USDJPY : ส่องเหตุผลว่าทำไมเงินเยนถึงอ่อนค่าในปี 2023

ปัจจัยที่ส่งผลให้เงินเยนอ่อนค่า USDJPY
Table of Contents

ณ ตอนนี้คงจะเห็นคนที่อยากไปเที่ยวญี่ปุ่นเริ่มแลกเงินเยนเก็บไว้มากขึ้นเลยนะคะ เพราะว่าเงินเยนนั้นกำลังอ่อนค่ามาก ๆ เหมาะแก่การแลกเก็บไว้ ซึ่งนอกจากจะเป็นผลดีกับสายเทรดแล้ว นักท่องเที่ยวก็อาจจะถูกใจด้วยเช่นกันค่ะ 

แต่ว่าเหตุการณ์ที่ทำให้เงินเยนอ่อนค่าครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เงินเยนอ่อนค่าหนักมากนะคะ เพราะเมื่อปี 2022 ที่ผ่านมา เงินญี่ปุ่นหรือเงินเยนเคยอ่อนค่าแตะที่ 151.9 เลยทีเดียว นับว่าเป็นการอ่อนค่าที่สุดในรอบ 20 ปีเลยค่ะ 

ล่าสุด (อัปเดต 16 สิงหาคม 2566) เงินเยนทำ New High ของปีนี้ที่ 146.556 โดยประมาณวันนี้คุณน้าเลยอยากจะเขียนสรุปว่าเหตุอันใดบ้างที่ส่งผลต่อราคาเงินเยน และมีผลอย่างไรบ้าง ว่าแล้วก็มาดูกันเลยค่ะ

USDJPY อ่อนค่า

ปัจจัยที่มีผลต่อสกุลเงินญี่ปุ่นหรือเงินเยน (JPY)

ปัจจัยที่ส่งผลต่อเงินเยน ทำให้เงินเยนอ่อนค่า

1.ราคาน้ำมัน 

ต้องบอกก่อนว่า ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่นำเข้าน้ำมันเป็นส่วนใหญ่ค่ะ และการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันหมายความว่าประเทศต้องใช้จ่ายมากขึ้นในการซื้อน้ำมันจากประเทศอื่นนั่นเอง และพอต้องนำเข้ามากขึ้นก็จะส่งผลกระทบไปหลายอย่างเลย ไม่ว่าจะเป็น

ดุลการค้า:

ดุลการค้าของญี่ปุ่นอาจแย่ลงเนื่องจากต้นทุนการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น ซึ่งหมายความว่าญี่ปุ่นจะใช้จ่ายมากขึ้นในการนำเข้า (รวมถึงน้ำมัน) ซึ่งอาจนำไปสู่การขาดดุลการค้าได้

บัญชีเดินสะพัด:

บัญชีเดินสะพัดซึ่งรวมถึงดุลการค้าและธุรกรรมข้ามพรมแดนอื่น ๆ อาจได้รับผลกระทบในทางลบเช่นกัน การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่มากขึ้นอาจทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเศรษฐกิจญี่ปุ่นลดลงด้วยเช่นกันนั่นเองค่ะ

อัตราเงินเฟ้อ:

ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นสามารถนำไปสู่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อภายในเศรษฐกิจของญี่ปุ่นด้วย หากต้นทุนสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นเนื่องจากต้นทุนการขนส่งและการผลิตที่สูงขึ้น อาจทำให้ราคาในประเทศสูงขึ้นตามมานั่นเอง

เงินเยนของญี่ปุ่น:

เมื่อราคาน้ำมันสูงขึ้นและดุลการค้าของญี่ปุ่นแย่ลง อาจนำไปสู่การลดลงของความต้องการเงินเยนของญี่ปุ่น เนื่องจากการขาดดุลการค้าและอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอาจบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อสกุลเงิน พอเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้น ก็จะทำให้สกุลเงินอื่นที่เป็นของประเทศที่มีดุลการค้าดีกว่าและสภาพเศรษฐกิจที่มั่นคงแข็งค่าขึ้น เงินเยนก็เลยอ่อนค่านั่นเองค่ะ

ราคาน้ำมันและเงินเยนมักมีความสัมพันธ์แบบผกผันกันค่ะ เนื่องจากญี่ปุ่นพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันอย่างหนัก ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก เนื่องจากขาดแคลนน้ำมันสำรองในประเทศอย่างมาก ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของญี่ปุ่นและรวมถึงสกุลเงินของญี่ปุ่นด้วย 

ราคาน้ำมันสูงขึ้น = เงินเยนอ่อนค่า 

*หมายเหตุ : เป็นเพียงทฤษฎีในส่วนใหญ่นะคะ แต่ทุกครั้งที่น้ำมันสูงขึ้นก็อาจจะไม่ได้ทำให้เงินเยนอ่อนค่าเสมอไป ต้องดูปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วยน้า 


2.การนำเข้า 

ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีทรัพยากรค่อนข้างน้อยและเน้นการนำเข้า เมื่อทรัพยากรจำเป็นมีการปรับราคาเพิ่มขึ้น ต้องนำเข้าเพิ่มขึ้น (อย่างเช่น น้ำมัน ที่คุณน้าได้ยกตัวอย่างไป) นั่นก็ทำให้ต้องมีการเพิ่มเงินทุนในการนำเข้าใช่มั้ยล่ะคะ แบบนี้เลยมีผลต่องบดุลของประเทศด้วยเช่นกัน


3.การส่งออก 

โดยปกติแล้วนั้น ญี่ปุ่นมีชื่อเสียงด้านสินค้าคุณภาพสูงอยู่แล้วค่ะ เช่น รถยนต์, อิเล็กทรอนิกส์, เครื่องจักร และสินค้าอุปโภคบริโภค ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เน้นการส่งออกอยู่แล้วค่ะ ไม่ต้องมองของไกลตัวเลย อย่างเช่น เราคงคุ้นชื่อแบรนด์ดัง ๆ อย่าง Toyota, Honda รวมถึง Nissan กันดีอยู่แล้วใช่มั้ยคะ การส่งออกมีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจโดยการสร้างรายได้และสร้างงานค่ะ 

แล้วถ้าหากตัวเลขส่งออกน้อยลง นั่นแปลว่าการผลิตหรือการขายอาจจะน้อยลง ก็ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ, เงินค่าแรงงาน และทำให้เงินเยนอ่อนค่าลงได้เช่นกันค่ะ 


4.นโยบายของประเทศ

คงต้องบอกว่าเป็นภาพซ้ำจากเมื่อปี 2022 เลยค่ะ เพราะว่าช่วงที่เงินเยนอ่อนค่ามาก ๆ ที่ในตอนนั้น 1USD = 151.9 JPY สาเหตุหลักก็มาจากนโยบายทางฝั่งสหรัฐฯ ที่มีความต้องการควบคุมเงินเฟ้อ ส่วนทาง BOJ หรือ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) เนี่ย เป็นประเทศที่มีนโยบายคงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ -0.1% ในขณะที่สหรัฐมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 5.50% และทาง BOJ ก็ไม่ได้มีนโยบายทางการเงินที่จะดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนมากนัก เพราะถ้าหากเทียบเศรษฐกิจจริง ๆ ระหว่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น แน่นอนว่านักลงทุนส่วนใหญ่ก็จะเทไปลงทุนในสหรัฐฯ มากกว่าใช่มั้ยล่ะคะ เพราะว่ามีสภาพเศรษฐกิจขนาดใหญ่กว่าและแข็งกว่า ซึ่งข้อนี้จะไปโยงกับข้อ 5 นั่นก็คือดอลลาร์สหรัฐนั่นเองค่ะ


5.เงินดอลลาร์สหรัฐ

หนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อสกุลเงินเยนก็คือสกุลเงินหลักของโลกอย่างดอลลาร์สหรัฐ และในขณะนี้ เศรษฐกิจทางฝั่งอเมริกานั้นดีขึ้น เลยส่งผลให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น และส่งผลต่อสกุลเงินอื่นรวมถึงเยนด้วยค่ะ

เพราะอย่างเช่น ล่าสุด ณ ตอนนี้ที่คุณน้ากำลังเขียนบทความนี้คือเดือนสิงหาคมปี 2566 เงินดอลลาร์แข็งค่ามาก เพราะ 1 ดอลลาร์เท่ากับ 35.55 บาทไทยโดยประมาณ โดยเป็นช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มกลับมาฟื้นตัวดีขึ้น

ดังนั้น นี่เลยเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เงินเยนดูอ่อนค่ามากขึ้นอีกค่ะ เพราะสกุลเงินหลักอื่นโดยเฉพาะสหรัฐแข็งค่าขึ้นมากนั่นเองค่ะ 


สรุป

และนี่ก็คือปัจจัยที่ส่งผลต่อฝั่งสกุลเงินเยนและอ่อนค่านั่นเองค่ะ เพราะราคาของสกุลเงินนั้นมีการขึ้นลงตลอดเวลา และมีหลายปัจจัยด้วยที่ส่งผล เนื่องจากสกุลเงินเยนก็นับเป็นหนึ่งในสกุลเงินหลักที่นิยมในการเทรดมากที่สุดด้วยนั่นเองค่ะ สำหรับใครที่อยากอ่านเกี่ยวกับการรับมือเมื่อสกุลเงินอ่อนค่า ทางรัฐบาลจะมีการแก้ไขปัญหาอย่างไร คุณน้าจะมาเขียนสรุปให้ได้อ่านกันนะคะ ฝากติดตามด้วยน้า


Picture of คุณน้า
คุณน้า
คุณน้าเป็นเทรดเดอร์ที่คลุกคลีอยู่ในตลาดต่าง ๆ ร่วม 10 ปี จึงอยากนำความรู้ที่มีมาแบ่งปันให้กับทุกคน
Recent Post
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 มกราคม 2568
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 มกราคม 2568 By คุณน้าพาเทรด

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 มกราคม 2568 ซึ่งมีข่าวสำคัญจากสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า ราคาทองคำจะปรับตัวลงไปทดสอบแนวรับที่ 2,690 ดอลลาร์อีกครั้งค่ะ

Exness ดีไหม? รีวิวทุกข้อสำคัญ ปี 2025
Exness ดีไหม? รีวิวทุกข้อสำคัญ ฉบับอัปเดตปี 2025

วันนี้คุณน้าเลยอยากจะหยิบยกโบรกเกอร์ Exness มาให้ทุกคนได้อ่านกัน เผื่อว่าท่านใดที่สนใจหาข้อมูลโบรกเกอร์อยู่จะใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ

Day Trade คืออะไร เรียนรู้การเป็นเทรดเดอร์รายวันแบบละเอียด
Day Trade คืออะไร? เรียนรู้การเป็นเทรดเดอร์รายวันแบบละเอียด

Day Trade (เดย์เทรด) คือ กลยุทธ์สำหรับเทรดเดอร์ที่ชื่นชอบการเปิดปิดออเดอร์ภายในวันเดียว ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นนักเก็งกำไรระยะสั้น