ภ.ง.ด.90 / 91 / 94 คืออะไร ต้องยื่นอันไหน ต่างกันอย่างไร ?

ภ.ง.ด.90 / ภ.ง.ด.91/ ภ.ง.ด. 94 คืออะไร
Table of Contents

สิ้นปีใกล้มาถึงแล้ว ต้นปีหน้าก็เป็นช่วงยื่นภาษี แต่ยังไม่รู้เลยว่า ต้องทำยังไงและต้องยื่นแบบไหน?! หลังจากคุณน้าได้แนะนำการวางแผนการยื่นภาษีออนไลน์และการวางแผนลดหย่อนภาษีไปแล้วในบทความก่อนหน้า ในบทความนี้ คุณน้าจะพามาดูแบบที่ใช้ยื่นภาษี หรือ ภ.ง.ด.90 / ภ.ง.ด.91/ ภ.ง.ด. 94 กันค่ะว่า แต่ละตัวหมายถึงอะไร, ต่างกันอย่างไร รวมถึงเราต้องยื่นแบบไหนกันนะ? ถ้าพร้อมแล้วไปติดตามกันได้เลยค่า

ภ.ง.ด. คืออะไร ?

ภ.ง.ด. ย่อมาจาก “ภาษีเงินได้” คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาค่ะ นั่นหมายความว่า ใครก็ตามที่มีสถานะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มีเงินได้พึงประเมินสุทธิเกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดจะต้องแสดงรายได้โดยใช้แบบฟอร์มดังกล่าวนี้ต่อสรรพากร ซึ่ง ภ.ง.ด. จะมี 5 รูปแบบ ได้แก่

  • ภ.ง.ด.90 – มีเงินได้พึงประเมินทุกประเภท
  • ภ.ง.ด.91 – มีเฉพาะเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1
  • ภ.ง.ด.93 – มีเงินได้ขอชำระภาษีล่วงหน้า
  • ภ.ง.ด.94 – มีเฉพาะเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 – 8
  • ภ.ง.ด.95 – คนต่างด้าวที่มีเงินได้จากการจ้างแรงงานจากสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค

แต่ในบทความนี้ คุณน้าจะพาไปทำความรู้จัก ภ.ง.ด.90, 91 และ 94 เท่านั้นค่ะ เพราะถือเป็นรายได้หลักของคนส่วนมากค่ะ

ใครต้องยื่น ภ.ง.ด.90 / ภ.ง.ด.91/ ภ.ง.ด. 94 ?

ในการยื่นภาษีเงินได้แต่ละประเภท เราจะต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติตรงกับเงื่อนไขต่อไปนี้ข้อใดข้อหนึ่ง ร่วมกับการพิจารณาว่า เงินได้นั้นเข้าข่ายเงินได้ประเภทไหนค่ะ

  • บุคคลที่ยังไม่จดทะเบียนสมรส ที่มีเงินได้เกิน 60,000 บาท
  • บุคคลที่เป็นสามีภรรยา ที่มีเงินได้จากทั้งสองฝ่ายรวมกันเกิน 120,000 บาท
  • ทรัพย์สินมรดก ที่ยังไม่ได้แบ่งมีเงินได้เกิน 60,000 บาท
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล มีเงินได้เกิน 60,000 บาท
  • บุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล มีเงินได้เกิน 60,000 บาท
  • วิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล ที่มีเงินได้เกิน 1,800,000 บาท หรือ 60,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,800,000 บาท จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้

ภ.ง.ด.90 คืออะไร ?
ตัวอย่าง ภ.ง.ด.90
ภ.ง.ด.91 คืออะไร ?
ตัวอย่าง ภ.ง.ด.91
ภ.ง.ด.94 คืออะไร ?
ตัวอย่าง ภ.ง.ด.94

ประเภทเงินได้พึงประเมิน

หากต้องการรู้ว่า เราต้องยื่น ภ.ง.ด. ไหน อันดับแรก คุณน้าจะพาไปทบทวนประเภทเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ที่มีทั้งหมด 8 ประเภท กันก่อนค่ะ

  • เงินได้ประเภทที่ 1 เช่น เงินเดือน, ค่าจ้าง และโบนัส เป็นต้น
  • เงินได้ประเภทที่ 2 เช่น ค่าคอมมิชชัน และเบี้ยประชุม เป็นต้น
  • เงินได้ประเภทที่ 3 เช่น ค่าลิขสิทธิ์ และค่ากู๊ดวิลล์ เป็นต้น
  • เงินได้ประเภทที่ 4 เช่น ดอกเบี้ย, เงินปันผล และส่วนแบ่งกำไรจากการขายหน่วยลงทุนหรือ Cryptocurrency เป็นต้น
  • เงินได้ประเภทที่ 5 เช่น ค่าเช่าทรัพย์สินต่าง ๆ ทั้งบ้าน ที่ดิน หรือยานพาหนะ เป็นต้น
  • เงินได้ประเภทที่ 6 เช่น ค่าวิชาชีพอิสระ ได้แก่ การประกอบโรคศิลปะ, นักกฎหมาย, วิศวกร, สถาปนิก, นักบัญชี และช่างประณีตศิลป์
  • เงินได้ประเภทที่ 7 เช่น ค่ารับเหมาก่อสร้าง
  • เงินได้ประเภทที่ 8 เช่น การค้าขายต่าง ๆ, อุตสาหกรรม, ประมง และเหมืองแร่ เป็นต้น

ภ.ง.ด.90 คืออะไร ?

ภ.ง.ด.90 คืออะไร ?

ภ.ง.ด.90 คือ ฟอร์มสำหรับแสดงรายการภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาสำหรับผู้ที่มีเงินได้จากหลายช่องทางหรือช่องทางเดียว ซึ่งเงินได้นั้นจะต้องอยู่ในประเภทที่ 1 – 8 ค่ะ เช่น 

  • คุณน้ามีเงินได้จากหลายช่องทาง ทั้งเงินเดือนและส่วนแบ่งกำไรจากการขายหน่วยลงทุน ซึ่งเป็นเงินได้ประเภทที่ 1 และ 4 ดังนั้น คุณน้าก็จะต้องยื่น ภ.ง.ด.90 ค่ะ
  • คุณน้ามีเงินได้จากช่องทางเดียว คือ ค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นเงินได้ประเภทที่ 3 ดังนั้น คุณน้าก็จะต้องยื่น ภ.ง.ด.90 เช่นกันค่ะ

ใครต้องยื่น ภ.ง.ด.90 ?

ผู้มีเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 – 8 เกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดในปีภาษีนั้น ๆ ค่ะ

ภ.ง.ด.90 ยื่นเมื่อไหร่ ?

โดยปกติแล้ว ผู้ที่ต้องยื่น ภ.ง.ด.90 จะยื่นภาษีในช่วงวันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคมของปีถัดไปทุกปีค่ะ

ถ้าไม่ยื่น ภ.ง.ด.90 เสียค่าปรับเท่าไหร่ ?

หลายคนอาจมองว่า การเสียภาษีไม่สำคัญ ดังนั้น จึงเลี่ยงที่จะเสียภาษี แต่ทราบหรือไม่คะว่า หากไม่ได้ยื่นภาษีจะถือว่า เราทำผิดกฎหมายและจะโดนค่าปรับ ดังนี้ค่ะ

  1. หากไม่ได้ยื่น ภ.ง.ด.90 หรือยื่นเกินกว่าเวลาที่กำหนด จะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท แต่สามารถขอลดค่าปรับได้ค่ะ
  2. หากยื่น ภ.ง.ด.90 แล้ว แต่ไม่ได้ชำระเงินภาษี จะถือว่าไม่ได้ยื่น ดังนั้น จะต้องนำเงินส่วนดังกล่าวไปชำระ และเสียค่าปรับร้อยละ 1.5 ต่อเดือน รวมทั้งค่าปรับตามข้อ 1 ค่ะ
  3. หากยื่น ภ.ง.ด.90 เพิ่มเติมในภายหลังกำหนดเวลาการยื่นแบบ กรณีมีเงินภาษีต้องชำระจะต้องเสียค่าปรับตามข้อ 2 แต่หากไม่มีเงินภาษีที่ต้องชำระก็จะไม่ต้องเสียเงินค่าปรับค่ะ

ภ.ง.ด.91 คืออะไร ?

ภ.ง.ด.91 คืออะไร ?

ภ.ง.ด.91 คือ ฟอร์มสำหรับแสดงรายการภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาสำหรับผู้ที่มีเงินได้จากช่องทางเดียว ซึ่งเงินได้นั้นจะต้องอยู่ในประเภทที่ 1 (เงินเดือน, ค่าจ้าง และโบนัส เป็นต้น) เท่านั้นค่ะ

ใครต้องยื่น ภ.ง.ด.91 ?

ผู้มีเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 เกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดในปีภาษีนั้น ๆ ค่ะ

ภ.ง.ด.91 ยื่นเมื่อไหร่ ?

โดยปกติแล้ว ผู้ที่ต้องยื่น ภ.ง.ด.91 จะยื่นภาษีในช่วงวันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคมของปีถัดไปทุกปีค่ะ

ถ้าไม่ยื่น ภ.ง.ด.91 เสียค่าปรับเท่าไหร่ ?

หากไม่ยื่น ภ.ง.ด.91 จะเสียค่าปรับเหมือนกับ ภ.ง.ด.90 คือ

  • หากไม่ได้ยื่น ภ.ง.ด.91 หรือยื่นเกินกว่าเวลาที่กำหนด จะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท แต่สามารถขอลดค่าปรับได้ค่ะ
  • หากยื่น ภ.ง.ด.91 แล้ว แต่ไม่ได้ชำระเงินภาษี จะถือว่าไม่ได้ยื่น ดังนั้น จะต้องนำเงินส่วนดังกล่าวไปชำระ และเสียค่าปรับร้อยละ 1.5 ต่อเดือน รวมทั้งค่าปรับตามข้อ 1 ค่ะ
  • หากยื่น ภ.ง.ด.91 เพิ่มเติมในภายหลังกำหนดเวลาการยื่นแบบ กรณีมีเงินภาษีต้องชำระจะต้องเสียค่าปรับตามข้อ 2 แต่หากไม่มีเงินภาษีที่ต้องชำระก็จะไม่ต้องเสียเงินค่าปรับค่ะ

ภ.ง.ด.94 คืออะไร ?

ภ.ง.ด.94 คืออะไร ?

ภ.ง.ด.94 คือ ฟอร์มสำหรับแสดงรายการภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาสำหรับผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5-8 คือ รายได้ไม่คงที่ ได้แก่ รายได้จากค่าเช่า, รายได้ค่านายหน้า, รายได้ค่ารับเหมา และรายได้จากการค้าขาย ซึ่งเป็นรายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือนค่ะ ตัวอย่างเช่น

  • ผู้ที่ทำงานเป็นฟรีแลนซ์
  • ผู้ที่ค้าขายออนไลน์

ใครต้องยื่น ภ.ง.ด.94 ?

ผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5, 6, 7 หรือ 8 ซึ่งเป็นรายได้ที่ไม่คงที่ และเกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดในปีภาษีนั้น ๆ ค่ะ

ภ.ง.ด.94 ยื่นเมื่อไหร่ ?

โดยปกติแล้ว ผู้ที่ต้องยื่น ภ.ง.ด.94 จะยื่นภาษีเงินได้ที่เกิดขึ้นใน 6 เดือนแรก ในช่วงวันที่ 1 กรกฎาคม – 30 กันยายนของปีภาษีเดียวกันทุกปีค่ะ ดังนั้น บางครั้งเราจึงเรียกภาษีชนิดนี้ว่า “ภาษีกลางปี”

ถ้าไม่ยื่น ภ.ง.ด.94 เสียค่าปรับเท่าไหร่ ?

หากไม่ยื่น ภ.ง.ด.94 จะเสียค่าปรับเหมือนกับ ภ.ง.ด.90 คือ

  • หากไม่ได้ยื่น ภ.ง.ด.94 หรือยื่นเกินกว่าเวลาที่กำหนด จะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท แต่สามารถขอลดค่าปรับได้ค่ะ

สรุป ภ.ง.ด.90 / ภ.ง.ด.91/ ภ.ง.ด. 94 ต่างกันอย่างไร ?

หลังจากอ่านมาทั้งหมดแล้ว คุณน้าเชื่อว่า ทุกคนน่าจะเห็นภาพของเงินได้แต่ละประเภทได้ชัดเจนมากขึ้น แต่คุณน้าขอสรุปความแตกต่างของ ภ.ง.ด.90 / ภ.ง.ด.91/ ภ.ง.ด. 94 ให้อีกรอบนะคะ นั่นคือ ทั้งหมดล้วนเป็นแบบที่ใช้ยื่นแสดงรายได้ของบุคคลธรรมดา แตกต่างกันเพียงช่องทางรายได้เท่านั้น ดังนั้น หากทุกคนรู้ว่า รายได้ของตัวเองมาจากไหนและเป็นเงินได้ประเภทใด ก็อย่าลืมยื่นแบบที่ถูกต้องกันด้วยนะคะ


ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมสรรพากร 1, กรมสรรพากร 2 และ กรมสรรพากร 3

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

khunnaphatrade
khunnaphatrade
Recent Post
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 16 ธันวาคม 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 16 ธันวาคม 2567 By คุณน้าพาเทรด

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 16 ธันวาคม 2567 ซึ่งมีข่าวสำคัญจากสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า ราคาทองคำมีโอกาสปรับตัวลงไปที่บริเวณ 2,645-2,647 ดอลลาร์ และเกิด QM ค่ะ

แนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุน ต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส
แนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุน ต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส

คุณน้าจะขอแนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุนต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส ไปกับตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นสหรัฐฯ เพื่อเป็นการเอาฤกษ์เอาชัย ก่อนจะเริ่มต้นปี 2025 กันค่ะ

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 11 ธันวาคม 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 11 ธันวาคม 2567 By คุณน้าพาเทรด

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันพุธที่ 11 ธันวาคม 2567 กันค่า วิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ เมื่อวานนี้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นกว่า 33 ดอลลาร์