ในยุคที่เราสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ผ่านอินเตอร์เน็ตได้ อะไรก็ง่ายไปหมด แม้กระทั่งการสร้างรายได้ หรือทำกำไรผ่านทางอินเตอร์เน็ตเช่นกันค่ะ ดังนั้นวันนี้คุณน้าจะพาทุกคนมารู้จักกับ Yield Farming ค่ะ Yield Farming คือ? มันคือการฟาร์มอะไรนะ? คุณน้าเชื่อว่ามือใหม่ในวงการ DeFi ยังคงงง ๆ สับสนกับคำนี้อยู่ใช่ไหมคะ ไม่ต้องกังวลใจไปค่ะ วันนี้คุณน้าจะมาอธิบายถึงเจ้า Yield Farming กันค่ะ
อันดับแรกเลยเราต้องทำความเข้าใจกับคำว่า DeFi กันก่อนค่ะ แต่ถ้าใครยังไม่เข้าใจหรือยังงงๆ อยู่ไม่ต้องกลัวนะคะ
แต่คุณน้าจะมาสรุปให้ฟังอีกรอบค่ะ DeFi (Decentralized Finance) หรือระบบการเงินแบบไร้ตัวกลางก็คือธนาคารในรูปแบบใหม่ ที่ถูกสร้างขึ้นมาบน Blockchain โดยเปิดให้ทำธุรกรรมได้หลากหลาย ตั้งแต่ ฝาก ถอน โอน เทรด หรือแม้กระทั่งกู้ยืมค่ะ ซึ่งการกู้ยืมตรงนี้ค่ะที่สามารถกลายมาเป็น Yield Farming ได้ค่ะ
ความหมายของ Yield Farming คืออะไร
Yield Farming คือ การปล่อยให้เหรียญคริปโตของเราทำหน้าที่มันไปค่ะ เหมือนการฝากเงินกับธนาคารแต่เปลี่ยนจากเงินสดเป็นเหรียญคริปโตแทนค่ะ โดยแพลทฟอร์ม DeFi ก็จะทำหน้าที่เป็นธนาคาร แล้วตัว DeFi หรือธนาคารก็มีหน้าที่ในการหาลูกค้ามาทำธุรกรรมเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับระบบ แล้วหลังจากนั้นตัวแพลทฟอร์ม DeFi ก็จะนำกำไรหรือผลตอบแทนมาคืนให้เรานั่นเองค่ะ แบบนี้ถือว่าได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่ายเลยทีเดียว เพราะทางแพลทฟอร์ม DeFi ก็ได้เหรียญไปเสริมสภาพคล่อง ส่วนเราก็ได้รับกำไรนั่นเองค่ะ แต่แน่นอนค่ะว่ามันก็มีความเสี่ยงเช่นกัน
ถ้าสนใจ Yield Farming ควรเริ่มอย่างไร
ถ้าหากเราสนใจการทำ Yield Farming ขั้นตอนแรกเราควรศึกษาเกี่ยวกับ DeFi ให้ดีก่อนค่ะ ว่า DeFi มีกี่ประเภท มีแพลทฟอร์มเจ้าไหนบ้าง ใครเป็นผู้สร้าง เชื่อถือได้หรือไม่ โดยเราสามารถหาข้อมูลทั่วไปได้ตามอินเตอร์เน็ตเลยค่ะ คุณน้าแนะนำเว็บไซต์นี้เลยค่ะ DeFiPulse.com
จากนั้นเราก็ต้องมี Digital Wallet ที่รองรับค่ะ ซึ่งบางตัวก็รองรับการใช้งานในมือถือ บางตัวก็ต้องใช้งานบนคอมพิวเตอร์เท่านั้นค่ะ ตรงนี้ก็สามารถเลือกใช้บริการได้ตามใจชอบเลยค่ะ
ขั้นตอนที่สามคือเราต้องมีเหรียญที่แพลทฟอร์มนั้น ๆ รองรับค่ะ โดยเราสามารถหาข้อมูลเหรียญที่น่าสนใจได้ตามเว็บไซต์ต่างๆ
ขั้นตอนนี้คือขั้นตอนที่สำคัญมากค่ะ นั่นก็คือเราต้องมีแอพ DeFi เพื่อทำการ Yield Farming นั่นเองค่ะ โดยตรงนี้ก็มีแพลทฟอร์มมากมายให้เราได้เลือกใช้ค่ะ เช่น UniSwap, Compound, AAVE เป็นต้น
สรุป
ทั้งนี้ทั้งนั้น ในการใช้งาน DeFi ผู้ใช้ควรมีความรู้พื้นฐานและศึกษา DeFi แต่ละตัว เพื่อให้รู้ถึงระบบการทำงาน และเหรียญที่รองรับของ DeFi นั้น ๆ ให้ละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อน เนื่องจากมีความเป็นไปได้ว่า ถ้าเกิดฝากเหรียญผิดประเภท เหรียญอาจหายและไม่สามารถกู้กลับคืนมาได้ หรือเผลอใช้บริการของ DeFi ที่เป็น Scam ก็อาจถูกหลอกเอาเงินไปได้เลยเช่นกัน
สำหรับใครที่สนใจอ่านรีวิวโบรกเกอร์อื่น ๆ : Review Brokers
บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing
คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge
ขอบคุณข้อมูลจาก : Finxpd