สินค้าโภคภัณฑ์ หรือ Commodity คือ ประเภทสินค้าที่ได้รับความนิยมในการลงทุน หรือการเทรดเป็นอย่างมาก แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) นั้นมีอะไรบ้าง วันนี้ คุณน้าพาเทรดอยากพาทุกคนมาทำความรู้จักว่า สินค้าโภคภัณฑ์ หรือ Commodity คืออะไร และจะลงทุนกับสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) ได้อย่างไรบ้างค่ะ
สินค้าโภคภัณฑ์ หรือ Commodity คืออะไร ?
สินค้าโภคภัณฑ์ หรือ Commodity คือ สินค้าที่สามารถหาซื้อได้ทั่วโลก ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนกัน หรือคล้ายกันอยู่เสมอค่ะ อย่างเช่น คุณน้าอยากซื้อข้าวโพด คุณน้าก็สามารถหาซื้อข้าวโพดได้จากหลายประเทศ แต่ก็อาจจะมีลักษณะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย สินค้าโภคภัณฑ์สามารถใช้เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ หรือทั่วโลกเราได้ด้วยค่ะ
ประเภทของสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity)
สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ซึ่งจะแบ่งตามลักษณะของสินค้าค่ะ โดยแบ่งได้เป็น
1) Soft Commodities
Soft Commodities ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ที่ต้องปลูกและดูแล เช่น พืชผลทางการเกษตร ปศุสัตว์ เช่น ข้าวโพด, ข้าว, เนื้อสัตว์ เป็นต้น สินค้าเหล่านี้มีความผันผวนมากขึ้น เนื่องจากกลไกการกำหนดราคาขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกหลายประการ การผลิตสินค้าดังกล่าวขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของประเทศนั้นเป็นส่วนใหญ่ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
2) Hard Commodities
Hard Commodities ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แร่โลหะ, น้ำมันสำรอง, แร่เงิน เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ และสามารถตรวจสอบความต้องการทรัพยากรดังกล่าวทั่วโลก เพื่อวัดความมั่นคงในอนาคตของเศรษฐกิจได้อีกด้วยค่ะ เพราะว่าเป็นอุปสงค์และอุปทานของผลิตภัณฑ์ สามารถคาดการณ์ได้เป็นส่วนใหญ่ ทำให้รู้ว่า แต่ละประเทศ หรือทั่วโลกนั้นมีลักษณะเศรษฐกิจเป็นอย่างไรบ้าง
ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity)
ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) ผันผวนได้ด้วยหลายปัจจัย ซึ่งปัจจัยหลัก คือ อุปสงค์และอุปทาน (Demand and Supply) ดังนั้นแล้ว ถ้าหากการผลิตสามารถผลิตออกมาได้น้อยลง แต่ความต้องการยังเท่าเดิม ก็จะทำให้เกิดภาวะ Supply Shock หรืออุปทานลดลงอย่างกะทันหัน จนทำให้ราคาสินค้าที่ผลิตได้น้อยราคาสูงขึ้นนั่นเองค่ะ
นอกจากนี้ ยังมีสถานการณ์เศรษฐกิจ, การเมือง, สังคม, สถานการณ์ต่าง ๆ รอบโลก, ตัวนักลงทุน, ฤดูกาลเก็บเกี่ยวที่มีผลต่อราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ด้วยค่ะ
กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ 5 กลุ่ม (Commodity)
กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ 5 กลุ่ม มีดังนี้
1) สินค้าด้านพลังงาน (Energy)
สินค้าด้านพลังงาน คือ สินค้าที่สามารถเปลี่ยนจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้สินค้าที่ให้พลังงาน ตัวอย่างเช่น น้ำมันดิบ, น้ำมันเตา, ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น
2) โลหะอุตสาหกรรม (Industrial Metals)
ตัวอย่างเช่น อลูมิเนียม, ทองแดง, ตะกั่ว เป็นต้น
3) โลหะมีค่า (Precious Metals)
ตัวอย่างเช่น ทองคำ และเงิน เป็นต้น
4) สินค้าเกษตร (Agricultural)
ตัวอย่างเช่น ข้าวโพด, ถั่วเหลือง, กาแฟ, น้ำตาล เป็นต้น
5) สินค้าปศุสัตว์ (Livestock)
ตัวอย่างเช่น การเลี้ยงสัตว์ไว้เพื่อขายแบบให้ผู้อื่นนำไปเลี้ยงต่อ, การเลี้ยงสัตว์เพื่อให้ได้น้ำหนักที่ต้องการแล้วนำไปขาย, การเลี้ยงสัตว์จนถึงน้ำหนักที่ต้องการแล้วนำไปแปรรูปเพื่อขาย (เช่น เนื้อหมูบด)
ลงทุนกับ Commodity ได้อย่างไรบ้าง ?
สำหรับใครที่สนใจลงทุนกับสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) สามารถทำได้ 3 วิธี ดังนี้ค่ะ
1. ลงทุนสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) ได้โดยตรง
การลงทุนโดยตรง คือ การทำสัญญาการซื้อขายแบบที่ได้สินค้าจริง เลือกลงทุนในสิ่งที่เราต้องการ
2. ลงทุนสินค้าโภคภัณฑ์ได้ในสัญญาล่วงหน้า (Commodity Futures)
เราจะลงทุนซื้อขายในราคาล่วงหน้า เหมือนกันการเทรด โดยเราจะไม่ได้รับสินค้าจริง แต่จะได้กำไรจากส่วนต่างของราคา เมื่อเวลาผ่านไป
3. ลงทุนสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) ได้ทางอ้อม
การลงทุนทางอ้อม คือ สามารถซื้อขายผ่านกองทุนรวม หรือจะซื้อขายผ่าน ETF รวมไปถึงซื้อหุ้นของทางบริษัทที่มีสินค้าโภคภัณฑ์ก็ได้เช่นกันค่ะ
สรุป
สินค้าโภคภัณฑ์ หรือ Commodity คือสินค้าที่มีลักษณะเหมือนกันจึงทำให้สามารถซื้อได้ทั่วโลก เช่น น้ำตาล, กาแฟ และน้ำมันเป็นต้น โดยสินค้าโภคภัณฑ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ Soft Commodity เป็นสินค้าที่ต้องปลูกและดูแล และ Hard Commodity เป็นสินค้าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์เศรษฐกิจ, การเมือง, และสังคม ดังนั้นนักลงทุนอย่างเราจึงต้องติดตามสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อที่เราจะคาดการณ์แนวโน้มราคาสินทรัพย์ที่จะลงทุนได้ โดยนักลงทุนสามารถลงทุนสินค้าโภคภัณฑ์ได้โดยวิธีการ ดังนี้ ลงทุนโดยตรง, ลงทุนแบบซื้อสัญญาล่วงหน้า และลงทุนได้ทางอ้อม ซึ่งนักลงทุนสามารถเลือกวิธีที่เหมาะสมกับตัวเองได้
อย่างไรก็ตามการลงทุนย่อมมีความเสี่ยงเสมอ ดังนั้นก่อนที่เราจะลงทุนควรศึกษาข้อมูลสินทรัพย์และระดับความเสี่ยงที่เราสามารถยอมได้กันด้วยนะคะ
บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : คลิกที่นี่
คลังความรู้จากคุณน้า : คลิกที่นี่
ขอบคุณข้อมูลจาก : Investopedia