Quantitative Easing : QE คืออะไร ? ทำไมถึงสำคัญต่อเศรษฐกิจ

QE
Table of Contents


กำลังเป็นประเด็นร้อนแรงในช่วงนี้เลยนะคะสำหรับประเด็นการทำ Quantitative Easing หรือ QE แต่คุณน้าพาเทรดเชื่อว่าหลายๆ คนก็กำลังเกิดข้อสงสัยกันใช่ไหมคะว่า มาตรการ QE คืออะไร แล้วส่งผลกระทบอย่างไรต่อเศรษฐกิจ? วันนี้คุณน้าพาเทรดจะพาทุกคนไปหาคำตอบพร้อมๆ กันค่ะ


มาตรการ QE คืออะไร ?


มาตรการ QE คือรูปแบบหนึ่งของนโยบายทางการเงินที่ไม่เป็นทางการ ที่ซึ่งธนาคารกลางได้ทำการซื้อหลักทรัพย์ระยะยาว (Long-term Securities) จากตลาดการค้าเสรี (Open Market) โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มปริมาณเงิน และสนับสนุนให้เกิดการลงทุนและการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งการซื้อหลักทรัพย์เหล่านี้ก็จะถือว่าเป็นการเพิ่มเงินเข้ามาในเศรษฐกิจนั่นเองค่ะ และยังเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยโดยการประมูลตราสารหนี้ นอกจากนี้ยังขยายงบดุลของธนาคารกลางอีกด้วย


FED QE คืออะไร


หลักการของ QE คืออะไร?


ธนาคารกลางจะทำการเพิ่มปริมาณเงินในระบบโดยจัดซื้อหลักทรัพย์ต่างๆ และพันธบัตรรัฐบาล อีกทั้งยังทำการลดดอกเบี้ย และเมื่อดอกเบี้ยลดลง ธนาคารก็สามารถปล่อยสินเชื่อได้ง่ายขึ้น


Quantitative Easing or QE คืออะไร


ทุกประเทศสามารถทำ QE ได้ไหม?


ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ประเทศเล็กๆ จะออกมาตรการนี้ได้ค่ะ โดยการทำ QE สามารถเป็นกรณีที่ใช้เงินที่มีอยู่แล้วเข้าไปซื้อสินทรัพย์ทางการเงินที่ต้องการสนับสนุน แต่ในหลายกรณี เช่น มาตรการ QE สหรัฐ มีการ “พิมพ์เงิน” เพิ่มเข้าไปในระบบด้วย

การพิมพ์เงินทำให้สมดุลของปริมาณเงินในระบบเปลี่ยนไป ถ้าไม่ใช่ประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่งจะไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ เพราะทั่วโลกจะไม่ยอมรับหรือไม่ให้ความเชื่อถือต่อสกุลเงินของประเทศดังกล่าว แต่กรณีของสหรัฐ ได้ “บุญเก่า” จากการที่ U.S. Dollar ถูกใช้เป็นเงินทุนสำรองของประเทศต่างๆ ทั่วโลก

นอกจากนี้ การซื้อขาย สินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลก (Commodity) โดยเฉพาะสินค้าที่มีฟันเฟืองของโลกอุตสาหกรรมอย่าง “น้ำมันดิบ” ก็ยังต้องซื้อขายกันเป็น U.S. Dollar ทำให้แม้ว่าสหรัฐฯ จะยังพิมพ์เงิน QE อย่างต่อเนื่อง แต่ถ้าทั่วโลกเชื่อมั่นในดอลลาร์ (ไม่ว่าจะเชื่อมั่นอย่างเต็มใจหรือไม่ก็ตาม) สหรัฐฯ ก็ยังสามารถทำ QE ได้โดยไม่มีปัญหา


ข้อดีของการทำ QE คืออะไร?


What is QE คืออะไร


จะเกิดอะไรขึ้นหากผู้คนหรือบริษัทเริ่มรู้สึกไม่มั่นคงเกี่ยวกับอนาคตของเศรษฐกิจ และเริ่มรู้สึกว่าการกู้ยืมเงินหรือการไปเป็นหนี้คนอื่นเป็นสิ่งที่อาจจะส่งผลอันตรายของสถานภาพทางการเงินของพวกเขา?

