Current Ratio คืออะไร ? ตัวชี้วัดศักยภาพบริษัทที่นักลงทุนต้องรู้ !

Current Ratio คืออะไร ตัวชี้วัดบริษัทที่นักลงทุนต้องรู้
Table of Contents

โดยปกติแล้ว นักลงทุนมักพิจารณาผลประกอบการที่แสดงถึงการสร้างผลตอบแทนของกิจการต่าง ๆ จาก ROE, ROI, Sharp Ratio หรือแม้แต่ ROA แต่รู้หรือไม่ว่า มีอีกเครื่องมือที่จะช่วยให้นักลงทุนสามารถวิเคราะห์กิจการได้ดีเช่นกัน โดยในวันนี้คุณน้าจะพาทุกคนมารู้จักกับ Current Ratio หรืออัตราส่วนทุนหมุนเวียนกันค่ะ แล้ว Current Ratio คืออะไร ? ตัวชี้วัดศักยภาพบริษัทที่นักลงทุนต้องรู้ ! เพื่อนำไปวางแผนการลงทุนของคุณให้ดียิ่งขึ้น ว่ากันแล้วก็มาเริ่มกันเลยค่ะ


Current Ratio คืออะไร

Current Ratio คือ อัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่เป็นตัวชี้วัดถึงความสามารถในการจ่ายหนี้สินระยะสั้นของกิจการนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร ซึ่งใช้ดูอัตราส่วนสภาพคล่องทางการเงินนั่นเอง โดยสามารถคำนวณได้ดังต่อไปนี้

Current Ratio = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้หมุนเวียน

มีรายละเอียดเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้

  • สินทรัพย์หมุนเวียน คือ สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องทางการเงินสูง โดยสามารถนำไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลา 1 ปี ไม่ว่าจะเป็นเงินฝาก, เงินสด, ลูกหนี้การค้า, ตั๋วรับเงิน, ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า หรือสินค้าคงคลัง เป็นต้น
  • หนี้สินหมุนเวียน คือ หนี้สินระยะสั้นที่มีรอบกำหนดชำระไม่เกิน 1 ปีหรือ 1 รอบบัญชี นับตั้งแต่วันที่เริ่มเป็นหนี้ เช่น ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย, รายได้รับล่วงหน้า และเงินกู้ระยะสั้นจากธนาคาร เป็นต้น 

วิธีสังเกตอัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่นักลงทุนควรทราบก็คือ Current Ratio ควรมีค่ามากกว่า 1 ขึ้นไป เพราะหมายความว่า กิจการนั้น ๆ สามารถนำสินทรัพย์ที่เป็นเงินหมุนเวียนไปแลกเปลี่ยนหรือขายเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็ว เพื่อนำมาชำระหนี้ระยะสั้นได้ทันเวลาโดยไม่จำเป็นต้องกู้ยืมเพิ่มเติม ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กิจการยังมีสภาพคล่องทางการเงินนั่นเองค่ะ


บทความที่ให้คำแนะนำเกี่ยวข้องกับ “การลงทุนเพิ่มเติม”


จากที่ทราบไปข้างต้นว่า อัตราเงินทุนหมุนเวียนควรมีค่ามากกว่า 1 ขึ้นไป เพราะจะแสดงให้เห็นว่า กิจการมีสภาพคล่องทางการเงินที่ดี หรือเรียกง่าย ๆ ว่า มีเงินสดในมือโดยไม่จำเป็นต้องกู้ยืมเพิ่มเติมค่ะ ในทางตรงกันข้ามกัน หากกิจการใดมีค่าน้อยกว่า 1 นั่นเท่ากับว่า กิจการนั้นขาดสภาพคล่องทางการเงิน เนื่องจากมีหนี้สินที่มากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน ทำให้กิจการจำเป็นต้องกู้ยืมหรือขายสินทรัพย์ เพื่อใช้จ่ายหนี้สิน ซึ่งดูท่าแล้วบริษัทน่าจะเงินขาดมือ ทำให้ไม่เหมาะกับการเข้าไปลงทุนใด ๆ

