PMI คืออะไร ? ทำไมเทรดเดอร์ควรติดตามข่าว PMI อัปเดต 2024

ข่าว PMI คืออะไร
Table of Contents

การเป็นเทรดเดอร์หรือนักลงทุนจำเป็นอย่างมากที่ต้องรู้แนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศหรือภูมิภาคนั้น ๆ เพราะถ้าเรารู้ข้อมูลเหล่านี้แล้ว จะทำให้สามารถคาดการณ์สิ่งที่จะที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งหนึ่งใน Indicators ที่นักลงทุนมืออาชีพมักจะใช้เป็นประจำเพื่อวิเคราะห์ดูแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคตก็คือ “ดัชนี PMI” วันนี้คุณน้าจึงได้รวบรวมสิ่งที่เทรดเดอร์ควรรู้เกี่ยวกับดัชนี PMI มาไว้ให้แล้ว ถ้าพร้อมแล้ว…ไปเริ่มกันเลยค่ะ


PMI คืออะไร ?

PMI (Purchasing Managers Index) คือ เป็นดัชนีที่ใช้วัดการเติบโตของธุรกิจภาคการผลิตหรือภาคการบริการ โดยปกติแล้วจะใช้ดัชนีนี้เป็นตัวชี้วัดการเติบโตหรืออาจจะใช้ Gross Domestic Product (GDP) แทนก็ได้ แต่สิ่งสำคัญคือธนาคารกลางใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการกำหนดนโยบายการเงิน ไม่เพียงแต่ข้อมูล PMI ทั้งหมดเท่านั้น แต่ส่วนประกอบแต่ละตัวก็สามารถนำไปใช้ในตลาดต่าง ๆ ได้ด้วยค่ะ

ข่าว PMI คือ


ใครเป็นคนจัดทำดัชนี PMI

สำหรับดัชนี PMI ไม่ได้ถูกจัดทำโดยองค์กรใดองค์กรหนึ่งแต่ร่วมกันจัดทำกับสถาบันหรือองค์กรต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ ดังนี้ค่ะ

ผู้จัดทำดัชนี PMI ภายในประเทศไทย

  • ธนาคารกลางแห่งประเทศไทย : จัดทำดัชนี “PMI ภาคการผลิตและภาคบริการ” ร่วมกับ Markit Economics
  • สมาคมผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อแห่งประเทศไทย : จัดทำดัชนี “PMI ภาคการผลิต”

ผู้จัดทำดัชนี PMI ในต่างประเทศ

  • IHS Markit : จัดทำดัชนี PMI ในกว่า 30 ประเทศทั่วโลก
  • JPMorgan Chase : จัดทำดัชนี PMI ในประเทศสหรัฐอเมริกา
  • Caixin Media Company Ltd : จัดทำดัชนี PMI ในประเทศจีน

PMI แบ่งเป็นกี่ดัชนี ?

ดัชนี PMI แบ่งเป็น 2 ดัชนีหลัก ดังนี้

  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Manufacturing PMI)
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ (Non-Manufacturing PMI หรือ Service PMI)

ตัวแปรที่ใช้ในการคำนวณดัชนี PMI

ในการคำนวณดัชนี PMI จะมีการคำนึงถึง 5 ตัวแปรและมีค่าน้ำหนักที่นำมาใช้ในการคำนวณในแต่ละตัวแปรไม่เท่ากันดังนี้ค่ะ

  • คำสั่งซื้อใหม่ (New Order) ให้ค่าน้ำหนัก 0.30
  • ผลผลิต (Output) ให้ค่าน้ำหนัก 0.25
  • การจ้างงาน (Employment) ให้ค่าน้ำหนัก 0.20
  • เวลาขนส่งของวัตถุดิบ (Supplier’s Delivery Times) ให้ค่าน้ำหนัก 0.15
  • สินค้าคงคลังวัตถุดิบ (Stock of items Purchased) ให้ค่าน้ำหนัก 0.10

โดยทั้ง 5 ตัวแปรนี้จะบ่งชี้ถึงแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยหากเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า ผู้จัดการฝ่ายซื้อมีการเร่งซื้อวัตถุดิบเพิ่มขึ้นตั้งแต่วันนี้ ดังนั้น ผลสำรวจดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อหรือ PMI ก็จะเพิ่มขึ้น นั่นหมายความว่าเศรษฐกิจเติบโตเพิ่มขึ้นนั่นเอง

