ใบอนุญาต Forex คืออะไร? โบรกเกอร์น่าเชื่อถือต้องมี!

ใบอนุญาต Forex คืออะไร
Table of Contents

ในปัจจุบัน ตลาด Forex ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ทำให้มีโบรกเกอร์ Forex เข้ามาดำเนินกิจการหลายรายด้วยกันค่ะ ซึ่งนี่ก็ถือเป็นช่องว่างที่ทำให้มีอาชญากรแฝงตัวเข้ามาหลอกลวงมากขึ้น

ดังนั้น สิ่งแรกที่เทรดเดอร์ควรพิจารณาในการเลือกโบรกเกอร์ คือ ใบอนุญาต Forex นั่นเองค่ะ เพราะจะเป็นตัวช่วยประกอบการตัดสินใจเลือกโบรกเกอร์ที่มีความน่าเชื่อ อีกทั้งยังเป็นใบเบิกทางสำคัญที่ทำให้เราทราบได้ว่า โบรกเกอร์นั้น ๆ ดำเนินกิจการได้อย่างปลอดภัยและโปร่งใสหรือไม่ ซึ่งในบทความนี้ คุณน้าจะพาทุกคนมาเจาะลึกใบอนุญาต Forex คืออะไร? โบรกเกอร์น่าเชื่อถือต้องมีสิ่งนี้ ห้ามพลาดกันนะคะ!

*หมายเหตุ : บทความนี้เป็นบทความให้ความรู้เท่านั้น ไม่ได้เป็นการชักชวนลงทุนแต่อย่างใด อีกทั้ง ตลาด Forex มีความผันผวนค่อนข้างสูง เทรดเดอร์ควรศึกษารายละเอียดให้รอบคอบ ก่อนตัดสินใจลงทุน

ใบอนุญาต Forex คืออะไร?

ใบอนุญาต Forex (Forex License) คือ ใบอนุญาตที่ออกโดยหน่วยงานกำกับดูแลโบรกเกอร์ Forex สำหรับการดำเนินธุรกิจให้ถูกต้อง น่าเชื่อถือ และที่สำคัญใบอนุญาต Forex ยังช่วยให้ความคุ้มครองแก่เทรดเดอร์ ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะมีข้อบังคับและกฎระเบียบที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่ละพื้นที่ที่หน่วยงานนั้นให้การควบคุมดูแลอยู่นั่นเองค่ะ

ทำไมใบอนุญาต Forex ถึงสำคัญ?

ใบอนุญาต Forex จะเข้ามาทำหน้าที่ป้องกันการทุจริตจากเหล่าโบรกเกอร์ โดยโบรกเกอร์จะต้องทำตามเงื่อนไขและข้อปฏิบัติที่หน่วยงานกำกับดูแลกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • การวางเงินประกันตามเกณฑ์ที่หน่วยงานกำกับดูแลในแต่ละประเทศกำหนด
  • การตรวจสอบเงินทุนหมุนเวียนของโบรกเกอร์ทุกปี
  • การตรวจสอบงบประมาณทางการเงินของโบรกเกอร์ทุกปี
  • การพัฒนาแพลตฟอร์มให้เป็นไปตามมาตรฐานที่หน่วยงานกำกับดูแลกำหนดไว้
  • การเก็บรักษาเงินทุนของลูกค้าด้วยการแยกบัญชีของลูกค้า ออกจากภาระค่าใช้จ่ายและหนี้สินของบริษัท

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ใบอนุญาต Forex เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับโบรกเกอร์ อีกทั้งยังสร้างความเชื่อมั่นให้แก่เทรดเดอร์ ในกรณีที่บริษัทเกิดการล้มละลาย หน่วยงานกำกับดูแลจะเข้ามาช่วยเหลือและให้เงินชดเชยแก่ลูกค้าจากหลักประกันที่ทางโบรกเกอร์ Forex วางเอาไว้ค่ะ

เลือกโบรกเกอร์ที่ไม่มีหน่วยงานกำกับดูแลได้ไหม?

