รีไฟแนนซ์บ้าน VS ลดดอกเบี้ยบ้าน 2567

รีไฟแนนซ์ vs ลดดอกเบี้ยบ้าน 2567 แบบไหนคุ้มกว่ากัน?
Table of Contents

คำถามของคนอยากมีบ้านหลังแรกหลังจากขอสินเชื่อบ้านมาสักระยะแล้ว ก็คือ การรีไฟแนนซ์บ้าน VS ลดดอกเบี้ยบ้าน 2567 แบบไหนคุ้มกว่ากัน? ดังนั้น ในวันนี้คุณน้าจะพาทุกคนมาไขข้อสงสัยกันค่ะ

ก่อนที่เราจะไปหาคำตอบการรีไฟแนนซ์บ้านและการลดดอกเบี้ยบ้าน (รีเทนชัน) มาทำความรู้จักกับการขอสินเชื่อบ้านกันก่อน คลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ


รีไฟแนนซ์บ้าน คืออะไร?

รีไฟแนนซ์บ้านหรือ Refinance คือ การขอกู้สินเชื่อบ้านกับธนาคารใหม่ เพื่อขอลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลง ซึ่งการรีไฟแนนซ์จะได้ยอดผ่อนบ้านต่อเดือนลดลง เพราะเป็นเหมือนการขอกู้สินเชื่อบ้านใหม่ในช่วง 3 ปีแรก ทำให้ได้ดอกเบี้ยต่ำและเป็นดอกเบี้ยคงที่นั่นเองค่ะ

ทำไมผู้ขอกู้จึงชอบการรีไฟแนนซ์บ้าน?

เพราะปกติแล้ว การขอกู้สินเชื่อบ้านหลังจากช่วง 3 ปีแรก อัตราดอกเบี้ยจะเป็นแบบลอยตัวค่ะ ทำให้ผู้กู้ต้องผ่อนชำระค่าบ้านสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งหลาย ๆ คนอาจมีภาระหนี้สินที่เพิ่มขึ้น ทำให้การรีไฟแนนซ์บ้านกลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งในปัจจุบันหลายธนาคารจะ Fixed Rate อัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 3%-4% ต่อปีค่ะ

ข้อดี-ข้อเสียของการรีไฟแนนซ์บ้าน

ข้อดี

  • อัตราดอกเบี้ยลดลง
  • ช่วยให้จัดการภาระหนี้สินได้ดีขึ้น
  • เพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน
  • ช่วยลดระยะเวลาในการผ่อนชำระบ้านลง
  • สามารถเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยได้หลายธนาคาร

ข้อเสีย

  • มีค่าธรรมเนียมการโอนเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นการจดจำนองหรือการประเมินราคา เป็นต้น


การลดดอกเบี้ยบ้าน คืออะไร?

การลดดอกเบี้ยบ้านหรือ Retention คือ การขอลดดอกเบี้ยจากธนาคารเดิม เมื่อผู้ขอกู้บ้านสามารถผ่อนชำระครบ 3 ปีแรก หลังจากนั้น ผู้ขอกู้จะสามารถต่อรองกับธนาคารเดิมเพื่อขอลดดอกเบี้ยให้ต่ำลงได้ค่ะ โดยปกติแล้ว ธนาคารจะพิจารณาการลดดอกเบี้ยจากลูกค้าที่มีเครดิตดี, มีประวัติการผ่อนชำระครบทุกงวดและไม่เคยล่าช้า

อย่างไรก็ดี การขอลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารเดิมจะลดดอกเบี้ยลงได้ไม่เยอะเท่ากับวิธีการรีไฟแนนซ์นะคะ เพราะส่วนใหญ่แล้ว ดอกเบี้ยแบบลอยตัวจะอยู่ที่ราว ๆ 5%-7% จาก MRR ที่ลดลง -0.5% หรือ 1.0% ต่อปี

รู้หรือไม่? หากผู้กู้มีประวัติที่ดี จะสามารถรีเทนชั่นได้ทุก 3 ปี

หากผู้ขอกู้บ้านมีประวัติในการผ่อนชำระที่ดีและไม่เคยชำระล่าช้า ธนาคารจะพิจารณาให้ผู้ขอกู้สามารถขอลดดอกเบี้ยบ้านได้ทุก 3 ปี ยกเว้นก็แต่วงเงินการชำระคงเหลือต่ำกว่า 1,000,000 บาท บางธนาคารอาจไม่สามารถรีเทนชั่นได้ค่ะ ทั้งนี้ ผู้ขอกู้สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้กับธนาคารที่เดิม


ข้อดี-ข้อเสียของการลดดอกเบี้ยบ้าน

ข้อดี

  • ประหยัดเวลาในการดำเนินเรื่อง เพราะใช้เอกสารชุดเดิมได้
  • ค่าธรรมเนียมถูก อยู่ที่ประมาณ 1.0%-2.0% ต่อปี
  • ระยะเวลาการอนุมัติรวดเร็ว ประมาณ 7 วันทำการ
  • ไม่ติดเครดิตบูโร

ข้อเสีย

  • การขอลดอัตราดอกเบี้ยจะลดได้น้อยกว่าการรีไฟแนนซ์บ้าน ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคารเป็นผู้กำหนด


รีไฟแนนซ์บ้าน VS ลดดอกเบี้ยบ้าน 2567 แบบไหนคุ้มกว่ากัน?

จากที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่า การรีไฟแนนซ์บ้านและการลดดอกเบี้ยบ้านมีความแตกต่างกันค่ะ แล้วอย่างนี้ การลดอัตราดอกเบี้ยทั้ง 2 ลักษณะนี้ แบบไหนคุ้มกว่ากัน? ในบทความนี้ คุณน้าขอยกตัวอย่าง 5 ข้อแตกต่างสำคัญ เพื่อให้ทุกคนได้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยมี 5 เรื่องสำคัญ ดังนี้

  1. อัตราดอกเบี้ย
  2. ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียม
  3. รายละเอียดและเงื่อนไขเอกสารการผ่อนชำระบ้าน
  4. ระยะเวลาการผ่อนชำระ
  5. ผลกระทบต่อเครดิต

ตารางเปรียบเทียบการรีไฟแนนซ์ VS ลดดอกเบี้ยบ้าน 2567

1. อัตราดอกเบี้ย ⭐

ถ้าเทียบอัตราดอกเบี้ย คุณน้าขอบอกว่า รีไฟแนนซ์บ้านจะคุ้มกว่าการลดดอกเบี้ยบ้านค่ะ ซึ่งคุณน้าขอยกตัวอย่างเช่น ในปัจจุบันนี้คุณเหลือภาระหนี้สินอยู่ที่ 3,000,000 บาท หลังจากผ่อนมาแล้ว 3 ปี โดยเหลือระยะเวลาผ่อนชำระอยู่ 25 ปี และอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ที่ 6.75% ต้องชำระสินเชื่อบ้านเท่ากับ 22,700 บาท ต่อเดือน (สามารถคำนวณด้วยตัวเองง่าย ๆ ได้ที่หน้าคำนวณสินเชื่อของธนาคาร เช่น ธอส.)

  • หากขอลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารเดิม อย่างมากผู้ขอกู้จะได้ลดอัตราดอกเบี้ยมาอยู่ที่ 5.0% ต่อปี จะต้องชำระสินเชื่อบ้านเท่ากับ 19,400 บาท ต่อเดือน
  • หากขอรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่ โดยปกติแล้ว ผู้ขอกู้จะได้ลดอัตราดอกเบี้ยมาอยู่ที่ 3.0% ต่อปี จะต้องชำระสินเชื่อบ้านเท่ากับ 15,900 บาท ต่อเดือน

ดังนั้นแล้ว จะเห็นได้ว่า การขอรีไฟแนนซ์บ้านจะถูกกว่าค่ะ

2. ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียม ⭐

สำหรับค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมของการรีไฟแนนซ์และการขอลดดอกเบี้ยบ้านจะมีความแตกต่างกัน ตามตารางด้านล่าง ดังนี้

การรีไฟแนนซ์ VS การลดอัตราดอกเบี้ยบ้าน เมื่อครบ 3 ปี
ค่าธรรมเนียมการรีไฟแนนซ์การลดอัตราดอกเบี้ยบ้าน
1. ค่าธรรมเนียมการไถ่ถอนก่อนกำหนดไม่เกิน 3.0%1. ค่าธรรมเนียมที่ธนาคารเดิมเรียกเก็บอยู่ที่ 1.0%-2.0% 
2. ค่าธรรมเนียมการประเมินราคาไม่เกิน 3.0%
3. ค่าธรรมเนียมการจดจำนอง ประมาณ 1.0%
4. ค่าอากรแสตมป์ไม่เกิน 3.0%
5. ค่าธรรมเนียมการปล่อยกู้ไม่เกิน 3.0%
6. ค่าประกันอัคคีภัย
7. ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ 

จากที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่า ค่าธรรมเนียมการรีไฟแนนซ์จะค่อนข้างสูงกว่าการลดดอกเบี้ยบ้านค่ะ ดังนั้น ก่อนที่จะเลือกการรีไฟแนนซ์หรือรีเทนชั่น ผู้ขอกู้ควรศึกษาเงื่อนไขและข้อจำกัดของตนเองก่อนนะคะ

  • หากคุณเหลือยอดผ่อนชำระบ้านต่ำกว่า 1,000,000 บาท คุณน้าแนะนำการลดดอกเบี้ยบ้าน (รีเทนชั่น) มากกว่า เพราะถึงแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะลดลงไม่มาก แต่เมื่อเทียบเรื่องค่าธรรมเนียมแล้วค่อนข้างคุ้มค่ากับอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงค่ะ
  • หากคุณเพิ่งเริ่มผ่อนชำระบ้านหลัง 3 ปีแรก และมียอดผ่อนชำระเกิน 1,000,000 บาท คุณน้าแนะนำการรีไฟแนนซ์จะคุ้มค่ามากกว่า เพราะคุณยังเหลือระยะเวลาในการผ่อนชำระค่อนข้างมาก ทำให้คุณมีโอกาสในการเลือกธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยที่คุ้มค่าที่สุดนั่นเอง

3. รายละเอียดและเงื่อนไขการยื่นเอกสารการผ่อนชำระบ้าน ⭐

3.1 การรีไฟแนนซ์ 

เอกสารการรีไฟแนนซ์บ้านจะแบ่งเป็น 3 ประเภท ซึ่งผู้ขอกู้จะต้องยื่นเรื่องกับธนาคารใหม่ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

เอกสารส่วนบุคคล

  • บัตรประจำตัวประชาชน/บัตรข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
  • สำเนาทะเบียนสมรส/ใบหย่า/ใบมรณบัตร
  • สำเนาเปลี่ยนชื่อ-สกุล กรณีเปลี่ยนชื่อใหม่ (ถ้ามี)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรส (ถ้ามี)

เอกสารทางการเงิน

  • สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 6 เดือน
  • ใบรับรองเงินเดือน
  • หลักฐานการเสียภาษีเงินได้

เอกสารหลักประกัน

  • สำเนาโฉนดที่ดิน/หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด/เจ้าของอาคารที่ใช้เป็นหลักประกัน
  • ภาพถ่ายเพื่อแสดงสิทธิหลักประกัน

เอกสารจากธนาคารเดิม

  • สำเนาหนังสือสัญญากู้ยืมหรือการจำนองหลักทรัพย์
  • Bank Statement

*หมายเหตุ : การขอเอกสารจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคารเป็นผู้กำหนด ซึ่งผู้ขอกู้ยืมควรอ่านเงื่อนไขและรายละเอียดให้ดี ก่อนตัดสินใจรีไฟแนนซ์บ้านค่ะ

3.2 การลดดอกเบี้ยลง (รีเทนชั่น)

รายละเอียดการขอเอกสารสำหรับรีเทนชั่น มีรายละเอียดดังนี้ค่ะ 

  • บัตรประชาชนตัวจริงและสำเนาของผู้กู้
  • สัญญาเงินกู้ 
  • ทะเบียนบ้านตัวจริงและสำเนาของผู้กู้

4. ระยะเวลาการผ่อนชำระ ⭐

สำหรับระยะเวลาการผ่อนชำระในการรีไฟแนนซ์และการลดอัตราดอกเบี้ย (รีเทนชั่น) จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ธนาคารเป็นผู้กำหนด ซึ่งปกติแล้วการผ่อนชำระบ้านจะใช้ระยะเวลาอยู่ที่ไม่เกิน 40 ปี แต่การขอรีไฟแนนซ์หรือการรีเทนชั่นควรทำหลังจากผ่อนชำระบ้านไปแล้ว 3 ปีค่ะ

5. ผลกระทบต่อเครดิต ⭐

การรีไฟแนนซ์อาจส่งผลกระทบต่อเครดิตในระยะสั้น เนื่องจากเป็นเหมือนการสมัครขอสินเชื่อบ้านใหม่นั่นเอง ส่วนการรีเทนชั่นมีผลกระทบด้านเครดิตน้อยกว่า เพราะไม่ได้เป็นการเปิดบัญชีหรือขอสินเชื่อใหม่ โดยคุณสามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับเครดิตบูโรได้ที่เว็บไซต์บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติได้เลยค่ะ


การรีไฟแนนซ์และการลดดอกเบี้ยบ้านเหมาะกับใคร?

