Dovish และ Hawkish คืออะไร ? ทำไมเทรดเดอร์ควรให้ความสำคัญ อัปเดตปี 2023

Dovish และ Hawkish คืออะไร
Table of Contents

ในสถานการณ์ช่วงนี้คงเคยเห็นผ่านตากันบ่อยกับคำว่า Dovish และ Hawkish เวลาอ่านข่าวหุ้นต่างประเทศ เนื่องจากกำลังเป็นประเด็นที่กำลังร้อนแรงเลยค่ะ เพราะฉะนั้น วันนี้คุณน้าพาเทรดเลยจะพาทุกคนมาดูคำศัพท์ที่สำคัญในการลงทุนและเศรษฐกิจ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับทั้งนโยบายทางด้านการเงินและดอกเบี้ยด้วย ดังนั้นเทรดเดอร์ห้ามพลาดเลยค่ะ

คุณน้าพารู้จัก Dovish และ Hawkish คืออะไร ?

บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ

ทำไม Dovish และ Hawkish ถึงสำคัญ ?

เพราะ Dovish และ Hawkish นั้น เป็นแนวทางในการดำเนินการของนโยบาย ทั้งด้านการเงิน, ดอกเบี้ย รวมถึงเศรษฐกิจค่ะ โดยเศรษฐกิจในแต่ละแบบ ก็จะมีการเลือกแนวทางระหว่าง Dovish และ Hawkish มาใช้ เพื่อคุมเสถียรภาพของเศรษฐกิจในประเทศ ให้ไม่ตึงเกินไป หรือหย่อนเกินไปนั่นเองค่ะ

โดยปกติแล้ว นักลงทุนหรือเทรดเดอร์ที่ติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกมาซักระยะ จะรู้ว่าสิ่งที่มีผลกับการไหลเข้าออกของเงินทุนในแต่ละประเทศ ก็คือ การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางแต่ละแห่งใช่มั้ยคะ

คราวนี้ พอพูดถึงวิธีการดำเนินนโยบายการเงิน หรือ Monetary Policity ก็จะพบว่า หน้าที่ของธนาคารกลาง หรือ แบงก์ชาติ คือการดูแลและกำกับ 3 สิ่งควบคู่กันไป นั่นก็คือ ปริมาณเงิน (Money supply) อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate) และอัตราดอกเบี้ย (Interest rate) โดยใช้กฎหมายบังคับ และดูแลด้วยการปรับลด/เพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ เพื่อกำหนดทิศทางของอัตราแลกเปลี่ยนให้แข็งค่าหรืออ่อนค่า ควบคู่ไปกับ การปรับลด/เพิ่มอัตราดอกเบี้ย ผ่านอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Policy Rate)

สำหรับใครที่อยากอ่านหน้าที่ของธนาคารกลางเพิ่มเติม สามารถอ่านได้ในบทความนี้

แนวคิดแบบ Hawkish 

Hawkish คืออะไร ?

Hawkish = แข็งแกร่งเด็ดเดี่ยว ประหนึ่งเหยี่ยว

ในกรณีที่คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางมองว่าเงินเฟ้อจะเร่งตัวในอนาคต ก็จะทำการออกมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรือขายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อดูดสภาพคล่องออกจากระบบเศรษฐกิจ

ซึ่งก็คือการใช้นโยบายการเงินแบบหดตัว (Contractionary Monetary Policy) ผ่านแนวคิดแบบ Hawkish  มาจากคำว่า Hawk หรือ เหยี่ยว ซึ่งแสดงถึงความดุดัน ก้าวร้าว และไม่ประนีประนอมนั่นเองค่ะ

เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น และเข้าใจได้ง่ายขึ้น

ส่วนใหญ่ แนวคิดแบบ Hawkish จะกำเนิดเกิดขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจเหมือนจะดีขึ้นหรืออยู่ในช่วงฟื้นตัวค่ะ ถามว่าทำไมต้องมีมาตรการแข็งข้อเข้ามาในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังดีล่ะ ? คุณน้าจะพายกตัวอย่างแบบนี้ค่ะ พอคนเริ่มมีการลงทุนมากขึ้นเพราะธนาคารปล่อยกู้ได้ง่าย ดังนั้น ทางธนาคารกลางหรือธนาคารทั่วไปจึงต้องมีนโยบายการอนุมัติที่ยากมากขึ้น เพราะหากมีคนมากู้เงินไปลงทุนมากขึ้น ซึ่งถ้าหากว่ามีคนล้มละลายหรือธุรกิจไม่สามารถไปได้สวยแบบที่คิด อาจก่อให้เกิดวิกฤตขึ้นได้ (อย่างวิกฤตต้มยำกุ้ง)

เพราะธนาคารกลางจะต้องมีการรักษาเสถียรภาพไว้ให้ได้ เมื่อเศรษฐกิจกำลังฟื้นฟู เติบโต และไปได้ดี นโยบายจึงต้องมีความแข็งแกร่งค่ะ


1.ควบคุมเงินเฟ้อ

วัตถุประสงค์หลักของนโยบายการเงินแบบ Hawkish คือการควบคุมอัตราเงินเฟ้อค่ะ เพราะหากธนาคารกลางรับรู้ว่าอัตราเงินเฟ้อกำลังเพิ่มขึ้นในอัตราที่ไม่ยั่งยืน ธนาคารกลางก็จะใช้แนวทางแบบ Hawkish โดยทำได้โดยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ซึ่งสามารถลดการกู้ยืมและการใช้จ่ายได้ ส่งผลให้อุปสงค์ลดลง และส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อลดลง
ป้องกันฟองสบู่นั่นเองค่ะ

2.เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตในระยะยาว

ถ้าหากท่าทีของเศรษฐกิจนั้นกำลังเป็นไปได้สวย ธนาคารกลางจะต้องมีการชะลอการเติบโต ด้วยการป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจเติบโตรวดเร็วเกินไปจนอาจจะขาดสมดุล และเกิดวิกฤตขึ้นนั่นเองค่ะ ธนาคารกลางจึงพยายามที่จะสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน แทนที่จะไปไว แต่มีโอกาสเกิดปัญหาขึ้นภายหลัง

  • ธนาคารเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
  • ธนาคารปล่อยกู้ยากขึ้น
  • เพิ่มอัตราภาษีให้สูงขึ้น
  • มีการออกพันธบัตรรัฐบาลมากขึ้น เพื่อดูดสภาพคล่องออกจากระบบเศรษฐกิจ
  • สกุลเงินในประเทศจะมีความแข็งค่ามากขึ้น เก็งกำไรจากค่าเงินได้
  • เมื่อนักลงทุนหันไปลงทุนในสกุลเงิน สินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำจะเกิดการอ่อนค่าลง
  • เมื่อสกุลเงินแข็งค่า นักลงทุนมักหันไปลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตร

แนวคิดแบบ Dovish

Dovish คืออะไร ?

Dovish = ยืดหยุ่น ประนีประนอม ดั่งนกพิราบ

ในทางตรงกันข้าม หากคณะกรรมการนโยบายการเงินมองว่าอัตราเงินเฟ้อจะไม่เร่งตัวหรือจะหดตัวลงในอนาคตก็จะทำการลงมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรือเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพื่อเพิ่มสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังฝืดนั่นเองค่ะ

ซึ่งก็คือการใช้นโยบายการเงินแบบขยายตัว (Expansionary Monetary Policy) ผ่านแนวคิดแบบ Dovish มาจากคำว่า Dove นกพิราบ สัญลักษณ์แห่งสันติภาพ ซึ่งแสดงถึงความประนีประนอม ยืดหยุ่น อะลุ่มอล่วย ซึ่งเป็นแนวคิดที่สวนทางกันกับ Hawkish นั่นเอง

เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น และเข้าใจได้ง่ายขึ้น

ส่วนใหญ่ แนวคิดแบบ Dovish จะถูกนำมาใช้ในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังถดถอย หรือเศรษฐกิจอยู่ช่วงฝืด พอเราเห็นแล้วว่า เศรษฐกิจอยู่ในช่วงถดถอยหรืออ่อนแอ จะให้ธนาคารกลางมาแข็งข้อใส่ ก็ยิ่งจะไม่ได้ส่งผลดีใช่มั้ยล่ะคะ ดังนั้นทางธนาคารกลางเลยต้องมีการอ่อนข้อ หรือผ่อนปรนมาตรการลงบ้าง เปรียบเสมือนนกพิราบนั่นเองค่ะ เพราะหากธนาคารยืดหยุ่นมากขึ้น คนก็จะสามารถกู้ยืมเงินไปลงทุนมากขึ้น ระบบเศรษฐกิจมีความคล่องตัวมากขึ้นด้วยเช่นกันค่ะ

เพราะธนาคารกลางจะต้องมีการรักษาเสถียรภาพไว้ให้ได้ เมื่อเศรษฐกิจกำลังอยู่ในช่วงถดถอย ธนาคารกลางจึงต้องมีความยืดหยุ่น และให้ความช่วยเหลือประชาชนในประเทศให้ดียิ่งขึ้นนั่นเองค่ะ


1.กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ

วัตถุประสงค์หลักของนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายคือเพื่อกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจค่ะ ธนาคารกลางอาจใช้จุดยืนแบบผ่อนคลายเพื่อเพิ่มความเติบโตในเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น เช่น การเติบโตที่ต่ำ หรือการว่างงานสูงที่เป็นสัญญาณของการถดถอยของเศรษฐกิจด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยและทำให้การกู้ยืมถูกลง ธนาคารกลางมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจและผู้บริโภคใช้จ่ายและลงทุนมากขึ้น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ด้วยค่ะ

2.สนับสนุนการจ้างงาน

นโยบาย Dovish มักถูกนำมาใช้โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการจ้างงานให้มากขึ้นนั่นเองค่ะ อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงอาจนำไปสู่การกู้ยืมที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถนำไปสู่การลงทุนทางธุรกิจและการจ้างงานได้มากขึ้นเหมือนกัน

3.ป้องกันภาวะเงินฝืด

บางครั้งก็มีการใช้นโยบาย Dovish เพื่อต่อสู้กับความเสี่ยงของภาวะเงินฝืดค่ะ ซึ่งราคาสินค้าจะลดลง ธนาคารกลางมีเป้าหมายที่จะรักษาระดับราคาให้มีเสถียรภาพหรือรักษาสมดุลนั่นเอง

  • มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง
  • การลดอัตราเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์
  • มีการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ระบบเศรษฐกิจ
  • ธนาคารมีการลดหย่อนความเข้มงวดในการปล่อยกู้ ปล่อยง่ายขึ้น

  • สกุลเงินจะเกิดการอ่อนค่ามากขึ้น ไม่ควรถือสกุลเงินเท่าไหร่
  • เมื่อสกุลเงินอ่อนค่า ราคาทองคำจะสูงขึ้น นักลงทุนสนใจลงทุนในทองคำมากขึ้น
  • นักลงทุนหันไปลงทุนในสกุลเงินที่มีความเสี่ยงสูงมากขึ้น เช่น ตลาดหุ้น

คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับแนวทางนโยบายแบบ Dovish และ Hawkish

แนวทางดำเนินการทางด้านการเงิน เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น ประนีประนอมให้แก่ประชาชน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับเศรษฐกิจ

แนวทางดำเนินการทางด้านการเงิน เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ระบบเศรษฐกิจ เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมั่นคง และลดการเกิดวิกฤต

Dovish จะถูกนำมาปรับใช้ในช่วงที่เศรษฐกิจค่อนข้างแย่ ส่วน Hawkish จะถูกนำมาปรับใช้ในช่วงเศรษฐกิจกำลังฟื้นฟู

สรุป

โดยสรุปแล้ว วัตถุประสงค์ของนโยบายการเงินแบบ Dovish และ Hawkish นั้นต่างก็มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ, การรักษาการจ้างงาน และการรักษาเสถียรภาพด้านราคาไว้ค่ะ โดยพิจารณาจากลักษณะของเศรษฐกิจในประเทศก่อน

อย่างไรก็ตาม นอกจากจะเรียนรู้เรื่อง Dovish และ Hawkish แล้ว การติดตามผลการประชุมนโยบายการเงิน และมุมมองจากธนาคารกลาง ก็เป็นอีกอย่างที่นักลงทุนอย่างเรา ๆ ควรทำอยู่เสมอ สิ่งนี้จะทำให้เราสามารถวิเคราะห์ Fund Flow ได้ ว่ามีแนวโน้มจะเป็นไปในทิศทางใดในอนาคตค่ะ


ขอบคุณข้อมูลจาก : Investopedia

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

คุณหลาน
คุณหลาน
Recent Post
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 By คุณน้าพาเทรด

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งมีข่าวสำคัญ สำหรับวันนี้คาดการณ์ว่า ราคาทองคำมีโอกาสปรับตัวลงไปที่บริเวณ 2,610-2,590 ดอลลาร์

3 สินทรัพย์น่าลงทุน หลังโดนัลด์ ทรัมป์คว้าชัย!
3 สินทรัพย์น่าลงทุน หลังโดนัลด์ ทรัมป์คว้าชัยในสมัยที่ 2

คุณน้าจะพาทุกคนมาส่อง 3 สินทรัพย์น่าลงทุนในยุคของโดนัลด์ ทรัมป์ จะมีสินทรัพย์ไหนเข้าตาบ้าง และผลกระทบของเศรษฐกิจไทยจะรุนแรงมากแค่ไหน เพื่อให้ทุกคนสามารถปรับพอร์ตลงทุนได้อย่างทันท่วงที

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 By คุณน้าพาเทรด

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งไม่มีมีข่าวสำคัญ สำหรับวันนี้คาดการณ์ว่า ราคาทองคำปรับตัวขึ้นไปที่บริเวณ 2,660-2,670 ดอลลาร์