การวิเคราะห์การเทรด Forex จากปัจจัยพื้นฐาน

การวิเคราะห์การเทรด Forex จากปัจจัยพื้นฐาน
Table of Contents

หากต้องการเทรด Forex ต้องดูอะไรบ้าง หาสัญญาณการซื้อขายอย่างไร? คุณน้าจะพาทุกคนไปทำความรู้จักการวิเคราะห์การเทรด Forex ด้วยปัจจัยต่าง ๆ กันค่ะ แต่ในวันนี้ จะเริ่มจากปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) ก่อน มาดูว่า ปัจจัยพื้นฐานของตลาด Forex กับหุ้นแตกต่างกันหรือไม่ วิเคราะห์อย่างไรกันค่ะ


การวิเคราะห์การเทรด Forex จากปัจจัยพื้นฐาน

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน คืออะไร ?

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) คือ การประเมินเพื่อหามูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์ โดยวิเคราะห์จากตัวแปรต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ราคาของสินทรัพย์นั้น ๆ ซึ่งทำให้เราเห็นว่า สินทรัพย์นั้นมีราคาถูกหรือแพงนั่นเองค่ะ

ส่วนตัวแปรที่นำมาวิเคราะห์ก็จะแตกต่างกันแล้วแต่สินทรัพย์ เช่น หากเป็นหุ้นก็จะดูงบการเงิน อัตราการแข่งขัน ภาวะเศรษฐกิจเป็นหลัก ขณะที่การซื้อขายสกุลเงินอย่าง Forex จะเน้นไปที่ตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจ สภาพคล่อง ปัจจัยทางการเมือง และปัจจัยอื่น ๆ ค่ะ


การวิเคราะห์การเทรด Forex จากปัจจัยพื้นฐาน

ความสำคัญของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน 

ปัจจัยพื้นฐานสำคัญอย่างไร ทำไมเทรดเดอร์ Forex ถึงต้องสนใจ? โดยปกติแล้ว เทรดเดอร์ Forex มักจะใช้ปัจจัยทางเทคนิคในการวิเคราะห์เพื่อเข้าซื้อคู่เงิน เพราะส่วนมากการซื้อขาย Forex มักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้น หลาย ๆ คนจึงมองข้ามการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานไป แต่อย่างไรก็ดี นั่นถือเป็นสิ่งที่ผิดพลาดอย่างหนึ่งค่ะ

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน นอกจากจะใช้บอกความถูกแพงของสินทรัพย์แล้ว ในวงการ Forex มันยังสามารถบอกจังหวะเข้าและออกออเดอร์ที่ดีให้กับเทรดเดอร์ได้ เพราะการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของราคาเกิดขึ้นอย่างมีที่มาที่ไปเสมอ ดังนั้น การรู้พื้นฐานเศรษฐกิจของแต่ละสกุลเงินจะช่วยให้เราสามารถคาดการณ์การวิ่งของกราฟ Forex ได้ค่ะ

แม้ว่ากับสินทรัพย์อื่น ๆ การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะเหมาะกับการลงทุนในระยะกลาง – ยาวมากกว่า แต่มันก็สามารถปรับใช้กับการซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงินได้เช่นกัน และมักจะเป็นประโยชน์มากสำหรับเทรดเดอร์รายใหญ่ หรือกลุ่มสถาบันค่ะ


การวิเคราะห์การเทรด Forex จากปัจจัยพื้นฐาน

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานตลาด Forex 

ในตลาด Forex การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจำเป็นต้องดูอะไรบ้าง?

1) ข้อมูลทางเศรษฐกิจ

ค่าเงินมักจะขึ้นลงตามสภาวะเศรษฐกิจเป็นหลัก ดังนั้น การเทรด Forex ที่เก็งกำไรจากการเปลี่ยนแปลงราคาค่าเงินจึงต้องให้ความสำคัญกับข่าวและตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจมากเป็นพิเศษ ซึ่งไม่ใช่เพียงข้อมูลฝั่งเดียว แต่ต้องมาจากทั้ง 2 สกุลเงินที่เราทำการซื้อขาย นอกจากนี้ ประเทศที่เราต้องจับตามองมากกว่าใครเพื่อนก็คือ สหรัฐฯ เพราะถือเป็นมหาอำนาจและสกุลเงินหลักของโลกค่ะ

2) ข้อมูลทางการเมือง

ข้อมูลอีกส่วนที่มีความสำคัญไม่แพ้กันเลยก็คือ ข้อมูลทางการเมืองค่ะ เพราะมันส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยตรงของประเทศนั้น ๆ อีกทั้ง ยังมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การลงทุนจากต่างชาติ และค่าเงินต่อไปค่ะ ดังนั้น หากต้องการเทรดค่าเงินของประเทศไหนก็ควรศึกษานโยบายและการเมืองของประเทศนั้น ๆ ด้วย

ทั้ง 2 ข้อมูลนี้ถือเป็นหัวใจหลักของปัจจัยพื้นฐานตลาด Forex เพราะเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบในระยะยาวค่ะ ดังนั้น ก่อนจะลงมือเทรด อย่าลืมติดตามข่าวสารต่าง ๆ กันด้วยนะคะ เพราะทุกครั้งที่มีข่าวสำคัญออกมา ค่าเงินมักจะมีความผันผวนสูงมาก ๆ เลยค่ะ


การวิเคราะห์การเทรด Forex จากปัจจัยพื้นฐาน

อินดิเคเตอร์ของปัจจัยพื้นฐาน

สิ่งที่ใช้วัดเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ ว่า อยู่ในสภาวะใด คือ

อัตราเงินเฟ้อ

ระดับเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว แต่ระดับเงินเฟ้อที่มากเกินไปจะส่งผลต่อความสมดุลของอุปสงค์และอุปทาน ทำให้ค่าเงินแข็งค่าและอ่อนค่า ซึ่งหากเกิดในระยะยาว เศรษฐกิจก็อาจจะหยุดชะงักและเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ เพราะการจับจ่ายใช้สอยถือเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งหากระดับเงินเฟ้อสูง คนก็จะใช้สอยน้อยลงนั่นเองค่ะ

อัตราดอกเบี้ย

สิ่งที่มาควบคู่กับอัตราเงินเฟ้อ ก็คือ อัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นสิ่งที่ธนาคารกลางใช้ในการควบคุมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและค่าเงินค่ะ ดังนั้น การเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยจึงสามารถบอกถึงสภาวะเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ ได้ นับเป็นตัววัดระดับที่มีความสำคัญมากกว่าตัวแปรอื่น ๆ เพราะมีผลกับค่าเงินของประเทศนั้น ๆ โดยตรงค่ะ

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)

GDP ถือเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งหากตัวเลข GDP เพิ่มสูงขึ้น จะหมายความว่า ประเทศนั้น ๆ มีผลผลิตสูง มีความต้องการผลิตภัณฑ์และบริการเพิ่มขึ้น ดังนั้น ค่าเงินของประเทศนั้น ๆ ก็จะมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นค่ะ โดยเฉพาะในประเทศที่เน้นการส่งออก


การวิเคราะห์การเทรด Forex จากปัจจัยพื้นฐาน

ข้อดี/ข้อเสียของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

ข้อดี

  • ทำให้เห็นภาพรวมของการขึ้นลงของราคา
  • คาดการณ์ทิศทางของกราฟได้แม่นยำขึ้น
  • เปิดสัญญาณการเทรด จับจังหวะเข้าและออกออเดอร์
  • ลดความเสี่ยงในการขาดทุน
  • ขจัดอคติหรืออารมณ์ร่วมในการตัดสินใจ

ข้อเสีย

  • การวิเคราะห์อาจผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อน ทำให้จับสัญญาณผิด
  • การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานต้องใช้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจมากเป็นพิเศษ 
  • ใช้เวลานานในการวิเคราะห์ ต้องติดตามข่าวสารอยู่เสมอ
  • ต้องใช้ความเป็นกลางในการประเมินข้อมูลต่าง ๆ ค่อนข้างสูง


สรุปรวม การวิเคราะห์การเทรด Forex จากปัจจัยพื้นฐาน

โดยสรุปแล้ว การวิเคราะห์การเทรด Forex จากปัจจัยพื้นฐาน ก็คือ การประเมินสินทรัพย์เพื่อหาราคาที่เหมาะสม โดยใช้ข้อมูลทางเศรษฐกิจในการวิเคราะห์ค่ะ แต่อย่างไรก็ดี เราควรใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและเทคนิคร่วมกัน เพื่อหาสัญญาณการซื้อขายที่ดีที่สุด หรือลดโอกาสที่ขาดทุนที่จะเกิดขึ้นค่ะ


ขอบคุณข้อมูลจาก : Admiralmarkets, Investopedia

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

Picture of khunnaphatrade
khunnaphatrade
Recent Post
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 มกราคม 2568
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 มกราคม 2568 By คุณน้าพาเทรด

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 มกราคม 2568 ซึ่งมีข่าวสำคัญจากสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า ราคาทองคำจะปรับตัวลงไปทดสอบแนวรับที่ 2,690 ดอลลาร์อีกครั้งค่ะ

Exness ดีไหม? รีวิวทุกข้อสำคัญ ปี 2025
Exness ดีไหม? รีวิวทุกข้อสำคัญ ฉบับอัปเดตปี 2025

วันนี้คุณน้าเลยอยากจะหยิบยกโบรกเกอร์ Exness มาให้ทุกคนได้อ่านกัน เผื่อว่าท่านใดที่สนใจหาข้อมูลโบรกเกอร์อยู่จะใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ

Day Trade คืออะไร เรียนรู้การเป็นเทรดเดอร์รายวันแบบละเอียด
Day Trade คืออะไร? เรียนรู้การเป็นเทรดเดอร์รายวันแบบละเอียด

Day Trade (เดย์เทรด) คือ กลยุทธ์สำหรับเทรดเดอร์ที่ชื่นชอบการเปิดปิดออเดอร์ภายในวันเดียว ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นนักเก็งกำไรระยะสั้น

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 13 มกราคม 2568
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 13 มกราคม 2568 By คุณน้าพาเทรด

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันจันทร์ที่ 13 มกราคม 2568 กันค่า วิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ บทวิเคราะห์ภาพรวมปัจจัยพื้นฐาน เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาราคาทองคำปรับตัวขึ้น 18