อันที่จริงแล้ว การเลือกใช้โบรกเกอร์ที่ยังไม่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานกำกับดูแล ก็ถือเป็นเรื่องปกติสำหรับเทรดเดอร์หลายคน อาจจะเพราะยังเป็นมือใหม่ในตลาด Forex ทำให้ไม่ได้มีความรู้มากพอ แต่คุณน้าไม่แนะนำให้เลือกโบรกเกอร์ที่ไม่มีหน่วยงานกำกับดูแลนะคะ

เพราะรัฐบาลของแต่ละประเทศพยายามควบคุมและไม่สนับสนุนให้ประชาชนใช้โบรกเกอร์ที่ไม่ได้รับการกำกับดูแล เพราะเมื่อมีการโกงหรือเกิดความเสียหายขึ้นมา จะทำให้เป็นเรื่องที่ยากมากในการชดเชยคืนแก่ผู้เสียหาย ดังนั้น เทรดเดอร์ควรเลือกโบรกเกอร์ที่มีหน่วยกำกับดูแลจะดีกว่า เพราะมีความปลอดภัยและน่าเชื่อ

คุณน้าแนะนำ 3 วิธีการตรวจสอบโบรกเกอร์ที่มีใบอนุญาต Forex โดยทุกคนสามารถเข้าไปตรวจสอบโบรกเกอร์ที่คุณใช้บริการอยู่ได้ง่าย ๆ เพียงทำตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้

1. ไปที่เว็บไซต์ของ “โบรกเกอร์ Forex” ที่ได้รับอนุญาต

วิธีการแรก คือ เทรดเดอร์สามารถเข้าไปเว็บไซต์ของโบรกเกอร์ Forex ซึ่งปกติแล้ว ตรง Footer ด้านล่างของเว็บไซต์จะมีข้อมูลเกี่ยวกับโบรกเกอร์ ซึ่งจะรวมถึงชื่อบริษัทที่จดเครื่องหมายการค้า, หมายเลขใบอนุญาต, หน่วยงานกำกับดูแล, ที่อยู่จดทะเบียน, คำเตือน และข้อกำหนดอื่น ๆ เป็นต้น

นอกจากส่วน Footer แล้วนั้น บนเว็บไซต์ของทางโบรกเกอร์จะมีข้อมูล “ระเบียบข้อบังคับ” ซึ่งจะอธิบายเกี่ยวกับการได้รับการดูแลโดยหน่วยงานกำกับดูแลระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่ทางโบรกเกอร์ได้รับการกำกับดูแล เพื่อให้เทรดเดอร์สามารถมั่นใจได้ว่า การซื้อขายของคุณจะมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นค่ะ

และหากเว็บไซต์ของโบรกเกอร์ Forex ใด ๆ ไม่มีข้อมูลดังกล่าว นั่นจะแสดงให้เห็นว่า โบรกเกอร์ Forex ที่คุณใช้บริการอยู่อาจจะไม่มีความปลอดภัยและมีความเสี่ยงที่จะถูกหลอกลวงนั่นเอง

2. ไปที่เว็บไซต์ของหน่วยงานกำกับดูแล

และหากเทรดเดอร์คนไหนยังไม่มั่นใจว่า โบรกเกอร์ที่คุณใช้บริการอยู่มีความปลอดภัยหรือไม่ คุณสามารถเข้าไปเช็กเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของหน่วยงานกำกับดูแล โดยเข้าไปที่หน้าค้นหาบนเว็บไซต์ จากนั้น พิมพ์ข้อมูลของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นชื่อบริษัท หรือหมายเลขใบอนุญาต เป็นต้น ซึ่งชื่อบริษัทที่จดเครื่องหมายการค้ากับชื่อโบรกเกอร์อาจจะไม่เหมือนกัน ดังนั้น โปรดเช็กข้อมูลให้ถูกต้องและครบถ้วนนะคะ

📢 นอกจากนี้ หากเทรดเดอร์ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับใบอนุญาต Forex สามารถส่งอีเมลไปที่หน่วยงานกำกับดูแลโดยตรง หรืออีเมลไปที่เว็บไซต์ของโบรกเกอร์ก็ได้เช่นกันค่ะ

3. ไปที่แพลตฟอร์ม TrustFinance

วิธีการตรวจสอบใบอนุญาต Forex กับ TrustFinance

วิธีการตรวจสอบใบอนุญาตที่สามารถทำได้ง่าย ๆ อีก 1 วิธี ก็คือ การเข้าไปที่แพลตฟอร์มดิจิทัลที่เชื่อถือได้ อย่าง TrustFinance โดยบนแพลตฟอร์มของ TrustFinance มีจุดเด่นคือ การรวบรวมข้อมูลของโบรกเกอร์ Forex พร้อมกับการรวบรวมรีวิวจากผู้ใช้งานจริง เพื่อช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเปรียบเทียบคุณสมบัติเด่นในด้านอื่น ๆ ของโบรกเกอร์ Forex ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

⭐ คุณน้าแนะนำ 3 โบรกเกอร์ Forex ที่มีความเชื่อถือ ⭐

คุณน้าแนะนำ 3 โบรกเกอร์ Forex ที่มีความน่าเชื่อถือ โดยมีรายชื่อโบรกเกอร์ ดังนี้

โบรกเกอร์ใบอนุญาตSpread เริ่มต้น
โบรกเกอร์ SwissqouteFCA, FINMA, DFSA, CySEC และ MAS เป็นต้น1.7 pips
โบรกเกอร์ Saxo BankFSA, FINMA และ ASIC0.9 pips
โบรกเกอร์ IUXSVGFSA, FSCA, ASIC และ FSC Mauritius0.2 pips

*หมายเหตุ : เทรดเดอร์สามารถอ่านรายละเอียด่เพิ่มเติมได้ที่ลิงก์ด้านล่างได้เลยค่ะ

เช็ก 10 ใบอนุญาต Forex ที่มีความน่าเชื่อถือ อัปเดต 2025

จากที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่า ใบอนุญาต Forex ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ใช้พิจารณาโบรกเกอร์ ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ดังนั้น ในบทความนี้ คุณน้าขอแนะนำ 10 ใบอนุญาต Forex ที่มีความน่าเชื่อถือ อัปเดต 2025 ซึ่งเป็นใบอนุญาตที่ขึ้นชื่อในเรื่องความนิยมสูงสุด โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

1. Financial Conduct Authority (FCA)

ใบอนุญาต FCA

ข้อมูลทั่วไป 

ใบอนุญาต Financial Conduct Authority (FCA) คือ หน่วยงานกำกับดูแลทางด้านการเงินในสหราชอาณาจักร (United Kingdom) ก่อตั้งเมื่อปี 2013 โดยมีจุดประสงค์เพื่อตรวจสอบการดำเนินงานของธุรกิจด้านการเงินหรือธุรกิจโบรกเกอร์ Forex อย่างเป็นธรรมและโปร่งใส

ภาพรวมระเบียบและข้อบังคับของ FCA

1. ข้อกำหนดด้านการดำเนินการ :

โบรกเกอร์ Forex ที่ได้รับการจดทะเบียนกับ FCA จะต้องดำเนินการตามกฎระเบียบตามพระราชบัญญัติบริการทางการเงินและการตลาดปี 2000 (FSMA) ซึ่งต้องยื่นหนังสือเดินทาง เพื่อจัดตั้งสาขา/สำนักงานตัวแทนในสหราชอาณาจักร หรือการให้บริการข้ามพรมแดนตามข้อตกลง MiFID

2. ข้อกำหนดในการจัดเตรียมเอกสาร :

FCA กำหนดให้สถาบันทางการเงินและบุคคลทั้งหมดที่มีส่วนร่วมในการลงทะเบียน จำเป็นต้องจัดเตรียมเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมถึงชำระค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ที่ FCA กำหนด

3. ข้อกำหนดด้านเงินทุน :

ข้อกำหนดเงินทุนของโบรกเกอร์อยู่ที่ €730,000 โดยลูกค้ารายย่อยจะได้รับเงินชดเชยสูงสุด €85,000 ในกรณีที่โบรกเกอร์เกิดการล้มละลาย


2. The Cyprus Securities and Exchange Commission (CySEC)

ใบอนุญาต CySEC

ข้อมูลทั่วไป 

ใบอนุญาต The Cyprus Securities and Exchange Commission (CySEC) คือ หน่วยงานกำกับดูแลสำหรับบริษัทการลงทุนและโบรกเกอร์ Forex ของไซปรัส ก่อตั้งเมื่อปี 2001 โดยมีจุดประสงค์เพื่อควบคุมการดำเนินการของโบรกเกอร์ ติดตามการปฏิบัติตามกฎหมายการเงิน และพิจารณาข้อร้องเรียนที่เทรดเดอร์ได้รับความเดือดร้อน ซึ่งใบอนุญาต CySEC ถือเป็นอีกหนึ่งใบอนุญาตที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากค่ะ

ภาพรวมระเบียบและข้อบังคับของ CySEC

1. ข้อกำหนดในการดำเนินการ : 

โบรกเกอร์ Forex ที่ได้รับใบอนุญาตจาก CySEC สามารถดำเนินกิจการไปยังทั่วประเทศในยุโรปได้ ซึ่งต้องปฏิบัติตามแนวทางการเงิน European MiFID ภายใต้กฎหมายและข้อบังคับของ CySEC

2. ข้อกำหนดในการจัดเตรียมเอกสาร : 

โบรกเกอร์ Forex จำเป็นต้องเตรียมเอกสารเกี่ยวกับงบการเงินทุกปี และจำเป็นต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าของและทีมงาน เพื่อเป็นการยืนยันตัวตนว่า ไม่มีประวัติอาชญากรหรือคดีความที่เปิดเผยไม่ได้

3. ข้อกำหนดด้านเงินทุน : 

โบรกเกอร์ Forex จำเป็นต้องวางเงินทุนอยู่ที่ €50,000-€730,000


3. The Dubai Financial Services Authority (DFSA)

ใบอนุญาต DFSA

ใบอนุญาต The Dubai Financial Services Authority (DFSA) เป็นหน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินในเขตดูไบ (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) ก่อตั้งเมื่อปี 2004 โดยมีจุดประสงค์เพื่อกำกับดูแลและให้บริการความน่าเชื่อถือกับสถาบันการเงินและโบรกเกอร์ Forex ภายใต้กฎระเบียบของ DFSA รวมทั้ง ยังรับผิดชอบในการกำกับดูแลและบังคับใช้การต่อต้านการฟอกเงิน (AML) และข้อกำหนดทางการเงินต่อต้านการก่อการร้าย (CTF) ที่บังคับใช้ใน DIFC อีกด้วย

ภาพรวมระเบียบและข้อบังคับของ DFSA

1. ข้อกำหนดในการดำเนินการ : 

โบรกเกอร์ Forex ที่ได้รับใบอนุญาตจาก DFSA จะสามารถดำเนินกิจกรรมทางการเงินในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ทั้งหมด รวมถึง สามารถให้บริการข้ามพรมแดนตาม MOU ของ DFSA ได้

2. ข้อกำหนดในการจัดเตรียมเอกสาร : 

โบรกเกอร์ Forex จำเป็นต้องเปิดบัญชีแยกของลูกค้ากับหนี้สินของบริษัท รวมถึง จำเป็นต้องรายงานการเทรด, ทรัพย์สินของลูกค้า และรายงานการต่อต้านการฟอกเงินด้วย

3. ข้อกำหนดด้านเงินทุน : 

โบรกเกอร์ Forex จำเป็นต้องวางเงินทุนอยู่ที่ $500,000


4. The Monetary Authority of Singapore (MAS)

ใบอนุญาต MAS

ข้อมูลทั่วไป

ใบอนุญาต The Monetary Authority of Singapore (MAS) คือ หน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินในสิงคโปร์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อกำกับดูแลสถาบันทางการเงินและโบรกเกอร์ Forex เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ลูกค้าและนักลงทุน ซึ่งมีนโยบายต่อต้านการฟอกเงิน กำกับดูแลธุรกิจ Fintech และความปลอดภัยทางไซเบอร์

ภาพรวมระเบียบและข้อบังคับของ MAS

1. ข้อกำหนดในการดำเนินการ : 

โบรกเกอร์ Forex ที่ได้รับใบอนุญาตจาก MAS สามารถดำเนินกิจการในประเทศสิงคโปร์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

2. ข้อกำหนดในการจัดเตรียมเอกสาร : 

โบรกเกอร์ Forex จำเป็นต้องยื่นเอกสารเกี่ยวกับงบประมาณทางการเงินของบริษัท รวมถึงต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับจาก MAS อย่างเข้มงวด

3. ข้อกำหนดด้านเงินทุน : 

โบรกเกอร์ Forex จำเป็นต้องวางเงินทุนเริ่มต้นอยู่ที่ 50,000 SGD


5. The Federal Financial Supervisory Authority (BaFin)

ใบอนุญาต BaFin

ข้อมูลทั่วไป

ใบอนุญาต The Federal Financial Supervisory Authority (BaFin) คือ หน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินของเยอรมนี ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2002 โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้การคุ้มครองนักลงทุนรายย่อยจากการดำเนินกิจการของบริษัททางการเงินและโบรกเกอร์ Forex มุ่งเน้นกำกับดูแลบริษัทที่มีการดำเนินงานอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส พร้อมทั้งป้องกันการฟอกเงินหรือการจัดหาเงินทุนให้กับผู้ก่อการร้าย

ภาพรวมระเบียบและข้อบังคับของ BaFin

1. ข้อกำหนดในการดำเนินการ : 

โบรกเกอร์ Forex ที่ได้รับใบอนุญาตจาก BaFin สามารถดำเนินกิจการภายในประเทศเยอรมนีได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย 

2. ข้อกำหนดในการจัดเตรียมเอกสาร : 

โบรกเกอร์ Forex จำเป็นต้องยื่นเอกสารเกี่ยวกับงบประมาณการเงินทุกปี, รายงานการเทรด, รายการต่อต้านการฟอกเงิน รวมถึงต้องแยกบัญชีของลูกค้าออกจากค่าใช้จ่ายและหนี้สินของบริษัทด้วย

3. ข้อกำหนดด้านเงินทุน : 

โบรกเกอร์ Forex จำเป็นต้องวางเงินทุนเริ่มต้นอยู่ที่ €730,000


6. Swiss Financial Market Supervisory Authority (FINMA)

ใบอนุญาต FINMA

ข้อมูลทั่วไป

ใบอนุญาต Swiss Financial Market Supervisory Authority (FINMA) คือ หน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินอิสระของสวิตเซอร์แลนด์ ก่อตั้งเมื่อปี 2008 ซึ่ง FINMA ถือเป็นหนึ่งในหน่วยงานกำกับดูแลชั้นนำระดับโลก เพราะต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนค่อนข้างสูง อีกทั้งยังมีข้อจำกัดในการดำเนินกิจการที่เข้มงวดอีกด้วย สำหรับจุดประสงค์ของ FINMA คือ เพื่อกำกับดูแลตลาดทางการเงินระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการป้องกันการฟอกเงินและการรักษาความลับทางการเงิน

ภาพรวมระเบียบและข้อบังคับของ FINMA

1. ข้อกำหนดในการดำเนินการ : 

โบรกเกอร์ Forex ที่ได้รับใบอนุญาตจาก FINMA จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เข้มงวดของ FINMA

2. ข้อกำหนดในการจัดเตรียมเอกสาร : 

โบรกเกอร์ Forex จำเป็นต้องยื่นเอกสารเกี่ยวกับการแยกบัญชีลูกค้าออกจากเงินทุนของทางโบรกเกอร์ มีรายงานการฟอกเงิน และจำเป็นต้องมีเงินชดเชยให้แก่ลูกค้า ในกรณีที่โบรกเกอร์ล้มละลาย

3. ข้อกำหนดด้านเงินทุน : 

โบรกเกอร์ Forex จำเป็นต้องวางเงินทุนเริ่มต้นอยู่ที่ ₣10,000,000


7. Australian Securities and Investments Commission (ASIC)

ใบอนุญาต ASIC

ข้อมูลทั่วไป

ใบอนุญาต Australian Securities and Investments Commission (ASIC) เป็นองค์กรอิสระของรัฐบาลออสเตรเลียซึ่งได้รับการจัดตั้งภายใต้ พรบ. หลักทรัพย์และการลงทุนของออสเตรเลีย ในปี 2001 ใบอนุญาต ASIC ถือเป็นหนึ่งในใบอนุญาต Forex ชั้นนำของโลก เพราะให้ความสำคัญกับการตรวจสอบการดำเนินกิจการของธุรกิจทางการเงิน, โบรกเกอร์ Forex และหน่วยงานทางการเงินอื่น ๆ ในออสเตรเลียอย่างโปร่งใสและเข้มงวด

ภาพรวมระเบียบและข้อบังคับของ ASIC

1. ข้อกำหนดในการดำเนินการ : 

โบรกเกอร์ Forex ที่ได้รับใบอนุญาตจาก ASIC สามารถดำเนินกิจการได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายในประเทศที่ ASIC ให้การกำกับดูแล

2. ข้อกำหนดในการจัดเตรียมเอกสาร : 

โบรกเกอร์ Forex จำเป็นต้องรักษา Equity ให้อยู่ในระดับที่กำหนด, แยกบัญชีลูกค้าออกจากเงินทุนของบริษัท, ต้องมีการตรวจสอบและปฏิบัติตามคำแนะนำของผลการตรวจสอบ

3. ข้อกำหนดด้านเงินทุน : 

โบรกเกอร์ Forex จำเป็นต้องวางเงินทุนเริ่มต้นอยู่ที่ 1,000,000 AUD


8. Financial Sector Conduct Authority (FSCA)

ใบอนุญาต FSCA

ข้อมูลทั่วไป

ใบอนุญาต Financial Sector Conduct Authority (FSCA) เป็นหน่วยงานกำกับดูแลภาคการเงินของแอฟริกาใต้ ก่อตั้งเมื่อปี 1999 กำกับดูแลโบรกเกอร์ Forex, CFDs, ประกันภัย, การกำกับดูแลสกุลเงิน และหน่วยงานที่ดำเนินกิจการทางการเงินอื่น ๆ เป็นต้น

ภาพรวมระเบียบและข้อบังคับของ FSCA

1. ข้อกำหนดในการดำเนินการ : 

โบรกเกอร์ Forex ที่ได้รับใบอนุญาตจาก FSCA สามารถดำเนินกิจการได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยไม่จำเป็นต้องเปิดสำนักงานในแอฟริกาใต้ ซึ่งโบรกเกอร์ Forex สามารถดำเนินกิจการในประเทศอื่น ๆ ได้เช่นกัน ภายใต้เงื่อนไขและข้อกำหนดที่ FSCA กำหนด

2. ข้อกำหนดในการจัดเตรียมเอกสาร : 

โบรกเกอร์ Forex จำเป็นต้องแยกบัญชีลูกค้าออกจากเงินทุนของบริษัท รวมทั้ง ต้องมีรายงานการตรวจสอบไปยัง FSCA ทุกปี

3. ข้อกำหนดด้านเงินทุน : 

FSCA ไม่มีข้อกำหนดด้านเงินทุน แต่โบรกเกอร์ Forex ต้องรักษาเงินทุน เพื่อให้ครอบคลุมหนี้สินและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทั้งหมดค่ะ อีกทั้ง โบรกเกอร์ Forex ต้องมีหลักประกันชดเชยค่าเสียหายให้แก่ลูกค้าอีกด้วย


9. The National Futures Association (NFA)

ใบอนุญาต NFA

ข้อมูลทั่วไป

The National Futures Association (NFA) คือ องค์กรไม่แสวงผลกำไร สำหรับอุตสาหกรรมอนุพันธ์ของสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งเมื่อปี 1974 โดย NFA ทำหน้าที่กำกับดูแลโบรกเกอร์หรือบริษัทนายหน้าที่ให้บริการซื้อขายสัญญาล่วงหน้า (Futures) ด้วยการให้บริการทางด้านนวัตกรรม ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมาธิการการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์ (CFTC) ทำให้ NFA เป็นหน่วยงานที่มีความเข้มงวดค่อนข้างสูงเลยทีเดียวค่ะ

ภาพรวมระเบียบและข้อบังคับของ NFA

1. ข้อกำหนดในการดำเนินการ : 

โบรกเกอร์ Forex ที่จดทะเบียนกับ NFA จะมีสิทธิให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ในสหรัฐอเมริกาได้ อีกทั้งยังต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของ NFA อย่างเคร่งครัด

2. ข้อกำหนดในการจัดเตรียมเอกสาร : 

โบรกเกอร์ Forex จำเป็นต้องแยกบัญชีลูกค้าออกจากเงินทุนของบริษัท และจะต้องส่งรายได้ของบริษัทให้กับ NFA ทุกสัปดาห์ อีกทั้ง NFA จะส่ง Audit เข้ามาตรวจสอบบริษัททุกปีอีกด้วย

3. ข้อกำหนดด้านเงินทุน :

โบรกเกอร์ Forex จำเป็นต้องวางเงินทุนขั้นต่ำอยู่ที่ $20,000,000


10. Financial Services Commission Mauritius (FSC Mauritius)

ใบอนุญาต FSC Mauritius

ข้อมูลทั่วไป

Financial Services Commission Mauritius (FSC Mauritius) คือ คณะกรรมการบริการด้านการเงินมอริเชียส เป็นหน่วยงานกำกับดูแลแบบบูรณาการทางการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารและธุรกิจระดับโลก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2001 ซึ่ง FSC Mauritius ทำหน้าที่ออกใบอนุญาต ตรวจสอบ และกำกับดูแลธุรกิจที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติบริการด้านการเงิน และประกันภัย เป็นต้น

ภาพรวมระเบียบและข้อบังคับของ FSC Mauritius

1. ข้อกำหนดในการดำเนินการ : 

โบรกเกอร์ Forex ที่ได้รับใบอนุญาตจาก FSC Mauritius สามารถดำเนินกิจการในต่างประเทศภายใต้กฎหมายของ FSC Mauritius ซึ่งกฎระเบียบและข้อบังคับในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกัน 

2. ข้อกำหนดในการจัดเตรียมเอกสาร : 

โบรกเกอร์ Forex จะต้องดำเนินการตามคำสั่งซื้อขายของลูกค้าและจัดพอร์ตการลงทุนอย่างโปร่งใส รวมทั้งต้องให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำธุรกรรมหลักทรัพย์ของลูกค้า ซึ่งค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจะขึ้นอยู่กับประเภทของใบอนุญาตที่ได้รับ

3. ข้อกำหนดด้านเงินทุน : 

โบรกเกอร์ Forex จำเป็นต้องวางเงินทุนขั้นต่ำอยู่ที่ 700,000 MUR


📢 เทรด Forex โบรกไหนดี อัปเดตการจัดอันดับทุก Rank 2025

เทรด Forex โบรกไหนดี อัปเดตการจัดอันดับทุก Rank 2025

สำหรับเทรดเดอร์คนไหนที่ยังไม่แน่ใจว่า เทรด Forex โบรกไหนดี คุณน้าได้รวบรวมโบรกเกอร์ Forex ที่มีคุณสมบัติเด่นในหลาย ๆ ด้านมาไว้ให้คุณแล้ว ไม่ว่าจะเป็นโบรกเกอร์สเปรดต่ำ, Free Swap และโบรกเกอร์เทรดทอง เป็นต้น โดยสามารถอ่านที่ลิงก์ด้านล่างได้เลยค่ะ


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับใบอนุญาตและหน่วยงานกำกับดูแล Forex

1. ใบอนุญาต Forex มีอะไรบ้าง?

ในปัจจุบัน ใบอนุญาต Forex มีหลายประเภทเป็นอย่างมากค่ะ โดยในบทความนี้คุณน้าขอยกตัวอย่าง 10 ใบอนุญาต Forex ที่ได้รับความนิยมจากเหล่าโบรกเกอร์เป็นอย่างมาก โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • Financial Conduct Authority (FCA) : อังกฤษ
  • The Cyprus Securities and Exchange (CySEC)  : ไซปรัส
  • The Dubai Financial Services Authority (DFSA) : สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
  • The Monetary Authority of Singapore (MAS) : สิงคโปร์
  • The Federal Financial Supervisory Authority (BaFin) : เยอรมนี
  • Swiss Financial Market Supervisory Authority (FINMA) : สวิตเซอร์แลนด์
  • Australian Securities and Investments Commission (ASIC) : ออสเตรเลีย
  • Financial Sector Conduct Authority (FSCA) : แอฟริกาใต้
  • The National Futures Association (NFA) : สหรัฐอเมริกา
  • Financial Services Commission Mauritius (FSC Mauritius) : มอริเชียส

2. เว็บตรวจสอบโบรกเกอร์ Forex ทำได้อย่างไร?

วิธีการตรวจสอบโบรกเกอร์ Forex สามารถทำได้ 3 วิธีการหลัก ๆ ได้แก่ 1. เข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ของโบรกเกอร์ 2. เข้าไปที่เว็บไซต์หน่วยงานที่กำกับดูแลของโบรกเกอร์ และ 3. ไปที่แพลตฟอร์ม TrustFinance

3. เช็กโบรกเกอร์ Forex ทำได้อย่างไร?

วิธีการเช็กโบรกเกอร์ Forex ที่เทรดเดอร์ควรรู้เป็นอันดับแรก ก็คือ การเช็กใบอนุญาตและหน่วยงานกำกับดูแลของโบรกเกอร์ Forex เพราะจะช่วยยืนยันได้ว่า โบรกเกอร์มีความน่าเชื่อถือและดำเนินกิจการอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส


สรุปใบอนุญาต Forex คืออะไร?

ทั้งหมดนี้ก็คือ ใบอนุญาต Forex ที่คุณน้าได้หยิบยกขึ้นมาแนะนำให้เทรดเดอร์ได้รู้จักกันค่ะ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ใบอนุญาต Forex ถูกใช้เป็นเกณฑ์การพิจารณาอันดับแรก ๆ ก่อนที่จะตัดสินใจเทรด เพราะจะช่วยยืนยันถึงความน่าเชื่อถือของโบรกเกอร์ในการดำเนินกิจการอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม และที่สำคัญยังช่วยให้ความคุ้มครองกับเทรดเดอร์ ในกรณีที่โบรกเกอร์ล้มละลายหรือปิดกิจการลงอีกด้วย

อย่างไรก็ดี นอกจากการตรวจสอบใบอนุญาต Forex แล้วนั้น เทรดเดอร์ควรพิจารณาเกณฑ์อื่นเพิ่มเติมด้วย ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม, ระบบการเทรด หรือระบบการฝากถอน เพื่อช่วยให้คุณเริ่มต้นเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดค่ะ


สำหรับใครที่สนใจอ่านรีวิวโบรกเกอร์ : Review Brokers

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

Picture of คุณน้า
คุณน้า
คุณน้าเป็นเทรดเดอร์ที่คลุกคลีอยู่ในตลาดต่าง ๆ ร่วม 10 ปี จึงอยากนำความรู้ที่มีมาแบ่งปันให้กับทุกคน
Recent Post
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 มกราคม 2568
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 มกราคม 2568 By คุณน้าพาเทรด

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 มกราคม 2568 ซึ่งมีข่าวสำคัญจากสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า ราคาทองคำจะปรับตัวลงไปทดสอบแนวรับที่ 2,690 ดอลลาร์อีกครั้งค่ะ

Exness ดีไหม? รีวิวทุกข้อสำคัญ ปี 2025
Exness ดีไหม? รีวิวทุกข้อสำคัญ ฉบับอัปเดตปี 2025

วันนี้คุณน้าเลยอยากจะหยิบยกโบรกเกอร์ Exness มาให้ทุกคนได้อ่านกัน เผื่อว่าท่านใดที่สนใจหาข้อมูลโบรกเกอร์อยู่จะใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ

Day Trade คืออะไร เรียนรู้การเป็นเทรดเดอร์รายวันแบบละเอียด
Day Trade คืออะไร? เรียนรู้การเป็นเทรดเดอร์รายวันแบบละเอียด

Day Trade (เดย์เทรด) คือ กลยุทธ์สำหรับเทรดเดอร์ที่ชื่นชอบการเปิดปิดออเดอร์ภายในวันเดียว ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นนักเก็งกำไรระยะสั้น

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 13 มกราคม 2568
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 13 มกราคม 2568 By คุณน้าพาเทรด

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันจันทร์ที่ 13 มกราคม 2568 กันค่า วิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ บทวิเคราะห์ภาพรวมปัจจัยพื้นฐาน เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาราคาทองคำปรับตัวขึ้น 18