเหมาะกับการเป็นหลุมหลบภัยแก่นักลงทุนแต่ถ้าหากเศรษฐกิจขยายตัว ก็จะไม่โดดเด่นเท่ากับหุ้นตัวอื่น นักลงทุนจึงไม่ค่อยลงทุนกับ Defensive Stock แต่หันไปลงทุนกับหุ้นที่สามารถทำกำไรได้มากกว่า ซึ่งคุณน้ามีวิธีการเลือกหุ้น Defensive Stock จากบทความ รวมไปถึงกลยุทธ์การลงทุนให้มีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตามการลงทุนใน Defensive Stock ยังมีความเสี่ยง ดังนั้นนักลงทุนจึงต้องศึกษาข้อมูลหุ้นที่สนใจและเตรียมรับมือกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกันด้วยนะคะ


บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

ขอบคุณข้อมูลจาก :  SET Invest Now, Investopedia

khunnaphatrade
khunnaphatrade
Recent Post
รีวิว Titan FX เปิดทุกคุณสมบัติที่ควรรู้
รีวิว Titan FX เปิดทุกคุณสมบัติที่ควรรู้ ปี 2024

กลับมาพบกับคุณน้ารีวิวกันอีกแล้วนะคะ ในวันนี้ คุณน้าจะพาทุกคนไปอ่านรีวิวโบรกเกอร์ Titan FX ในทุกคุณสมบัติที่เทรดเดอร์ควรรู้ ไม่ว่าจะเป็นใบอนุญาต, ประเภทบัญชี, ค่าสเปรด, การฝากถอนเงิน รวมถึงจุดเด่นและจุดแข็งของ Titan FX กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปหาคำตอบกันเลย!