ทำความรู้จักดัชนี S&P 500 คืออะไร ? ก่อนเริ่มลงทุนฉบับเข้าใจง่าย

ดัชนี S&P 500 คืออะไร
Table of Contents

วันนี้คุณน้าพามาทำความรู้จักดัชนี S&P 500 คืออะไร ? ปัจจุบันนี้ผู้คนหันมาสนใจในการลงทุนกันเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนทางตรงหรือการลงทุนทางอ้อม วันนี้คุณน้าจะพาทุกคนมาทำความรู้จักดัชนี S&P 500 คืออะไร ? ทำไมนักลงทุนถึงนิยมลงทุนในดัชนี S&P 500 รวมถึงต้นกำเนิดของดัชนี S&P 500 หากพร้อมแล้วไปอ่านพร้อม ๆ กันในบทความนี้ได้เลยค่ะ

ดัชนี S&P 500 คืออะไร ?

S&P 500 คือ ดัชนีที่เกิดจากมูลค่าของบริษัทแนวหน้า 500 แห่งในสหรัฐฯ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) และตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ เข้าไว้ด้วยกัน โดยจะมีเกณฑ์การพิจารณาบริษัทจากสภาพคล่อง มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด รวมถึงหลักเกณฑ์อื่น ๆ ร่วมด้วยค่ะ จึงทำให้ดัชนี S&P 500 สามารถสะท้อนสภาพตลาดโดยรวมในสหรัฐฯ ได้

ต้นกำเนิดดัชนี S&P 500

ต้นกำเนิดดัชนี S&P 500

ดัชนี S&P 500 ถือกำเนิดเมื่อปี 1923 โดยบริษัท Standard Statistics ซึ่งจะประกอบด้วยหุ้นของบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในสหรัฐฯ 233 บริษัท ก่อนที่จะรวมกิจการกับบริษัท Poor’s Publishing และเปลี่ยนชื่อไปเป็น Standard and Poor’s (S&P) และได้เพิ่มจำนวนหุ้นบริษัทเป็น 500 แห่งในปี 1957 และใช้ชื่อ S&P 500 ที่เรารู้จักกันในปัจจุบันค่ะ

โดยดัชนี S&P 500 จะครอบคลุมหลากหลายอุตสาหกรรมด้วยกัน เช่น อุตสาหกรรมเทคโนโลยี อุตสาหกรรมการเงิน อุตสาหกรรมสุขภาพ และ อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

ทำไมดัชนี S&P 500 ถึงน่าสนใจ ?

ทำไมดัชนี S&P 500 ถึงน่าสนใจ อย่างที่ทราบกันดีว่าดัชนี S&P 500 คือ ดัชนีที่ได้ทำการรวบรวมบริษัทแนวหน้าของสหรัฐฯ เข้าไว้ด้วยกันจึงทำให้มูลค่าโดยรวมของหุ้นใน S&P 500 นั้นมีมากถึง 80% ของตลาดหุ้นทั้งหมดของสหรัฐ อีกทั้ง ยังเป็น 500 บริษัทใหญ่ที่ติดอันดับโลก ทำให้บริษัทต่างประเทศใหญ่ ๆ ไปจดทะเบียนกับตลาดสหรัฐฯ นั่นหมายความว่า สินค้าและบริการต่าง ๆ จะถูกกระจายไปยังผู้บริโภคทั่วโลกค่ะ ทำให้ Market Cap. ตลอดจนกำไรสุทธิของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ค่อนข้างมีอิทธิพลต่อตลาดโลก ซึ่งยังไม่นับรวมอิทธิพลของค่าเงินดอลลาร์ด้วย

ดัชนีหุ้นไทย vs ดัชนีหุ้นสหรัฐฯ

ดัชนีจำนวนหุ้นMarket Cap
S&P 50050346.93T
SET 505027.43B

รายชื่อหุ้น S&P 500 มีอะไรบ้าง ?

รายชื่อหุ้น S&P 500 มีอะไรบ้าง

ตัวอย่างหุ้นแต่ละ Sector ในดัชนี S&P 500

อุตสาหกรรมชื่อหุ้น
เทคโนโลยีMicrosoft (MSFT)
Apple (AAPL)
การเงินBerkshire (BRK.A , BRK.B)
JP MORGAN CHASE (JPM)
สุขภาพEli lilly (LLY)
Jhonson & Jhonsan (JNJ)
การค้าปลีกAmazon (AMZN)
Walmart (WMT)
สินค้าอุปโภคบริโภคProtect & Gameble (PG)
Nike (NKE)
บริการเชิงพาณิชย์VISA (V)
Mastercard (MA)
แร่พลังงานExxon Mobil (XOM)
Chevron Corporation (CVX)
ระบบขนส่งUnion Pacific (UNP)
Uber TechnoloGies (UBER)
การสื่อสารT-Mobile (TMSU)
Verizon Communications (VZ)

เปรียบเทียบผลตอบแทนย้อนหลัง ระหว่าง S&P 500 กับ SET 50 

แม้ว่า Market Cap. ของดัชนี SET 50 จะแตกต่างจาก S&P 500 เป็นอย่างมาก แต่ตลาดหุ้นไทยก็มีเสน่ห์เฉพาะตัวค่ะ อย่างไรก็ดี ในช่วง 5 ปีย้อนหลังมานี้ เราจะเห็นว่าผลตอบแทนของทั้ง 2 ตลาดสวนทางกันอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก อีกทั้ง หลายคนยังมองว่าเสน่ห์ของตลาดหุ้นไทยได้หายไป ทำให้นักลงทุนจำนวนมากหันไปลงทุนหุ้นต่างประเทศผ่านช่องทางต่าง ๆ แทน ซึ่งตลาดที่ได้รับความนิยมสูงเป็นอันดับต้น ๆ ก็คือ หุ้นสหรัฐฯ ค่ะ

เทียบผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปีระหว่าง S&P500 กับ SET50

S&P 500 ซื้อที่ไหนได้บ้าง

การลงทุนใน S&P 500 สามารถทำได้ผ่านช่องทางดังต่อไปนี้ค่ะ

ลงทุนในกองทุนรวม

การลงทุนกองทุนรวมดัชนี  S&P 500 คือ การลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นอ้างอิงกับดัชนี S&P 500 ทุกตัวในสัดส่วนเดียวกันจึงทำให้ได้รับผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับดัชนี S&P 500 ค่ะ

ข้อดี

เหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่ มีค่าธรรมเนียมที่ต่ำ สามารถกระจายความเสี่ยงได้ดี และง่ายต่อการลงทุน

ข้อเสีย

นักลงทุนไม่สามารถเลือกหุ้นในการลงทุนเองได้ เนื่องจากกองทุนรวมจะเลือกลงทุนในหุ้นอ้างอิงตามดัชนี S&P 500

ลงทุนใน ETF (Exchange Traded Funds)

การลงทุนใน S&P 500 ETF  คือ การลงทุนใน ETF ที่มีนโยบายสร้างผลตอบแทนให้มีความใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิง S&P 500 ซึ่งจะคล้ายกันกับการลงทุนผ่านกองทุนรวม แต่ก็จะมีข้อแตกต่างในเรื่องของการซื้อขายค่ะ

ข้อดี

ซื้อขายได้ตลอดเวลาเหมือนหุ้น ค่าธรรมเนียมในการจัดการกองทุนต่ำกว่ากองทุนรวม

ข้อเสีย

ETF ไม่ได้รับความนิยมเท่าหุ้นมากนักในปัจจุบัน จึงทำให้มีสภาพคล่องที่ค่อนข้างต่ำ อีกทั้ง หากต้องการลงทุนใน ETF ยังต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม เพราะประเทศไทยยังไม่มี นักลงทุนต้องซื้อ ETF ผ่านตลาดต่างประเทศแทน

ลงทุนในตราสารอนุพันธ์ (CFD)

การลงทุนในตราสารอนุพันธ์ (CFD) S&P 500 คือ การลงทุนโดยการทำสัญญาแลกเปลี่ยน ซึ่งการลงทุนประเภทนี้จะทำกำไรจากส่วนต่างของราคาและสามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง

ข้อดี

ต้นทุนในการซื้อขายต่ำสามารถใช้ Leverage ในการลงทุนได้เหมาะสำหรับการเก็งกำไรระยะสั้น

ข้อเสีย

นักลงทุนไม่ได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์จริง ๆ เป็นแค่เพียงการทำสัญญาซื้อขายเท่านั้นและยังมีความเสี่ยงในเรื่องของการใช้ Leverage

