Ichimoku Cloud คืออะไร? อินดิเคเตอร์ก้อนเมฆสารพัดประโยชน์!

Ichimoku Cloud คืออะไร? อินดิเคเตอร์ก้อนเมฆสารพัดประโยชน์
Table of Contents

กลับมาเจอกันอีกแล้วนะคะ สำหรับการแนะนำเครื่องมือสำหรับเทรดเดอร์ ในวันนี้คุณน้าพาเทรดจะพาทุกคนมารู้จักกับอีกหนึ่งอินดิเคเตอร์สารพัดประโยชน์ที่ครบจบในตัวเอง อย่าง Ichimoku Cloud หรือที่เทรดเดอร์ชาวไทยรู้จักกันดีในชื่อว่า อินดิเคเตอร์ก้อนเมฆนั่นเองค่ะ


บทความที่เกี่ยวข้องกับ Indicator เพิ่มเติม


Ichimoku Cloud คืออะไร?

Ichimoku Cloud หรือ Ichimoku Kinko hyo คือ อินดิเคเตอร์วิเคราะห์กราฟราคาที่เหมาะกับแนวโน้มระยะกลางและระยะยาวค่ะ ซึ่ง Ichimoku Cloud ถูกคิดค้นขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1930 โดยนักข่าวชาวญี่ปุ่น Goichi Hosoda ซึ่งเขาใช้เวลาพัฒนาเทคนิคนี้มานานกว่า 30 ปี จึงจะสามารถนำอินดิเคเตอร์ประเภทนี้มาเผยแพร่สู่สาธารณชนได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1960 

สำหรับคุณสมบัติเด่น ๆ ของ Ichimoku Cloud คือ เป็นเครื่องมือที่สามารถทำหน้าที่ได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการระบุแนวรับ-แนวต้าน, การหาสัญญาณเข้าซื้อ-ขาย, ใช้ดูแนวโน้มของตลาด ตลอดจนการระบุโมเมนตัม อิชิโมกุ คลาวด์ก็สามารถทำได้ดีเช่นกันค่ะ

ด้วยเหตุนี้เอง Ichimoku Cloud จึงสามารถกรองการเทรดได้อย่างแม่นยำว่า “จุดไหนควรเข้าเทรด” และ “จุดไหนไม่ควรเข้าเทรด” ซึ่งเรียกได้ว่า Ichimoku Cloud กลายเป็นหนึ่งในอินดิเคเตอร์สารพัดประโยชน์ที่ครบเครื่องเป็นอย่างมากค่ะ


ส่วนประกอบของ Ichimoku Cloud มีอะไรบ้าง?

ส่วนประกอบของ Ichimoku Cloud มีอะไรบ้าง?
  • Chikou Span (เส้นสีเขียว) : เส้นราคาปิด ในระยะเวลา 26 วันที่ผ่านมา
  • Kijun-Sen (เส้นสีน้ำเงิน) : ค่าเฉลี่ย High + Low ในระยะเวลา 26 วัน 
  • Tenkan-Sen (เส้นสีแดง) : ค่าเฉลี่ย High + Low ในระยะเวลา 9 วัน
  • Senkou Span A/ Up Kumo (เส้นสีน้ำตาล) : ค่าเฉลี่ยของ Kenji และ Tenkan (โดยนำ Kenji + Tenkan / 2)
  • Senkou Span B/ Down Kumo (เส้นสีม่วง) : ค่าเฉลี่ยของ High + Low ในระยะเวลา 52 วัน

ส่วนประกอบของ Ichimoku Cloud มีทั้งหมด 5 เส้นด้วยกันค่ะ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. Chikou Span

Chikou Span คือ เส้นที่แสดงราคาปิดย้อนหลังในระยะเวลา 26 วันที่ผ่านมา ซึ่งเส้น Chikou Span จะใช้บ่งบอกถึงโมเมนตัมของตลาดว่าอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น (Bullish) หรือแนวโน้มขาลง (Bearish) หรือไม่? 

2. Kijun-Sen

Kijun-Sen คือ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) ระยะกลางที่ถูกคำนวณมาจากค่าเฉลี่ยของช่วงราคาสูงสุด (High) และราคาต่ำสุด (Low) ในระยะเวลา 26 วันค่ะ โดยเส้น Kijun-Sen จะตัดกับเส้น Tenkan-Sen เพื่อแสดงถึงสัญญาณการซื้อ-ขายค่ะ

3. Tenkan-Sen

Tenkan-Sen คือ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) ระยะสั้นที่ถูกคำนวณมาจากค่าเฉลี่ยของช่วงราคาสูงสุด (High) และราคาต่ำสุด (Low) ในระยะเวลา 9 วันค่ะ

4. Senkou Span A

Senkou Span A หรือ Up Kumo คือ เส้นที่ใช้ระบุแนวโน้มขาขึ้น ซึ่งเทรดเดอร์สามารถสังเกตเส้นนี้ได้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • หากเส้น Senkou Span A อยู่เหนือเส้น Senkou Span B แสดงว่าเป็นแนวโน้มขาขึ้นนั่นเองค่ะ 
  • คำนวณจากค่าเฉลี่ยของเส้น Kenji – Sen และ Tenkan-Sen แล้วหารด้วย 2 
  • แสดงถึงแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว

5. Senkou Span B

Senkou Span B หรือ Down Kumo คือ เส้นที่ใช้ระบุแนวโน้มขาลง ซึ่งเทรดเดอร์สามารถสังเกตเส้นนี้ได้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • หากเส้น Senkou Span B อยู่เหนือเส้น Senkou Span A แสดงว่าเป็นแนวโน้มขาลงนั่นเองค่ะ
  • คำนวณมาจากค่าเฉลี่ยของช่วงราคาสูงสุด (High) และราคาต่ำสุด (Low) ในระยะเวลา 52 วัน
  • แสดงถึงแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว


Ichimoku Cloud ตั้งค่ายังไง?

Ichimoku Cloud ตั้งค่ายังไง

การตั้งค่าดั้งเดิมของ Ichimoku Cloud จะมีค่าเริ่มต้น ดังนี้

  • Tenkan-Sen : 9
  • Kijun-Sen : 26
  • Senkou Span B : 52

โดยคุณสามารถใช้การตั้งค่าดั้งเดิมได้เลย โดยที่ไม่จำเป็นต้องปรับการตั้งค่าใหม่ค่ะ ซึ่งคุณน้าขอแนะนำว่า การตั้งค่าดั้งเดิมนี้เหมาะกับกรอบเวลา 1H ขึ้นไปค่ะ ซึ่งการตั้งค่าสีแบบดั้งเดิมของ Ichimoku Cloud จะเป็นสีตามรูปด้านล่างนี้ค่ะ

Ichimoku Cloud ตั้งค่ายังไง


ข้อดี-ข้อควรระวังของ Ichimoku Cloud

ข้อดี

  • Ichimoku Cloud สามารถใช้ได้กับสินทรัพย์ในทุกตลาด ไม่ว่าจะเป็น Forex และหุ้น เพราะอินดิเคเตอร์ตัวนี้ใช้วัดความผันผวนของราคาได้
  • ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถระบุแนวโน้มได้แม่นยำยิ่งขึ้น
  • ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถกรองสภาวะในตลาดได้จากกรอบเวลาของการเทรด
  • มีการ Set-up ที่ค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์ ทำให้ง่ายต่อการเทรด
  • ช่วยให้เทรดเดอร์ไม่ต้องเฝ้าหน้าจอตลอด 24 ชั่วโมง

ข้อควรระวัง

  • ไม่เหมาะกับการเทรดในตลาดลักษณะ Sideway
  • ไม่เหมาะกับการเทรดระยะสั้น

ไขเคล็ดลับเทรดด้วย Ichimoku Cloud ใช้ยังไง? 

หลังจากที่เราได้รู้ถึงส่วนประกอบของ Ichimoku Cloud กันไปแล้ว จะเห็นได้ว่าแต่ละเส้นนั้นมีจุดสังเกตที่แตกต่างกันค่ะ ซึ่งดูเหมือนว่าเส้นของอิชิโมกุคลาวด์จะค่อนข้างเยอะและสร้างความสับสนใช่ไหมคะ ดังนั้น คุณน้าจะขอนำเสนอเคล็ดลับเทรดด้วย Ichimoku Cloud ใช้ยังไงนะ? ไปหาคำตอบกันค่ะ!

วิธีการอ่านสัญญาณ Ichimoku Cloud

เทรดเดอร์สามารถใช้อิชิโมกุในการกรองหาจังหวะที่ควรเทรดหรือไม่ควรเทรดได้ค่ะ โดยหลัก ๆ แล้วเทรดเดอร์จะใช้เส้น Kijun-Sen, Tenkan-Sen, Senkou Span B เป็นหลักค่ะ ซึ่งคุณน้าขอยกตัวอย่างตลาดในแนวโน้มขาขึ้น-ขาลงและเทคนิคการหาจุดเข้าเทรดด้วย Ichimoku Cloud เพื่อให้ทุกคนได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. ตลาดในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend)

วิธีการอ่านสัญญาณ Ichimoku Cloud : ตลาดในแนวโน้มขาขึ้น

วิธีการดู Ichimoku Cloud จะมีจุดสังเกต ดังนี้

  • เส้น Tenkan-Sen และเส้น Kijun-Sen จะอยู่เหนือเส้น Senkou Span B/Down Kumo
  • เส้น Tenkan-Sen จะตัดขึ้นมาอยู่เหนือเส้น Kijun-Sen และอยู่ใต้เส้นราคา
  • เส้น Chikou Span จะอยู่เหนือเส้นราคา

2. ตลาดในแนวโน้มขาลง (Downtrend)

วิธีการอ่านสัญญาณ Ichimoku Cloud : ตลาดในแนวโน้มขาลง

วิธีการดู Ichimoku Cloud จะมีจุดสังเกต ดังนี้

  • เส้น Tenkan-Sen และเส้น Kijun-Sen จะอยู่ใต้เส้น Senkou Span B/Down Kumo
  • เส้น Tenkan-Sen จะตัดขึ้นมาอยู่ใต้เส้น Kijun-Sen และอยู่เหนือเส้นราคา
  • เส้น Chikou Span จะอยู่ใต้เส้นราคา

3. เทคนิคการหาจุดเข้าเทรดด้วย Ichimoku Cloud

เทคนิคการหาจุดเข้าเทรดด้วย Ichimoku Cloud

คุณน้าขอแนะนำจุดเข้าซื้อในตลาดขาขึ้นค่ะ โดยคุณสามารถสังเกตสัญญาณได้ว่า เมื่อราคาเกิดการ Breakout ในบริเวณเส้น Senkou Span B/Down Kumo แล้วนั้น ราคาจะมีการย่อกลับไปรีเทสที่เส้น Tenkan-Sen หรือเส้น Kijun-Sen ซึ่งราคาจะไม่สามารถลงต่ำไปกว่านั้นได้ค่ะ นั่นก็แสดงว่าราคาจะมีการกลับตัวพุ่งสูงขึ้นไปอีก ดังนั้น คุณสามารถเข้าซื้อ (Buy Entry) ได้ที่ตรงจุด “Re-Test” ตามรูปด้านบนเลยค่ะ


📢 คำแนะนำจากคุณน้า

อิชิโมกุ คลาวด์สามารถใช้ได้ดีในตลาดขาขึ้น (Uptrend) และตลาดขาลง (Downtrend) ซึ่งไม่ค่อยเหมาะกับตลาด Sideway เนื่องจากตลาดนี้มีความผันผวนค่อนข้างมากค่ะ ทำให้เส้น Senkou Span A/Senkou Span B จะเป็นก้อนเมฆบาง ๆ ที่สวิงค่อนข้างมาก เป็นเหตุให้คุณเจอสัญญาณหลอกได้นั่นเองค่ะ

ดังนั้น คุณน้าขอแนะนำว่าคุณควรเลือกใช้อินดิเคเตอร์ตัวอื่นควบคู่ไปด้วยค่ะ ยกตัวอย่างเช่น อินดิเคเตอร์ประเภท Oscillator จะใช้วัดสัญญาณการกลับตัว (Divergence) ของตลาดได้อย่างแม่นยำ ซึ่งอินดิเคเตอร์ประเภท Oscillator ยอดนิยมนั้นมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น RSI, MACD และ Stochastic Oscillator เป็นต้น


เทรดเดอร์สามารถใช้ Ichimoku Cloud ได้ที่ไหนบ้าง?