เหตุผลที่มาตรการนี้จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในสภาวะแบบนี้ ย้ำอีกครั้งว่า เพราะนโยบายนี้มีผลกระทบต่อปริมาณเงินในระบบ มันจะกระตุ้นการไหลเวียนของปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ และส่งผลในเชิงจิตวิทยาทางเศรษฐกิจด้วย เพราะหากธุรกิจเริ่มใช้จ่าย คนเริ่มรู้สึกว่า “รัฐกำลังอัดเงิน” มีเงินไหลเวียนเยอะ คนจะกล้าใช้จ่าย และทำให้เงินมีการไหลเวียนมากขึ้นจริงๆ ตามที่รู้สึก


ข้อเสียของการทำ QE คืออะไร?


Inflation in QE


แน่นอนว่าในเมื่อมีข้อดีแล้วก็ย่อมมีข้อเสียเช่นเดียวกัน ในเมื่อเงินมีปริมาณเพิ่มขึ้น ผลที่ตามมาของการทำ QE คือทำให้มูลค่าที่แท้จริงของเงินลดลงนั่นเอง หรือที่เราเรียกว่าการเกิดภาวะ “เงินเฟ้อ” ดังนั้น การทำ QE ต้องพิมพ์เงินอัดเงินในระดับที่ไม่เร็วเกินไป, ช้าเกินไป หรือมากเกินไป โดยธนาคารกลางจะใช้ CPI หรือดัชนีเงินเฟ้อเป็นมาตรวัดว่า ควรจะทำ QE ต่อไปดีหรือไม่ ควรจะทำในปริมาณเท่าใด โดยทั่วไปมักคุมเงินเฟ้อไว้ในกรอบ 2% ถึง 5% ต่อปี


สรุป

จากที่คุณน้าได้กล่าวไปข้างต้น มาตรการ Quantitative Easing หรือมาตรการ QE คือ นโยบายการเงินที่มีจุดประสงค์ทำให้เงินไหลเวียนในระบบมากขึ้น หลายประเทศจึงได้นำมาตรการ QE ไปใช้เมื่อเจอสถานการณ์ที่อยากเพิ่มเงินเข้ามาในระบบเศรษฐกิจ ทำให้คนในประเทศกล้าจับจ่ายใช้สอยมากยิ่งขึ้น แต่มาตรการ QE ก็ยังมีข้อเสีย คือเมื่อปริมาณเงินในระบบเพิ่มมากขึ้น ทำให้มูลค่าของเงินลดลง หรือที่เรียกว่าภาวะเงินเฟ้อ ดังนั้นการใช้มาตรการ QE ควบคุมปริมาณการเงิน ควรทำในอัตราที่พอดีไม่มากหรือน้อยเกินไปค่ะ




ขอบคุณข้อมูลจาก : Investopedia

คลังความรู้จากคุณน้า : คลิกอ่านได้เลยที่นี่

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

Picture of คุณหลาน
คุณหลาน
Recent Post
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 มกราคม 2568
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 มกราคม 2568 By คุณน้าพาเทรด

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 มกราคม 2568 ซึ่งมีข่าวสำคัญจากสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า ราคาทองคำจะปรับตัวลงไปทดสอบแนวรับที่ 2,690 ดอลลาร์อีกครั้งค่ะ

Exness ดีไหม? รีวิวทุกข้อสำคัญ ปี 2025
Exness ดีไหม? รีวิวทุกข้อสำคัญ ฉบับอัปเดตปี 2025

วันนี้คุณน้าเลยอยากจะหยิบยกโบรกเกอร์ Exness มาให้ทุกคนได้อ่านกัน เผื่อว่าท่านใดที่สนใจหาข้อมูลโบรกเกอร์อยู่จะใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ

Day Trade คืออะไร เรียนรู้การเป็นเทรดเดอร์รายวันแบบละเอียด
Day Trade คืออะไร? เรียนรู้การเป็นเทรดเดอร์รายวันแบบละเอียด

Day Trade (เดย์เทรด) คือ กลยุทธ์สำหรับเทรดเดอร์ที่ชื่นชอบการเปิดปิดออเดอร์ภายในวันเดียว ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นนักเก็งกำไรระยะสั้น