บัญชี FCD คืออะไร? ดอกเบี้ยสูง 5.25% จริงไหม!

บัญชี FCD คืออะไร? เปิดบัญชียังไง ดอกเบี้ยสูง 5.25% ต่อปี จริงไหม!
Table of Contents

FCD หรือ Foreign Currency Deposit คืออะไร? ในช่วงที่รัฐบาลไทยยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% ต่อปี ก็ดูเหมือนว่า ธนาคารพาณิชย์จะคงอัตราดอกเบี้ยบัญชีออมทรัพย์เฉลี่ยอยู่ที่ไม่เกิน 0.70% ต่อปี ในขณะที่ดอกเบี้ยบัญชีเงินฝากประจำ 6 เดือน มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ไม่เกิน 1.80% ต่อปี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร (อ้างอิง) ทำให้เห็นว่า อัตราดอกเบี้ยยังคงต่ำอยู่ในตอนนี้ค่ะ

ดังนั้น ในบทความนี้ คุณน้าจะพาทุกคนมารู้จักกับบัญชีอีกประเภทหนึ่งที่ถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจให้กับทุกคน อย่างบัญชี FCD โดย FCD คืออะไร? เปิดบัญชียังไง ให้ดอกเบี้ยสูงถึง 5.25% จริงไหม และที่สำคัญคุณน้าได้รวบรวม 7 ธนาคารที่มีการให้บริการบัญชี FCD อีกด้วย ห้ามพลาดในบทความนี้

*หมายเหตุ :  บทความนี้เป็นเพียงบทความให้ความรู้เท่านั้น ไม่ได้เป็นการชักชวนการลงทุนแต่อย่างใด อีกทั้งบัญชี FCD จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคารเป็นผู้กำหนด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ดีและควรโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน 


บัญชี FCD คืออะไร?

บัญชี FCD ย่อมาจาก Foreign Currency Deposit คือ บัญชีเงินฝากสกุลเงินต่างประเทศ สำหรับบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มีความต้องการฝากเงินในสกุลเงินอื่น ๆ โดยบัญชี FCD มีสกุลเงินต่างประเทศให้เลือกหลากหลายถึง 15 สกุลเงิน ไม่ว่าจะเป็นดอลลาร์สหรัฐ (USD), เยน (JPY), ดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD), ปอนด์สเตอร์ลิง (GBP), หยวน (CNY) และสกุลเงินอื่น ๆ เป็นต้น 

สำหรับจุดเด่นของบัญชี FCD คือ ผู้ฝากเงินสามารถครองสกุลเงินอื่นได้ โดยไม่จำเป็นต้องเร่งรีบแลกเปลี่ยนเงินตรา เพราะคุณสามารถแลกเปลี่ยนสกุลเงินในเวลาใดก็ได้ และการฝากเงินบัญชี FCD ยังช่วยให้คุณสามารถเก็บสำรองเงินไว้ใช้จ่ายในอนาคตได้อย่างทันท่วงทีอีกด้วยค่ะ นอกจากนี้ การฝากเงินในบัญชี FCD ยังได้รับอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าเงินฝากทั่วไปอีกด้วย โดยบางธนาคารให้ดอกเบี้ยสูงถึง 5.25% ต่อปี

🔍 เกร็ดความรู้ ดอกเบี้ยที่ได้รับจาก FCD เสียภาษีไหม?

สำหรับดอกเบี้ยที่ได้รับจากบัญชี FCD จะได้รับการยกเว้นการเสียภาษีบุคคลธรรมดา ในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยรวมกันไม่เกิน 20,000 บาทต่อปี แต่หากดอกเบี้ยเงินฝาก FCD เกิน คุณจะต้องเสียภาษี 15% สำหรับบุคคลธรรมดาตามที่กรมสรรพากรเป็นผู้กำหนดค่ะ

นอกจากนี้ เงินฝากและดอกเบี้ยที่อยู่ในบัญชี FCD ไม่ต้องเสียภาษี จนกว่าคุณจะแปลงเงินกลับมาเป็นสกุลเงินบาทนั่นเองค่ะ

หากใครต้องการอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับภาษีเงินได้เพิ่มเติม คุณน้าได้เคยเขียนบทความนี้ไว้แล้ว อ่านได้ที่ลิงก์ด้านล่างเลย


บัญชี FCD ให้อัตราดอกเบี้ยสูงจริงไหม?

