เป็นข่าวใหญ่กันมาแล้วนะคะ กับข่าว ยุบสภา ที่เพิ่งถูกประกาศมาเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา จนทำให้คนไทยเรากำลังตั้งหน้าตั้งตารอเลยว่าทิศทางประเทศไทยจะเป็นอย่างไรต่อไป วันนี้คุณน้าเลยอยากจะมานำเสนอว่าการยุบสภานั้นจะส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างไรบ้าง ก่อนอื่นมาดูความหมายของการยุบสภากันดีกว่าค่ะ
การยุบสภา คืออะไร ?
การยุบสภา ตามความหมายของคำศัพท์รัฐสภานั้น คือการที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะนั้น พ้นจากตำแหน่งหรือสถานะทางการเมืองที่เป็นสมาชิกผู้แทนราษฎร และต้องมีการจัดเลือกตั้งเพื่อหาสมาชิกผู้แทนราษฎรใหม่ขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่แทน
เหตุการณ์การยุบสภาในประเทศไทย
หากพูดถึงการยุบสภา คงต้องบอกว่าครั้งนี้เป็นการยุบสภาครั้งที่ 15 แล้วค่ะ ซึ่งการยุบสภาครั้งแรกเกิดขึ้นในยุคนายกรัฐมนตรีคนที่สองของประเทศไทยเมื่อปี 2481 เลยค่ะ และครั้งล่าสุดก่อนครั้งนี้ก็คือเมื่อ 10 ปีที่แล้วในยุครัฐบาลของนายกยิ่งลักษณ์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556
การยุบสภา ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยอย่างไร ?
ผลเชิงลบต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
คงต้องบอกเลยว่าถ้าหากประเทศไหนที่มีการเมืองดี ก็ช่วยให้นักลงทุนทั้งในและนอกประเทศไว้วางใจและให้ความเชื่อมั่นได้ค่ะ ดังนั้นเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมืองในประเทศ ก็จะเกิดความไม่แน่นอนด้านการเมืองส่งผลเชิงลบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงดัชนีย่อยส่งผลเชิงลบด้วยค่ะ
ผลเชิงลบต่ออุตสาหกรรมในด้านต่าง ๆ
เพราะปัญหาด้านการเมืองอาจส่งผลมากกว่าที่คิดได้เมื่อเกิดความไม่มั่นใจต่อนักลงทุนทั้งในและนอกประเทศ รวมไปถึงอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ ด้วยค่ะ ซึ่งอุตสาหกรรมที่มักได้รับผลกระทบมากสุดมีดังนี้
- สาขาการโรงแรม เนื่องจากนักท่องเที่ยวอาจจะเกิดความไม่มั่นใจในความปลอดภัย
- สาขาการผลิต โดยเฉพาะการการก่อสร้าง เนื่องจากยังไม่เหมาะกับการลงทุนหากการเมืองมีปัญหา
- ด้านอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากนักลงทุนหรือผู้ซื้อขายอาจจะรอดูมาตราการของทางรัฐบาลใหม่ก่อน
- สาขาบริการขนส่ง เนื่องจากเกิดควาไม่มั่นใจ จะทำให้เกิดการเดินทางน้อยลง
ส่งผลต่อราคาในตลาดหลักทรัพย์
ต้องบอกเลยว่าการขัดแย้งชุมนุม ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก ทำรัฐประหาร ปฏิรูป จะส่งผลต่อตลาดหลักทรัพย์มีความผันผวนด้วยเช่นกันค่ะ
ก้าวต่อไปของเศรษฐกิจไทยหลังยุบสภาจะเป็นอย่างไร ?
คงต้องบอกเลยว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในรอบ 8 ปีเลยทีเดียวค่ะ เพราะนั่นหมายความว่าเราอาจจะมีรัฐบาลใหม่ในรอบ 8 ปี เพราะล่าสุดประเทศไทยเพิ่งได้มีการประกาศยุบสภาและมีผลตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2566 ที่เพิ่งผ่านมานี่เองค่ะ นั่นแปลว่าจะต้องมีการกำหนดวันเลือกตั้งภายในไม่น้อยกว่า 45 วัน และไม่เกิน 60 วันหลังจากวันยุบสภา ซึ่งกกต.หรือ คณะกรรมการการเลือกตั้งจะเป็นผู้กำหนดค่ะ โดยเป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 103 กำหนดไว้
หากเราต้องการให้เกิดความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมืองรวมถึงเรื่องต่าง ๆ อย่าลืมออกไปใช้สิทธิ์ใช้เสียงกันนะคะ ใครไม่สะดวกก็สามารถเลือกตั้งล่วงหน้าได้ เพราะการเมืองไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่เป็นเรื่องของทุกคนค่ะ
สำหรับใครที่สนใจอ่านรีวิวโบรกเกอร์ : Review Brokers
บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing
คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge