SWIFT CODE คืออะไร? การโอนเงินระหว่างประเทศ

SWIFT CODE คืออะไร? ระบบการโอนเงินระหว่างประเทศ
Table of Contents

ในยุคที่การทำธุรกรรมระหว่างประเทศสามารถทำได้ง่าย ๆ ผ่านธนาคาร เคยสงสัยกันไหมคะว่า ทำไมธนาคารถึงต้องขอรหัส Swift Code ของผู้รับปลายทาง ในวันนี้คุณน้าจะพาทุกคนมารู้จักกับ Swift Code คืออะไร? และในแต่ละธนาคารใช้ Swift Code แบบไหน บทความนี้มีคำตอบค่ะ!

*หมายเหตุ : บทความนี้เป็นเพียงบทความให้ความรู้เท่านั้น ไม่ได้เป็นการชักชวนเพื่อลงทุนแต่อย่างใด โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน

ต้นกำเนิดของ Swift เป็นอย่างไร?

ก่อนที่เราจะไปรู้จักกับ Swift Code คืออะไร อย่างแรกที่เราต้องทำความเข้าใจก่อนก็คือ ระบบ Swift ค่ะ Swift มีชื่อเต็มว่า Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunication เป็นระบบการสื่อสารของผู้ให้บริการทางสถาบันทางการเงิน ก่อตั้งเมื่อปี 1973 จากความร่วมมือของธนาคาร 239 แห่งทั่วโลก ซึ่งจุดประสงค์หลักในการก่อตั้ง Swift ขึ้นมา ก็เพื่อแก้ไขปัญหาในการทำธุรกรรมข้ามพรมแดนให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

Swift Code คืออะไร?

Swift Code (สวิฟโค้ด) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า BIC Code คือ หมายเลขรหัสธนาคารหรือสถาบันทางการเงินที่ระบุรหัสมาตรฐานไว้ที่ 8-11 ตัวอักษร เพื่อใช้ในการโอน-รับเงินระหว่างธนาคารด้วยกันเอง โดยเฉพาะสวิฟโค้ดจะได้รับความนิยมเป็นอย่างมากกับการทำธุรกรรมต่างประเทศค่ะ เพราะนอกจากจะช่วยให้การทำธุรกรรมใช้ระยะเวลาไม่นานมากแล้ว สวิฟโค้ดยังได้รับการรับรองการใช้งานตามมาตรฐานสากล ISO9362 ที่มีการใช้งานจากธนาคารทั่วโลกค่ะ

⭐ Tip BIC คืออะไร?

BIC ย่อมาจาก Bank Identifier Code คือ รหัสที่ใช้ระบุธนาคารและสถาบันการเงินทั่วโลก ซึ่งเรียกง่าย ๆ ว่า การยืนยันรหัสของธนาคารระหว่างประเทศนั่นเองค่ะ

ตัวเลข Swift Code ดูตรงไหนและบอกอะไร?

Swift Code ดูตรงไหนและบอกอะไร?

จากที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่า ตัวเลขมาตรฐานของสวิฟโค้ดจะมีอยู่ 8-11 ตัวใช่ไหมคะ ซึ่งแต่ตัวก็มีความหมายที่แตกต่างกันค่ะ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • 4 ตัวอักษรแรก คือ ชื่อธนาคาร
  • 2 ตัวอักษรถัดมา คือ รหัสประเทศ
  • 2 ตัวอักษรถัดมา คือ รหัสบอกตำแหน่งที่ตั้ง
  • 3 ตัวอักษรสุดท้าย (ถ้ามี) คือ รหัสสาขาหรือสาขาย่อยธนาคารที่คุณใช้บริการ

และเพื่อให้ทุกคนได้เห็นภาพที่ชัดเจน คุณน้าขอยกตัวอย่างสวิฟโค้ดของธนาคารไทยพาณิชย์ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

⭐ SICOTHBK ⭐

  • 4 ตัวอักษรแรก คือ ชื่อธนาคารไทยพาณิชย์
  • 2 ตัวอักษรถัดมา คือ รหัสประเทศไทย
  • 2 ตัวอักษรถัดมา คือ รหัสบอกตำแหน่งที่ตั้งอย่างกรุงเทพมหานคร

เกร็ดความรู้เพิ่มเติม Swift Code แต่ละสาขาเหมือนกันไหม?

Swift Code ของธนาคารแต่ละสาขาจะมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะตำแหน่งที่ตั้งและรหัสสาขาย่อยที่คุณใช้บริการจะมีความแตกต่างกันออกไปค่ะ


การทำธุรกรรมแบบไหนที่ต้องผ่าน Swift Code

โดยปกติแล้ว การทำธุรกรรมระหว่างประเทศจะต้องใส่รหัสสวิฟโค้ด เมื่อลูกค้าเลือกช่องทางการโอนเงินผ่านธนาคารอื่น ๆ (Bank Transfer) รวมถึงเทรดเดอร์ที่ต้องการถอนเงินผ่านโบรกเกอร์ Forex จากบัญชีธนาคารไทย ทางโบรกเกอร์จะต้องขอรหัสสวิฟโค้ดของคุณ เพื่อดำเนินการทำธุรกรรม ดังนั้น จะสรุปได้ง่าย ๆ ว่า การขอสวิฟโค้ด มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับลูกค้าที่มีการซื้อขายสินค้าหรือลงทุนระหว่างประเทศนั่นเองค่ะ

🔍 คุณน้าแนะนำโบรกเกอร์ Forex ถอนเงินเร็ว ฝากเงินไว 2025

การฝากถอนเร็วจะช่วยให้เทรดเดอร์ไม่พลาดการเปิด-ปิดออเดอร์ในราคาที่ต้องการ ดังนั้น โบรกเกอร์ Forex ฝากถอนเร็วจึงสำคัญมาก และสำหรับใครที่กำลังมองหาโบรกเกอร์ Forex ถอนเงินเร็ว ฝากเงินไว ปี 2024 คุณน้าได้รวบรวมมาไว้ให้คุณแล้ว สามารถอ่านได้ที่ลิงก์ด้านล่างได้เลยค่ะ


วิธีการค้นหา Swift Code ทำอย่างไร?

เข้าเว็บไซต์ธนาคาร

สำหรับวิธีการค้นหาสวิฟโค้ดของแต่ละธนาคาร สามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ของธนาคารตรงบัญชีและธุรกรรมระหว่างประเทศ โดยแต่ละธนาคารจะระบุเงื่อนไขเพื่อแจ้งให้ลูกค้าทราบต่างกัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ค่ะ

  • เอกสารเพิ่มเติม
  • รองรับอัตราการแลกเปลี่ยนกี่สกุลเงิน
  • มีสิทธิประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับอะไรบ้าง เช่น การบริการผ่านอีเมล หรือผ่านระบบ OTT Tracking เป็นต้น
  • ช่องทางการให้บริการไปต่างประเทศมีกี่ช่องทาง
  • อัตราค่าธรรมเนียมเป็นอย่างไร
  • คุณสมบัติของลูกค้าที่จะเข้ามาใช้บริการ

Third Party

นอกจากเข้าเว็บไซต์ธนาคารแล้วนั้น ผู้ทำธุรกรรมสามารถค้นหารหัสสวิฟโค้ดได้ที่ Third Party ซึ่งเป็นตัวกลางในการโอนเงินระหว่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น TransferWise โดยเข้าไปที่หน้าค้นหา Swift Code/BIC จากนั้น กรอกชื่อธนาคารและตำแหน่งที่ตั้งลงไปก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยค่ะ

วิธีการค้นหา Swift Code จาก Thirt Party

บทความที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมต่างประเทศเพิ่มเติม :


การเตรียมตัวก่อนโอนเงินผ่าน Swift Code 

  • เตรียมเอกสารอื่น ๆ เพิ่มเติมตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของแต่ละธนาคารที่ผู้โอนเงินมีบัญชีอยู่
  • ชื่อบัญชี, เลขที่บัญชี และที่อยู่ของผู้รับเงินปลายทางในต่างประเทศ
  • ชื่อและที่อยู่ของธนาคารที่ผู้รับเงินมีบัญชีอยู่
  • รหัสสวิฟโค้ดของธนาคารปลายทางที่ผู้รับเงินมีบัญชีอยู่
  • เตรียมเอกสารประกอบตามวัตถุประสงค์การโอนเงินที่ ธปท. ระบุไว้


ข้อควรรู้เกี่ยวกับ Swift Code มีอะไรบ้าง?

1. ค่าธรรมเนียมค่อนข้างสูง

การทำธุรกรรมผ่านสวิฟโค้ดจะมีค่าธรรมเนียมค่อนข้างสูง เนื่องจากมีการดำเนินการหลายขั้นตอน อีกทั้งยังมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมทั้งฝั่งผู้โอนเงินต้นทางและผู้รับเงินปลายทาง ซึ่งผู้โอนเงินจะต้องเสียค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 400-1,000 บาทขึ้นไป ต่อครั้ง ส่วนผู้รับเงินจะต้องเสียค่าธรรมเนียม โดยธนาคารจะหักค่าธรรมเนียมออกจากจำนวนเงินที่ได้รับโอนมา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับเรตของแต่ละธนาคารด้วยค่ะ 

นอกจากนี้ หากผู้โอนทำการโอนเงินเป็นสกุลเงินอื่น ๆ ที่ไม่ใช่สกุลเงินเดียวกันกับผู้รับ ผู้โอนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมเป็นเปอร์เซ็นต์ของจำนวนเงินทั้งหมด เนื่องจากธนาคารจะต้องมีการแปลงสกุลเงินนั่นเองค่ะ 

ดังนั้น คุณน้าขอแนะนำว่า ก่อนที่คุณจะทำธุรกรรมระหว่างประเทศผ่านสวิฟโค้ดควรโอนเงินเป็นสกุลเงินเดียวกัน เพื่อไม่ให้เสียค่าธรรมเนียมที่เพิ่มมากขึ้นค่ะ

2. ระยะเวลาที่ผู้รับปลายทางจะได้รับเงิน

สำหรับระยะเวลาในการรับเงินจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาในแต่ละไทม์โซน อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับนโยบายและข้อกำหนดของธนาคารปลายทางอีกด้วยค่ะ

3. เอกสารที่ใช้ประกอบการโอนเงินไปยังต่างประเทศ

แม้ว่าในปัจจุบัน การทำธุรกรรมต่างประเทศจะได้รับความนิยมและความสะดวกสบายเป็นอย่างมาก แต่สำหรับการทำธุรกรรมผ่านสวิฟโค้ด ผู้ทำธุรกรรมจะต้องเตรียมเอกสารที่แสดงถึงวัตถุประสงค์ในการโอนเงิน ซึ่งทุก ๆ ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยจะต้องเรียกเก็บเอกสารตามกฎระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทยค่ะ โดยแต่ละธนาคารอาจจะเรียกเอกสารที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับการทำธุรกรรมแต่ละประเภทนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น โอนเงินเพื่อชำระสินค้าหรือบริการ ผู้โอนจะต้องแสดงใบเสร็จหรือใบเรียกเก็บเงิน เป็นต้น

📢 สำหรับชาวต่างชาติจะต้องแสดงที่มาของรายได้ เช่น ใบสลิปเงินเดือน หรือหนังสือรับรองเงินเดือน เป็นต้น

ความแตกต่างของ Swift Code และ IBAN

นอกจากการทำธุรกรรมผ่านสวิฟโค้ดแล้ว การโอนเงินไปต่างประเทศยังมีการทำธุรกรรมผ่าน IBAN อีกด้วยค่ะ ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบนี้มีความแตกต่างกันตรงที่ IBAN จะมีการระบุรหัสที่แตกต่างกันตามแต่ละประเทศ อีกทั้งยังนิยมใช้ในประเทศภูมิภาคยุโรปและกลุ่มตะวันออกกลาง ส่วนสวิฟโค้ดจะระบุรหัสเป็น 8-10 ตัวอักษรและนิยมใช้ทั่วโลกนั่นเองค่ะ

ข้อดี-ข้อเสียของ Swift Code

ข้อดีของ Swift Code

  • มีความปลอดภัยสูง ซึ่งลูกค้าสามารถมั่นใจได้ว่า การทำธุรกรรมจากเงินจำนวนมาก จะมีความปลอดภัย
  • ทำธุรกรรมต่างประเทศได้สะดวกมากยิ่งขึ้น เพราะระบบสวิฟโค้ดมีความครอบคลุมและเป็นไปตามมาตรฐานสากลที่ทั่วโลกยอมรับ
  • ลดความผิดพลาดในการโอนเงินได้มากขึ้น เพราะสวิฟโค้ดมีรหัสที่สามารถระบุตัวของธนาคารได้

ข้อเสียของ Swift Code

  • ค่าธรรมเนียมสูงมาก
  • ใช้เวลาค่อนข้างนาน แม้ว่าสวิฟโค้ดจะมีระบบการโอนเงินที่รวดเร็ว แต่กระบวนการทำงานของธนาคารมีหลายขั้นตอน ทำให้ระยะเวลาดำเนินการเร็วสุดอยู่ที่ 1-5 วันทำการ
  • การติดตามสถานะการโอนเงินค่อนข้างยุ่งยากและซับซ้อน

อัปเดตรหัส Swift Code ทุกธนาคารในประเทศไทย อัปเดตล่าสุด

อัปเดตรหัส Swift Code ธนาคารในประเทศไทย

ธนาคารรหัส Swift Code
ธนาคารกรุงเทพBKKBTHBK
ธนาคารกรุงศรีอยุธยาAYUDTHBK
ธนาคารกสิกรไทยKASITHBK
ธนาคารกรุงไทยKRTHTHBK
ธนาคารไทยพาณิชย์SICOTHBK
ธนาคารทหารไทยธนชาตTMBKTHBK
ธนาคารออมสินGSBATHBK
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดSCBATHBK
ธนาคารยูโอบีUOVBTHBK
ธนาคารเกียรตินาคินภัทรKKPBTHBK

ธนาคารกรุงเทพ : Bangkok Bank Public Company Limited (BBL)

Swift Code ของธนาคารกรุงเทพ
  • รหัส Swift Code ธนาคารกรุงเทพ : BKKBTHBK
  • ที่อยู่ : 333 สีลม ถนนบางรัก, กรุงเทพฯ 10500
  • เบอร์ : +66-2645-555
  • ระยะเวลาในการโอนเงิน : 3-5 วันทำการ (ไม่นับรวมวันหยุดธนาคาร)

ค่าธรรมเนียม สำหรับการโอนเงินไปต่างประเทศธนาคารกรุงเทพ 

  • ผู้โอนเงินไปต่างประเทศต้องเสียค่าธรรมเนียมในส่วนของธนาคารกรุงเทพ (Charge Sha*) อยู่ที่ 400 บาท ต่อรายการ
  • ผู้โอนเงินไปต่างประเทศต้องเสียค่าธรรมในส่วนของธนาคารต่างประเทศ สกุลเงิน JPY อยู่ที่ 400 บาท ต่อรายการ + 0.05% ของมูลค่าเงินโอน (ขั้นต่ำ 2,100 บาท ต่อรายการ)
  • ผู้โอนเงินไปต่างประเทศต้องเสียค่าธรรมในส่วนของธนาคารต่างประเทศ สกุลเงิน HKD อยู่ที่ 1,350 บาท ต่อรายการ
  • ผู้โอนเงินไปต่างประเทศต้องเสียค่าธรรมเนียมในส่วนของธนาคารต่างประเทศ สกุลเงินอื่น อยู่ที่ 1,150 บาท ต่อรายการ

*หมายเหตุ : หากค่าธรรมเนียมของธนาคารต่างประเทศที่ธนาคารเรียกเก็บไม่เพียงพอในการชำระค่าธรรมเนียม ธนาคารกรุงเทพจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามจริง

Charge Sha* คืออะไร?

Charge Sha คือ ผู้โอนเงินจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมในส่วนของธนาคารต้นทางเท่านั้น ส่วนค่าธรรมเนียมสำหรับธนาคารปลายทาง ผู้รับเงินจะถูกหักค่าธรรมเนียมในส่วนนี้ออกไป ทำให้ผู้รับเงินจะไม่ได้รับเงินเต็มจำนวน


ธนาคารกรุงศรีอยุธยา : Bank of Ayudhya Public Company Limited (BAY)

Swift Code ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา
  • รหัส Swift Code ธนาคารกรุงศรีอยุธยา : AYUDTHBK
  • ที่อยู่ : 1222 ถนนพระราม 3, บางโพงพาง ยานนาวา, กรุงเทพฯ 10120
  • เบอร์ : +66-2296-2000
  • ระยะเวลาในการโอนเงิน : 1-3 วันทำการ (ไม่นับรวมวันหยุดธนาคาร)

ค่าธรรมเนียม สำหรับการโอนเงินไปต่างประเทศธนาคารกรุงศรีอยุธยา 

  • ผู้โอนเงินไปต่างประเทศต้องเสียค่าธรรมในส่วนของธนาคารกรุงศรีอยุธยาอยู่ที่ 0.2% ต่อรายการ (ขั้นต่ำ 200 บาท ต่อรายการ สูงสุดไม่เกิน 500 บาท)


ธนาคารกสิกรไทย : KASIKORNBANK Public Company Limited (KBANK)

Swift Code ของธนาคารกสิกรไทย
  • รหัส Swift Code ธนาคารกสิกรไทย : KASITHBK
  • ที่อยู่ : 1 ซอย ราษฎร์บูรณะ, กรุงเทพฯ 10120
  • เบอร์ : +66-2222-0000
  • ระยะเวลาในการโอนเงิน : 3 วันทำการ (ไม่รวมวันหยุดธนาคาร)

ค่าธรรมเนียม สำหรับการโอนเงินไปต่างประเทศธนาคารกสิกรไทย

  • ค่าธรรมเนียมการโอนเงินแบบ Charge Ben* ธนาคารจะหักจากจำนวนเงินที่โอนตามสกุลเงิน ยกตัวอย่างเช่น สกุลเงิน USD, EUR และ GBP ซึ่งค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 12 ตามสกุลเงินที่โอน 
  • ค่าธรรมเนียมการโอนเงินแบบ Charge Sha อยู่ที่ 250 บาท ต่อรายการ 
  • ค่าธรรมเนียมการโอนเงินแบบ Charge Our* อยู่ที่ 950 บาท ต่อรายการ ยกเว้นสกุลเงิน EUR, GBP และ JPY ค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 1,240 บาท ต่อรายการ
  • ค่าธรรมเนียมการโอนเงินด้วยเลขบัญชีผ่าน KBank Partner อยู่ที่ 250 บาท ต่อรายการ ยกเว้นสกุลเงิน JPY ค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 1,288 บาท ต่อรายการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2025
  • ค่าธรรมเนียมในการโอนเงินด้วยเบอร์มือถือ (PayNow ID) สำหรับสกุลเงิน SGD ค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 150 บาท ต่อรายการ (กรณียอดโอนเงินไม่เกิน 1,000 SGD)

Charge Ben* คืออะไร?

Charge Ben คือ ผู้โอนเงินจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียม 2 ส่วน ทั้งค่าธรรมเนียมของธนาคารต้นทางและค่าธรรมเนียมของธนาคารปลายทาง ซึ่งค่าธรรมเนียมเหล่านี้ จะถูกหักออกจากยอดเงินที่โอนไป ทำให้ผู้รับเงินจะไม่ได้รับเงินเต็มจำนวน

Charge Our* คืออะไร?

Charge Our คือ ผู้โอนเงินจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียม 2 ส่วน ทั้งค่าธรรมเนียมของธนาคารต้นทางและค่าธรรมเนียมของธนาคารปลายทาง ทำให้ผู้รับเงินจะได้รับเงินเต็มจำนวน


ธนาคารกรุงไทย : Krung Thai Bank Public Company Limited (KTB)

Swift Code ของธนาคารกรุงไทย
  • รหัส Swift Code ธนาคารกรุงไทย : KRTHTHBK
  • ที่อยู่ : 35 ถนนสุขุมวิท, คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา, กรุงเทพฯ 10110
  • เบอร์ :  +66-2255-2222
  • ระยะเวลาในการโอนเงิน : 3-5 วันทำการ (ไม่รวมวันหยุดธนาคาร)

ค่าธรรมเนียม สำหรับการโอนเงินไปต่างประเทศธนาคารกรุงไทย

  • ค่าธรรมเนียมการโอนเงินด้วย Krungthai NEXT อยู่ที่ 300 บาท ต่อรายการ (Charge Ben) และ 1,100-1,500 บาท ต่อรายการ (Charge Our)
  • ค่าธรรมเนียมการโอนเงินด้วยเคาน์เตอร์แบบ Charge Ben อยู่ที่ 400 บาท ต่อรายการ
  • ค่าธรรมเนียมการโอนเงินด้วยเคาน์เตอร์แบบ Charge Our อยู่ที่ 1,200-1,600 บาท ต่อรายการ


ธนาคารไทยพาณิชย์ :  Siam Commercial Bank Public Company Limited (SCB)

Swift Code ของธนาคารไทยพาณิชย์
  • รหัส Swift Code ธนาคารไทยพาณิชย์ : SICOTHBK
  • ที่อยู่ : สำนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)
  • เบอร์ : +66-2544-1000
  • ระยะเวลาในการโอนเงิน : ทันที-2 วันทำการ (ไม่รวมวันหยุดธนาคาร)

ค่าธรรมเนียม สำหรับการโอนเงินไปต่างประเทศธนาคารไทยพาณิชย์

  • ค่าธรรมเนียมการโอนเงินด้วย SCB Easy App เริ่มต้นอยู่ที่ 199-399 บาท ต่อรายการ
  • ค่าธรรมเนียมการโอนเงินแบบ Charge Ben อยู่ที่ 500 บาท ต่อรายการ 
  • ค่าธรรมเนียมการโอนเงินแบบ Charge Our จะถูกติดตามสกุลเงินที่ต้องการโอน ยกตัวอย่างเช่น สกุลเงิน USD คิดค่าธรรมเนียมเพิ่ม 800 บาท ต่อรายการ หรือสกุลเงิน EUR คิดค่าธรรมเนียมเพิ่ม 1,200 บาท ต่อรายการ เป็นต้น
  • ค่าธรรมเนียมชดเชยอัตราแลกเปลี่ยน กรณีผู้โอนชำระเงินให้ธนาคารเป็นสกุลเงินเดียวกันกับสกุลเงินที่ขอโอน สำหรับสกุลเงิน THB และ USD อยู่ที่ 0.25% ของจำนวนเงินโอน


ธนาคารทหารไทยธนชาต : TMBThanachart Bank Public Company Limited (TTB)

Swift Code ของธนาคารทหารไทยธนชาต
  • รหัส Swift Code ธนาคารทหารไทยธนชาต : TMBKTHBK
  • ที่อยู่ : 3000 พหลโยธิน, ถนนจตุจักร, กรุงเทพฯ 10900
  • เบอร์ : +66-2299-1111
  • ระยะเวลาในการโอนเงิน : 5-7 วันทำการ (ไม่รวมวันหยุดธนาคาร)

ค่าธรรมเนียม สำหรับการโอนเงินไปต่างประเทศธนาคารไทยธนชาต

  • ค่าธรรมเนียมการโอนเงินแบบ Charge Ben อยู่ที่ 450 บาท ต่อรายการ 
  • ค่าธรรมเนียมการโอนเงินแบบ Charge Our อยู่ที่ 750 บาท ต่อรายการ ยกเว้นสกุลเงิน JPY ธนาคารคิดเพิ่มอยู่ที่ 0.05% ของจำนวนเงินที่ต้องการโอน และสกุลเงิน GBP ธนาคารคิดเพิ่มอยู่ที่ 1,000 บาท ต่อรายการ


ธนาคารออมสิน : GOVERNMENT SAVINGS BANK (GSB)

Swift Code ของธนาคารออมสิน
  • รหัส Swift Code ธนาคารออมสิน : GSBATHBK
  • ที่อยู่ : อาคาร 1, 470 ถนนพหลโยธิน, สามเสนใน, พญาไท กรุงเทพฯ 10400
  • เบอร์ : +66-2299-8012
  • ระยะเวลาในการโอนเงิน : 1-3 วันทำการ (ไม่รวมวันหยุดธนาคาร)

ค่าธรรมเนียม สำหรับการโอนเงินไปต่างประเทศธนาคารออมสิน

  • ค่าธรรมเนียมการโอนเงินแบบ Charge Beneficiary อยู่ที่ 400 บาท ต่อรายการ
  • ค่าธรรมเนียมการโอนเงินแบบ Charge Our สำหรับผู้รับเงินในประเทศสหรัฐฯ อยู่ที่ 1,150 บาท ต่อรายการ
  • ค่าธรรมเนียมการโอนเงินแบบ Charge Our สำหรับผู้รับเงินในประเทศญี่ปุ่น อยู่ที่ 2,000 บาท ต่อรายการหรือเรียกเก็บตามจำนวนจริง
  • ค่าธรรมเนียมการโอนเงินแบบ Charge Our-Full Value Transfer สำหรับสกุลเงิน USD ที่โอนไปให้ผู้รับเงินในประเทศสหรัฐฯ อยู่ที่ 1,500 บาท ต่อรายการ


ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด : Standard Chartered Bank (Thailand)

Swift Code ของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด
  • รหัส Swift Code ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด : SCBATHBK
  • ที่อยู่ : 90 ถนนสาทรเหนือ, กรุงเทพฯ 10500
  • เบอร์ : 2724-4000
  • ระยะเวลาในการโอนเงิน : 1-2 วันทำการ (ไม่รวมวันหยุดธนาคาร)

ค่าธรรมเนียม สำหรับการโอนเงินไปต่างประเทศธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด

สำหรับค่าธรรมการโอนเงินไปต่างประเทศแบบสวิฟของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดสามารถติดต่อเพื่อสอบถามค่าธรรมเนียมและเงื่อนไขอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ของธนาคาร


ธนาคารยูโอบี : United Overseas Bank (Thai) Public Company Limited (UOB)

Swift Code ของธนาคารยูโอบี
  • รหัส Swift Code ธนาคารยูโอบี : UOVBTHBK
  • ที่อยู่ : 191 ถนนสาทรใต้ ยานนาวา, กรุงเทพฯ 10400
  • เบอร์ : +66-2093-5071-74
  • ระยะเวลาในการโอนเงิน : 1-3 วันทำการ (ไม่รวมวันหยุดธนาคาร)

ค่าธรรมเนียม สำหรับการโอนเงินไปต่างประเทศธนาคารยูโอบี

  • ค่าธรรมเนียมการโอนเงินแบบ Charge Our จะถูกคิดตามแต่ละสกุลเงิน ยกตัวอย่างเช่น สกุลเงิน CAD, GBP, HKD และ EUR จะคิดค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 800 บาท ต่อรายการ ส่วนสกุลเงิน USD จะคิดค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 600 บาท ต่อรายการ เป็นต้น
  •  ค่าธรรมเนียม Swift โอนเข้าบัญชี THB และ FCD จะอยู่ที่ 500 บาท ต่อรายการ


ธนาคารเกียรตินาคินภัทร : Kiatnakin Phatra Bank (KKP)

Swift Code ของธนาคารเกียรตินาคินภัทร
  • รหัส Swift Code ธนาคารเกียรตินาคินภัทร : KKPBTHBK
  • ที่อยู่ : 209 ตึก KKP, สุขุมวิท 21 (อโศก), คลองเตยเหนือ, วัฒนา กรุงเทพฯ 10110
  • เบอร์ : +66-2165-5555
  • ระยะเวลาในการโอนเงิน : ทันที – 1 วันทำการ (ไม่รวมวันหยุดธนาคาร)

ค่าธรรมเนียม สำหรับการโอนเงินไปต่างประเทศธนาคารเกียรตินาคินภัทร

ค่าธรรมเนียมการโอนเงินระหว่างประเทศจะอยู่ที่ 0.25% ของจำนวนเงินโอนเข้า (ขั้นต่ำ 200 บาท สูงสุด 500 บาท) + ค่า Swift อยู่ที่ 400 บาท ต่อรายการ


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยว Swift Code ธนาคาร

หมายเลขรหัสธนาคารคืออะไร?

หมายเลขรหัสธนาคาร หรือ Swift Code คือ รหัสของธนาคารหรือสถาบันทางการเงินที่ระบุตัวเลขไว้ 8-11 ตัวอักษร ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการโอน-รับเงินระหว่างธนาคารด้วยกัน โดยจะนิยมใช้ในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายสินค้าและบริการ หรือแม้แต่การถอนเงินผ่านโบรกเกอร์ เป็นต้น

TTB Swift Code คืออะไร?

TTB Swift Code คือ TMBKTHBK ของธนาคารทหารไทยธนชาต

BIC ย่อมาจากอะไร?

BIC ย่อมาจาก Bank Identifier Code หรือการระบุรหัสของธนาคารและสถาบันทางการเงิน

Swift รับโอนเงินจากต่างประเทศใช้เวลากี่วัน?

Swift รับโอนเงินจากต่างประเทศใช้เวลาเฉลี่ยอยู่ที่ทันที – 7 วันทำการ ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคาร

Swift Code ธนาคารออมสินคืออะไร?

Swift Code ธนาคารออมสิน คือ GSBATHBK


สรุป Swift Code คืออะไร?

ทั้งหมดนี้ก็คือ Swift Code (สวิฟโค้ด) จะเห็นได้ว่า รหัสของสวิฟโค้ดมีความจำเป็นอย่างมาก สำหรับลูกค้าที่ต้องการทำธุรกรรมประเภทต่าง ๆ ระหว่างประเทศ เพราะนอกจากที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ทำธุรกรรมแล้ว ธนาคารทั่วโลกก็จะสามารถ Tracking หากันได้ง่ายยิ่งขึ้นค่ะ อย่างไรก็ดี การทำธุรกรรมผ่านสวิฟโค้ดมีค่าธรรมเนียมที่ค่อนข้างสูง ดังนั้น ก่อนทำธุรกรรมใด ๆ ควรตรวจสอบรหัสสวิฟโค้ดให้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายและความล่าช้าในอนาคตค่ะ


สำหรับใครที่สนใจอ่านรีวิวโบรกเกอร์ : Review Brokers

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

Picture of khunnaphatrade
khunnaphatrade
Recent Post
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 มกราคม 2568
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 มกราคม 2568 By คุณน้าพาเทรด

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 มกราคม 2568 ซึ่งมีข่าวสำคัญจากสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า ราคาทองคำจะปรับตัวลงไปทดสอบแนวรับที่ 2,690 ดอลลาร์อีกครั้งค่ะ

Exness ดีไหม? รีวิวทุกข้อสำคัญ ปี 2025
Exness ดีไหม? รีวิวทุกข้อสำคัญ ฉบับอัปเดตปี 2025

วันนี้คุณน้าเลยอยากจะหยิบยกโบรกเกอร์ Exness มาให้ทุกคนได้อ่านกัน เผื่อว่าท่านใดที่สนใจหาข้อมูลโบรกเกอร์อยู่จะใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ

Day Trade คืออะไร เรียนรู้การเป็นเทรดเดอร์รายวันแบบละเอียด
Day Trade คืออะไร? เรียนรู้การเป็นเทรดเดอร์รายวันแบบละเอียด

Day Trade (เดย์เทรด) คือ กลยุทธ์สำหรับเทรดเดอร์ที่ชื่นชอบการเปิดปิดออเดอร์ภายในวันเดียว ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นนักเก็งกำไรระยะสั้น