บัญชี FCD ให้อัตราดอกเบี้ยสูงจริงค่ะ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยจะได้รับอิทธิพลมาจากสกุลเงินตราต่างประเทศที่คุณเลือกฝากเงินค่ะ หากประเทศไหนมีการกำหนดให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่สูงกว่า บัญชี FCD ก็จะมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามไปด้วย 

ยกตัวอย่างเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกามีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 5.25% ทำให้หลาย ๆ ธนาคารให้อัตราดอกเบี้ยในบัญชี FCD สูงสุดถึง 5.00% ต่อปี ในขณะที่ประเทศไทยกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ 2.50% เท่านั้น ดังนั้น จึงแสดงให้เห็นว่า บัญชี FCD ให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์นั่นเองค่ะ

อย่างไรก็ตาม บางธนาคารก็ให้อัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันออกไปนะคะ ดังนั้น คุณควรศึกษาเงื่อนไขให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุนค่ะ

ประเภทบัญชี FCD มีอะไรบ้าง?

ประเภทบัญชี FCD มี 3 ประเภท ตามตารางด้านล่างนี้

ประเภทบัญชี FCD 
บัญชีเดินสะพัด (Current Account)เป็นบัญชีเงินฝากที่เหมาะกับการทำธุรกรรมรายวัน ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินระหว่างบัญชี หรือการใช้จ่ายอื่น ๆ เป็นต้น
บัญชีออมทรัพย์ (Saving Account)เป็นบัญชีเงินฝากที่เหมาะกับการเก็บออมระยะยาว โดยประเภทบัญชีออมทรัพย์จะให้ดอกเบี้ยเงินฝาก ซึ่งจะขึ้นอยู่กับธนาคารเป็นผู้กำหนด
บัญชีฝากประจำ (Fixed Account)เป็นบัญชีเงินฝากประจำที่เหมาะกับการฝากเงินตามระยะเวลาที่กำหนด ได้แก่ 3 เดือน, 6 เดือน หรือ 1 ปี ซึ่งประเภทบัญชีนี้จะให้ดอกเบี้ยที่สูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ แต่ก็มีข้อจำกัดด้านสภาพคล่อง

FCD (Foreign Currency Deposit) เหมาะกับใคร?

  • นักลงทุนที่สนใจการลงทุนในสกุลเงินต่างประเทศ และต้องการกระจายความเสี่ยงจากความเสี่ยงของอัตราการแลกเปลี่ยน
  • บุคคลธรรมดาทั่วไปที่ต้องการเก็บเงินเย็นไว้ใช้จ่ายในอนาคต
  • ผู้ประกอบการที่ต้องการนำเข้าสินค้าและส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ 

ข้อดี-ข้อเสียของ FCD

ข้อดี

  • ลดความเสี่ยงจากอัตราการแลกเปลี่ยน
  • สามารถวางแผนเป้าหมายและคำนวณค่าใช้จ่ายในอนาคตได้
  • การทำธุรกรรมในต่างประเทศมีความสะดวกและรวดเร็ว
  • ให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูง
  • รองรับการให้บริการหลายสกุลเงิน

ข้อเสีย

  • มีความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง
  • มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการให้บริการ ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคารเป็นผู้กำหนด 
  • ไม่ได้รับการคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคบ.)


การเปิดบัญชี FCD มือใหม่ควรรู้อะไรบ้าง?

1. วางแผนเป้าหมายการลงทุนของคุณให้ดี ก่อนตัดสินใจเลือกประเภทบัญชีเงินฝาก FCD และสกุลเงินที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณ

2. ศึกษาเงื่อนไขต่าง ๆ เกี่ยวกับบัญชี FCD เนื่องจากแต่ละธนาคารมีเงื่อนไขและข้อกำหนดที่แตกต่างกัน

3. ศึกษารายละเอียดการฝากเงินขั้นต่ำของแต่ละธนาคาร

4. ศึกษาค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมการฝาก-ถอนเงิน, ค่าธรรมเนียมการโอนเงิน หรือค่าธรรมเนียมในกรณีที่ยอดเงินคงเหลือต่ำกว่าระดับที่กำหนดไว้ เป็นต้น

5. ศึกษาความเสี่ยงด้านอัตราการแลกเปลี่ยน


FCD เปิดบัญชียังไง?

1. ศึกษาเงื่อนไขของแต่ละธนาคารและเลือกธนาคารที่ให้บริการ โดยในปัจจุบันมีธนาคารพาณิชย์ให้เลือกหลายธนาคาร

2. เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสมัครให้เรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็นบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทางสำหรับชาวต่างชาติ เป็นต้น

3. เปิดบัญชี FCD กับธนาคารที่คุณให้ความสนใจ ซึ่งบางธนาคารสามารถสมัครผ่านแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ของธนาคารได้

4. เลือกสกุลเงินที่คุณต้องการฝากเงิน

5. ศึกษาการฝากเงินขั้นต่ำตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคารเป็นผู้กำหนด


เปิดบัญชี FCD ที่ไหนดี สำหรับบุคคลธรรมดา ประจำปี 2024

สำหรับมือใหม่ที่ต้องการเปิดบัญชี FCD ครั้งแรก แต่ยังไม่รู้ว่า เปิดบัญชี FCD ที่ไหนดี? ในบทความนี้คุณน้าจะแนะนำ 7 ธนาคารที่ให้บริการเกี่ยวกับบัญชี FCD สำหรับบุคคลธรรมดา ซึ่งคุณน้าขอยกตัวอย่างเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) เนื่องจากเป็นสกุลเงินที่นักลงทุนนิยมใช้ฝากเงินและเป็นสกุลเงินที่มีสภาพคล่องสูง โดยแต่ละธนาคารมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

⭐ เปิดบัญชี FCD ที่ไหนดี : ธนาคารทหารไทยธนชาต ⭐

เปิดบัญชี FCD ที่ไหนดี : ธนาคารทหารไทยธนชาต

1. อัตราดอกเบี้ย

  • บัญชีเดินสะพัด : ไม่มีการให้อัตราดอกเบี้ย
  • บัญชีออมทรัพย์ : 2.00% ต่อปี 
  • บัญชีเงินฝากประจำ : 5.10% ต่อปี (3 เดือน) และ 5.25% ต่อปี (6 เดือน)

2. เงินฝากขั้นต่ำ 

  • บัญชีเดินสะพัด : 2,000 USD ต่อรายการ
  • บัญชีออมทรัพย์ : 10,000 USD
  • บัญชีเงินฝากประจำ : 10,000 USD

3. ค่าธรรมเนียม กรณียอดเงินคงเหลือเฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าที่กำหนด

  • บัญชีเดินสะพัด : 10 USD ต่อรายการ
  • บัญชีออมทรัพย์ : 10 USD ต่อรายการ
  • บัญชีเงินฝากประจำ : 10 USD ต่อรายการ

4. ค่าธรรมเนียม กรณีบัญชีไม่เคลื่อนไหว

ทุกประเภทบัญชีไม่มีการกำหนดค่าธรรมเนียม ภายในระยะเวลา 1 ปี

5. ค่าธรรมเนียม Cheque/Draft คืน

ไม่มีการให้บริการ

6. ค่าธรรมเนียมการฝากเงินบัญชี FCD

  • เงินโอนต่างประเทศ (SWIFT/Telex) : ไม่มีค่าธรรมเนียม
  • ดราฟต์ (Draft) : 0.25% ขั้นต่ำ 300 บาท ต่อรายการ
  • เช็คเดินทางต่างประเทศ (Foreign Cheque) : 0.25% ขั้นต่ำ 300 บาท ต่อรายการ
  • ธนบัตรต่างประเทศ : ขั้นต่ำ 300 บาท ต่อรายการ

7. ค่าธรรมเนียมการถอนเงินบัญชี FCD

  • เงินโอนต่างประเทศ (SWIFT/Telex) : 0.25% ขั้นต่ำ 300 บาท ต่อรายการ
  • ดราฟต์ (Draft) : 0.25% ขั้นต่ำ 300 บาท ต่อรายการ
  • เช็คเดินทางต่างประเทศ (Foreign Cheque) : 0.25% ขั้นต่ำ 300 บาท ต่อรายการ
  • ธนบัตรต่างประเทศ : ขั้นต่ำ 300 บาท ต่อรายการ

8. คุณสมบัติผู้สมัคร

คุณสมบัติผู้สมัครเป็นไปตามเงื่อนไขที่ธนาคารเป็นผู้กำหนด


⭐ เปิดบัญชี FCD ที่ไหนดี : ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ⭐

1. อัตราดอกเบี้ย

  • บัญชีเดินสะพัด : ไม่ได้ให้บริการ
  • บัญชีออมทรัพย์ : 1.00% ต่อปี 
  • บัญชีเงินฝากประจำ : 2.50% ต่อปี (3 เดือน) และ 2.80% ต่อปี (6 เดือน)
  • บัญชีเงินฝากประจำพิเศษ* : 5.00% ต่อปี (3 เดือน) และ 5.25% ต่อปี (6 เดือน)

*หมายเหตุ : สำหรับบัญชีเงินฝากประจำแบบพิเศษ คือ เฉพาะวันนี้ – วันที่ 30 กันยายน 2024 เท่านั้น

2. เงินฝากขั้นต่ำ 

  • บัญชีเดินสะพัด : ไม่ได้ให้บริการ
  • บัญชีออมทรัพย์ : 1,000 USD ต่อรายการ
  • บัญชีเงินฝากประจำ : 1,000 USD ต่อรายการ
  • บัญชีเงินฝากประจำพิเศษ : 1,000 USD ต่อรายการ

3. ค่าธรรมเนียม กรณียอดเงินคงเหลือเฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าที่กำหนด

ทุกประเภทบัญชีไม่คิดค่าธรรมเนียม

4. ค่าธรรมเนียม กรณีบัญชีไม่เคลื่อนไหว

ทุกประเภทบัญชีไม่คิดค่าธรรมเนียม

5. ค่าธรรมเนียม Cheque/Draft คืน

ไม่มีการให้บริการ

5. ค่าธรรมเนียมการฝากเงินบัญชี FCD

  • เงินโอนต่างประเทศ (SWIFT/Telex) : ไม่มีค่าธรรมเนียม
  • เงินโอนภายในธนาคาร (ชื่อเจ้าของบัญชีเดียวกัน) : ไม่มีค่าธรรมเนียม
  • เงินโอนภายในธนาคาร (โอนให้คนอื่น) : ไม่มีค่าธรรมเนียม

6. ค่าธรรมเนียมการถอนเงินบัญชี FCD

  • เงินโอนต่างประเทศ (SWIFT/Telex) : 0.25% ขั้นต่ำ 1,000 บาท ต่อรายการ
  • เงินโอนภายในธนาคาร (ชื่อเจ้าของบัญชีเดียวกัน) : ไม่มีค่าธรรมเนียม
  • เงินโอนภายในธนาคาร (โอนให้คนอื่น) : ไม่มีค่าธรรมเนียม

7. คุณสมบัติผู้สมัคร

คุณสมบัติผู้สมัครเป็นไปตามเงื่อนไขที่ธนาคารเกียรตินาคินภัทรเป็นผู้กำหนด โดยสามารถแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่ บัญชี FCD ประเภทออมทรัพย์, บัญชี FCD ประเภทฝากเงินประจำพิเศษ, บัญชี KKP e-FCD Saving และ Dime! FCD โดยแต่ละประเภทบัญชีมีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน คุณสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน้าเว็บไซต์ได้เลยค่ะ


⭐ เปิดบัญชี FCD ที่ไหนดี : ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮาส์ ⭐

เปิดบัญชี FCD ที่ไหนดี : ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮาส์

1. อัตราดอกเบี้ย

  • บัญชีเดินสะพัด : ไม่ได้ให้บริการ
  • บัญชีออมทรัพย์ :  1.85% ต่อปี 
  • บัญชีเงินฝากประจำ : 2.50% ต่อปี (3 เดือน) และ 2.80% ต่อปี (6 เดือน)
  • บัญชีเงินฝากประจำพิเศษ* : 5.20% ต่อปี (3 เดือน) และ 5.25% ต่อปี (6 เดือน)

*หมายเหตุ : ประเภทบัญชีเงินฝากประจำพิเศษมีระยะเวลารับฝากเงินตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม – 31 สิงหาคม 2024 เท่านั้น

2. เงินฝากขั้นต่ำ 

  • บัญชีเดินสะพัด : ไม่ได้ให้บริการ
  • บัญชีออมทรัพย์ : เป็นไปตามเงื่อนไขของธนาคาร
  • บัญชีเงินฝากประจำ : เป็นไปตามเงื่อนไขของธนาคาร
  • บัญชีเงินฝากประจำพิเศษ : 10,000 USD ต่อรายการ

3. ค่าธรรมเนียม กรณียอดเงินคงเหลือเฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าที่กำหนด

ทุกประเภทบัญชีไม่คิดค่าธรรมเนียม

4. ค่าธรรมเนียม กรณีบัญชีไม่เคลื่อนไหว

ทุกประเภทบัญชีไม่คิดค่าธรรมเนียม

5. ค่าธรรมเนียม Cheque/Draft คืน

ไม่มีการให้บริการ

5. ค่าธรรมเนียมการฝากเงินบัญชี FCD

  • เงินโอนต่างประเทศ (SWIFT/Telex) : ไม่มีค่าธรรมเนียม

6. ค่าธรรมเนียมการถอนเงินบัญชี FCD

  • เงินโอนต่างประเทศ (SWIFT/Telex) : 0.25%

7. คุณสมบัติผู้สมัคร

คุณสมบัติผู้สมัครเป็นไปตามเงื่อนไขที่ธนาคารเป็นผู้กำหนด


⭐ เปิดบัญชี FCD ที่ไหนดี : ธนาคารไทยพาณิชย์ ⭐

1. อัตราดอกเบี้ย

  • บัญชีเดินสะพัด : ไม่มีการให้อัตราดอกเบี้ย
  • บัญชีออมทรัพย์ : 0.05% ต่อปี 
  • บัญชีเงินฝากประจำ : 5.00% ต่อปี (3 เดือน) และ 5.10% ต่อปี (6 เดือน)

2. เงินฝากขั้นต่ำ 

  • ไม่มีกำหนดขั้นต่ำ

3. ค่าธรรมเนียม กรณียอดเงินคงเหลือเฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าที่กำหนด

  • บัญชีเดินสะพัด : 250 บาท ต่อปีหรือ 10 บาท ต่อเดือน
  • บัญชีออมทรัพย์ : 250 บาท ต่อปีหรือ 10 บาท ต่อเดือน
  • บัญชีเงินฝากประจำ : ไม่มีกำหนด

4. ค่าธรรมเนียม กรณีบัญชีไม่เคลื่อนไหว

ทุกประเภทบัญชีไม่มีการกำหนดค่าธรรมเนียม

5. ค่าธรรมเนียม Cheque/Draft คืน

  • B/R : 225 บาท
  • B/C : 250 บาท

6. ค่าธรรมเนียมการฝากเงินบัญชี FCD

  • เงินโอนต่างประเทศ (SWIFT/Telex) : ไม่มีค่าธรรมเนียม
  • ดราฟต์ (Draft) : 0.25%
  • เช็คต่างประเทศ (Foreign Cheque) : 0.25%
  • เช็คเดินทาง (Cheque) : 0.25%
  • ธนบัตรต่างประเทศ : 1.00%

7. ค่าธรรมเนียมการถอนเงินบัญชี FCD

  • เงินโอนต่างประเทศ (SWIFT/Telex) : 0.25%
  • ดราฟต์ (Draft) : 0.25%
  • เช็คต่างประเทศ (Foreign Cheque) : 0.25%
  • เช็คเดินทาง (Cheque) : 0.25%
  • ธนบัตรต่างประเทศ : 1.00%

8. คุณสมบัติผู้สมัคร

คุณสมบัติผู้สมัครเป็นไปตามเงื่อนไขที่ธนาคารเป็นผู้กำหนด


⭐ เปิดบัญชี FCD ที่ไหนดี : ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ⭐

เปิดบัญชี FCD ที่ไหนดี : ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

1. อัตราดอกเบี้ย

  • บัญชีเดินสะพัด : ไม่มีการให้อัตราดอกเบี้ย
  • บัญชีออมทรัพย์ : 0.01% ต่อปี
  • บัญชีเงินฝากประจำ : 0.20% ต่อปี (3 เดือน) และ 0.30% ต่อปี (6 เดือน)
  • บัญชีเงินฝากประจำพิเศษ* : 5.00% ต่อปี (3 เดือน) และ 5.10% ต่อปี (6 เดือน)

*หมายเหตุ : ประเภทบัญชีเงินฝากประจำพิเศษมีระยะเวลารับฝากเงินตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม – 30 กันยายน 2024 เท่านั้น (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่)

นอกจากนี้ ทางธนาคารกรุงศรีอยุธยายังมีโปรโมชันบัญชีเงินฝากประจำพิเศษสกุลเงิน USD ระยะเวลา 9 เดือน สูงสุด 5.10% ต่อปี เฉพาะวันที่ 5 มิถุนายน – 31 กรกฎาคม 2024 เท่านั้น สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้

2. เงินฝากขั้นต่ำ 

  • บัญชีเดินสะพัด :  100 USD ต่อรายการ
  • บัญชีออมทรัพย์ : 100 USD ต่อรายการ
  • บัญชีเงินฝากประจำ : 100 USD ต่อรายการ
  • บัญชีเงินฝากประจำพิเศษ : 30,000 USD ต่อรายการ

3. ค่าธรรมเนียม กรณียอดเงินคงเหลือเฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าที่กำหนด

  • บัญชีเดินสะพัด :  500 USD ต่อเดือน
  • บัญชีออมทรัพย์ :   500 USD ต่อเดือน
  • บัญชีเงินฝากประจำ : ไม่กำหนดยอดเฉลี่ย

4. ค่าธรรมเนียม กรณีบัญชีไม่เคลื่อนไหว

ทุกประเภทบัญชีไม่คิดค่าธรรมเนียม กรณีระยะเวลาไม่เคลื่อนไหวบัญชี 2 ปี

5. ค่าธรรมเนียม Cheque/Draft คืน

ฉบับละ 200 บาท + ค่าธรรมเนียมของธนาคารต่างประเทศที่มีการเรียกเก็บ

5. ค่าธรรมเนียมการฝากเงินบัญชี FCD

  • เงินโอนต่างประเทศ (SWIFT/Telex) : ไม่มีค่าธรรมเนียม
  • ดราฟต์ (Draft) : 0.25% ขั้นต่ำ 500 บาท ต่อรายการ
  • เช็คเดินทาง (Cheque) : 0.25% ขั้นต่ำ 500 บาท ต่อรายการ
  • ธนบัตรต่างประเทศ : 1.00% ขั้นต่ำ 500 บาท ต่อรายการ

6. ค่าธรรมเนียมการถอนเงินบัญชี FCD

  • เงินโอนต่างประเทศ (SWIFT/Telex) : 0.25% ขั้นต่ำ 1,000 บาท ต่อรายการ
  • ดราฟต์ (Draft) : ไม่ให้บริการ
  • เช็คเดินทาง (Cheque) : ไม่ให้บริการ
  • ธนบัตรต่างประเทศ : 1.50% ขั้นต่ำ 500 บาท ต่อรายการ

7. คุณสมบัติผู้สมัคร

คุณสมบัติผู้สมัครเป็นไปตามเงื่อนไขที่ธนาคารเป็นผู้กำหนด


⭐ เปิดบัญชี FCD ที่ไหนดี : ธนาคารกรุงเทพ ⭐

เปิดบัญชี FCD ที่ไหนดี  : ธนาคารกรุงเทพ

1. อัตราดอกเบี้ย

  • บัญชีเดินสะพัด : ไม่มีการให้อัตราดอกเบี้ย
  • บัญชีออมทรัพย์ : 0.05% ต่อปี
  • บัญชีเงินฝากประจำ : 0.30% ต่อปี (3 เดือน) และ 0.45% ต่อปี (6 เดือน)

2. เงินฝากขั้นต่ำ 

  • บัญชีเดินสะพัด :  1,000 USD ต่อรายการ
  • บัญชีออมทรัพย์ : 1,000 USD ต่อรายการ
  • บัญชีเงินฝากประจำ : 1,000 USD ต่อรายการ

3. ค่าธรรมเนียม กรณียอดเงินคงเหลือเฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าที่กำหนด

  • บัญชีเดินสะพัด :  250 USD ต่อเดือน
  • บัญชีออมทรัพย์ :   250 USD ต่อเดือน
  • บัญชีเงินฝากประจำ :  500 USD ต่อยอดฝาก