ลงทุนหุ้นรายตัวใน S&P 500

การลงทุนหุ้นรายตัวใน S&P 500 คือ การที่นักลงทุนเลือกลงทุนในหุ้นที่อยู่ในดัชนี S&P 500 โดยตรง ในการลงทุนประเภทนี้นักลงทุนจะต้องมีประสบการณ์และความเข้าใจในหุ้นที่ตนเองเลือกลงทุนค่ะ

ข้อดี

ผลตอบแทนสูงสามารถจัดพอร์ตการลงทุนได้ด้วยตนเอง

ข้อเสีย

มีความเสี่ยงที่สูงเนื่องจากการลงทุนในหุ้นรายตัว ไม่มีการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนเหมือนกับกองทุนและ ETF อีกทั้ง ยังมีค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย ภาษีหุ้นต่างประเทศ และความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน

ทำไมคนถึงนิยมลงทุนในกองทุนรวม S&P 500

กองทุนรวม S&P 500 เป็นกองทุนที่เหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่ อีกทั้งยังเป็นที่นิยมในกลุ่มนักลงทุนหลาย ๆ กลุ่มด้วยค่ะ เนื่องจากกองทุนรวม S&P 500 สามารถกระจายความเสี่ยงในการลงทุนได้ดีและเหมาะสำหรับการลงทุนในระยะยาว เพราะกองทุนรวม S&P 500 สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาวค่ะ 

แม้กระทั่งนักลงทุนที่เรารู้จักกันดีอย่าง วอร์เรน บัฟเฟตต์ เองยังเคยแนะนำให้ลงทุนในกองทุนรวม S&P 500 มาแล้ว ส่วนตัวคุณน้ามองว่าหากใครที่กำลังมองหาการลงทุนที่สร้างผลตอบแทนดีในระยะยาว การลงทุนในกองทุนรวมก็ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจเช่นกันค่ะ


เลือกกองทุนดัชนี S&P 500 ตัวไหนดีปี 2024

5 กองทุนรวมดัชนี S&P 500 ที่น่าสนใจในปี 2024 มีดังต่อไปนี้ค่ะ

กองทุนรวม SCBS&P500

กองทุนรวม SCBS&P500

บลจ. : ไทยพาณิชย์ จำกัด

ประเภทกองทุนรวม : Passive Fund

นโยบายการลงทุน : ลงทุนกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ได้แก่ กองทุน iShares Core S&P 500 ETF

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี : 22.13%

เงินปันผล : จ่าย

ลงทุนครั้งแรกขั้นต่ำ : 1 บาท

ระดับความเสี่ยง : ความเสี่ยงระดับ 6


กองทุนรวม TMBUS500

กองทุนรวม TMBUS500

บลจ. : อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด

ประเภทกองทุนรวม : Passive Fund 

นโยบายการลงทุน : เน้นลงทุนในกองทุน iShares Core S&P 500 ETF (กองทุนหลัก)

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี : 24.60%

เงินปันผล : ไม่จ่ายเงินปันผล

ลงทุนครั้งแรกขั้นต่ำ : 1 บาท

ระดับความเสี่ยง : ความเสี่ยงระดับ 6


กองทุนรวม ASP-SP500

กองทุนรวม ASP-SP500

บลจ. : แอสเซท พลัส จำกัด

ประเภทกองทุนรวม : Passive Fund

นโยบายการลงทุน : ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน SPDR S&P500 ETF (กองทุนหลัก) ซึ่งเป็นกองทุนรวมอีทีเอฟ (Exchange Traded Fund) 

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี : 21.46%

เงินปันผล : ไม่จ่ายเงินปันผล

ลงทุนครั้งแรกขั้นต่ำ : 1,000 บาท

ระดับความเสี่ยง : ความเสี่ยงระดับ 6


กองทุนรวม K-US500X-A(A)

กองทุนรวม K-US500X-A(A)

บลจ. : กสิกรไทย จำกัด

ประเภทกองทุนรวม : Passive Fund

นโยบายการลงทุน : ลงทุนในกองทุน iShares Core S&P 500 ETF (กองทุนหลัก)

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี : 26.27%

เงินปันผล : ไม่จ่ายเงินปันผล

ลงทุนครั้งแรกขั้นต่ำ : 500 บาท

ระดับความเสี่ยง : ความเสี่ยงระดับ 6


กองทุนรวม TISCOUS-A

กองทุนรวม TISCOUS-A

บลจ. : ทิสโก้ จำกัด

ประเภทกองทุนรวม : Passive Fund

นโยบายการลงทุน : ลงทุนในกองทุน SPDR S&P 500 ETF (กองทุนหลัก) ซึ่งมีนโยบายลงทุนในตราสารทุน 

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี : 22.37%

เงินปันผล : ไม่จ่ายเงินปันผล

ลงทุนครั้งแรกขั้นต่ำ : 0 บาท

ระดับความเสี่ยง : ความเสี่ยงระดับ 6

⭐ การเลือกลงทุนในกองทุน S&P 500 ควรพิจารณาจากปัจจัยหลาย ๆ ด้าน เช่น ระดับความเสี่ยงของกองทุน ผลตอบแทนย้อนหลัง รวมถึงค่าธรรมเนียมต่าง ๆ และความเสี่ยงที่ตัวเราเองสามารถรับได้ค่ะ


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ S&P 500

Nasdaq กับ S&P 500 ต่างกันยังไง ?

Nasdaq ถือเป็นตัวแทนของหุ้นฝั่งเทคโนโลยีซึ่งจะประกอบด้วยหุ้นสหรัฐและหุ้นต่างประเทศที่จดทะเบียนใน Nasdaq ค่ะ

ส่วน S&P 500 จะประกอบไปด้วยหุ้น 500 แห่งของสหรัฐที่จดทะเบียนในตลาดหุ้น NYSE และ Nasdaq โดยจะถือเป็นตัวแทนของหุ้นสหรัฐค่ะ

S&P 500 ซื้อยังไง ?

สามารถซื้อ S&P 500 ได้ 4 ช่องทาง ได้แก่ 1. ซื้อผ่านกองทุนรวม 2. ซื้อผ่าน ETF 3. ซื้อผ่านตราสารอนุพันธ์ และ 4. ซื้อผ่านหุ้นรายตัวใน S&P 500

กองทุน S&P 500 ธนาคารไหนดี ?

การเลือกลงทุนใน S&P 500 นักลงทุนสามารถเลือกพิจารณากองทุนที่ตรงตามเป้าหมายการลงทุนของตนเองได้เลยค่ะ ซึ่งแต่ละกองทุนนั้นก็จะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไปค่ะ

สรุป ดัชนี S&P 500 คืออะไร ?

ดัชนี S&P 500 คือ ดัชนีที่มีต้นกำเนิดจากบริษัท Standard and Poor’s โดยมาจากการรวบรวมมูลค่าของบริษัทแนวหน้าจากหลาย ๆ อุตสาหกรรมในสหรัฐฯ ทั้งหมด 500 บริษัทเข้าไว้ด้วยกันจึงทำให้ดัชนี S&P 500 มีมูลค่าหุ้นมากถึง 80% และดัชนี S&P 500 ยังเป็นเหมือนภาพสะท้อนของตลาดหุ้นในสหรัฐอีกด้วยค่ะ

การลงทุนในดัชนี S&P 500 สามารถลงทุนผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้หลายช่องทางตามที่กล่าวไปข้างต้น นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนตามความถนัดและประสบการณ์ของตนเองได้เลยค่ะ แต่อย่าลืมว่าทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ดังนั้นผู้ลงทุนควรศึกษาการลงทุนให้ดีก่อนเริ่มทำการลงทุนนะคะ เนื่องจากผลตอบแทนในอดีตไม่ได้เป็นการการันตีผลตอบแทนในอนาคตค่ะ


สำหรับใครที่สนใจอ่านรีวิวโบรกเกอร์ : Review Brokers

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

khunnaphatrade
khunnaphatrade
Recent Post
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 16 ธันวาคม 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 16 ธันวาคม 2567 By คุณน้าพาเทรด

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 16 ธันวาคม 2567 ซึ่งมีข่าวสำคัญจากสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า ราคาทองคำมีโอกาสปรับตัวลงไปที่บริเวณ 2,645-2,647 ดอลลาร์ และเกิด QM ค่ะ

แนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุน ต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส
แนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุน ต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส

คุณน้าจะขอแนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุนต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส ไปกับตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นสหรัฐฯ เพื่อเป็นการเอาฤกษ์เอาชัย ก่อนจะเริ่มต้นปี 2025 กันค่ะ

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 11 ธันวาคม 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 11 ธันวาคม 2567 By คุณน้าพาเทรด

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันพุธที่ 11 ธันวาคม 2567 กันค่า วิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ เมื่อวานนี้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นกว่า 33 ดอลลาร์