อัตราเงินเฟ้อทั่วไป หรือที่เราเรียกกันว่า ดัชนี CPI เป็นการวัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นดัชนีที่เทรดเดอร์และนักลงทุนต่างให้ความสนใจเนื่องจากเป็นตัวกำหนดค่าเงินและแนวโน้มการเทรดหรือการลงทุน
CPI คือ ?
CPI (Consumer Price Index) หรือดัชนีราคาผู้บริโภค คือการวัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าบริการที่ครัวเรือนใช้จ่ายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดย CPI ถูกใช้อย่าแพร่หลายในตลาดการเงินเพื่อวัดอัตราเงินเฟ้อ ดังนั้นนักลงทุนจึงมีการวิเคราะห์ทิศทางเศรษฐกิจด้วยค่า CPI ถ้าค่า CPI สูงแสดงให้เห็นตัวเลขของเงินเฟ้อที่ไม่สามารถลดลงได้
CPI ส่งผลต่อนักลงทุนและเทรดเดอร์อย่างไร
CPI พื้นฐานวัดจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนั้นนักลงทุนและเทรดเดอร์จึงให้ความสนใจค่า CPI มากขึ้นเพราะสามารถวัดภาวะเงินเฟ้อได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติ BLS หรือ สำนักงานสถิติแรงงานจะประกาศค่า CPI ทุกเดือนด้วยการเก็บข้อมูล
CPI ของสหรัฐได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากนักลงทุนหรือเทรดเดอร์เนื่องจากเป็นสกุลเงินดอลลาร์ได้รับความนิยม รวมถึง FED จึงมีการนำ CPI ไปปรับใช้กับนโยบายทางการเงิน โดยมีเป้าหมายสำหรับการคงอัตราเงินเฟ้อ ดังนั้นเทรดเดอร์และนักลงทุนมีการติดตามค่า CPI เพื่อที่จะเลือกสินทรัพย์ที่จะลงทุน
CPI สหรัฐกับสกุลเงินดอลลาร์
เพราะค่า CPI สามารถบอกภาวะเศรษฐกิจได้ ดังนั้นถ้าหาก CPI สูงนักลงทุนเลือกลงทุนสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ แต่ถ้า CPI ต่ำนักลงทุนเริ่มมองหาสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงกันค่ะ
CPI สูงกว่าการคาดการณ์ถือเป็นลักษณะเชิงบวกสำหรับสกุลเงินดอลลาร์
CPI ต่ำกว่าการคาดการณ์ถือเป็นลักษณะเชิงลบสำหรับสกุลเงินดอลลาร์
CPI และ ตัวเลข Core CPI ที่ไม่ได้รวมค่าอาหารและค่าพลังงานถือเป็น indicator พื้นฐานที่เทรดเดอร์นิยมใช้ประกอบในเรื่องประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ
สรุป
CPI คือ การวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ โดย BLS มีการเก็บข้อมูลและมีการประกาศตัวเลขออกมาทุกเดือน ซึ่งค่า CPI มีความสำคัญในการชี้ให้เห็นถึงภาวะเงินเฟ้อ และส่งผลต่อการผันผวนอย่างรุนแรงของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งประกาศล่าสุดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา โดย CPI ที่ประกาศออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยงพุ่งขึ้นทันที นักลงทุนและเทรดเดอร์จึงได้จับตามอง CPI เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มราคาสินทรัพย์ก่อนตัดสินใจลงทุน อย่างไรก็ตามการเทรดและการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ดังนั้นเราควรวิเคราะห์ความเสี่ยงอย่างรอบคอบก่อนลงทุนค่ะ
บทความในด้านเศรษฐกิจที่น่าสนใจ : Investing
คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge
ขอขอบคุณข้อมูล : Investopedia