อย่างไรก็ตาม Current Ratio ก็มีข้อควรระมัดระวังเช่นเดียวกัน เพราะบางครั้งกิจการที่มีอัตราเงินทุนหมุนเวียนมากกว่า 1 มาก ๆ ก็อาจจะต้องดูเพิ่มเติมว่า กิจการมีการใช้สินทรัพย์หมุนเวียนสูงเกินจำเป็นหรือไม่? เนื่องจากการถือเงินสดที่มากเกินปกติก็อาจเป็นเพราะมีสินค้าคงคลังที่มากเกิน ทำให้สินค้านั้นเกิดขายไม่ออกจนตกรุ่นไปในที่สุด

ดังนั้นแล้ว คุณน้าขอแนะนำว่าในกรณีที่ Current Ratio สูงจนเกินไป นักลงทุนควรตรวจสอบรายการสินทรัพย์หมุนเวียนของกิจการว่าเป็นอย่างไร รวมถึงควรวิเคราะห์อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio) ร่วมด้วยค่ะ

ตัวอย่างการคำนวณอัตราส่วนทุนหมุนเวียน

กำหนดให้บริษัท AA มีสินทรัพย์หมุนเวียนอยู่ที่ 100,000 บาท และมีหนี้สินหมุนเวียนอยู่ที่ 50,000 บาท โดยค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมประเภทเดียวกันกับที่บริษัท AA ดำเนินธุรกิจอยู่มีค่าอัตราทุนหมุนเวียน = 5 เท่า 

บริษัท AA สามารถคำนวณอัตราส่วนทุนหมุนเวียนได้ ดังนี้

อัตราส่วนทุนหมุนเวียน คือ 100,000 / 25,000 = 4 เท่า

จะแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์หมุนเวียนคิดเป็น 4 เท่าของหนี้สินหมุนเวียน ซึ่งมากเพียงพอที่จะใช้หนี้ระยะสั้นให้กับบริษัท แต่หากเทียบกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมเดียวกันนั้น Current Ratio ของบริษัท AA ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ดังนั้น นักลงทุนจึงจำเป็นต้องดูอัตราส่วนทางการเงินอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อใช้วิเคราะห์สภาพคล่องที่แท้จริง


Quick Ratio หรือ Acid Test Ratio คือ อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็วเป็นอัตราส่วนที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการชำระหนี้สินระยะสั้นของบริษัท โดยไม่จำเป็นต้องขายทรัพย์สิน, สินค้าคงคลัง หรือกู้เงินเพื่อมาชำระหนี้สินของกิจการ ซึ่งแสดงให้เห็นสภาพคล่องที่แท้จริงของกิจการนั้น ๆ ซึ่งการคำนวณ Quick Ratio มีสูตรดังต่อไปนี้

Quick Ratio = เงินสด + ลูกหนี้การค้า + เงินลงทุน / หนี้สินหมุนเวียน

สำหรับข้อแตกต่างของ Current Ratio และ Quick Ratio นั้น จะแตกต่างที่ Quick Ratio จะไม่รวมสินค้าคงคลังนั่นเอง ทำให้การคำนวณ Quick Ratio จะเป็นอัตราส่วนที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถมองเห็นสภาพคล่องระยะสั้นได้ดีกว่า Current Ratio เพราะปกติแล้ว สินค้าคงคลังจะเป็นรายการหลักที่มีมูลค่าของสินทรัพย์หมุนเวียนสูงที่สุด ซึ่งการที่อัตราส่วนสภาพคล่องสูงอาจมาจากสินค้าคงคลังสูง ทำให้สินทรัพย์ที่เป็นเงินหมุนเวียนไม่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันที

ตัวอย่างการคำนวณอัตราทุนหมุนเวียนเร็ว

กำหนดให้บริษัท AA มีเงินสดและรายการเทียบเท่าอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท มีลูกหนี้การค้าอยู่ที่ 2,000 ล้านบาท และบริษัท AA มีเงินลงทุนอยู่ที่ 200 ล้านบาท นอกจากนี้ บริษัทมีหนี้สินระยะสั้นอยู่ที่ 10,000 ล้านบาท

โดยอัตรา Quick Ratio สามารถคำนวณได้ดังต่อไปนี้

อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว คือ 5,000,000,000 + 2,000,000,000 + 200,000,000 / 10,000,000,000 = 0.72

ถือได้ว่า บริษัท AA บริหารกิจการได้ไม่ดีนัก เพราะอัตราเงินหมุนเวียนเร็วน้อยกว่า 1 แสดงว่า บริษัทมีสภาพคล่องต่ำ 


คำแนะนำจากคุณน้า

คำแนะนำจากคุณน้า

การคำนวณ Current Ratio และ Quick Ratio สามารถใช้ในการเปรียบเทียบระหว่างกิจการที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันเท่านั้น


นักลงทุนสามารถดูสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียนได้จากงบแสดงฐานะการเงินของเว็บที่บอกข้อมูลข่าวสารเกี่ยวข้องกับการลงทุนหรือในตราสารที่มีการซื้อขายกันอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เป็นต้น

ยกตัวอย่างเช่น หากคุณน้าต้องการซื้อหุ้น PTT ของบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) แล้วต้องการดูงบการเงินของบริษัท คุณน้าสามารถดูอัตราทุนหมุนเวียนได้ตามรายละเอียด ดังต่อไปนี้

1. เข้ามาที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและคลิกไปที่งบการเงิน

Current Ratio ดูได้จากตรงไหน : ขั้นตอนที่ 1

2. จากนั้นให้คลิกไปที่งบการเงินล่าสุด

Current Ratio ดูได้จากตรงไหน : ขั้นตอนที่ 2

3. สุดท้ายงบการเงินจะแสดงให้เห็นข้อมูลของสินทรัพย์หมุนเวียน, สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน, หนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้น

Current Ratio ดูได้จากตรงไหน : ขั้นตอนที่ 3

Current Ratio ดูได้จากตรงไหน : ขั้นตอนที่ 4

เมื่อคุณน้าต้องการดูค่าอัตราทุนหมุนเวียนก็สามารถดูจากสินทรัพย์หมุนเวียนและหารด้วยหนี้สินได้ค่ะ โดย Current Ratio ของหุ้น PTT จะอยู่ที่ 1.7 ซึ่งถือว่าบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) ยังเป็นบริษัทที่มีสภาพคล่องทางการเงิน อย่างไรก็ตาม คุณน้าขอแนะนำว่า นักลงทุนควรศึกษาผลประกอบการของบริษัทย้อนหลัง 5-10 ปีด้วย เพื่อประเมินว่า บริษัทสามารถเติบโตในอนาคตได้หรือไม่ รวมทั้งควรเปรียบเทียบกับบริษัทอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน เพื่อให้การลงทุนของคุณคุ้มค่ามากที่สุดค่ะ


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Current Ratio

  • ค่า Current Ratio มากกว่า 1 ขึ้นไป แสดงให้เห็นว่า กิจการนั้น ๆ มีสภาพคล่องทางการเงินที่ดี
  • ค่า Current Ratio น้อยกว่า 1 ลงไป แสดงให้เห็นว่า กิจการนั้น ๆ สภาพคล่องทางการเงินไม่ดี

อัตราทุนหมุนเวียนสามารถคำนวณได้โดยเอา สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน

Current Ratio คือ อัตราส่วนทุนหมุนเวียน ส่วน Quick Ratio คือ อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว ซึ่งจะแตกต่างกันที่การคำนวณของ Quick Ratio จะไม่รวมสินค้าคงคลังเอาไปคำนวณด้วยนั่นเอง

Acid Test Ratio หรือ Quick Ratio คือ อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็วเป็นอัตราส่วนที่แสดงให้เห็นถึง ความสามารถในการชำระหนี้สินระยะสั้นของบริษัท โดยไม่จำเป็นต้องขายทรัพย์สิน และสินค้าคงคลัง

Current Ratio จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถวิเคราะห์อัตราส่วนสภาพคล่องทางการเงินของกิจการได้ รวมทั้งยังใช้วิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรของกิจการ เพื่อนำไปวางแผนการดำเนินการธุรกิจในอนาคตได้อีกด้วย

จากที่กล่าวไปข้างต้น เห็นได้ว่า Current Ratio เป็นหนึ่งในการคำนวณที่สำคัญในการประเมินว่า ธุรกิจนั้น ๆ มีความสามารถในการทำกำไรหรือไม่ เพราะเป็นตัวชี้วัดที่ทำให้นักลงทุนเห็นถึงสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทที่ตนเองให้ความสนใจในการลงทุนค่ะ 

อย่างไรก็ตาม คุณน้าขอแนะนำว่า Current Ratio ไม่ได้การันตี 100% ว่า กิจการนั้นจะเติบโตได้ดีที่สุด เนื่องจากนักลงทุนควรวิเคราะห์ปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ไม่ว่าจะเป็นอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) อัตราผลตอบแทนทรัพย์สิน (ROA) และอัตรากำไรสุทธิ เป็นต้น เพราะการวิเคราะห์หลาย ๆ ปัจจัยจะช่วยให้คุณสามารถประเมินความเสี่ยงและสามารถวางแผนการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การลงทุนล้วนมีความเสี่ยง ดังนั้น นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลการลงทุนให้ละเอียดและรอบคอบ ก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง ด้วยความหวังดีจากทีมงานคุณน้าพาเทรดค่ะ

ที่มา : Weath Connex

สำหรับใครที่สนใจอ่านรีวิวโบรกเกอร์ : Review Brokers

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

khunnaphatrade
khunnaphatrade
Recent Post
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 By คุณน้าพาเทรด

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งมีข่าวสำคัญ สำหรับวันนี้คาดการณ์ว่า ราคาทองคำมีโอกาสปรับตัวลงไปที่บริเวณ 2,610-2,590 ดอลลาร์

3 สินทรัพย์น่าลงทุน หลังโดนัลด์ ทรัมป์คว้าชัย!
3 สินทรัพย์น่าลงทุน หลังโดนัลด์ ทรัมป์คว้าชัยในสมัยที่ 2

คุณน้าจะพาทุกคนมาส่อง 3 สินทรัพย์น่าลงทุนในยุคของโดนัลด์ ทรัมป์ จะมีสินทรัพย์ไหนเข้าตาบ้าง และผลกระทบของเศรษฐกิจไทยจะรุนแรงมากแค่ไหน เพื่อให้ทุกคนสามารถปรับพอร์ตลงทุนได้อย่างทันท่วงที

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 By คุณน้าพาเทรด

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งไม่มีมีข่าวสำคัญ สำหรับวันนี้คาดการณ์ว่า ราคาทองคำปรับตัวขึ้นไปที่บริเวณ 2,660-2,670 ดอลลาร์

รีวิว Titan FX เปิดทุกคุณสมบัติที่ควรรู้
รีวิว Titan FX เปิดทุกคุณสมบัติที่ควรรู้ ปี 2024

กลับมาพบกับคุณน้ารีวิวกันอีกแล้วนะคะ ในวันนี้ คุณน้าจะพาทุกคนไปอ่านรีวิวโบรกเกอร์ Titan FX ในทุกคุณสมบัติที่เทรดเดอร์ควรรู้ ไม่ว่าจะเป็นใบอนุญาต, ประเภทบัญชี, ค่าสเปรด, การฝากถอนเงิน รวมถึงจุดเด่นและจุดแข็งของ Titan FX กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปหาคำตอบกันเลย!