กรอบเวลา (Time Frame) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญในการเทรดเกือบทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น Forex, Cryptocurrency, หรือแม้กระทั่งทองคำ ในการเทรดแต่ละครั้งจะสังเกตเห็นว่า แต่ละไทม์เฟรมของกราฟจะมีรูปแบบที่ต่างกัน ในขณะที่ไทม์เฟรมหนึ่งให้สัญญาณเซลล์ แต่อีกไทม์เฟรมหนึ่งบอกมันกำลังขึ้น ดูแล้วสับสน จับต้นชนปลายไม่ถูก นี่ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้นักเทรดมือใหม่ ตัดสินใจพลาดในการเทรด เพราะยังเลือกใช้ไทม์เฟรมไม่เหมาะสม หรือไม่ตรงตามจริตของแต่ละคน
ถ้าให้อธิบายง่าย ๆ กรอบเวลาหมายถึง ระยะเวลาที่เทรนด์นั้น ๆ คงอยู่ในตลาด ซึ่งผู้เทรดสามารถระบุและนำมาใช้งานได้ ในการคาดการณ์ทิศทางของตลาดได้ ซึ่งหลังจากนี้เรามาดูกันค่ะ ว่าในแต่ละไทม์เฟรมมันแตกต่างกันอย่างไร และเหมาะกับนักลงทุนสไตล์แบบไหนบ้าง
กรอบเวลาระดับ 1-5 นาที
ส่วนมากใช้ในการเทรดหุ้นที่เข้าตลาดวันแรกหรือไอพีโอ เนื่องจากไม่มีกราฟราคาย้อนหลังจึงต้องเล่นในไทม์เฟรมที่สั้นเพื่อป้องกันความเสี่ยง รวมถึงคนที่เทรดตราสารอนุพันธ์อย่าง TFEX เนื่องจากราคามีการเวี่ยงตัวค่อนข้างแรง
- ข้อดี: สามารถเทรดได้ตลอดทั้งวัน และรู้ผลกำไรขาดทุนเร็วทันใจ
- ข้อเสีย: ค่าสเปรดสูง ความแม่นยำในการเทรดน้อยเพราะกราฟขึ้นๆลงๆในช่วงเวลาสั้น ๆ
กรอบเวลาระดับ 15,30,60 นาที
ใช้ในการเก็งกำไรหุ้นรายวันหรือเดย์เทรด เนื่องจากราคาหุ้นมีความผันผวนสูง จึงต้องเน้นเข้าออกหุ้นด้วยความรวดเร็ว
- ข้อดี: เทรดได้หลายครั้งกว่าระยะยาว
- ข้อเสีย: ค่าสเปรดขึ้นลงตามออเดอร์ และความเสี่ยงเพิ่มเมื่อถือข้ามคืน
กรอบเวลา ระดับวัน (Day)
ใช้วิเคราะห์ทิศทางเมื่อราคาปิดสิ้นวัน (End Of Day) ความผันผวนของราคาจะลดลง เหมาะกับนักลงทุนระยะกลางขึ้นไป จะเริ่มใช้เครื่องมือที่เป็น Lagging Indicator อย่าง MACD,RSI ได้ผลชัดเจน
- ข้อดี: เห็นเทรนด์มุมมองของราคากว้างขึ้น
- ข้อเสีย: เทรดได้น้อยครั้ง
กรอบเวลา ระดับสัปดาห์และเดือน (Week and Month)
ใช้ในการวิเคราะห์ภาพใหญ่ของหุ้น เหมาะกับนักลงทุนระยะยาวที่ถือหุ้นนานระดับปีขึ้นไป
- ข้อดี: เหมาะกับ Trend Following (เล่นตามเทรนด์)
- ข้อเสีย: ต้องใจเย็นและใช้ความอดทนสูง
ดังนั้นนักลงทุนจึงควรเลือกใช้ไทม์เฟรมในการวิเคราะห์ให้เหมาะสมกับสไตล์การลงทุนของตัวเอง เพื่อประสิทธิภาพและผลตอบแทนที่สูงสุดนั่นเองนะคะ เพียงเท่านี้เวลาเทรดก็จะไม่สับสนอีกต่อไปแล้วค่ะ สำหรับวันนี้ก็มีเรื่องที่จะมาแบ่งปันเพียงเท่านี้ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้านะค้า
บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : คลิกที่นี่
คลังความรู้จากคุณน้า : คลิกที่นี่
ขอบคุณข้อมูลจาก : Investopedia