แนวรับ แนวต้าน คืออะไร? สอนดูยังไงให้เซียน สำหรับมือใหม่!

แนวรับ แนวต้าน คืออะไร? สอนดูยังไงให้เซียน สำหรับมือใหม่!

แนวรับ แนวต้าน คืออะไร? สอนดูยังไงให้เซียน
Table of Contents

กลับมาพบกันอีกแล้วนะคะใน Forex101 ในวันนี้คุณน้าพาเทรดจะพาทุกคนมารู้จักกับแนวรับ แนวต้านกันค่ะ โดยคุณน้าเชื่อว่าเทรดเดอร์หลาย ๆ คน โดยเฉพาะเทรดเดอร์มือใหม่อาจจะไม่รู้ว่า แนวรับ แนวต้าน คืออะไร? มีความสำคัญในการเริ่มต้นเทรด Forex มากแค่ไหน และควรเริ่มต้นศึกษาแนวรับ แนวต้านอย่างไรดี? บทความนี้มีคำตอบค่ะ!

*หมายเหตุ : บทความนี้เป็นเพียงบทความให้ความรู้เท่านั้น ไม่ได้เป็นการชักชวนเพื่อลงทุนแต่อย่างใด โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน

แนวรับ แนวต้าน คืออะไร?

แนวรับ (Support) คืออะไร?

แนวรับ (Support) คือ จุดที่ราคาปรับตัวลงมาสัมผัสกับเส้นซึ่งรับราคาไว้ไม่ให้ปรับตัวลง แล้วเกิดการเด้งตัวกลับขึ้นไป เนื่องจากมีแรงซื้อจำนวนมากเข้ามาหนุน เพื่อป้องกันไม่ให้ราคาปรับตัวลงไปมากกว่าเดิม ทำให้ราคาเกิดการปรับตัวขึ้นไปในที่สุดค่ะ

แนวต้าน (Resistance) คืออะไร?

ส่วนแนวต้าน (Resistant) คือ จุดที่ราคาปรับตัวขึ้นไปทดสอบ แต่ไม่สามารถทะลุเส้นต้านของราคาขึ้นไปได้ เพราะเกิดแรงเทขายจำนวนมากเข้ามาหนุน เพื่อป้องกันไม่ให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นไปมากกว่าเดิม ทำให้ราคาเกิดการย่อตัวลงมานั่นเองค่ะ

“วิธีการสังเกตแนวรับ แนวต้านฉบับคุณน้าพาเทรด คือ แนวรับเป็นจุดที่ราคาเกิดการปรับตัวลงมาสัมผัสเส้น แล้วเกิดการเด้งตัวกลับขึ้นไป ในขณะที่แนวต้านเป็นจุดที่ราคาขยับตัวขึ้นไปทดสอบเส้น แล้วเกิดการย่อตัวลง”


ทำไมต้องมีแนวรับ แนวต้าน?

แนวรับ แนวต้าน ถือเป็นจุดที่ใช้สังเกตพฤติกรรมของราคาว่า “มีแนวโน้มเด้งตัวกลับขึ้นไป” หรือ “มีแนวโน้มปรับตัวย่อลงมา” ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงจิตวิทยาการเทรดของเหล่าผู้เล่นในตลาด ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

  1. กลุ่มที่ซื้อและรอให้ราคาปรับตัวขึ้น
  2. กลุ่มที่ขายและรอให้ราคาปรับตัวลง
  3. กลุ่มที่กำลังรอเพื่อเข้าทำรายการ

แนวรับ แนวต้านจะช่วยให้เราสามารถยืนยันพฤติกรรมของราคาได้ อย่างไรก็ดี การใช้แนวรับ แนวต้านเพียงเครื่องมือเดียวไม่สามารถการันตีได้ว่า คุณจะมีโอกาสทำกำไรได้ทุกครั้งนะคะ เนื่องจากตลาด Forex มีความผันผวนค่อนข้างสูงและบ่อยครั้งที่ตลาดเกิดสัญญาณหลอก

ดังนั้น การใช้เครื่องมือบ่งชี้ทางเทคนิคตัวอื่นเข้ามาช่วยยืนยันพฤติกรรมราคา ไม่ว่าจะเป็น Trend Line, Indicator, กรอบเวลา หรือแม้แต่การเลือกใช้ Time Frame ก็จะช่วยให้คุณเห็นราคาที่แท้จริงของตลาด อีกทั้งยังทำให้เทรดเดอร์เกิดความมั่นใจในการเปิดปิดออเดอร์ที่แม่นยำมากยิ่งขึ้นค่ะ


แนวรับ แนวต้าน ดูยังไง?

สำหรับวิธีการดูแนวรับ แนวต้านสามารถสังเกตได้จากปริมาณการซื้อขายของราคา ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ค่ะ

1. หาจุด Swing High และ Swing Low 

หาจุด Swing High และ Swing Low เพื่อสังเกตการแกว่งตัวของราคา ซึ่งจุด Swing High (แนวต้าน) และ Swing Low (แนวรับ) ควรมีอย่างน้อย 2 จุดขึ้นไป เพราะจะช่วยให้เราสามารถเห็นการเคลื่อนไหวของราคาที่แท้จริงได้ค่ะ

2. ดูการแกว่งตัวของราคา 

ดูการแกว่งตัวของราคา หากราคาแกว่งตัวบนกรอบบน บ่งชี้ถึงแนวต้าน และหากราคาแกว่งตัวบนกรอบล่าง บ่งชี้ถึงแนวรับ สำหรับการดูการแกว่งตัวของราคา เราต้องดูปริมาณการซื้อขายเป็นส่วนประกอบด้วย เพื่อยืนยันความแข็งแกร่งของแนวรับ แนวต้านนั่นเอง

3. ดูโซนราคา

ดูโซนราคาเป็นตัวบ่งชี้แนวรับ แนวต้าน โดยดูได้จากราคาเกิดการเด้งตัว หรือราคาย่อลงมา หากโซนราคาเกิดการเด้งตัว 3 ครั้งขึ้นไป นั่นแสดงให้เห็นว่า มีแนวรับแข็งแกร่ง และหากราคาย่อตัวลงมา 2 ครั้งขึ้นไป นั่นแสดงให้เห็นว่า มีแนวต้านที่แข็งแกร่ง


วิธีการหาจุดเข้าซื้อขาย โดยแนวรับ แนวต้าน Forex

สำหรับวิธีการหาจุดเข้าซื้อขาย โดยใช้แนวรับ แนวต้าน Forex จะนิยมใช้ร่วมกับเครื่องมือบ่งชี้ทางเทคนิคยอดนิยม 3 ประเภท ได้แก่ Trend Line, Indicator และกรอบเวลา ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ค่ะ

1. Trend Line

เส้น Trend Line หรือเส้นแนวโน้มถือเป็นการหาแนวรับ แนวต้านขั้นพื้นฐาน โดยปกติแล้ว การตีเส้น Trend Line จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามแนวโน้ม ได้แก่ แนวโน้มขาขึ้น (Uptrend), แนวโน้มขาลง (Downtrend) และไม่สามารถระบุแนวโน้มได้ (Sideway) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

การตีเส้น Trend Line ในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend)

การตีเส้น Trend Line ในแนวโน้มขาขึ้น

การตีเส้น Trend Line ในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) กราฟราคาจะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกราฟจะเฉียงขึ้นจากซ้ายไปขวา (ความชันเป็นบวก) ซึ่งมีวิธีการสังเกตแนวรับ แนวต้านมีรายละเอียด ดังนี้

  • เส้นแนวรับจะอยู่ใต้แท่งเทียน : เกิดจากการลากเส้นต่ำสุดไปสูงสุด ใน Uptrend
  • เส้นแนวต้านจะอยู่เหนือแท่งเทียน : เกิดจากการลากเส้นต่ำสุดไปสูงสุด ใน Uptrend