การรีไฟแนนซ์

  • เหมาะกับผู้ขอกู้ที่ยังเหลือยอดเงินกู้มากกว่า 1,000,000 บาท
  • เหมาะกับผู้ต้องการปรับสภาพคล่องทางการเงิน
  • เหมาะกับผู้ที่ทำงานอิสระหรือฟรีแลนซ์

การลดดอกเบี้ยบ้าน

  • เหมาะกับผู้ขอกู้ที่ยังเหลือยอดเงินกู้น้อยกว่า 1,000,000 บาท
  • เหมาะกับผู้ที่มีเครดิตหรือประวัติการชำระเงินที่ดีกับธนาคาร
  • เหมาะกับผู้ที่มีรายได้มั่นคง


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการกู้ผ่อนชำระบ้าน 2567

รีไฟแนนซ์ VS รีเทนชั่น แบบไหนดีกว่า?

การรีไฟแนนซ์ VS รีเทนชั่น ไม่มีแบบไหนที่ดีกว่ากันค่ะ เพราะขึ้นอยู่กับการวางแผน สำหรับการผ่อนชำระบ้าน หากยอดกู้บ้านมากกว่า 1,000,000 บาท แนะนำให้รีไฟแนนซ์บ้านดีกว่า เพราะสามารถได้รับดอกเบี้ยที่ลดลง อีกทั้งยังสามารถเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารได้อีกด้วย แต่สำหรับใครที่ยอดกู้บ้านเหลือน้อยกว่า 1,000,000 บาท แนะนำให้รีเทนชั่น เพราะค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายจะน้อยกว่าการรีไฟแนนซ์ อีกทั้งยังใช้เวลาดำเนินการไม่เกิน 7 วันทำการ

รีไฟแนนซ์บ้าน คืออะไร?

รีไฟแนนซ์บ้าน คือ การขอกู้สินเชื่อบ้านกับธนาคารใหม่ เพื่อขอลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลง เพราะการรีไฟแนนซ์บ้านเป็นเหมือนการขอกู้สินเชื่อบ้านใหม่ ทำให้ได้อัตราดอกเบี้ยคงที่ในช่วง 3 ปีแรก

การรีเทนชั่น คืออะไร?

การรีเทนชั่น คือ การขอลดดอกเบี้ยจากธนาคารเดิม เมื่อผู้ขอกู้ผ่อนชำระครบ 3 ปีแรก ก็จะสามารถต่อรองกับธนาคารเดิม เพื่อขอลดดอกเบี้ยให้ต่ำลงได้


สรุปการรีไฟแนนซ์ VS การลดดอกเบี้ยบ้าน 2567

จากที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่า การรีไฟแนนซ์บ้านและการลดดอกเบี้ยบ้านมีคุณสมบัติ ข้อดี และข้อจำกัดที่แตกต่างกันค่ะ ซึ่งคุณน้าไม่สามารถบอกได้ว่า การกู้แบบไหนถึงคุ้มค่ากว่ากันค่ะเพราะตัวผู้ขอกู้บ้านควรศึกษาเงื่อนไขและตรวจสอบสภาพคล่องทางการเงินเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นรายได้ต่อเดือนหรือภาระหนี้สินอื่น ๆ เพื่อพิจารณาว่า ตนเองเหมาะกับการผ่อนชำระบ้านแบบไหนมากที่สุด และที่สำคัญ อย่าลืมบริหารการเงิน เพื่อไม่ให้เกิดหนี้เสียในภายภาคหน้านะคะ ด้วยความปรารถนาดีจากทีมงานคุณน้าพาเทรดค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : GBank, CIMB THAI, Refinn และแสนสิริ


สำหรับใครที่สนใจอ่านรีวิวโบรกเกอร์ : Review Brokers

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

Picture of khunnaphatrade
khunnaphatrade
Recent Post
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 มกราคม 2568
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 มกราคม 2568 By คุณน้าพาเทรด

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 มกราคม 2568 ซึ่งมีข่าวสำคัญจากสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า ราคาทองคำจะปรับตัวลงไปทดสอบแนวรับที่ 2,690 ดอลลาร์อีกครั้งค่ะ

Exness ดีไหม? รีวิวทุกข้อสำคัญ ปี 2025
Exness ดีไหม? รีวิวทุกข้อสำคัญ ฉบับอัปเดตปี 2025

วันนี้คุณน้าเลยอยากจะหยิบยกโบรกเกอร์ Exness มาให้ทุกคนได้อ่านกัน เผื่อว่าท่านใดที่สนใจหาข้อมูลโบรกเกอร์อยู่จะใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ

Day Trade คืออะไร เรียนรู้การเป็นเทรดเดอร์รายวันแบบละเอียด
Day Trade คืออะไร? เรียนรู้การเป็นเทรดเดอร์รายวันแบบละเอียด

Day Trade (เดย์เทรด) คือ กลยุทธ์สำหรับเทรดเดอร์ที่ชื่นชอบการเปิดปิดออเดอร์ภายในวันเดียว ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นนักเก็งกำไรระยะสั้น