4. ค่าธรรมเนียม กรณีบัญชีไม่เคลื่อนไหว

ทุกประเภทบัญชีไม่คิดค่าธรรมเนียม

5. ค่าธรรมเนียม Cheque/Draft คืน

ฉบับละ 200 บาท + ค่าธรรมเนียมของธนาคารต่างประเทศที่มีการเรียกเก็บ

5. ค่าธรรมเนียมการฝากเงินบัญชี FCD

  • เงินโอนต่างประเทศ (SWIFT/Telex) : ไม่มีค่าธรรมเนียม
  • ดราฟต์ (Draft) : ไม่มีค่าธรรมเนียม กรณีที่ระบุให้ธนาคารกรุงเทพเป็นผู้จ่าย
  • เช็คเดินทาง (Cheque) : 0.25% ขั้นต่ำ 500 บาท ต่อรายการ
  • ธนบัตรต่างประเทศ : 1.00% ขั้นต่ำ 500 บาท ต่อรายการ

6. ค่าธรรมเนียมการถอนเงินบัญชี FCD

  • เงินโอนต่างประเทศ (SWIFT/Telex) : 0.25% ขั้นต่ำ 500 บาท ต่อรายการ
  • ดราฟต์ (Draft) : 0.25%  ขั้นต่ำ 500 บาท ต่อรายการ
  • เช็คเดินทาง (Cheque) : 0.25% ขั้นต่ำ 500 บาท ต่อรายการ
  • ธนบัตรต่างประเทศ : 1.00% ขั้นต่ำ 500 บาท ต่อรายการ

7. คุณสมบัติผู้สมัคร

คุณสมบัติผู้สมัครเป็นไปตามเงื่อนไขที่ธนาคารเป็นผู้กำหนด


⭐ เปิดบัญชี FCD ที่ไหนดี : ธนาคารกสิกรไทย ⭐

เปิดบัญชี FCD ที่ไหนดี : ธนาคารกสิกรไทย

1. อัตราดอกเบี้ย

  • บัญชีเดินสะพัด : ไม่มีการให้อัตราดอกเบี้ย
  • บัญชีออมทรัพย์ : 0.04% ต่อปี 
  • บัญชีเงินฝากประจำ : 0.20% ต่อปี (3 เดือน) และ 0.30% ต่อปี (6 เดือน)

2. เงินฝากขั้นต่ำ 

  • ไม่มีกำหนดขั้นต่ำ

3. ค่าธรรมเนียม กรณียอดเงินคงเหลือเฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าที่กำหนด

  • บัญชีเดินสะพัด : ไม่มีขั้นต่ำ กรณีผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ
  • บัญชีออมทรัพย์ : ไม่มีขั้นต่ำ กรณีผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ
  • บัญชีเงินฝากประจำ : ไม่มีขั้นต่ำ กรณีผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ

4. ค่าธรรมเนียม กรณีบัญชีไม่เคลื่อนไหว

ทุกประเภทบัญชีไม่มีการกำหนดค่าธรรมเนียม

5. ค่าธรรมเนียม Cheque/Draft คืน

ไม่มีการให้บริการ

6. ค่าธรรมเนียมการฝากเงินบัญชี FCD

  • เงินโอนต่างประเทศ (SWIFT/Telex) : ไม่มีค่าธรรมเนียม
  • เงินโอนในประเทศ (ต่างธนาคาร) : ไม่มีค่าธรรมเนียม
  • ธนบัตรต่างประเทศ : 1.00% ขั้นต่ำ 500 บาท ต่อรายการ

7. ค่าธรรมเนียมการถอนเงินบัญชี FCD

  • เงินโอนต่างประเทศ (SWIFT/Telex) : 0.25% ขั้นต่ำ 1,000 บาท ต่อรายการ
  • เงินโอนในประเทศ (ต่างธนาคาร) : ไม่มีค่าธรรมเนียม ขั้นต่ำ 1,000 บาท ต่อรายการ
  • ธนบัตรต่างประเทศ : 1.00% ขั้นต่ำ 1,000 บาท ต่อรายการ

8. คุณสมบัติผู้สมัคร

คุณสมบัติผู้สมัครเป็นไปตามเงื่อนไขที่ธนาคารเป็นผู้กำหนด


สรุป 7 ธนาคาร บัญชี FCD (เงินฝากสกุลเงินต่างประเทศ) ปี 2024

ข้อควรรู้เกี่ยวกับบัญชี FCD

จากที่กล่าวไปข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่ทุกธนาคารที่จะให้อัตราดอกเบี้ยสูง สำหรับบัญชี FCD และมาพร้อมกับการเก็บค่าธรรมเนียมที่ค่อนข้างสูงอีกด้วย ดังนั้น นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ดีและพิจารณาเงื่อนไขก่อนว่า บัญชี FCD ที่คุณสนใจคุ้มค่ากับจำนวนเงินที่นำไปลงทุนหรือไม่? เพื่อให้การลงทุนของคุณมีประสิทธิภาพมากที่สุด


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ FCD บัญชีฝากเงินสกุลเงินต่างประเทศ

เงินฝาก FCD ดีไหม?

เงินฝาก FCD เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี สำหรับคนที่สนใจฝากเงินเป็นสกุลเงินต่างประเทศ เพราะ FCD มีจุดเด่น คือ ไม่จำเป็นต้องเร่งรีบแลกเปลี่ยนเงินตรา เพราะคุณสามารถแลกเปลี่ยนสกุลเงินในเวลาใดก็ได้ และการฝากเงินบัญชี FCD ยังช่วยให้คุณสามารถเก็บสำรองเงินไว้ใช้จ่ายในอนาคตได้อย่างท่วงที

บัญชี FCD มีกี่ประเภท?

บัญชี FCD มีทั้งหมด 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ บัญชีเดินสะพัด, บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ และบัญชีเงินฝากประจำ

FCD เหมาะกับใคร?

FCD เหมาะกับนักลงทุนที่สนใจลงทุนในสกุลเงินต่างประเทศหรือบุคคลธรรมดาทั่วไปที่ต้องการสำรองเงินไว้ใช้ในอนาคต

FCD ย่อมาจากอะไร?

FCD ย่อมาจาก Foriegn Currency Deposit คือ บัญชีเงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศ โดยผู้ฝากเงินสามารถฝากเงินเข้าไปเป็นสกุลเงินต่างประเทศได้ ไม่ว่าจะเป็น USD, JPY หรือ GBP เป็นต้น

FCD เสียภาษีไหม?

สำหรับดอกเบี้ยที่ได้รับจากบัญชี FCD จะได้รับการยกเว้นการเสียภาษีบุคคลธรรมดา ในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยรวมกันไม่เกิน 20,000 บาท ต่อปี

สรุปบัญชี FCD คืออะไร?

ทั้งหมดนี้ก็คือ บัญชี FCD หรือบัญชีเงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศค่ะ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นอีกทางเลือกใหม่ ๆ ให้กับใครที่ต้องการฝากเงินในรูปแบบของสกุลเงินต่างประเทศ โดยในแต่ละธนาคารก็จะให้อัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน แต่เห็นได้ชัดว่า ประเภทบัญชีเงินฝากประจำ 6 เดือนจะให้อัตราดอกเบี้ยสูงเป็นพิเศษ ซึ่งสูงถึง 5.25% ต่อปี

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบัญชี FCD จะให้อัตราดอกเบี้ยสูง แต่ก็มาพร้อมค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติม อีกทั้งบางธนาคารยังให้อัตราดอกเบี้ยที่ไม่ได้สูงมาก เมื่อเทียบกับเงินฝากขั้นต่ำอีกด้วย ดังนั้น ก่อนที่คุณจะตัดสินใจเลือกฝากเงิน FCD ควรคำนวณถึงความเหมาะสมของอัตราดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายให้ดีก่อนนะคะ ด้วยความปรารถนาดีจากทีมงานคุณน้าพาเทรดค่ะ


สำหรับใครที่สนใจอ่านรีวิวโบรกเกอร์ : Review Brokers

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

khunnaphatrade
khunnaphatrade
Recent Post
คู่มือเทรดสำหรับมือใหม่ โบนัสฟรี Forex คืออะไร?
โบนัสฟรี คืออะไร? มีขั้นตอนการรับอย่างไร!

ปัจจุบันโบรกเกอร์มีการงัดกลยุทธ์การตลาดมากมาย เพื่อใช้ในการดึงดูดเทรดเดอร์ให้เข้ามาใช้บริการ ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากก็คือ “การให้โบนัสฟรี” นั่นเอง