ไม่อยากเสียสิทธิต้องอ่าน ! ประกันสังคมมีประโยชน์อย่างไร ?

ไม่อยากเสียสิทธิต้องอ่าน ! ประกันสังคมมีประโยชน์อย่างไร ?
Table of Contents

วัยทำงานควรรู้! สิทธิประกันสังคมมีประโยชน์มาก ๆ นอกจากจะช่วยให้เราได้รับเงินชดเชยในตอนที่เจ็บป่วยแล้ว ยังสามารถใช้ทำฟัน, ฉีดวัคซีน, ตรวจสุขภาพประจำปีฟรี หรือแม้แต่ได้เงินชดเชยเมื่อออกจากงานด้วยค่ะ ซึ่งนอกจากสิทธิประโยชน์ที่คุณน้าได้กล่าวไปแล้ว ยังมีสิทธิประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้น หากไม่อยากเสียสิทธิต้องอ่านบทความนี้นะคะ ถ้าพร้อมแล้วไปติดตามกันค่ะ

ประกันสังคม คืออะไร ?

ประกันสังคม คือ หลักประกันสำหรับผู้มีรายได้ที่บริษัททำร่วมกับรัฐบาลค่ะ โดยจะมีการจ่ายเบี้ยประกัน หรือที่เรียกว่า “เงินสมทบ” ให้แก่กองทุนประกันสังคม (Social Security Fund) เพื่อให้ลูกจ้างได้รับความคุ้มครองในด้านการรักษาพยาบาลและทดแทนรายได้เมื่อลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้นั่นเองค่ะ

ประกันสังคมคุ้มครองกรณีไหนบ้าง ?

  • เจ็บป่วย
  • คลอดบุตร
  • ทุพพลภาพ
  • เสียชีวิต
  • สงเคราะห์บุตร
  • ชราภาพ
  • ว่างงาน

ประกันสังคมมีกี่ประเภท ?

โดยทั่วไปแล้ว ประกันสังคมจะมีอยู่ 3 ประเภท ตามสถานะของผู้ประกันตน ดังนี้ค่ะ

1. ประกันสังคมมาตรา 33

ประกันสังคมมาตรา 33

ประกันสังคมมาตรา 33 คือ ประกันที่นายจ้างหรือบริษัทจะช่วยสมทบเงินให้กับลูกจ้างในการทำประกันสังคม โดยลูกจ้างที่สามารถทำประกันสังคม ม.33 ได้จะต้องมีอายุตั้งแต่ 15 – 60 ปีค่ะ

ประกันสังคมมาตรา 33 เหมาะกับใคร ?

  • ลูกจ้างที่ทำงานประจำในบริษัท, ห้างร้าน หรือโรงงานที่อยู่ในระบบ
  • พนักงานบริษัทเอกชน

การส่งเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 33

  • ลูกจ้าง 5% ของรายได้ต่อเดือน โดยมีขั้นต่ำ 83 บาท/เดือน และสูงสุดไม่เกิน 750 บาท/เดือน
  • นายจ้าง 5% ของรายได้ต่อเดือน ของรายได้ต่อเดือน โดยมีขั้นต่ำ 83 บาท/เดือน และสูงสุดไม่เกิน 750 บาท/เดือน
  • รัฐบาล 2.75% ของรายได้ต่อเดือน 


ตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป กองทุนประกันสังคมจะมีการปรับขึ้นเงินสมทบประกันสังคม ม.33 ดังนี้ค่ะ

ปีการปรับขึ้นเงินสมทบ ม.33
ปัจจุบันเพดานเงินเดือน 15,000 บาท จ่ายเงินสมทบสูงสุด 750 บาท
ช่วงที่ 1 (ปี 2567 – 2569)เพดานเงินเดือน 17,500 บาท จ่ายเงินสมทบสูงสุด 875 บาท
ช่วงที่ 2 (ปี 2570 – 2572)เพดานเงินเดือน 20,000 บาท จ่ายเงินสมทบสูงสุด 1,000 บาท
ช่วงที่ 3 (ปี 2573 เป็นต้นไป) เพดานเงินเดือน 23,000 จ่ายเงินสมทบสูงสุด 1,150 บาท

โดยสถานะผู้ประกันตน ม.33 จะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อลูกจ้างลาออก, ถูกเลิกจ้าง, เกษียณอายุ หรือเสียชีวิต ซึ่งหลังจากสิ้นสุดสถานะผู้ประกันตน ลูกจ้างจะยังสามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ต่ออีก 6 เดือนค่ะ นั่นหมายความว่า ในช่วงดังกล่าว ทุกคนจะยังสามารถใช้สิทธิได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินสมทบนั่นเองค่ะ


2. ประกันสังคมมาตรา 39

ประกันสังคมมาตรา 39

ประกันสังคมมาตรา 39 คือ ประกันสำหรับคนที่เคยเป็นผู้ประกันตน ม.33 มาไม่ต่ำกว่า 1 ปีค่ะ ซึ่งหากต้องการคงสิทธิผู้ประกันตนก็จะต้องทำประกันสังคม ม.39 แทนภายใน 6 เดือน หลังจากสิ้นสุดสถานะลูกจ้างนั่นเองค่ะ

ประกันสังคมมาตรา 39 เหมาะกับใคร ?

  • อดีตลูกจ้างที่ว่างงานไม่เกิน 6 เดือน 
  • คนที่ต้องการคงสิทธิประกันสังคม

การส่งเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 39

ผู้ประกันตน ม.39 จะต้องส่งเงินสมทบจำนวน 432 บาท/เดือน อย่างต่อเนื่อง หากไม่ส่งเงินสมทบเกิน 3 เดือนติดต่อต่อกัน หรือส่งเงินสมทบไม่ถึง 9 เดือน จาก 12 เดือน จะสิ้นสุดสถานะผู้ประกันตน ม.39 ทันทีค่ะ


3. ประกันสังคมมาตรา 40

ประกันสังคมมาตรา 40

ประกันสังคมมาตรา 40 คือ ประกันสำหรับคนที่ทำอาชีพอิสระ โดยจะต้องไม่เคยเป็นผู้ประกันตน ม.33/ 39 หรือข้าราชการ/ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือผู้พิการที่ไม่สามารถรับรู้สิทธิ ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 15 – 65 ปีค่ะ

ประกันสังคมมาตรา 40 เหมาะกับใคร ?

  • คนที่ทำอาชีพอิสระ
  • คนที่ต้องการความคุ้มครอง

การส่งเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 40

ผู้ประกันตน ม.40 จะต้องส่งเงินสมทบตามแผนที่ตัวเองเลือก ได้แก่

  • แผนที่ 1 : จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน
  • แผนที่ 2 : จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน
  • แผนที่ 3 : จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน

โดยทั้ง 3 แผนในข้างต้น นอกจากจะแตกต่างกันในด้านจำนวนเงินสมทบแล้ว ความคุ้มครองของแต่ละแผนก็จะแตกต่างกันตามไปด้วย ซึ่งคุณน้าจะพาไปดูในหัวข้อถัดไปค่ะ 

อย่างไรก็ดี การสิ้นสุดสถานะผู้ประกันตน ม.40 จะแตกต่างจากผู้ประกันตน ม.33 และ 39 คือ หากไม่ได้ส่งเงินสมทบอย่างต่อเนื่อง สถานะผู้ประกันตนก็จะไม่ได้หายไป เพียงแต่จะไม่สามารถใช้สิทธิความคุ้มครองได้เท่านั้นค่ะ ดังนั้น หากทุกคนอยากใช้สิทธิได้อย่างต่อเนื่องก็ต้องไม่ขาดส่ง ซึ่งเราสามารถนำส่งเงินสมทบล่วงหน้าเพื่อป้องกันการลืมได้ค่ะ


สิทธิประกันสังคมมีอะไรบ้าง ?

ไม่ใช่ผู้ประกันตนทุกมาตราจะได้รับสิทธิความคุ้มครองเหมือนกัน ดังนั้น คุณน้าจะพาไปดูสิทธิประกันสังคมของแต่ละมาตรากันค่ะว่ามีอะไรบ้าง

1. กรณีเจ็บป่วย

สิทธิประกันสังคมกรณีเจ็บป่วย
ผู้ป่วยนอก (OPD)ผู้ป่วยใน (IPD)
ผู้ประกันตน ม.33 / 39สำหรับโรงพยาบาลรัฐบาล – เบิกค่ารักษาได้ตามจริง
สำหรับโรงพยาบาลเอกชน – เบิกค่ารักษาได้ตามจริง ไม่เกิน 1,000 บาทสำหรับโรงพยาบาลเอกชน – เบิกค่ารักษาได้ตามจริง ไม่เกิน 2,000 บาท
ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 1)เงินทดแทนรายได้ 300 บาท/วัน (สูงสุดไม่เกิน 30 วัน/ปี)
ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 2)เงินทดแทนรายได้ 300 บาท/วัน (สูงสุดไม่เกิน 30 วัน/ปี)
ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 3)เงินทดแทนรายได้ 300 บาท/วัน (สูงสุดไม่เกิน 90 วัน/ปี)

สิทธิประกันสังคมมาตรา 33

เงื่อนไข

  • กรณีเข้ารักษาพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน (IPD) ที่โรงพยาบาลรัฐ จะสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามจริงภายใน 72 ชั่วโมง ไม่นับรวมวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
  • สามารถเข้ารับบริการได้ที่โรงพยาบาลที่สำนักงานประกันสังคมกำหนดสิทธิ
  • ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันเข้ารับบริการ


2. กรณีคลอดบุตร

สิทธิประกันสังคมกรณีคลอดบุตร
ผู้ประกันตนหญิงผู้ประกันตนชาย
ผู้ประกันตน ม.33 / 39ค่าคลอดบุตร 15,000 บาท
ค่าตรวจและฝากครรภ์ สูงสุด 1,500 บาท
เงินสงเคราะห์หยุดงาน 50% ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน
ผู้ประกันตน ม.40 

เงื่อนไข

  • ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนคลอดบุตร
  • กรณีที่ทั้งสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตน ให้เลือกใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยไม่จำกัดจำนวนบุตรหรือครั้งในการเบิก


3. กรณีทุพพลภาพ

สิทธิประกันสังคมกรณีทุพพลภาพ
ระดับเสียหายไม่รุนแรงระดับเสียหายรุนแรง
ผู้ประกันตน ม.33 / 39เงินทดแทนรายได้ 30% ไม่เกิน 180 เดือนเงินทดแทนรายได้ 50% ตลอดชีวิต
ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 1)เงินทดแทนรายได้ 500 – 1,000 บาท ไม่เกิน 15 ปี
ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 2)เงินทดแทนรายได้ 500 – 1,000 บาท ไม่เกิน 15 ปี
ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 3)เงินทดแทนรายได้ 500 – 1,000 บาท ตลอดชีวิต

เงื่อนไข

  • ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนทุพพลภาพ (ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการทำงาน)
  • กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตสามารถรับบริการที่โรงพยาบาลใกล้เคียงได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่าย ภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง


4. กรณีเสียชีวิต

สิทธิประกันสังคมกรณีเสียชีวิต
ผู้ประกันตน ม.33 / 39จ่ายเงินสมทบ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน – รับเงินสงเคราะห์ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 4 เดือน พร้อมค่าทำศพ 50,000 บาท
จ่ายเงินสมทบ 120 เดือนขึ้นไป – รับเงินสงเคราะห์ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 12 เดือน พร้อมค่าทำศพ 50,000 บาท
ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 1)ค่าทำศพ 25,000 บาท
ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 2)ค่าทำศพ 25,000 บาท
ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 3)ค่าทำศพ 50,000 บาท

เงื่อนไข

  • ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต
  • ผู้ประกันตน ม.40 แผนที่ 1 และ 2 จะได้รับค่าทำศพเพิ่ม 8,000 บาท เมื่อจ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต


5. กรณีสงเคราะห์บุตร

สิทธิประกันสังคมกรณีสงเคราะห์บุตร
ผู้ประกันตน ม.33 / 39เงินสงเคราะห์บุตรคนละ 800 บาท/เดือน โดยต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายที่มีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ ครั้งละไม่เกิน 3 คน
ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 1)
ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 2)
ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 3)เงินสงเคราะห์บุตรคนละ 200 บาท/เดือน โดยต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายที่มีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ ครั้งละไม่เกิน 2 คน

เงื่อนไข

  • ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน


6. กรณีชราภาพ

สิทธิประกันสังคมกรณีชราภาพ
เงินบำนาญชราภาพ
(ทยอยจ่ายรายเดือน)
เงินบำเหน็จชราภาพ
(จ่ายก้อนเดียว)
ผู้ประกันตน ม.33 / 39จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน (15 ปี) – รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือน 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน – รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบเฉพาะในส่วนของผู้ประกันตน
จ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน (15 ปีขึ้นไป) – รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือนเพิ่ม 1.5% จากอัตรา 20% ในทุก 12 เดือนจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป – รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายสมทบ
กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพเสียชีวิตภายใน 60 เดือน นับตั้งแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ – จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับครั้งสุดท้ายก่อนเสียชีวิต
ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 1)
ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 2)รับเงินบำเหน็จชราภาพ 50 บาท/เดือน (ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท/เดือน)
ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 3)รับเงินบำเหน็จชราภาพ 150 บาท/เดือน (ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท/เดือน)

เงื่อนไข

  • ผู้ประกันตนต้องมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต จึงจะได้รับสิทธิ
  • ผู้ประกันตน ม.40 (แผน 3) เมื่อส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน จะรับได้รับเพิ่ม 10,000 บาท


7. กรณีว่างงาน

สิทธิประกันสังคมกรณีว่างงาน
ถูกเลิกจ้างลาออก / สิ้นสุดสัญญาจ้างว่างงานจากเหตุสุดวิสัย
ผู้ประกันตน ม.33รับเงินทดแทนในช่วงว่างงาน 70% ของค่าจ้าง (ครั้งละไม่เกิน 200 วัน)รับเงินทดแทนในช่วงว่างงาน 45% ของค่าจ้าง (ครั้งละไม่เกิน 90 วัน)รับเงินทดแทนในช่วงว่างงาน 50% ของค่าจ้าง (ครั้งละไม่เกิน 90 วัน)
ผู้ประกันตน ม.39
ผู้ประกันตน ม.40 
สิทธิประกันสังคมมาตรา 33

เงื่อนไข

  • ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนว่างงาน
  • ต้องไม่ถูกเลิกจ้างในกรณีทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหาย หรือทำผิดกฎหมายกรณีร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควร หรือได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา และไม่ใช่ผู้ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ


สิทธิประกันสังคมมาตรา 33 / 39 / 40 แตกต่างกันอย่างไร ?

ทุกคนน่าจะเห็นกันแล้วใช่มั้ยคะว่า สิทธิประกันสังคมมาตรา 33 / 39 / 40 นั้นมีความแตกต่างกันอยู่บ้างในแต่ละกรณี ทั้งในเรื่องความคุ้มครองและจำนวนเงินชดเชยที่จะได้รับ ดังนั้น คุณน้าจะพาไปดูสรุปสิทธิประกันสังคมแบบภาพรวมอีกครั้งกันค่ะว่า ผู้ประกันแต่ละมาตราจะได้รับสิทธิประกันสังคมอะไรบ้าง

สิทธิประกันสังคมม.33ม.39ม.40
(แผน 1)(แผน 2)(แผน 3)
เจ็บป่วย
คลอดบุตร
ทุพพลภาพ
เสียชีวิต
สงเคราะห์บุตร
ชราภาพ
ว่างงาน


ใครมีสิทธิประกันสังคมบ้าง ?

  • ผู้ประกันตน ม.33 ซึ่งเป็นลูกจ้างหรือพนักงานบริษัทเอกชน
  • ผู้ประกันตน ม.39 ซึ่งเคยเป็นผู้ประกันตน ม.33 มาก่อนหน้า
  • ผู้ประกันตน ม.40 ซึ่งเป็นผู้ที่ทำอาชีพอิสระ

จะรู้ได้ยังไงว่าเรามีสิทธิประกันสังคม ?

ก่อนจะใช้สิทธิประกันสังคม คุณน้าขอแนะนำให้ทุกคนตรวจสอบสิทธิของตัวเองกันก่อนค่ะ โดยสามารถทำได้ดังนี้

  1. เข้าเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคมหรือแอปพลิเคชัน SSO Connect
  2. เลือก “เข้าสู่ระบบผู้ประกันตน” เพื่อ Login โดยใช้เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และรหัสผ่านที่ตั้งไว้ค่ะ
  3. เลือกหัวข้อ “ตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาล” เพื่อดูว่า สิทธิรักษาของเราอยู่ที่โรงพยาบาลไหน สามารถใช้สิทธิได้หรือไม่
  4. เลือกหัวข้อ “ข้อมูลการส่งเงินสมทบ” เพื่อดูว่า เราส่งเงินสมทบไปแล้วกี่เดือน เข้าเกณฑ์กำหนดความคุ้มครองในแต่ละกรณีหรือไม่

ประกันสังคมมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร ?

ข้อดีของประกันสังคม

  • ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง 
  • ได้รับความคุ้มครองในกรณีต่าง ๆ รวมถึงสิทธิประโยชน์อื่น ๆ
  • ทำกับหน่วยงานภาครัฐ ทำให้มีความน่าเชื่อถือค่อนข้างสูง
  • เบี้ยประกันถูก
  • หากเป็น ม.33 นายจ้างจะช่วยสมทบเงินเบี้ยประกันครึ่งหนึ่ง
  • มีเงินได้จากบำเหน็จหรือบำนาญเมื่อเกษียณอายุ
  • ประกันสังคมสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดตามเบี้ยที่จ่าย

ข้อเสียของประกันสังคม

  • จำกัดการใช้สิทธิในแต่ละสถานพยาบาล
  • ยารักษาโรคสำหรับผู้ใช้สิทธิประกันสังคมอาจมีคุณภาพด้อยกว่ายารักษาโรคทั่วไปที่เสียเงินจ่ายเอง
  • สถานพยาบาลที่ใช้สิทธิได้อาจมีผู้เข้าใช้บริการเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องรอคิวนานค่ะ
  • สถานพยาบาลบางแห่งอาจต้องสำรองจ่ายก่อน

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับประกันสังคม

ผู้ประกันตนประกันสังคมสิ้นสุดลงยังไง ?

ตอบ เมื่อผู้ประกันตนมีอายุครบ 55 ปี, เมื่อผู้ประกันตนกลายเป็นผู้ทุพพลภาพ และเมื่อผู้ประกันตนเสียชีวิตค่ะ

เราจะได้เงินประกันสังคมตอนไหน ?

ตอบ ตอนชราภาพ (อายุมากกว่า 55 ปี), ตอนกลายเป็นผู้ทุพพลภาพ และตอนเสียชีวิตค่ะ ซึ่งการจะได้เงินคืนจะต้องเข้าเกณฑ์ที่กำหนดค่ะ

เปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมออนไลน์ได้ไหม ?

ตอบ ได้ค่ะ โดยสามารถเปลี่ยนได้ที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม (www.sso.go.th) หรือแอปพลิเคชัน SSO Connect โดยเลือก “ขอเปลี่ยนสถานพยาบาล” ซึ่งสามารถเปลี่ยนโรงพยาบาลได้ปีละ 1 ครั้ง ในช่วงที่สำนักงานประกันสังคมเปิดให้ยื่นคำขอ และท่านสามารถใช้สิทธิได้ที่โรงพยาบาลได้หลังจากเปลี่ยนสิทธิประมาณ 1-2 สัปดาห์ค่ะ

ลงทะเบียนว่างงานต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

ตอบ ทุกคนสามารถลงทะเบียนว่างงานได้ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยใช้เอกสารดังนี้ 
🔸แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม กรณีว่างงาน (แบบฟอร์ม สปส.2-01/7) หรือหนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน
🔸สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
🔸สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ

ลงทะเบียนคนว่างงานได้เงินกี่บาท ?

ตอบ กรณีลาออกจากงานหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง คุณจะได้รับเงินทดแทนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท แต่อาจจะแตกต่างกันในเรื่องของระยะเวลาที่ได้รับเงินชดเชยค่ะ

สรุป ประกันสังคมมีประโยชน์อย่างไร

“ประกันสังคม” นับเป็นประกันที่นายจ้างส่วนใหญ่เลือกทำให้กับลูกจ้างของตัวเอง เนื่องจากเป็นประกันที่ทำร่วมกับรัฐบาลค่ะ แต่อย่างไรก็ดี ไม่ใช่แค่พนักงานออฟฟิศเท่านั้นที่มีสิทธิ แต่ยังรวมไปถึงอดีตลูกจ้างและคนที่ทำงานอิสระด้วย ซึ่งสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับก็จะแตกต่างกันไปตามมาตราหรือแผนประกันที่เลือกค่ะ ดังนั้น คุณน้าจึงอยากให้ทุกคนศึกษาสิทธิประโยชน์ให้ดี เพราะมันอาจทำให้เราพลาดสิทธิได้

คุณน้าขอเพิ่มเติมข้อมูลให้นะคะ จากที่เคยทำประกันสังคมมาก่อน คุณน้าแนะนำว่า ให้ทุกคนหมั่นติดตามข่าวสารสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ได้ที่เพจและเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม หรือกลุ่มที่ใช้ประชาสัมพันธ์ก็ได้ค่ะ เพราะสิทธิประโยชน์ในบางช่วงอาจแตกต่างกันค่ะ


ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Finnomena, Krungsri และ Thairath

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

khunnaphatrade
khunnaphatrade
Recent Post
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 16 ธันวาคม 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 16 ธันวาคม 2567 By คุณน้าพาเทรด

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 16 ธันวาคม 2567 ซึ่งมีข่าวสำคัญจากสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า ราคาทองคำมีโอกาสปรับตัวลงไปที่บริเวณ 2,645-2,647 ดอลลาร์ และเกิด QM ค่ะ

แนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุน ต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส
แนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุน ต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส

คุณน้าจะขอแนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุนต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส ไปกับตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นสหรัฐฯ เพื่อเป็นการเอาฤกษ์เอาชัย ก่อนจะเริ่มต้นปี 2025 กันค่ะ

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 11 ธันวาคม 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 11 ธันวาคม 2567 By คุณน้าพาเทรด

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันพุธที่ 11 ธันวาคม 2567 กันค่า วิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ เมื่อวานนี้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นกว่า 33 ดอลลาร์