วันนี้คุณน้าอยากหยิบยกสาระดี ๆ กับเทคนิควิธีดูกราฟเพื่อทำกำไรด้วยเครื่องมือช่วยวิเคราะห์ที่มีชื่อว่า RSI (Relative Strength Index) มาฝากทุกคนกันค่ะ ซึ่งการใช้ RSI Indicator จะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถหาจุดเข้าออกออเดอร์ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งนั่นหมายความว่า เทรดเดอร์มีโอกาสในการทำกำไรได้มากขึ้นนั่นเอง ดังนั้น ในบทความนี้คุณน้าจะพาทุกคนมารู้จักกับ RSI คืออะไร มีวิธีการใช้งานอย่างไร และที่สำคัญมีข้อควรระวังเรื่องอะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบค่ะ!
*หมายเหตุ : บทความนี้เป็นเพียงบทความให้ความรู้เท่านั้น ไม่ได้เป็นการชักชวนให้ลงทุนแต่อย่างใด อีกทั้ง Indicator แต่ละตัวก็มีเทคนิคที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
Indicator (อินดิเคเตอร์) คืออะไร?
Indicator (อินดิเคเตอร์) คือ ตัวชี้วัดทางเทคนิคสำหรับการเทรดในตลาดการเงินต่าง ๆ โดยเฉพาะตลาด Forex
อินดิเคเตอร์เป็นเครื่องมือทางคณิตศาสตร์ที่จะเข้ามาช่วยวิเคราะห์กราฟราคา โดยอิงจาก 5 ปัจจัย ได้แก่ ราคาเปิด, ราคาสูงสุด, ราคาต่ำสุด, ราคาปิด และปริมาณการซื้อขาย
โดยปกติแล้ว การคำนวณโดยใช้อินดิเคเตอร์ในตลาด Forex จะแสดงผลออกมาในรูปแบบของแผนภูมิหรือกราฟดัชนีต่าง ๆ
ดังนั้น สรุปง่าย ๆ ว่า Indicator คือ เครื่องมือที่จะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถวิเคราะห์กราฟและราคาได้ง่ายขึ้น ซึ่งเหมือนกับการมีผู้ช่วยในการให้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจนั่นเองค่ะ เรียกได้ว่า Indicator เป็นอีกหนึ่งคู่มือสำหรับการเทรดที่มีประสิทธิภาพ สำหรับใครที่ยังคงสงสัยว่า Indicator คืออะไร คุณน้าเคยเขียนบทความเกี่ยวกับอินดิเคเตอร์ไว้เรียบร้อยแล้วนะคะ สามารถอ่านได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้องกับ Indicator :
RSI คืออะไร?
” RSI เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้วัดปริมาณการซื้อหรือขายที่มากเกินไป (Overbought – Oversold) เพื่อให้เทรดเดอร์จับจังหวะในการเข้าซื้อขายได้อย่างแม่นยำ”
RSI ย่อมาจาก Relative Strength Index คือ เครื่องมือที่จะช่วยบ่งบอกปริมาณการซื้อขายในตลาดว่า อยู่ในแนวโน้มขาขึ้นหรือขาลงค่ะ โดย RSI จะสามารถอ่านค่าในกราฟราคาได้ตั้งแต่ 0-100 ซึ่งจะใช้เป็นตัววัดความแข็งแกร่งของกราฟราคาในแต่ละช่วงเวลา เพราะ RSI เป็นอินดิเคเตอร์ประเภท Momentum Oscillator ที่ใช้วัดการแกว่งตัวของราคา เพื่อดูปริมาณการซื้อขายว่าอยู่ในระดับที่มากจนเกินไปหรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถจับจังหวะซื้อขายได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น
🔍 เส้น RSI ควรตั้งเท่าไหร่ดี?
จากที่กล่าวไปข้างต้นจะเห็นได้ว่า เส้น RSI จะอยู่ที่กรอบตั้งแต่ 0-100 ซึ่งโดยปกติแล้วเทรดเดอร์ควรจะตั้งค่าเส้น RSI เริ่มต้นอยู่ที่ 30 (Oversold) และ 70 (Overbought) จะถือว่าอยู่ในปริมาณที่ดี รวมทั้งเทรดเดอร์ควรตั้งกรอบเวลา (TF) ตั้งแต่ 1 ชั่วโมงขึ้นไป ซึ่งถ้าจะให้อยู่ในเกณฑ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ควรตั้งกรอบเวลา อยู่ที่ Time Frame Day ค่ะ เนื่องจากการอ่านค่าเส้น RSI จะสามารถบ่งบอกได้ 2 สภาวะ ดังนี้
- หากเส้น RSI ต่ำกว่า 30 จะเท่ากับว่า ราคาอยู่ในภาวะการขายมากเกินไป (Oversold)
- หากเส้น RSI มากกว่า 70 จะเท่ากับว่า ราคาอยู่ในภาวะการซื้อมากเกินไป (Overbought)
RSI คำนวณจากอะไร?
เส้น RSI สามารถคำนวณได้ตามสูตรด้านล่าง โดยมีรายละเอียด ดังนี้
RSI = 100 – (100 ÷ 1 + RS*) |
*RS คือ ค่าเฉลี่ยราคาของวันที่ราคามีการปรับตัวขึ้นในช่วง ‘N’ วัน ÷ ค่าเฉลี่ยของวันที่ราคามีการปรับตัวลงในช่วง ‘N’ วัน จากนั้นจะนำมาปรับค่าเฉลี่ยให้อยู่ในช่วง 0-100
Tip! ปกติแล้วค่าเริ่มต้นของการคำนวณ RSI ในช่วง ‘N’ จะมีค่าเท่ากับ 14 วันค่ะ ซึ่ง RSI 14 หมายถึงการนำราคาปิดย้อนหลังของแท่งเทียน 14 แท่งมาคำนวณ เพราะจะถือว่าเป็นตัวเลขที่สามารถคำนวณค่าได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้เกิดความผิดพลาดได้น้อยที่สุดนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น หากเทรดเดอร์ชื่นชอบการเทรดรายวัน จะใช้เส้น RSI ย้อนหลัง 14 วัน แต่หากเทรดเดอร์ชื่นชอบการเทรดรายชั่วโมง จะใช้เส้น RSI ย้อนหลัง 14 ชั่วโมง เป็นต้น
🔍 เกร็ดความรู้เสริม! RSI 7 VS RSI 14 คืออะไร?
จากที่กล่าวไปข้างต้นว่า RSI 14 คือ การนำราคาปิดย้อนหลังของแท่งเทียน 14 วันมาคำนวณ ซึ่ง RSI 7 ก็คือ การนำราคาปิดย้อนหลังของแท่งเทียน 7 วันมาคำนวณนั่นเองค่ะ ซึ่ง RSI 7 จะเป็นการวัดความแข็งแกร่งของราคาในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ส่วน RSI 14 จะเป็นการวัดความแข็งแกร่งของราคาในช่วงระยะเวลาที่ยาวขึ้น
ดังนั้น สรุปง่าย ๆ ว่า ตัวเลขด้านหลังของ RSI คือ จำนวนวันที่นำมาใช้คำนวณในแต่ละช่วงเวลาที่ต้องการค่ะ
ข้อดีและข้อควรระวังของ RSI
ข้อดี
- บอก Overbought และ Oversold ได้อย่างแม่นยำ
- สามารถคอนเฟิร์มเทรนด์ของราคาได้ดี
- บอกจุดกลับตัวหรือทิศทางได้ดี
- ปรับใช้ได้ในทุกกราฟราคาจากทุกตลาด
ข้อควรระวัง
- อาจเกิดสัญญาณหลอก เช่น การกลับตัว แต่จริง ๆ กราฟราคากำลังไปต่อ
- ความแม่นยำลดลง เมื่อราคาผันผวนรุนแรง
- ต้องอาศัยการวิเคราะห์ปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย
RSI ดูตรงไหน
เทรดเดอร์สามารถดู RSI ได้บน MetaTrader, TradingView หรือแพลตฟอร์มที่โบรกเกอร์ให้บริการ คุณน้าขอยกตัวอย่างการค้นหา RSI บน MetaTrader 4 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- คลิกเข้าไปที่ Insert และเลือก Indicators
- จากนั้นคลิกประเภทอินดิเคเตอร์ Oscillator
- สุดท้ายเลือก Relative Strength Index ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยค่ะ
รูปแบบการใช้ RSI Indicator
⭐ รูปแบบ RSI ที่ 1 : Bullish Convergence
รูปแบบที่ 1 Bullish Convergence RSI คือ เส้นของกราฟราคาในปัจจุบันและเส้น RSI จะเคลื่อนที่ไปในแนวโน้มขาขึ้นเหมือนกัน ซึ่งหมายความว่า กราฟมีโอกาสที่จะพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องนั่นเองค่ะ
วิธีการดู Bullish Convergence RSI เป็นอย่างไร?
วิธีการดู Bullish Convergence RSI มีข้อสังเกต ดังนี้ :
- กราฟของราคาในปัจจุบัน : จะทำ Higher High ขึ้นเรื่อย ๆ
- กราฟของ RSI Indicator : จะทำ Higher High* ขึ้นเรื่อย ๆ เหมือนกัน
Higher High* คือ จุดราคาขายสูงสุดและราคาขายต่ำสุดอยู่ในระดับที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ
“หาก RSI มาในรูปแบบ Bullish Convergence นั่นก็แปลว่า ราคามีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง“
⭐ รูปแบบ RSI ที่ 2 : Bearish Convergence
มาต่อกันที่รูปแบบที่ 2 Bearish Convergence RSI คือ เส้นของกราฟราคาในปัจจุบันและเส้น RSI จะเคลื่อนที่ไปในแนวโน้มขาลงเหมือนกัน ซึ่งหมายความว่า กราฟมีโอกาสที่จะลดลงอย่างต่อเนื่อง
วิธีการดู Bearish Convergence RSI เป็นอย่างไร?
วิธีการดู Bearish Convergence RSI มีข้อสังเกต ดังนี้ :
- กราฟราคาในปัจจุบัน : จะทำ Lower Low ต่ำลงเรื่อย ๆ
- กราฟของ RSI Indicator : จะทำ Lower Low* ในระดับที่ต่ำลงเรื่อย ๆ เหมือนกัน
Lower Low* คือ จุดราคาขายสูงสุดและราคาขายต่ำสุดในระดับที่ต่ำลงกว่าเดิมเรื่อย ๆ
“หาก RSI มาในรูปแบบ Bearish Convergence นั่นก็แปลว่า ราคามีแนวโน้มที่จะต่ำลงอย่างต่อเนื่อง”
⭐ รูปแบบ RSI ที่ 3 : Bullish Divergence
มาต่อกันที่รูปแบบที่ 3 นั่นก็คือ Bullish Divergence RSI โดยกราฟราคาในปัจจุบันจะทำ Lower Low ลงไปอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่กราฟของเส้น RSI จะเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงกันข้ามกัน คือ กราฟของเส้น RSI จะทำการ Higher High ขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง
วิธีการดู Bullish Divergence RSI เป็นอย่างไร?
วิธีการดู Bullish Divergence RSI มีข้อสังเกต ดังนี้ :
- กราฟราคาในปัจจุบัน : จะทำ Lower Low ต่ำลงเรื่อย ๆ
- กราฟของ RSI Indicator : จะทำ Higher High ขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง
“หาก RSI มาในรูปแบบ Bullish Divergence นั่นแปลว่า ราคามีแนวโน้มที่จะเป็นขาขึ้น”
⭐ รูปแบบ RSI ที่ 4 : Bearish Divergence
และรูปแบบ RSI อันดับสุดท้าย นั่นก็คือ Bearish Divergence RSI โดยกราฟราคาในปัจจุบันจะทำการ Higher High ขึ้นไปเรื่อย ๆ ในขณะที่กราฟ RSI จะเคลื่อนไหวในทิศทางตรงข้ามกัน คือ กราฟ RSI จะทำการ Lower Low ลงไปเรื่อย ๆ ค่ะ
วิธีการดู Bearish Divergence RSI เป็นอย่างไร?
วิธีการดู Bearish Divergence RSI มีข้อสังเกต ดังนี้ :
- กราฟราคาในปัจจุบัน : จะทำ Higher High สูงขึ้นเรื่อย ๆ
- กราฟ RSI Indicator : จะทำการ Lower Low ต่ำลงไปอย่างต่อเนื่อง
“หาก RSI มาในรูปแบบ Bearish Divergence นั่นแปลว่า ราคามีแนวโน้มที่จะเป็นขาลง”
ข้อควรระวังของ RSI
จากที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่า รูปแบบของ RSI จะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถจับจังหวะปริมาณการซื้อขายได้อย่างแม่นยำ อย่างไรก็ดี RSI ก็มีข้อควรระวังเช่นกันค่ะ เพราะบางครั้งการเคลื่อนไหวของ RSI อาจจะเกิดสัญญาณหลอกได้ เมื่อตลาดเกิดความผันผวนสูง ดังนั้น เทรดเดอร์ควรศึกษาปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลกระทบต่อตลาดและควรใช้อินดิเคเตอร์ตัวอื่นควบคู่ไปด้วย คุณน้าขอยกตัวอย่าง 3 อินดิเคเตอร์ยอดนิยมของเทรดเดอร์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- MACD : เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้บอกแนวโน้มของเทรนด์ ซึ่งจะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถระบุการกลับตัวของราคาได้
- Ichimoku Cloud : เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้วิเคราะห์กราฟราคา โดยมีจุดเด่น คือ สามารถระบุแนวรับ-แนวต้านและใช้ดูแนวโน้มของตลาด
- Bollinger Bands : เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้วัดความผันผวนของราคา ตลอดจนกรอบการเคลื่อนไหวของราคา
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการใช้ RSI ในการทำกำไร
1. RSI คืออะไร?
RSI เป็น Indicator ที่บ่งชี้ปริมาณการซื้อขายในตลาด โดยมีค่าตั้งแต่ 0 – 100 ซึ่งปกติแล้ว เส้น RSI จะมีการกำหนดว่า หากค่า RSI มากกว่า 70 นั่นแปลว่าตลาดเข้าสู่สภาวะซื้อมากเกินไป (Overbought) และหากค่า RSI ต่ำกว่า 30 นั่นแปลว่าตลาดเข้าสู่สภาวะขายมากเกินไป (Oversold)
2. RSI ตั้งค่าเท่าไหร่ดี?
การตั้งค่า RSI นั้น สามารถใช้ได้ดีกับค่าพื้นฐานใน TF 1 ชั่วโมงขึ้นไป แต่หากจะให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เทรดเดอร์ควรใช้กับ Time Frame Day
3. RSI ดู Divergence ยังไง?
การสังเกต Divergence จาก RSI นั้น สามารถสังเกตได้จากราคาที่ทะลุลงไปทั้งโซน Overbought และ Oversold โดยหากราคาทำยอดแหลมเหมือนกับภูเขาในโซนใดโซนหนึ่งจำนวน 2 ครั้ง จะทำให้มีโอกาสกลับตัวสูง เช่น หากกราฟแสดงผลทะลุ Oversold โดยมียอดแหลม 2 ยอด แสดงว่าราคามีแนวโน้มกลับตัวเป็นขาขึ้นสูง
สรุป RSI คืออะไร?
สรุปได้ว่า RSI เป็นหนึ่งใน Indicator ยอดนิยมของเทรดเดอร์ใช้กันเป็นประจำ เพราะจุดเด่นของ RSI ก็คือ สามารถบอกจุดกลับตัวหรือเปลี่ยนเทรนด์ของราคาได้ค่อนข้างดีเลยค่ะ อย่างไรก็ตาม เทรดเดอร์ควรระมัดระวังเกี่ยวกับการเข้า-ออกออเดอร์ด้วยนะคะ เมื่อตลาดเกิดความผันผวนค่อนข้างสูง การใช้ RSI อาจเกิดสัญญาณหลอกได้
ดังนั้น เทรดเดอร์ควรเช็กสัญญาณหลอกให้ดี รวมทั้งควรตั้งจุด Take Profit และ Stop Loss เพื่อช่วยป้องกันการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ ด้วยความปรารถนาดีจากทีมงานคุณน้าพาเทรดค่ะ ซึ่งคุณน้าหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย และในบทความหน้า คุณน้าจะพาทุกคนไปรู้จักกับอินดิเคเตอร์ตัวไหน โปรดติดตามกันให้ดีนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : Investopedia
สำหรับใครที่สนใจอ่านรีวิวโบรกเกอร์ : Review Brokers
บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing
คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge