ทำไม “งบการเงิน” ถึงเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจของนักลงทุน

ทำไม "งบการเงิน" ถึงเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจของนักลงทุน
Table of Contents

เข้าสู่โค้งสุดท้ายของปีแล้ว หลาย ๆ คนอาจคาดหวังผลตอบแทนที่จะได้รับจากหุ้นของบริษัทที่ลงทุนไป ซึ่งก็ต้องมีทั้งที่ดีใจและเสียใจเป็นธรรมดาค่ะ แต่ก็อย่าลืมกันนะคะว่า ในช่วงต้นปีหน้า งบการเงินจะทยอยออกมาให้เราได้เชยชมกันแล้ว และสำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่า “งบการเงิน” คืออะไร? สำคัญอย่างไรต่อนักลงทุน? วันนี้คุณน้าจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกันค่ะ


งบการเงิน คืออะไร ?

งบการเงิน คือ รายงานทางการเงินและบัญชีที่มีแบบแผน ได้รับการตรวจสอบและรับรองจากหน่วยงานรัฐบาล นักบัญชี บริษัท และภาคส่วนอื่น ๆ เพื่อแสดงฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการนั้น ๆ ในแต่ละรอบบัญชี

หากให้อธิบายง่าย ๆ งบการเงินก็เหมือน Statement ของบัญชีธนาคารที่เราใช้เพื่อบอกถึงฐานะของคนที่ถือ รายรับ รายจ่าย ตลอดจนการบริหารจัดการเงินในบัญชี ซึ่งทำให้เรารู้ถึงนิสัยใจคอของคน ๆ นั้น 

เช่น เขามีรายรับเข้ามาจากทางไหนบ้าง แล้วนำเงินนั้นไปต่อยอดอย่างไร สิ่งที่นำไปต่อยอดมีผลตอบแทนดีหรือไม่ หรือเขาสร้างแต่หนี้สิน? ทั้งหมดนี้จะทำให้เราคาดการณ์การบริหารเงินในอนาคตของคน ๆ นั้นได้นั่นเองค่ะ


ทำไม "งบการเงิน" ถึงเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจของนักลงทุน

องค์ประกอบของงบการเงิน

กว่าจะมาเป็นงบการเงินที่สรุปภาพรวมทั้งหมดให้ทุกคนเข้าใจได้ แน่นอนว่า มันต้องมีหลายองค์ประกอบค่ะ โดยจะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ คือ

1) งบดุล

งบดุลจะทำหน้าที่ในการแสดงฐานะทางการเงินของบริษัท ณ วันสิ้นงวดบัญชี ประกอบด้วยสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนผู้ถือหุ้น ซึ่งหากจะให้พูดเข้าใจง่าย ๆ มันก็คือ “สินทรัพย์ทุกอย่างที่เรามี” แบบแยกส่วน ทั้งที่เป็นส่วนของเรา ผู้ร่วมลงทุน และส่วนที่ยังชำระหนี้หรือยังผ่อนไม่หมดค่ะ

2) งบกำไรขาดทุน

งบกำไรขาดทุน หรืองบกำไรสุทธิ จะทำหน้าที่ในการแสดงกิจกรรมจากการดำเนินงาน ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ประกอบด้วยรายได้และค่าใช้จ่าย โดยงบกำไรขาดทุนจะแสดงให้เห็นว่า เราใช้สินทรัพย์ที่ซื้อมาสร้างกำไรให้เราได้เท่าไหร่ หรือหากอธิบายอย่างง่ายก็คือ “เงินได้ หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ” ค่ะ

3) งบกระแสเงินสด

งบกระแสเงินสดจะทำหน้าที่ในการแสดงกระแสเงินสดเข้า – ออก ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน กระแสเงินสดจากการลงทุน และกระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน พูดง่าย ๆ มันก็เหมือน “เงินสดที่มีอยู่ในกระเป๋าเงินของเรา” นั่นเองค่ะ

อย่างไรก็ดี นอกจากองค์ประกอบที่กล่าวมาแล้ว ยังมีข้อมูลสำคัญที่เราไม่ควรมองข้ามค่ะ นั่นก็คือ “หมายเหตุประกอบงบการเงิน” ซึ่งเป็นส่วนอธิบายภาพรวม ที่มาที่ไปของตัวเลข และรายละเอียดต่าง ๆ ในงบการเงินทั้งหมดค่ะ


ทำไม "งบการเงิน" ถึงเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจของนักลงทุน

งบการเงินประกาศตอนไหน ?

โดยปกติแล้ว งบการเงินจะถูกประกาศออกมาทุกไตรมาส หรือทุก ๆ 3 เดือนนั่นเองค่ะ ซึ่งบริษัทจะต้องส่งงบการเงินให้ ก.ล.ต. ภายใน 45 วันหลังจบไตรมาส หรือหลังปิดงบ ดังนั้น ช่วงเวลาที่เราจะได้เห็นการประกาศงบการเงินของแต่ละบริษัทจึงอยู่ระหว่างนี้ คือ

  • ไตรมาส 1 (Q1) ออกประมาณเดือนเมษายน – กลางพฤษภาคม
  • ไตรมาส 2 (Q2) ออกประมาณเดือนกรกฎาคม – กลางสิงหาคม
  • ไตรมาส 3 (Q3) ออกประมาณเดือนตุลาคม – กลางพฤศจิกายน
  • ไตรมาส 4 (Q4) ออกประมาณเดือนมกราคาคม – กลางกุมภาพันธ์ของปีถัดไป


ทำไมต้องดูงบการเงินประกอบการลงทุน ?

งบการเงินมีผลต่อการตัดสินใจในการลงทุนอย่างไร? หากอ่านมาตั้งแต่ต้น เราจะเห็นได้ว่า งบการเงินนี้เป็นตัวชี้ให้เห็นถึง “ศักยภาพของกิจการนั้น ๆ” ค่ะ แต่หากให้ขยายความมากขึ้น คุณน้าก็ขอชี้แจงเป็นรายข้อดังนี้ค่ะ

1) สภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ

งบการเงิน แน่นอนว่า ต้องชี้ให้เห็นถึงข้อมูลสำคัญทางการเงิน ทั้งรายรับ-รายจ่าย ภาระหนี้สิน และยอดเงินในส่วนต่าง ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เราเห็นว่า บริษัทนั้นมีสภาพคล่องทางการเงินและความมั่งคั่งของกิจการเป็นอย่างไร รวมถึงจัดการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใดจากงบการเงินเหล่านี้ค่ะ

2) ผลการดำเนินงาน

นอกจากรายรับ-รายจ่าย และภาระหนี้สินที่เราเห็นในงบการเงินแล้ว เรายังสามารถสังเกตผลการดำเนินงานของกิจการนั้น ๆ ได้จากงบการเงินผ่านงบกำไรสุทธิ ซึ่งหากกิจการนั้นบริหารงานได้ไม่ดี มันก็อาจทำให้ภาระหนี้สินมากกว่ากำไร หรือได้กำไรน้อยหากเทียบกับกิจการอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน อันจะส่งผลต่อผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับค่ะ

3) การบริหารจัดการ

งบการเงินนอกจากจะแสดงให้เห็นถึงฐานะทางการเงินของกิจการนั้น ๆ แล้ว ความแข็งแกร่งของฐานะทางการเงินยังชี้ให้เห็นถึงความสามารถในการบริหารจัดการภายในองค์กร ทั้งในแง่การบริหารงาน เงิน ผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาองค์กรในอนาคตค่ะ ซึ่งหากการบริหารจัดการภายในเป็นไปได้ด้วยดี มีศักยภาพ ก็จะทำให้กิจการนั้นมีโอกาสเติบโตในระยะยาว และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันที่สูงขึ้นนั่นเองค่ะ


ข้อดี-ข้อเสียของงบการเงิน

ข้อดีของงบการเงิน

  • แสดงกิจกรรมและธุรกรรมทางการเงินของกิจการ
  • บ่งบอกถึงสภาพและความสามารถของกิจการ
  • กำหนดความสามารถในการชำระหนี้
  • ใช้เป็นข้อมูลย้อนหลังในการประกอบการตัดสินใจของนักลงทุน

ข้อเสียของงบการเงิน

  • งบการเงินเป็นข้อมูลย้อนหลัง ไม่สามารถตัดสินอนาคตของกิจการนั้น ๆ อย่างแน่ชัดได้
  • การปิดบังข้อมูล หรือรายงานเท็จในงบการเงิน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนเกิดความสูญเสีย


สรุปรวม งบการเงิน คืออะไร ?

โดยสรุป งบการเงิน ก็คือ ข้อมูลสำคัญทางการเงินที่ทำให้นักลงทุนรู้ว่า การดำเนินธุรกิจในอดีตที่ผ่านมาของบริษัทนั้นเป็นอย่างไร ส่วนผลประกอบการจะแสดงให้เห็นถึงตัวเลขต่าง ๆ ที่ทำให้เราทราบถึงความสามารถในการบริหาร ตลอดจนการเติบโตในอนาคตของบริษัทนั่นเองค่ะ ดังนั้น ทุกคนอย่าลืมดูงบการเงินของบริษัทที่สนใจประกอบการตัดสินใจลงทุนด้วยนะคะ และอย่าลืมศึกษาข้อมูลในส่วนต่าง ๆ เพิ่มเติม เพื่อไม่ให้เราตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงจากมิจฉาชีพค่ะ


ขอบคุณข้อมูลจาก : Investopedia, SET Invest Now 1, SET Invest Now 2, Accounting Tools

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

khunnaphatrade
khunnaphatrade
Recent Post
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 16 ธันวาคม 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 16 ธันวาคม 2567 By คุณน้าพาเทรด

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 16 ธันวาคม 2567 ซึ่งมีข่าวสำคัญจากสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า ราคาทองคำมีโอกาสปรับตัวลงไปที่บริเวณ 2,645-2,647 ดอลลาร์ และเกิด QM ค่ะ

แนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุน ต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส
แนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุน ต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส

คุณน้าจะขอแนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุนต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส ไปกับตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นสหรัฐฯ เพื่อเป็นการเอาฤกษ์เอาชัย ก่อนจะเริ่มต้นปี 2025 กันค่ะ

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 11 ธันวาคม 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 11 ธันวาคม 2567 By คุณน้าพาเทรด

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันพุธที่ 11 ธันวาคม 2567 กันค่า วิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ เมื่อวานนี้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นกว่า 33 ดอลลาร์