สูตรการคำนวณดัชนี PMI

ดัชนี PMI (Purchasing Managers Index) เป็นการคำนวณโดยอาศัยข้อมูลจากภาคการผลิตและปัจจัยด้านการผลิตต่าง ๆ ซึ่งดัชนี PMI จะสะท้อนการเติบโตของเศรษฐกิจและสภาวะของภาคการผลิตและภาคบริการออกมาเป็นตัวเลขตั้งแต่ 0 ถึง 100 โดยใช้สูตรคำนวณดัชนีการกระจาย (Diffusion Index) ดังนี้

สูตรการคำนวณดัชนี PMI

P1 หมายถึง เปอร์เซ็นต์ของตัวแปรที่นำมาคำนวณมีการขยายตัว
P2 หมายถึง เปอร์เซ็นต์ของตัวแปรที่นำมาคำนวณไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเท่าเดิม
P3 หมายถึง เปอร์เซ็นต์ของตัวแปรที่นำมาคำนวณมีการหดตัว

ค่าของดัชนี PMI มีการตีความหมายดังนี้

การใช้ดัชนี PMI เป็นตัวชี้วัดแนวโน้มของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งนักลงทุนสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์การวางแผนลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากดัชนี PMI สามารถสะท้อนความเป็นไปทางเศรษฐกิจได้อย่างทันท่วงที ซึ่งค่าของดัชนี PMI มีการตีความหมายดังนี้

  • ถ้าดัชนี PMI มีค่ามากกว่า 50 หมายถึง เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวจากระดับปัจจุบัน
  • ถ้าดัชนี PMI มีค่าเท่ากับ 50 หมายถึง เศรษฐกิจมีแนวโน้มคงที่จากระดับปัจจุบัน
  • ถ้าดัชนี PMI มีค่าน้อยกว่า 50 หมายถึง เศรษฐกิจมีแนวโน้มหดตัวจากระดับปัจจุบัน

ข้อมูล PMI สามารถบอกอะไรได้บ้าง ?

ถ้าหากค่าตัวเลขออกมาสูงกว่า 50 นั่นแปลว่าสภาวะเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดีค่ะ ถ้าหากต่ำกว่า 50 แปลว่าเศรษฐกิจอยู่ในสภาวะถดถอย หรือเริ่มไม่ดีแล้ว

ดัชนี PMI บอกอะไร ?

ตัวอย่างเช่น ในตลาดตราสารหนี้เฝ้าดูการเติบโตของการส่งมอบของผู้ขายและราคาที่จ่าย เพราะตัวเลขสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อได้ ดัชนีนี้มีความสำคัญไม่เพียงแต่กับภาคการผลิตเท่านั้นแต่กับเศรษฐกิจทั้งหมดด้วยเนื่องจากภาคการผลิตเป็นส่วนสำคัญ ดังนั้นหาก PMI ลดลงในประเทศหนึ่ง นักลงทุนอาจพิจารณาลดความเสี่ยงของพวกเขาในตลาดทุนของประเทศนั้น และเพิ่มการลงทุนในตลาดหุ้นของประเทศอื่นๆที่มีค่า PMI ที่สูงขึ้น

Flash Services PMI คืออะไร ?

PMI ของบริการ Flash คือค่าประมาณล่วงหน้าของดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อบริการ (PMI) สำหรับประเทศหนึ่ง ๆ ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้ข้อมูลบ่งชี้ล่วงหน้าที่แม่นยำของข้อมูล PMI ของบริการขั้นสุดท้าย ในตลาดการเทรดของคู่สกุลเงิน ประเทศที่เป็นสกุลเงินหลักก็มักจะถูกจับตามองเป็นอย่างมากค่ะ เพราะสามารถบ่งบอกสภาวะเศรษฐกิจของประเทศในช่วงเวลานั้นได้ค่ะ แน่นอนว่าสหรัฐฯ เป็นประเทศที่ถูกจับตามองมากที่สุดค่ะ

Flash Services PMI


Flash Manufacturing PMI คืออะไร ?

Flash Manufacturing PMI คือค่าประมาณของการผลิตสำหรับประเทศหนึ่ง ๆ โดยอิงจากประมาณ 85% ถึง 90% ของการตอบแบบสำรวจดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ทั้งหมดในแต่ละเดือน

นักลงทุนนิยมใช้ PMI ในการวิเคราะห์หรือตัดสินใจลงทุนอะไร

  • เพื่อประเมินสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน :
    ค่า PMI ที่สูงกว่า 50 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจมีการขยายตัว สวนทางกับค่า PMI ที่ต่ำกว่า 50 ซึ่งบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจมีการหดตัว
    หากดัชนีภาคการผลิต สูงกว่า 50 แสดงว่าภาคการผลิตมีแนวโน้มขยายตัวและเศรษฐกิจกำลังเติบโตในช่วงนี้ นักลงทุนอาจพิจารณาเลือกลงทุนในกองทุนหรือหุ้นกลุ่มพลังงาน
    หากดัชนีภาคการบริการ สูงกว่า 50 แสดงว่าภาคการบริการกำลังขยายตัว นักลงทุนอาจพิจารณาเลือกลงทุนในกองทุนหรือหุ้นกลุ่มธุรกิจสินค้าปลีก เนื่องจากธุรกิจสินค้าปลีกมักได้รับผลดีจากการขยายตัวภาคการบริการค่ะ
  • เพื่อคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต :
    PMI ถือเป็นดัชนีที่ช่วยวัดให้นักลงทุนสามารถคาดการณ์ถึงทิศทางของเศรษฐกิจล่วงหน้าได้ หากดัชนี PMI ภาคการผลิตมีแนวโน้มขาลงบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัว นักลงทุนอาจชะลอการลงทุนในกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในหุ้น เป็นต้น
  • เพื่อเปรียบเทียบเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ :
    นักลงทุนสามารถเปรียบเทียบค่า PMI ของประเทศต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบเศรษฐกิจในประเทศต่าง ๆ โดยนักลงทุนอาจพิจารณาลงทุนในประเทศที่มีค่า PMI ที่สูงกว่า เพราะมีแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีกว่าประเทศที่มีค่า PMI ที่น้อยกว่า
  • เพื่อวิเคราะห์ผลประกอบการของบริษัท :
    นักลงทุนสามารถวิเคราะห์ผลประกอบการของบริษัทที่อยู่ในภาคการผลิตและบริการ โดยพิจารณาจาก PMI ของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น หากดัชนี PMI ภาคการผลิตมีแนวโน้มขาลง บ่งชี้ว่าธุรกิจในภาคการผลิตมีแนวโน้มได้รับผลกระทบ นักลงทุนอาจพิจารณาขายหรือชะลอการลงทุนในหุ้นของบริษัทภาคการผลิต


PMI กับราคาทองคำ

รู้หรือไม่? ค่า PMI สามารถบ่งบอกสภาวะเศรษฐกิจได้ ดังนั้นหากสภาวะเศรษฐกิจดีก็แปลว่าสินทรัพย์ปลอดภัยอาจจะไม่ใช่สิ่งที่นักลงทุนมองหาในช่วงเวลานั้นค่ะ และในทางกลับกัน ถ้าสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหรือถดถอยก็แปลว่าสินทรัพย์ปลอดภัยเป็นสิ่งที่น่าลงทุนในช่วงเวลานั้น ก็จะส่งผลให้ทองคำราคาขึ้น หรือให้พูดง่าย ๆ ได้ตามนี้ค่ะ

PMI สูง = ราคาทองคำอาจปรับตัวลงต่ำ
PMI ต่ำ = ราคาทองคำอาจปรับตัวสูงขึ้น

PMI และ ทองคำ

PMI กับตลาดการเงิน Forex

แม้ว่าดัชนี PMI และตลาดการเงิน Forex จะไม่ได้มีความสัมพันธ์กันโดยตรงเหมือนกับทองคำ แต่อาจมีปัจจัยทางอ้อมอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อกันดังนี้ค่ะ

ความสัมพันธ์ทางอ้อมระหว่าง PMI กับ Forex

1. ดัชนี PMI สะท้อนสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันและคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต

PMI สูง : บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจมีการขยายตัว ภาคธุรกิจมีการผลิตและสั่งซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนมีความมั่นใจในเศรษฐกิจ เริ่มมีการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ มากขึ้น เช่น หุ้น กองทุน หรือตราสารหนี้ ทำให้ค่าเงินของประเทศเริ่มแข็งค่าขึ้น
PMI ต่ำ : บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจมีการชะลอตัวหรือหดตัว ภาคธุรกิจมีการผลิตและสั่งซื้อสินค้าลดลง และนักลงทุนมีความกังวลต่อเศรษฐกิจและชะลอการลงทุนในช่วงดังกล่าว ส่งผลทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นอ่อนค่าลง

2. PMI สูงช่วยกระตุ้นการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ

ค่า PMI สูง แสดงให้เห็นถึงภาพรวมของเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัวสูงขึ้น ซึ่งช่วยกระตุ้นการลงทุนของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศได้เป็นอย่างดี เมื่อนักลงทุนต่างชาติเริ่มเข้ามาลงทุนในประเทศมากขึ้นจะส่งผลให้ความต้องการของสกุลเงินนั้น ๆ สูงขึ้น ทำให้สกุลเงินในประเทศแข็งค่าขึ้นและเกิดการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศซึ่งถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ดีค่ะ

🔎แล้วความสัมพันธ์ทางอ้อมของดัชนี PMI และ Forex สำคัญอย่างไร ?

ความสัมพันธ์ของ PMI และ Forex จะอยู่ที่แนวโน้มเศรษฐกิจภายในประเทศที่ขยายตัวหรือหดตัว โดยวิเคราะห์จากตัวเลขดัชนี PMI ซึ่งตัวเลขดังกล่าวย่อมส่งผลกับค่าเงินในประเทศ ซึ่งค่าเงินถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในตลาดการเงิน Forex ค่ะ


🔎 บทความที่เกี่ยวข้องกับดัชนี PMI ที่เทรดเดอร์ควรรู้
วิธีอ่านข่าว Forex Factory
CPI คืออะไร ? ทำไมเทรดเดอร์ควรให้ความสำคัญ
Indicator ยอดนิยมสำหรับเทรดเดอร์
วิธีเปิดบัญชี Forex สำหรับมือใหม่ใน 7 ขั้นตอน
GDP คืออะไร ? ส่งผลต่อราคาทองคำอย่างไร ?


ดัชนี PMI ใช้บ่งบอกแนวโน้มของเศรษฐกิจ หากดัชนี PMI สูงกว่า 50 แสดงว่าเศรษฐกิจหรือภาวะธุรกิจมีทิศทางดีขึ้น แต่หากดัชนี PMI ต่ำกว่า 50 แสดงว่าเศรษฐกิจหรือภาวะธุรกิจมีทิศทางแย่ลง

PMI ย่อมาจาก Purchasing Managers Index ซึ่งก็คือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อขาย เป็นตัวบ่งชี้ที่สุขภาพทางเศรษฐกิจของภาคการผลิตว่าดีขึ้นหรือแย่ลง

ดัชนี PMI ใช้เพื่อให้ข้อมูลทางด้านสภาวะเศรษฐกิจ ณ ขณะนั้นต่อนักลงทุน เพื่อใช้ในการวางแผนการลงทุน


PMI คือ ดัชนีที่ใช้เป็นตัวชี้วัดการเติบโตหรือสภาวะทางเศรษฐกิจ หากค่าตัวเลขออกมาสูงกว่า 50 แสดงว่าสภาวะเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดีหรือมีการขยายตัว แต่ถ้าหากค่าต่ำกว่า 50 แสดงว่าเศรษฐกิจอยู่ในสภาวะถดถอยนั่นเองค่ะ โดยค่า PMI นี้ถือเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนในการพิจารณาตลาดเพื่อเลือกลงทุนได้อย่างคุ้มค่าค่ะ


สำหรับใครที่สนใจอ่านรีวิวโบรกเกอร์ : Review Brokers

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

Picture of คุณน้า
คุณน้า
คุณน้าเป็นเทรดเดอร์ที่คลุกคลีอยู่ในตลาดต่าง ๆ ร่วม 10 ปี จึงอยากนำความรู้ที่มีมาแบ่งปันให้กับทุกคน
Recent Post
Exness ดีไหม? รีวิวทุกข้อสำคัญ ฉบับอัปเดตปี 2025
Exness ดีไหม? รีวิวทุกข้อสำคัญ ฉบับอัปเดตปี 2025

วันนี้คุณน้าเลยอยากจะหยิบยกโบรกเกอร์ Exness มาให้ทุกคนได้อ่านกัน เผื่อว่าท่านใดที่สนใจหาข้อมูลโบรกเกอร์อยู่จะใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 13 มกราคม 2568
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 13 มกราคม 2568 By คุณน้าพาเทรด

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันจันทร์ที่ 13 มกราคม 2568 กันค่า วิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ บทวิเคราะห์ภาพรวมปัจจัยพื้นฐาน เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาราคาทองคำปรับตัวขึ้น 18

IUX ดีจริงไหม รีวิวฉบับอัปเดต 2025
IUX ดีจริงไหม? รีวิวทุกคุณสมบัติ อัปเดตปี 2025

IUX เป็นโบรกเกอร์สัญชาติอังกฤษ สิงคโปร์ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่อังกฤษและไซปรัส ซึ่งทาง IUX ได้จดทะเบียนกับ SVGFSA, FSCA, ASIC และ FSC Mauritius ที่เป็นหน่วยงานทางการเงินที่มีความน่าเชื่อถือ