สำหรับการอ่านเส้น Trend Line ในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) จะเห็นได้ว่า กราฟราคามีการสัมผัสแนวรับและทดสอบแนวต้าน โดยที่กราฟราคายังคงเคลื่อนไหวไปในแนวโน้มขาขึ้น และหากเมื่อใดที่กราฟราคามีการทดสอบแนวรับแล้วสามารถทะลุเส้น Trend Line ลงมาได้ “กราฟราคาจะเป็นจากแนวโน้มขาขึ้นเป็นขาลง”

การตีเส้น Trend Line ในแนวโน้มขาลง (Downtrend)

การตีเส้น Trend Line ในแนวโน้มขาลง

การตีเส้น Trend Line ในแนวโน้มขาลง (Downtrend) กราฟราคามีแนวโน้มปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีวิธีการสังเกตแนวรับ แนวต้านคล้ายกับแนวโน้มขาขึ้น แต่กราฟราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง อีกทั้ง เส้น Trend Line จะเฉียงลงจากซ้ายไปขวา (ความชันเป็นลบ) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

  • เส้นแนวรับจะอยู่ใต้แท่งเทียน : เกิดจากการลากเส้นสูงสุดไปต่ำสุด ใน Downtrend
  • เส้นแนวต้านจะอยู่เหนือแท่งเทียน : เกิดจากการลากเส้นสูงสุดไปต่ำสุด ใน Downtrend

สำหรับการอ่านเส้น Trend Line ในแนวโน้มขาลง (Downtrend) จะเห็นได้ว่า กราฟราคามีการสัมผัสแนวรับและทดสอบแนวต้าน โดยกราฟราคายังเคลื่อนไหวไปในแนวโน้มขาลงอย่างต่อเนื่อง และหากเมื่อใดที่กราฟราคามีการทดสอบแนวต้านและสามารถทะลุเส้น Trend Line ขึ้นไปได้ “กราฟราคาจะเป็นจากแนวโน้มขาลงเป็นขาขึ้น”

การตีเส้น Trend Line กรณีไม่สามารถระบุแนวโน้มได้ (Sideway)

การตีเส้น Trend Line กรณีไม่สามารถระบุแนวโน้มได้ (Sideway)

การตีเส้น Trend Line ในทิศทาง Sideway จะไม่เหมือนกับ Uptrend และ Downtrend เนื่องจากกราฟราคามีการเหวี่ยงขึ้นลงค่อนข้างมาก ดังนั้น เทรดเดอร์จะนิยมตีเส้น Trend Line เป็นแนวนอน ซึ่งจะใช้กรอบราคาเข้ามาช่วยในการหาแนวโน้มที่ชัดเจนยิ่งขึ้นค่ะ

🔍 ข้อแนะนำในการตีเส้น Trend Line

การตีเส้น Trend Line ความชันของกราฟไม่ควรชันมากจนเกินไป เพราะการเหวี่ยงขึ้นลงของราคาจะมีความรุนแรงมาก จนทำให้เราไม่สามารถเห็นราคาที่แท้จริงได้ ดังนั้น การตีเส้น Trend Line ควรต้องอยู่ที่ความชันประมาณ 45 องศา และควรใช้ Time Frame ที่แคบลง ยกตัวอย่างเช่น Time Frame 4 ชั่วโมง เป็นต้น


2. แนวรับ แนวต้าน Indicator

จากที่กล่าวไปข้างต้น เกี่ยวกับ Trend Line ถือเป็นเทคนิคการหาแนวรับ แนวต้านขั้นพื้นฐานค่ะ นอกจากการตีเส้นด้วย Trend Line แล้วนั้น ยังมีเครื่องมือที่ช่วยตีเส้นแนวรับ แนวต้านที่เทรดเดอร์มือใหม่ควรทำความรู้จักอย่าง Indicator ค่ะ และในบทความนี้ คุณน้าขอยกตัวอย่าง Indicator ยอดนิยม อย่าง MACD โดยมีรายละเอียด ดังนี้

การตีเส้นแนวรับ แนวต้านด้วย MACD

การตีเส้นแนวรับ แนวต้านด้วย MACD

MACD คือ อินดิเคเตอร์ที่ใช้ระบุแนวโน้มหรือโมเมนตัมของราคาจากเส้นค่าเฉลี่ยย้อนหลัง ซึ่ง MACD เกิดมาจากเส้น EMA 12 และเส้น EMA 26 โดยปกติแล้ว เส้น MACD จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนประกอบ ได้แก่ แท่ง Histogram, เส้น Signal และเส้นแนวนอน (เส้น 0) ตามรูปภาพด้านล่างนี้

สำหรับการตีเส้นแนวรับ แนวต้านด้วย MACD จะมีวิธีการสังเกต ดังนี้

  • หากเส้น MACD ตัดกับเส้น Signal ขึ้นไป และมีค่ามากกว่าเส้น 0 จะใช้หา “แนวต้าน”
  • หากเส้น MACD ตัดกับเส้น Signal ลงไป และมีค่าน้อยกว่าเส้น 0 จะใช้หา “แนวรับ”

ข้อสังเกตเกี่ยวกับ MACD : 
  • หากแท่ง MACD (สีฟ้า) > เส้น Signal เท่ากับ มีแนวโน้มเป็น Uptrend แนะนำ Buy
  • หากแท่ง MACD (สีส้ม) < เส้น Signal เท่ากับ มีแนวโน้มเป็น Downtrend แนะนำ Sell


3. การตีเส้นแนวรับ แนวต้านในกรอบราคา

การตีเส้นแนวรับ แนวต้านตามกรอบราคา

การตีเส้นแนวรับ แนวต้านในกรอบราคาหรือตามโซน คือ การตีเส้นแนวรับ แนวต้านตามการเคลื่อนไหวของกรอบราคา ซึ่งมักจะเกิดจากจิตวิทยาการเทรดที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่ออารมณ์ของเหล่าผู้เล่นในตลาด 

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อตลาดเกิดปริมาณการซื้อจำนวนมาก จะส่งผลให้กราฟราคาพุ่งขึ้นสูง หลังจากนั้น กราฟราคาจะมีการพักตัว เพื่อดูท่าทีว่าจะไปต่อหรือไม่ ส่วนนี้จะมีผู้เล่นในตลาดบางคนเริ่มทำการเทขาย (Sell) ส่งผลให้กราฟราคาลดลงเล็กน้อย ก่อนจะพุ่งขึ้นตามแนวโน้มเดิม และหากกราฟราคาเกิดการ Reaction ลักษณะนี้ มากกว่า 2 ครั้ง เทรดเดอร์สามารถตีเส้นแนวต้านตามกรอบเวลาได้ค่ะ

โดยปกติแล้ว การตีเส้นแนวรับ แนวต้านของเทรดเดอร์แต่ละคนจะมีความแตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น เทรดเดอร์ A ตีเส้นแนวต้านตรงปลายไส้เทียน แต่นาย B ตีเส้นแนวต้านตามราคาเปิด-เปิด หรือนาย C ตีเส้นแนวต้านตรงกลางไส้เทียน เป็นต้น 

ดังนั้นแล้ว เพื่อให้การตีเส้นแนวรับ แนวต้านมีประสิทธิภาพที่สุด เทรดเดอร์บางคนจึงเลือกตีเส้นตามโซน ประกอบกับการตั้งจุด Take Profit และ Stop Loss เพื่อช่วยจัดการความเสี่ยง เมื่อเทรดตามแนวรับแนวต้าน และที่สำคัญเทรดเดอร์มักจะใช้เครื่องมือบ่งชี้ทางเทคนิคอื่น ๆ เข้ามาช่วยในการหาจังหวะเปิดออเดอร์ ยกตัวอย่างเช่น อินดิเคเตอร์ RSI ที่ใช้ระบุ Momentum ของราคา ซึ่งบ่งชี้ว่า ราคามีภาวะการซื้อมากเกินไป (Overbought) หรือมีภาวะการขายที่มากเกินไป (Oversold) ซึ่งการใช้เครื่องมือตัวบ่งชี้ทางเทคนิคร่วมกับการตีเส้นแนวรับ แนวต้านตามกรอบเวลาจะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการจับจังหวะการเปิดปิดออเดอร์ของเทรดเดอร์ได้มากยิ่งขึ้นค่ะ


รู้หรือไม่ แนวรับกลายเป็นแนวต้าน – แนวต้านกลายเป็นแนวรับได้

จากที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่าแนวรับหรือแนวต้านเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่เข้ามาช่วยให้เทรดเดอร์สามารถระบุแนวโน้มของราคาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่า “แนวรับสามารถกลายเป็นแนวต้าน” หรือ “แนวต้านสามารถกลายเป็นแนวรับ” ได้เช่นกันค่ะ 

กล่าวคือ หากแนวรับและแนวต้านที่เราตีเส้นไม่สามารถต้านราคาไว้ได้ จนทำให้ราคาทะลุเส้นแนวต้านหรือแนวรับไปได้ ซึ่งมีจุดสังเกตสำคัญ ดังนี้

  • หากราคาทะลุแนวต้านขึ้นไปได้ ราคาที่อยู่เหนือแนวต้านไปแล้ว จะกลายเป็นแนวรับทันที 
  • หากราคาทะลุแนวรับลงไปได้ ราคาที่อยู่ต่ำกว่าแนวรับนั้น แนวรับเดิมจะกลายเป็นแนวต้านนั่นเองค่ะ

อย่างไรก็ดี เมื่อแนวรับกลายเป็นแนวต้าน หรือแนวต้านกลายเป็นแนวรับแล้วนั้น เทรดเดอร์จะต้องรอเวลาเพื่อสังเกตว่า พฤติกรรมของราคาเกิดการ Reaction ซ้ำ ๆ หรือไม่ เพื่อเป็นการยืนยันการเปลี่ยนแนวรับแนวต้านต่อไปค่ะ


แนะนำโบรกเกอร์เทรดทอง
IUX
โบรกเกอร์ IUX
XAU/USD
สเปรดเริ่มต้น : 1.4 pips
ฝากขั้นต่ำ : $10
Exness
XAU/USD
สเปรดเริ่มต้น : 16.9 pips
ฝากขั้นต่ำ : $10


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับแนวรับ-แนวต้านคืออะไร?

แนวรับแนวต้านอยู่ตรงไหน?

แนวรับจะอยู่ใต้แท่งเทียน ซึ่งจะเป็นราคา Low สู่ Low ส่วนแนวต้านจะอยู่เหนือแท่งเทียน ซึ่งเป็นราคา High สู่ High

ทำไมต้องมีแนวรับแนวต้าน?

แนวรับ แนวต้านจะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถสังเกตพฤติกรรมของราคา ซึ่งจะใช้รวมกับเครื่องมือบ่งชี้อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น Trend Line หรือ Indicator เพื่อให้เทรดเดอร์สามารถจับจังหวะในการเข้าเทรดได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น เพราะการตีเส้นแนวรับ แนวต้านเพียงอย่างเดียวมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากตลาด Forex เป็นตลาดที่มีความผันผวนสูงนั่นเอง

การตีเส้นแนวรับ แนวต้าน Forex มีเครื่องมืออะไรบ้าง?

การตีเส้นแนวรับ แนวต้าน Forex มีหลากหลายเครื่องมือ แต่เครื่องมือพื้นฐานที่เทรดเดอร์มือใหม่ควรทำความรู้จักมี 3 เครื่องมือ คือ Trend Line, MACD Indicator และการตีเส้นแนวรับ แนวต้านตามกรอบราคา


สรุปแนวรับ แนวต้าน คืออะไร?

ทั้งหมดนี้ ก็คือ เรื่องแนวรับ แนวต้านที่เทรดเดอร์มือใหม่ควรทำความเข้าใจค่ะ เนื่องจากเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่จะช่วยให้เราสามารถสังเกตเห็นพฤติกรรมของราคาในตลาดได้ และเพื่อให้การสังเกตพฤติกรรมของราคามีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น เราควรใช้ร่วมกับเครื่องมือบ่งชี้ทางเทคนิคอื่น ๆ ร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น Trend Line, Indicator และกรอบเวลา เป็นต้น

และก่อนจากกันในวันนี้ เทรดเดอร์มือใหม่อย่าลืมฝึกฝนการตีเส้นแนวรับ แนวต้านให้เกิดความชำนาญนะคะ เพราะแนวรับ แนวต้านถือเป็นเรื่องพื้นฐานในการเทรด Forex และที่สำคัญอย่าลืมศึกษาเครื่องมือหรือตัวบ่งชี้ทางเทคนิคประเภทอื่นควบคู่ไปด้วย เพื่อให้การเริ่มต้นเทรด Forex เป็นไปอย่างมั่นใจและปลอดภัย สุดท้ายนี้ คุณน้าพาเทรดขอให้ทุกคนตั้งจุด Stop Loss และ Take Profit เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อในตลาด Forex ค่ะ


ขอบคุณข้อมูลจาก : Investopedia

สำหรับใครที่สนใจอ่านรีวิวโบรกเกอร์ : Review Brokers

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge


สำหรับใครที่สนใจอ่านรีวิวโบรกเกอร์ : Review Brokers

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

Picture of คุณหลาน
คุณหลาน
Recent Post
แนวรับ แนวต้าน คืออะไร? สอนดูยังไงให้เซียน
แนวรับ แนวต้าน คืออะไร? สอนดูยังไงให้เซียน สำหรับมือใหม่!

กลับมาพบกันอีกแล้วนะคะในซีรีย์ Forex101 แล้วในวันนี้คุณน้าพาเทรดจะพาทุกคนมารู้จักกับ แนวรับ-แนวต้านกันค่ะ โดยคุณน้าเชื่อว่าเทรดเดอร์หลายๆ คนไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หรือเทรดเดอร์มือฉมังคงจะต้องเคยได้ยินแนวรับ-แนวต้านมาบ้างแล้วใช่ไหมล่ะคะ สำหรับในวันนี้คุณน้าจะมาอธิบายเผื่อว่าใครยังงงๆอยู่ เผื่อจะเก็ทมากขึ้น

แนะนำ 5 โบรกเกอร์ Forex สำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ 2025
แนะนำโบรกเกอร์ Forex สำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ 2025

อยากเทรด Forex เริ่มต้นยังไงดี มีโบรกไหนเหมาะสำหรับเทรดเดอร์มือใหม่บ้าง วันนี้ คุณน้าจะมาแนะนำโบรกเกอร์ Forex สำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ อัปเดต 2025 กันค่ะ

Pip และ Point คืออะไรในตลาด Forex?
Forex 101 : ทำความรู้จัก Pip และ Point คืออะไรในตลาด Forex?

Pip และ Point อาจจะฟังดูเป็นคำที่ไม่คุ้นตา แต่รู้ไหมคะว่า Pip และ Point นั้นถือเป็นพื้นฐานที่ผู้เทรด Forex ควรทำความเข้าใจ เพราะ Pip และ Point จะช่วยให้คุณทราบถึงความเคลื่อนไหวของราคาคู่สกุลเงิน และเป็นตัวช่วยให้คุณสามารถบริหารความเสี่ยงในการเทรดได้ดีมากยิ่งขึ้นค่ะ

วิเคราะห์ราคาทองคำ วันที่ 17-21 กุมภาพันธ์ 2568
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 17-21 กุมภาพันธ์ 2568 By คุณน้าพาเทรด

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 17-21 กุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งมีข่าวสำคัญจากสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า ราคาทองคำจะปรับตัวขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่ 2,940ดอลลาร์