จากที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่า Ichimoku Cloud เป็นหนึ่งในอินดิเคเตอร์ที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมากค่ะ ซึ่งทุกคนสามารถใช้อิชิโมกุ คลาวด์ได้ในแพลตฟอร์มการซื้อขายส่วนใหญ่ได้เลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็น MT4/MT5 หรือแม้แต่ TradingView เป็นต้น 

นอกจากนี้ เทรดเดอร์ยังสามารถใช้อินดิเคเตอร์ประเภทนี้ได้ผ่านโบรกเกอร์ที่ให้บริการได้ค่ะ โดยคุณน้าจะขอยกตัวอย่าง 3 โบรกเกอร์ที่สามารถใช้อินดิเคเตอร์ Ichimoku Cloud ได้ ไม่ว่าจะเป็น IUX (เปิดบัญชี), Exness (เปิดบัญชี) และ XTB (เปิดบัญชี) เป็นต้น


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Ichimoku Cloud

Ichimoku Cloud คืออะไร?

Ichimoku Cloud คือ อินดิเคเตอร์กราฟราคาที่เหมาะกับแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว โดยคุณสมบัติเด่น ๆ ของอิชิโมกุ คลาวด์ คือ เป็นเครื่องมือที่สามารถทำหน้าที่ได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการระบุแนวรับ-แนวต้าน และ การหาสัญญาณเข้าซื้อ-ขาย เป็นต้น

Ichimoku Cloud ตั้งค่าดั้งเดิมอยู่ที่เท่าไหร่?

Ichimoku Cloud มีการตั้งค่าดั้งเดิม ดังนี้

1. Tenkan-Sen : 9

2. Kijun-Sen : 26

3. Senkou Span B : 52

Ichimoku Cloud ข้อเสียมีอะไรบ้าง?

1. ไม่เหมาะกับการเทรดในตลาดลักษณะ Sideway

2. ไม่เหมาะกับการเทรดระยะสั้น


สรุป Ichimoku Cloud (อินดิเคเตอร์ก้อนเมฆ)

จากที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่า Ichimoku Cloud เป็นหนึ่งในอินดิเคเตอร์ที่สามารถทำหน้าที่ได้หลายอย่างค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการระบุแนวรับ-แนวต้าน, การหาสัญญาณเข้าซื้อ-ขาย และการระบุแนวโน้มในตลาด เป็นต้น ทำให้อินดิเคเตอร์ประเภทนี้เหมาะกับการเทรดในระยะกลางและระยะยาว เพราะสามารถใช้งานได้ง่าย

อย่างไรก็ดี Ichimoku Cloud ก็มีข้อควรระวังเช่นกันค่ะ ดังนั้น เทรดเดอร์ควรศึกษาข้อมูลของอินดิเคเตอร์ให้ดีก่อนตัดสินใจเลือกใช้ เพราะอินดิเคเตอร์แต่ละตัวก็มีจุดเด่น-จุดด้อยที่แตกต่างกันออกไปค่ะ

อีกทั้งอย่าลืมเช็กสัญญาณหลอกของตลาดและอย่าลืมตั้งจุด Stop Loss – Take Profit ด้วยนะคะ ด้วยความปรารถนาดีจากคุณน้าพาเทรด และในบทความหน้า คุณน้าจะพาไปรู้จักกับอินดิเคเตอร์ตัวไหนอีก? อย่าลืมติดตามกันให้ดีค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ThaiForexReview และ Admirals


สำหรับใครที่สนใจอ่านรีวิวโบรกเกอร์ : Review Brokers

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

khunnaphatrade
khunnaphatrade
Recent Post
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 16 ธันวาคม 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 16 ธันวาคม 2567 By คุณน้าพาเทรด

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 16 ธันวาคม 2567 ซึ่งมีข่าวสำคัญจากสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า ราคาทองคำมีโอกาสปรับตัวลงไปที่บริเวณ 2,645-2,647 ดอลลาร์ และเกิด QM ค่ะ

แนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุน ต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส
แนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุน ต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส

คุณน้าจะขอแนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุนต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส ไปกับตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นสหรัฐฯ เพื่อเป็นการเอาฤกษ์เอาชัย ก่อนจะเริ่มต้นปี 2025 กันค่ะ

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 11 ธันวาคม 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 11 ธันวาคม 2567 By คุณน้าพาเทรด

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันพุธที่ 11 ธันวาคม 2567 กันค่า วิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ เมื่อวานนี้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นกว่า 33 ดอลลาร์