Crypto101: อย่าหาว่าไม่เตือน! 3 ความเสี่ยงจาก Yield Farming

ความเสี่ยงจาก Yield Farming
Table of Contents

การทำฟาร์มนี่ถือว่าเป็นการธุรกิจที่แขวนอยู่บนเส้นด้ายตลอดเวลาเลยนะคะ ไม่ว่าจะเป็นการทำฟาร์มจริงๆ หรือการทำฟาร์มบนโลกดิจิทัล (DeFi Yield Farming) สำหรับชาวนาดิจิทัลแล้วก็เหมือนกับชาวนาทั่วๆ ไป นั่นก็คือควรคำนึงถึง “ความเสี่ยงจาก Yield Farming” ที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติ หรือภัยที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถกวาดผลประกอบการของเราหายไปได้ในพริบตา

โดยความเสี่ยงจาก Yield Farming ที่คุณน้าจะกล่าวถึงก็มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทค่ะนั่นก็คือ ความเสี่ยงจาก Smart Contract, Impermanent loss risk, และ Liquidation risk

ความเสี่ยงจาก Smart Contract

Smart Contract นั้นจะได้รับการยอมรับว่าปลอดภัยและมีความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรมมาก ซึ่งเทคโนโลยีนี้ช่วยป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดจากมนุษย์

แต่อย่างไรก็ตาม Smart Contract เองก็เป็นเพียงโค้ดคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดบั๊กได้เช่นเดียวกันค่ะ โดยตรงนี้เราก็ไม่สามารถโทษใครได้ค่ะ เพราะนักพัฒนาก็จะพยายามเต็มที่เพื่อที่จะให้ผลงานของตัวเองออกมาดี แต่ในทุกๆอย่างก็มีข้อผิดพลาดได้เสมอค่ะ ซึ่งช่องโหว่ตรงนี้ก็สามารถเป็นช่องที่ทำให้แฮ็กเกอร์มาขโมยเงินของเราไปได้ค่ะ 

วิธีป้องกันตัว ?

ตรงนี้คุณน้าบอกเลยว่าค่อนข้างยากนะคะ แต่เราก็สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการใช้บริการแพลทฟอร์มที่ได้รับการ Audit ค่ะ ซึ่งการ Audit ก็คือการตรวจสอบโค้ดนั่นเองค่ะ ก็จะช่วยแบ่งเบาความเสี่ยงไปได้บ้างค่ะ

Impermanent loss

หลาย ๆ โปรเจ็กต์อย่าง UniSwap หรือโปรเจ็กต์ AMMs อื่นๆที่คล้ายกันมักจะให้ผู้ใช้เก็บเงินไว้ใน liquidity pool เพื่อรับผลตอบแทนและเก็บค่าธรรมเนียมการเทรดผ่านผู้ใช้ ซึ่งก็ถือเป็น Passive Income ที่ดีที่ไม่สนใจความเชื่อมั่นของตลาด

อย่างไรก็ตาม ความผันผวนของราคาเหรียญในตลาดก็สามารถทำให้เราเจ็บตัวได้เช่นกันค่ะ อย่างที่ทุกคนทราบว่าตลาดคริปโตมีความอ่อนไหวค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับตลาดอื่นๆแล้ว หากเหรียญคริปโตที่นำไปทำ Yield Farming มีราคาในตลาดที่ลดลง เช่น ตอนนำ BTC ไปทำฟาร์มราคาอยู่ที่ 50,000 ดอลลาร์ แต่ต่อมาราคาลดลงเหลือ 40,000 ดอลลาร์ ทำให้ผลตอบแทนจากการทำฟาร์มลดลง ซึ่งตรงนี้ก็เรียกว่า Impermanent loss นั่นเองค่ะ

Liquidation risk

ในระบบการเงินแบบดั้งเดิม สถาบันการเงินต่างๆ เช่น ธนาคาร จัดให้มีสภาพคล่องโดยใช้เงินฝากจากลูกค้า โดยธนาคารได้รับประโยชน์จากการให้กู้ยืมเงินแก่ผู้กู้หรือลงทุนในสินทรัพย์ แต่อุตสาหกรรม DeFi เลิกใช้ตัวกลางและอนุญาตทุกคนสามารถทำธุรกรรมระหว่างกันโดยตรง ทำให้กระบวนการทั้งหมดง่ายขึ้น ถูกลง และโปร่งใสมากขึ้น

สรุป

อย่างไรก็ตาม ข้อดีเหล่านี้มาพร้อมกับความเสี่ยงในการชำระบัญชีหากราคาของหลักประกันลดลงต่ำกว่าราคาเงินกู้ ในกรณีนี้ไม่เพียงพอต่อยอดเงินกู้อีกต่อไป จึงมีการชำระบัญชี ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้ต้องแบกรับความสูญเสียเอาไว้เอง ตรงนี้อาจจะงงๆกันใช่ไหมนะ เดี๋ยวคุณน้าจะยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆค่ะ สมมติว่าเราได้ทำการกู้ BTC ผ่าน AAVE และใช้ ETH เป็นหลักประกัน การเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะของ BTC จะสร้าง Liquidation risk ให้กับ ETH เพราะว่าค้ำประกันเราจะน้อยกว่ามูลค่าของ BTC ที่เรากู้มา และนี้ก็คือความเสี่ยงจาก Yield Farming ที่คุณน้าได้รวบรวมมาให้ทุกคนได้ศึกษากันค่ะ หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์แก่เทรดเดอร์ทุกคนนะคะ สำหรับวันนี้ ขอบคุณและสวัสดีค่ะ


สำหรับใครที่สนใจอ่านรีวิวโบรกเกอร์อื่น ๆ : Review Brokers

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

ขอบคุณข้อมูลจาก : Finxpd

คุณหลาน
คุณหลาน
Recent Post
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 16 ธันวาคม 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 16 ธันวาคม 2567 By คุณน้าพาเทรด

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 16 ธันวาคม 2567 ซึ่งมีข่าวสำคัญจากสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า ราคาทองคำมีโอกาสปรับตัวลงไปที่บริเวณ 2,645-2,647 ดอลลาร์ และเกิด QM ค่ะ

แนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุน ต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส
แนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุน ต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส

คุณน้าจะขอแนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุนต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส ไปกับตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นสหรัฐฯ เพื่อเป็นการเอาฤกษ์เอาชัย ก่อนจะเริ่มต้นปี 2025 กันค่ะ

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 11 ธันวาคม 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 11 ธันวาคม 2567 By คุณน้าพาเทรด

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันพุธที่ 11 ธันวาคม 2567 กันค่า วิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ เมื่อวานนี้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นกว่า 33 ดอลลาร์