FOREX 101 : เงินอ่อนค่า คืออะไร ? เวลาค่าเงินอ่อนทำไมสำคัญ ?

ค่าเงิน US เงินอ่อนค่า
Table of Contents

คุณน้าเชื่อว่า เราทุกคนคงเคยได้ยินคำว่า เงินบาทอ่อนค่า เงินบาทแข็งค่า กันมาเป็นประจำเลยใช่มั้ยคะ เพราะราคาของค่าเงินแต่ละตัวนั้นจะมีการผันผวนขึ้นลงเป็นธรรมดา

หนึ่งสิ่งที่เทรดเดอร์ไม่ควรมองข้ามเลยก็คือ ค่าเงินของแต่ละประเทศค่ะ เพราะ Forex เป็นตลาดที่เก็งกำไรจากส่วนต่างของราคาอยู่แล้ว อย่างเช่น เวลาที่เราจะถอนเงิน เราก็คงต้องเลือกดูเวลาที่ 1 USD แลกได้เงินบาทไทยมากที่สุด จะได้คุ้มใช่มั้ยล่ะคะ

คุณน้าพาทุกคนรู้จักเงินอ่อนค่า

ค่าเงินอ่อน คืออะไร ? เงินอ่อนค่า คืออะไร ?

เงินอ่อนค่าคืออะไร

“การอ่อนค่าของสกุลเงิน” หรือที่เราเรียกกันว่า “ค่าเงินอ่อนค่า” หมายถึงการลดลงของมูลค่าสกุลเงินของประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ โดยมักวัดจากการลดลงของอัตราแลกเปลี่ยนค่ะ

อย่างเช่น เงินบาทของเรา ที่เรามักจะเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
เช่น 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 35.6 บาทไทย ณ ปัจจุบัน (วันที่ 12 ธันวาคม 2566)
ซึ่งในบางครั้งที่เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า ก็อาจจะเป็น 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 36 บาท หรือ 37 บาทได้

ในทางกลับกัน ถ้าเงินบาทแข็งค่า 1 ดอลลาร์สหรัฐ ก็อาจจะเหลือ 34 บาท หรือ 33 บาทไทยได้เช่นกันค่ะ

โดยมีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อมูลค่าสกุลเงินของแต่ละประเทศ และสามารถส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นหรืออ่อนค่าลงได้เช่นกัน


บทความที่เกี่ยวข้อง

สาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เงินอ่อนค่า

วันนี้คุณน้าจะยกสาเหตุและปัจจัยหลัก ๆ ที่มักส่งผลให้เงินอ่อนค่ามาให้ดูกันค่ะ ซึ่งก็คือ


เงินเฟ้อ

เงินอ่อนค่าเพราะเงินเฟ้อ

อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในประเทศนั้น ๆ อาจนำไปสู่การอ่อนค่าของสกุลเงินได้ โดยเฉพาะเมื่อราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น นั่นแปลว่าเราต้องมีเงินมากขึ้นเพื่อที่จะซื้อของได้ แบบนี้ก็จะส่งผลให้กำลังซื้อของสกุลเงินลดลง ทำให้มีมูลค่าน้อยลงในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศนั่นเองค่ะ


อัตราดอกเบี้ย

เงินอ่อนค่าเพราะอัตราดอกเบี้ย

การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยอาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าสกุลเงินด้วยเช่นกันค่ะ เพราะอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นมักจะดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศเพื่อแสวงหาผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือพูดง่าย ๆ คือนักลงทุนจะแห่เข้ามาลงทุนในประเทศที่อัตราดอกเบี้ยตอบแทนสูง ซึ่งอาจนำไปสู่การแข็งค่าของสกุลเงินได้ ในทางกลับกัน อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงอาจทำให้สกุลเงินอ่อนค่าลงด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นเทรดเดอร์หรือนักลงทุนจึงมักจับตาดูนโยบายดอกเบี้ยจาก FED เป็นประจำนั่นเองค่ะ


ความไม่สมดุลทางการค้า

เงินอ่อนค่าเพราะความไม่สมดุลทางการค้า

การขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง (การนำเข้ามากกว่าการส่งออก) สามารถสร้างแรงกดดันต่อสกุลเงินให้อ่อนค่าลงได้เช่นกันค่ะ เพราะจะสะท้อนถึงสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศนั่นเอง และเจ้าความไม่สมดุลทางการค้านี้ ก็อาจส่งผลให้ความต้องการสกุลเงินต่างประเทศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มูลค่าของสกุลเงินในประเทศลดลง


เสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ

เงินอ่อนค่าเพราะเศรษฐกิจ

ความไม่มั่นคงทางการเมือง ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ หรือการขาดความเชื่อมั่นในนโยบายเศรษฐกิจของประเทศอาจส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลงได้ค่ะ เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่นั้นจะเลือกลงทุนในประเทศที่มีความมั่นคงทางการเมือง เพื่อลดความเสี่ยงให้ได้มากที่สุดนั่นเอง และจะต้องเลือกลงทุนในประเทศที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้นด้วยเช่นกันค่ะ


การเก็งกำไร

การเก็งกำไรทำให้เงินอ่อนค่า

หากนักลงทุนคาดการณ์ว่าสกุลเงินจะอ่อนค่าลงในอนาคต พวกเขาอาจมีการเทขายสกุลเงินนั้นในปริมาณมาก ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลง ซึ่งมุมนี้เราอาจจะมองว่าเป็นการเทขายทำกำไรของ “เจ้า” แบบที่เราชอบพูดกันก็ได้ค่ะ ซึ่งการเทขายทำกำไร หรือการกว้านซื้อถ้าหากมองว่าสกุลเงินนั้นมีแนวโน้มจะแข็งค่าขึ้น ก็สามารถสร้างความผันผวนให้แก่ค่าเงินในช่วงเวลาสั้น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะส่งผลต่อเทรดเดอร์ในตลาด Forex เป็นหลักเลยค่ะ


หนี้รัฐบาล

หนี้รัฐบาลทำเงินอ่อนค่า

หนี้รัฐบาลในระดับสูงเมื่อเทียบกับ GDP อาจนำไปสู่ความกังวลและความไม่ไว้ใจในด้านเศรษฐกิจประเทศได้ค่ะ ซึ่งอาจส่งผลให้สูญเสียความเชื่อมั่นในสกุลเงินและส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลงได้


ข้อดี – ข้อเสีย เมื่อเงินอ่อนค่า



ส่งเสริมการส่งออก ได้ผลตอบแทนมากขึ้น

สกุลเงินที่อ่อนค่าลงสามารถทำให้การส่งออกของประเทศสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้มากขึ้น เนื่องจากต้นทุนสินค้าและบริการที่ผลิตในประเทศจะมีราคาถูกกว่าสำหรับผู้ซื้อจากต่างประเทศนั่นเองค่ะ เนื่องจากสินค้าจะมีราคาไม่แพงสำหรับผู้บริโภคชาวต่างชาติ และสามารถเป็นหนึ่งในสิ่งที่กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ส่งเสริมการท่องเที่ยว

สกุลเงินที่อ่อนค่าลงสามารถทำให้ประเทศเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมากขึ้น อุตสาหกรรมการเดินทางและการท่องเที่ยวอาจมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นทุนสินค้าและบริการมีราคาไม่แพงสำหรับชาวต่างชาติ ถ้าจะให้คุณน้ายกตัวอย่างก็คงจะเป็นประเทศญี่ปุ่น ที่เป็นหนึ่งในจุดหมายหลักอันดับต้น ๆ ของนักท่องเที่ยว ซึ่งเงินเยนอ่อนค่าเป็นปกติ แต่ก็เป็นผลดีต่อประเทศค่ะ

การชำระหนี้

สำหรับประเทศที่มีหนี้เป็นสกุลเงินต่างประเทศจำนวนมาก สกุลเงินที่อ่อนค่าลงจะทำให้สามารถชำระหนี้ภายนอกโดยใช้สกุลเงินท้องถิ่นได้ง่ายขึ้น ซึ่งอาจช่วยลดภาระหนี้โดยรวมได้ค่ะ

ป้องกันความเสี่ยงเงินเฟ้อ

การอ่อนค่าของสกุลเงินสามารถทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันแรงกดดันจากภาวะเงินฝืดโดยอาจเพิ่มราคานำเข้า สิ่งนี้สามารถช่วยป้องกันหรือบรรเทาภาวะเงินฝืด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่เผชิญกับราคาซบเซาหรือลดลง


ราคานำเข้าเพิ่มขึ้น

การที่เงินอ่อนค่าลงอาจส่งผลให้ราคานำเข้าสูงขึ้นค่ะ โดยทำให้สินค้านำเข้าและวัตถุดิบมีราคาแพงขึ้นสำหรับผู้บริโภคและธุรกิจในประเทศ สิ่งนี้สามารถนำไปสู่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อได้

ความสามารถในการจับจ่ายซื้อขายลดลง

การที่เงินอ่อนค่า แน่นอนว่าเราจะต้องซื้อสินค้าหรือบริการในราคาที่สูงขึ้น เนื่องจากสินค้านำเข้ามีราคาแพงขึ้น อาจส่งผลให้มาตรฐานการครองชีพของบุคคลและครัวเรือนลดลงค่ะ

แรงกดดันด้านเงินเฟ้อ

แม้ว่าค่าเงินอ่อนค่าจะช่วยป้องกันภาวะเงินฝืด แต่ก็อาจส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อได้เช่นกัน ราคานำเข้าที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นสำหรับธุรกิจ อาจส่งผลให้ระดับราคาโดยรวมในระบบเศรษฐกิจสูงขึ้น

ความไม่แน่นอน

การที่เงินอ่อนค่า แน่นอนว่าจะส่งผลต่อการวางแผนและความกังวลของนักลงทุนต่างชาติค่ะ ซึ่งก็อาจจะเกิดการลดการลงทุนในประเทศที่สกุลเงินอ่อนค่า จนเกิดความผันผวนของค่าเงินและเศรษฐกิจในประเทศได้เช่นกัน

แรงกดดันด้านอัตราดอกเบี้ย

ธนาคารกลางอาจต้องมีการตอบสนองการอ่อนค่าของสกุลเงินโดยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อรักษาเสถียรภาพของสกุลเงินและควบคุมอัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอาจส่งผลเสียต่อต้นทุนการกู้ยืมและการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคตได้ค่ะ

ความไม่เท่าเทียมกันของรายได้

ผลกระทบของการที่ค่าเงินอ่อนค่า อาจทำให้ความไม่เท่าเทียมกันของรายได้รุนแรงขึ้นอีกค่ะ เนื่องจากประชาชนอาจไม่สามารถซื้อของหรือมีเงินเก็บเท่าเดิมได้ ในขณะที่ผู้ที่มีสถานะมั่นคงอาจจะไม่ได้รับผลกระทบมากเท่าไหร่

เทียบข้อดีข้อเสียเมื่อเงินอ่อนค่า

ช่วงเงินอ่อนค่า ควรลงทุนอย่างไรดี ?

ลงทุนในช่วงเงินอ่อนค่า

รับข่าวสารและทำการวิเคราะห์

ติดตามตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ, นโยบายของธนาคารกลาง และเหตุการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินที่เรากำลังสนใจลงทุน จากนั้นประเมินพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศที่เกี่ยวข้อง ดูปัจจัยต่าง ๆ เช่น อัตราเงินเฟ้อ, การจ้างงาน และดุลการค้า เพื่อวัดความสมบูรณ์โดยรวมของเศรษฐกิจว่ามีความน่าลงทุนมากน้อยแค่ไหน

อย่าลืมใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคเพื่อระบุแนวโน้ม แนวรับ และแนวต้าน ไว้ด้วยนะคะ ซึ่งสามารถเลือกใช้ Indicators ได้ตามที่เราถนัดเลย

กระจายความเสี่ยง, บริหารความเสี่ยง และป้องกันความเสี่ยง

กระจายการถือครองสกุลเงินเพื่อกระจายความเสี่ยงนั้นเป็นเรื่องที่ดีค่ะ แต่อย่าลืมมีสกุลเงินผสมหรือคู่สกุลเงินในการซื้อขายที่ไม่มีความสัมพันธ์กันมากนักไว้ในพอร์ตด้วย เพราะถ้าหากเราถือแต่คู่สกุลเงินที่มีความสัมพันธ์กัน ข้อดีคือหากเราถือถูกหน้า (เช่น หน้า Sell หน้า Buy) ก็จะทำให้เราทำกำไรได้ในทุกสกุลเงินหรือสินทรัพย์ที่เราถือ แต่ถ้าหากว่าผิดทาง ก็อาจส่งผลเสียต่อพอร์ตเราได้มากเช่นกันค่ะ

เพราะฉะนั้นการถือสกุลเงินหรือสินทรัพย์ที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน หรือสัมพันธ์กันต่ำ ก็จะสามารถช่วยลดผลกระทบของค่าเงินที่อ่อนค่าลงได้เช่นกันนะคะ

พิจารณาสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

ในช่วงที่ค่าเงินอ่อนค่า นักลงทุนมักจะมองหาสินทรัพย์ที่ปลอดภัย เช่น ทองคำหรือสกุลเงินที่มีเสถียรภาพค่ะ

เพราะฉะนั้นการมองหาสินทรัพย์หรือสกุลเงินปลอดภัยไว้ในพอร์ตเราด้วย พอร์ตเราก็จะมีความเสี่ยงต่ำ ถึงแม้จะเป็นช่วงที่เงินอ่อนค่า

มีวินัย

เมื่อเราวางแผนด้านการลงทุนเรียบร้อยแล้ว ก็เหลือแค่การทำตามแผนและมีวินัยกับแผนที่เราคิดไว้ค่ะ สิ่งสำคัญเลยที่เทรดเดอร์หรือนักลงทุนมักจะมองข้ามหรือผิดพลาดกับมันก็คือการไม่ทำตามแผนและปล่อยให้อารมณ์หรือความกลัวเป็นใหญ่กว่าเหตุและผลค่ะ เพราะฉะนั้น การมีวินัยจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมาก ๆ เลยค่ะ

คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับเงินอ่อนค่า

คือ การลดลงของมูลค่าสกุลเงินของประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ โดยมักวัดจากการลดลงของอัตราแลกเปลี่ยน

ข้อดี

  • ส่งเสริมการส่งออก ได้ผลตอบแทนมากขึ้น
  • ส่งเสริมการท่องเที่ยว
  • การชำระหนี้
  • ป้องกันความเสี่ยงเงินเฟ้อ

ข้อเสีย

  • ราคานำเข้าเพิ่มขึ้น
  • ความสามารถในการจับจ่ายซื้อขายลดลง
  • แรงกดดันด้านเงินเฟ้อ
  • ความไม่แน่นอน
  • แรงกดดันด้านอัตราดอกเบี้ย
  • ความไม่เท่าเทียมกันของรายได้

  1. ศึกษาข้อมูลและข่าวสาร
  2. กระจายความเสี่ยงในการลงทุน
  3. ศึกษาสินทรัพย์ปลอดภัย
  4. ดูว่าคู่สกุลเงินหรือสินทรัพย์ใดได้ผลประโยชน์เมื่อสกุลเงินอ่อนค่า
  5. บริหารเงินลงทุน

สรุปเงินอ่อนค่าคืออะไร ?

การที่เงินอ่อนค่า ไม่ใช่จะเป็นเรื่องที่แย่เสมอไปนะคะ เพราะทั้งประเทศที่มีค่าเงินอ่อนค่าลง และนักลงทุนยังคงหาทางสร้างผลประโยชน์จากการที่ค่าเงินอ่อนค่าได้เช่นกัน

สิ่งสำคัญที่ควรทราบก็คือผลกระทบของการอ่อนค่าของสกุลเงินอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาวะทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศด้วยเช่นกัน รวมไปถึงวิธีการรับมือของรัฐบาลและธนาคารของแต่ละประเทศ

คุณน้าหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับเงินอ่อนค่าและเงินแข็งค่าได้ไม่มากก็น้อยนะคะ

คุณน้าพารู้จักเงินอ่อนค่า

ขอบคุณข้อมูลจาก : Investopedia 

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

Picture of คุณน้า
คุณน้า
คุณน้าเป็นเทรดเดอร์ที่คลุกคลีอยู่ในตลาดต่าง ๆ ร่วม 10 ปี จึงอยากนำความรู้ที่มีมาแบ่งปันให้กับทุกคน
Recent Post
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 มกราคม 2568
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 มกราคม 2568 By คุณน้าพาเทรด

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 มกราคม 2568 ซึ่งมีข่าวสำคัญจากสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า ราคาทองคำจะปรับตัวลงไปทดสอบแนวรับที่ 2,690 ดอลลาร์อีกครั้งค่ะ

Exness ดีไหม? รีวิวทุกข้อสำคัญ ปี 2025
Exness ดีไหม? รีวิวทุกข้อสำคัญ ฉบับอัปเดตปี 2025

วันนี้คุณน้าเลยอยากจะหยิบยกโบรกเกอร์ Exness มาให้ทุกคนได้อ่านกัน เผื่อว่าท่านใดที่สนใจหาข้อมูลโบรกเกอร์อยู่จะใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ

Day Trade คืออะไร เรียนรู้การเป็นเทรดเดอร์รายวันแบบละเอียด
Day Trade คืออะไร? เรียนรู้การเป็นเทรดเดอร์รายวันแบบละเอียด

Day Trade (เดย์เทรด) คือ กลยุทธ์สำหรับเทรดเดอร์ที่ชื่นชอบการเปิดปิดออเดอร์ภายในวันเดียว ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นนักเก็งกำไรระยะสั้น

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 13 มกราคม 2568
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 13 มกราคม 2568 By คุณน้าพาเทรด

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันจันทร์ที่ 13 มกราคม 2568 กันค่า วิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ บทวิเคราะห์ภาพรวมปัจจัยพื้นฐาน เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาราคาทองคำปรับตัวขึ้น 18