วัฏจักรเศรษฐกิจ (Economic Cycle) เป็นอีกหนึ่งองค์ความรู้ที่ไม่ควรพลาดสำหรับสายลงทุนค่ะ เพราะช่วยให้เราเห็นภาพรวมของตลาด และคาดการณ์ตลาดได้ดียิ่งขึ้น แถมยังช่วยให้เราสามารถวางแผนการลงทุนได้ดีอีกด้วยค่ะ
Economic Cycle หรือ วัฏจักรเศรษฐกิจ คืออะไร ?
วัฏจักรเศรษฐกิจ คือ ระบบวงจรของเศรษฐกิจที่จะเคลื่อนตัวเป็นแบบต่าง ๆ ซึ่งจะมีรูปแบบแตกต่างกันไปค่ะ ซึ่งรูปแบบของแต่ละเศรษฐกิจก็จะระบุได้ว่า ในประเทศกำลังอยู่ในสภาวะใด
โดยมี 4 รูปแบบหลักในวงจรวัฏจักร ซึ่งประกอบด้วย
- ช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว (Recovery)
- ช่วงเศรษฐกิจรุ่งเรือง (Peak)
- ช่วงเศรษฐกิจถดถอย (Recession)
- ช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ (Trough)
ปัจจัยที่ส่งผล และกำหนดระยะของวัฏจักรเศรษฐกิจแบบต่าง ๆ ได้แก่
- ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)
- อัตราการจ้างงาน
- ปริมาณการใช้จ่ายของผู้บริโภค
- อัตราดอกเบี้ย
สาเหตุอะไรบ้างที่ส่งผลให้เกิดวัฏจักรเศรษฐกิจแบบต่าง ๆ
สาเหตุที่จะทำให้เกิดวัฏจักรเศรษฐกิจ จะมีลำดับขั้นดังนี้
- ต้องมีการพิจารณาอุปสงค์รวม
- ถ้าหากปัจจัยด้านอุปสงค์มีการเปลี่ยนแปลง ก็อาจทำให้เกิด AD Shock ขึ้นได้ (Agressive Demands Shock = การเพิ่ม หรือลดความต้องการในสินค้าและบริการแบบกระทันหัน มักเกินขึ้นชั่วคราว)
- เมื่อเกิด AD Shock จะทำให้อุปทานรวมเกิดการเปลี่ยนแปลง
- เมื่ออุปทานรวมเปลี่ยนแปลง ก็จะส่งผลแก่เศรษฐกิจ กลายเป็นวัฏจักรเศรษฐกิจในรูปแบบต่าง ๆ
ถ้าหากเรารู้จักวัฏจักรเศรษฐกิจ (Economic Cycle) จะมีประโยชน์อย่างไร ?
การรู้และเข้าใจในวัฏจักรเศรษฐกิจนั้น เรียกได้ว่า เป็นตัวช่วยสำคัญมาก ๆ เนื่องจากจะทำให้เราคาดการณ์เศรษฐกิจได้ โดยเฉพาะในกลุ่มนักลงทุน หรือผู้ประกอบการค่ะ เพราะสามารถหาโอกาสในการลงทุนได้อย่างเหมาะสม รู้ว่าเมื่อไหร่ควรระวัง หรือรู้จังหวะขึ้นลงของเศรษฐกิจ จนสามารถวิเคราะห์ได้ว่า อุตสาหกรรมแบบไหนที่จะได้ประโยชน์ หรือเสียประโยชน์ในเศรษฐกิจรูปแบบต่าง ๆ ด้วย
ประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการ
ถ้าเศรษฐกิจขยายตัว: สามารถเพิ่มกำลังการผลิต มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูง
ถ้าเศรษฐกิจถดถอย: เตรียมการลดการผลิต ลดค่าใช้จ่าย เพื่อป้องกันการขนาดทุน สำรองเงินสดไว้เผื่อลงทุน
วัฏจักรเศรษฐกิจทั้ง 4 รูปแบบ
ช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว (Recovery)
เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวหลังจากผ่านภาวะตกต่ำมา ผลประกอบการเริ่มดีขึ้น
จุดสังเกต
- เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ
- สินค้ามีแนวโน้มราคาสูงขึ้น
- GDP Growth ปรับตัวเพิ่มขึ้น
- ธนาคารปล่อยสินเชื่อต่ำ
- การผลิต และการจ้างงานเริ่มเพิ่มขึ้น
ช่วงเศรษฐกิจรุ่งเรือง (Peak)
เป็นเศรษฐกิจที่ผ่านช่วงฟื้นตัวมาแล้ว และกำลังขยายตัวต่อเนื่อง
จุดสังเกต
- เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นตามเศรษฐกิจ
- GDP สูง แต่เริ่มช้าลงจากไตรมาสก่อน
- การผลิต และการจ้างงานอยู่ในระดับสูง
- มีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
- ราคาสินค้าและบริการสูง กดดันให้เงินเฟ้อเพิ่ม
ช่วงเศรษฐกิจถดถอย (Recession)
เศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวลงจากการฟื้นฟูและขยายตัว สังเกตได้จากตัวเลขทางเศรษฐกิจ
จุดสังเกต
- เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง
- GDP เริ่มชะลอตัวลง
- การผลิต และการจ้างงานลดลง
- ผู้คนเริ่มไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย
- ราคาสินค้าบางตัวเริ่มปรับตัวต่ำลง
ช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ (Trough)
เป็นสภาวะที่เศรษฐกิจปรับหดตัว ทำให้ตัวเลขว่างงานสูงจนส่งผลให้รายได้ประชาชนลดลง
จุดสังเกต
- เงินเฟ้อปรับตัวลดลง
- GDP ลดลงต่ำจนอาจจะต่ำสุด
- การผลิตต่ำลง และอัตราว่างงานสูงขึ้น
- ผู้คนไม่มีกำลังซื้อ
- ราคาสินค้าต่ำลงจนล้นตลาด
สรุป
จากที่คุณน้ากล่าวมาข้างต้นนั้น การรู้จักกับวัฏจักรเศรษฐกิจทำให้เรารู้ว่า เศรษฐกิจของเราเป็นไปในรูปแบบได เพื่อที่เราจะสามารถนำมาปรับใช้กับการลงทุนได้ด้วยค่ะ
สำหรับใครที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐกิจเพิ่มเติม คุณน้าขอแนะนำเนื้อหาจากทาง Forexlearning เลยค่ะ เป็นวิดีโอที่ช่วยให้เราเข้าใจภาพรวมเศรษฐกิจได้มากขึ้น และนำมาปรับใช้กับการลงทุนได้ดีมาก ๆ เลย
หรือจะเป็นเรื่องมาตรการ QE ที่เกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจที่จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเงินในระบบ เนื่องจากหลายประเทศก็ได้มีการนำมาตรการ QE ไปปรับใช้เพื่อปรับปรุงให้ระบบเศรษฐกิจดีขึ้น
สำหรับใครที่สนใจอ่านรีวิวโบรกเกอร์อื่น ๆ : Review Brokers
บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing
คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge