PMI คืออะไร ? ทำไมเทรดเดอร์ควรติดตามข่าว PMI อัปเดต 2024

ข่าว PMI คืออะไร
Table of Contents

การเป็นเทรดเดอร์หรือนักลงทุนจำเป็นอย่างมากที่ต้องรู้แนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศหรือภูมิภาคนั้น ๆ เพราะถ้าเรารู้ข้อมูลเหล่านี้แล้ว จะทำให้สามารถคาดการณ์สิ่งที่จะที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งหนึ่งใน Indicators ที่นักลงทุนมืออาชีพมักจะใช้เป็นประจำเพื่อวิเคราะห์ดูแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคตก็คือ “ดัชนี PMI” วันนี้คุณน้าจึงได้รวบรวมสิ่งที่เทรดเดอร์ควรรู้เกี่ยวกับดัชนี PMI มาไว้ให้แล้ว ถ้าพร้อมแล้ว…ไปเริ่มกันเลยค่ะ


PMI คืออะไร ?

PMI (Purchasing Managers Index) คือ เป็นดัชนีที่ใช้วัดการเติบโตของธุรกิจภาคการผลิตหรือภาคการบริการ โดยปกติแล้วจะใช้ดัชนีนี้เป็นตัวชี้วัดการเติบโตหรืออาจจะใช้ Gross Domestic Product (GDP) แทนก็ได้ แต่สิ่งสำคัญคือธนาคารกลางใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการกำหนดนโยบายการเงิน ไม่เพียงแต่ข้อมูล PMI ทั้งหมดเท่านั้น แต่ส่วนประกอบแต่ละตัวก็สามารถนำไปใช้ในตลาดต่าง ๆ ได้ด้วยค่ะ

ข่าว PMI คือ


ใครเป็นคนจัดทำดัชนี PMI

สำหรับดัชนี PMI ไม่ได้ถูกจัดทำโดยองค์กรใดองค์กรหนึ่งแต่ร่วมกันจัดทำกับสถาบันหรือองค์กรต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ ดังนี้ค่ะ

ผู้จัดทำดัชนี PMI ภายในประเทศไทย

  • ธนาคารกลางแห่งประเทศไทย : จัดทำดัชนี “PMI ภาคการผลิตและภาคบริการ” ร่วมกับ Markit Economics
  • สมาคมผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อแห่งประเทศไทย : จัดทำดัชนี “PMI ภาคการผลิต”

ผู้จัดทำดัชนี PMI ในต่างประเทศ

  • IHS Markit : จัดทำดัชนี PMI ในกว่า 30 ประเทศทั่วโลก
  • JPMorgan Chase : จัดทำดัชนี PMI ในประเทศสหรัฐอเมริกา
  • Caixin Media Company Ltd : จัดทำดัชนี PMI ในประเทศจีน

PMI แบ่งเป็นกี่ดัชนี ?

ดัชนี PMI แบ่งเป็น 2 ดัชนีหลัก ดังนี้

  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Manufacturing PMI)
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ (Non-Manufacturing PMI หรือ Service PMI)

ตัวแปรที่ใช้ในการคำนวณดัชนี PMI

ในการคำนวณดัชนี PMI จะมีการคำนึงถึง 5 ตัวแปรและมีค่าน้ำหนักที่นำมาใช้ในการคำนวณในแต่ละตัวแปรไม่เท่ากันดังนี้ค่ะ

  • คำสั่งซื้อใหม่ (New Order) ให้ค่าน้ำหนัก 0.30
  • ผลผลิต (Output) ให้ค่าน้ำหนัก 0.25
  • การจ้างงาน (Employment) ให้ค่าน้ำหนัก 0.20
  • เวลาขนส่งของวัตถุดิบ (Supplier’s Delivery Times) ให้ค่าน้ำหนัก 0.15
  • สินค้าคงคลังวัตถุดิบ (Stock of items Purchased) ให้ค่าน้ำหนัก 0.10

โดยทั้ง 5 ตัวแปรนี้จะบ่งชี้ถึงแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยหากเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า ผู้จัดการฝ่ายซื้อมีการเร่งซื้อวัตถุดิบเพิ่มขึ้นตั้งแต่วันนี้ ดังนั้น ผลสำรวจดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อหรือ PMI ก็จะเพิ่มขึ้น นั่นหมายความว่าเศรษฐกิจเติบโตเพิ่มขึ้นนั่นเอง

สูตรการคำนวณดัชนี PMI

ดัชนี PMI (Purchasing Managers Index) เป็นการคำนวณโดยอาศัยข้อมูลจากภาคการผลิตและปัจจัยด้านการผลิตต่าง ๆ ซึ่งดัชนี PMI จะสะท้อนการเติบโตของเศรษฐกิจและสภาวะของภาคการผลิตและภาคบริการออกมาเป็นตัวเลขตั้งแต่ 0 ถึง 100 โดยใช้สูตรคำนวณดัชนีการกระจาย (Diffusion Index) ดังนี้

สูตรการคำนวณดัชนี PMI

P1 หมายถึง เปอร์เซ็นต์ของตัวแปรที่นำมาคำนวณมีการขยายตัว
P2 หมายถึง เปอร์เซ็นต์ของตัวแปรที่นำมาคำนวณไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเท่าเดิม
P3 หมายถึง เปอร์เซ็นต์ของตัวแปรที่นำมาคำนวณมีการหดตัว

ค่าของดัชนี PMI มีการตีความหมายดังนี้

การใช้ดัชนี PMI เป็นตัวชี้วัดแนวโน้มของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งนักลงทุนสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์การวางแผนลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากดัชนี PMI สามารถสะท้อนความเป็นไปทางเศรษฐกิจได้อย่างทันท่วงที ซึ่งค่าของดัชนี PMI มีการตีความหมายดังนี้

  • ถ้าดัชนี PMI มีค่ามากกว่า 50 หมายถึง เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวจากระดับปัจจุบัน
  • ถ้าดัชนี PMI มีค่าเท่ากับ 50 หมายถึง เศรษฐกิจมีแนวโน้มคงที่จากระดับปัจจุบัน
  • ถ้าดัชนี PMI มีค่าน้อยกว่า 50 หมายถึง เศรษฐกิจมีแนวโน้มหดตัวจากระดับปัจจุบัน

ข้อมูล PMI สามารถบอกอะไรได้บ้าง ?

ถ้าหากค่าตัวเลขออกมาสูงกว่า 50 นั่นแปลว่าสภาวะเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดีค่ะ ถ้าหากต่ำกว่า 50 แปลว่าเศรษฐกิจอยู่ในสภาวะถดถอย หรือเริ่มไม่ดีแล้ว

ดัชนี PMI บอกอะไร ?

ตัวอย่างเช่น ในตลาดตราสารหนี้เฝ้าดูการเติบโตของการส่งมอบของผู้ขายและราคาที่จ่าย เพราะตัวเลขสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อได้ ดัชนีนี้มีความสำคัญไม่เพียงแต่กับภาคการผลิตเท่านั้นแต่กับเศรษฐกิจทั้งหมดด้วยเนื่องจากภาคการผลิตเป็นส่วนสำคัญ ดังนั้นหาก PMI ลดลงในประเทศหนึ่ง นักลงทุนอาจพิจารณาลดความเสี่ยงของพวกเขาในตลาดทุนของประเทศนั้น และเพิ่มการลงทุนในตลาดหุ้นของประเทศอื่นๆที่มีค่า PMI ที่สูงขึ้น

Flash Services PMI คืออะไร ?

PMI ของบริการ Flash คือค่าประมาณล่วงหน้าของดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อบริการ (PMI) สำหรับประเทศหนึ่ง ๆ ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้ข้อมูลบ่งชี้ล่วงหน้าที่แม่นยำของข้อมูล PMI ของบริการขั้นสุดท้าย ในตลาดการเทรดของคู่สกุลเงิน ประเทศที่เป็นสกุลเงินหลักก็มักจะถูกจับตามองเป็นอย่างมากค่ะ เพราะสามารถบ่งบอกสภาวะเศรษฐกิจของประเทศในช่วงเวลานั้นได้ค่ะ แน่นอนว่าสหรัฐฯ เป็นประเทศที่ถูกจับตามองมากที่สุดค่ะ

Flash Services PMI


Flash Manufacturing PMI คืออะไร ?

Flash Manufacturing PMI คือค่าประมาณของการผลิตสำหรับประเทศหนึ่ง ๆ โดยอิงจากประมาณ 85% ถึง 90% ของการตอบแบบสำรวจดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ทั้งหมดในแต่ละเดือน

นักลงทุนนิยมใช้ PMI ในการวิเคราะห์หรือตัดสินใจลงทุนอะไร

  • เพื่อประเมินสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน :
    ค่า PMI ที่สูงกว่า 50 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจมีการขยายตัว สวนทางกับค่า PMI ที่ต่ำกว่า 50 ซึ่งบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจมีการหดตัว
    หากดัชนีภาคการผลิต สูงกว่า 50 แสดงว่าภาคการผลิตมีแนวโน้มขยายตัวและเศรษฐกิจกำลังเติบโตในช่วงนี้ นักลงทุนอาจพิจารณาเลือกลงทุนในกองทุนหรือหุ้นกลุ่มพลังงาน
    หากดัชนีภาคการบริการ สูงกว่า 50 แสดงว่าภาคการบริการกำลังขยายตัว นักลงทุนอาจพิจารณาเลือกลงทุนในกองทุนหรือหุ้นกลุ่มธุรกิจสินค้าปลีก เนื่องจากธุรกิจสินค้าปลีกมักได้รับผลดีจากการขยายตัวภาคการบริการค่ะ
  • เพื่อคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต :
    PMI ถือเป็นดัชนีที่ช่วยวัดให้นักลงทุนสามารถคาดการณ์ถึงทิศทางของเศรษฐกิจล่วงหน้าได้ หากดัชนี PMI ภาคการผลิตมีแนวโน้มขาลงบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัว นักลงทุนอาจชะลอการลงทุนในกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในหุ้น เป็นต้น
  • เพื่อเปรียบเทียบเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ :
    นักลงทุนสามารถเปรียบเทียบค่า PMI ของประเทศต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบเศรษฐกิจในประเทศต่าง ๆ โดยนักลงทุนอาจพิจารณาลงทุนในประเทศที่มีค่า PMI ที่สูงกว่า เพราะมีแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีกว่าประเทศที่มีค่า PMI ที่น้อยกว่า
  • เพื่อวิเคราะห์ผลประกอบการของบริษัท :
    นักลงทุนสามารถวิเคราะห์ผลประกอบการของบริษัทที่อยู่ในภาคการผลิตและบริการ โดยพิจารณาจาก PMI ของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น หากดัชนี PMI ภาคการผลิตมีแนวโน้มขาลง บ่งชี้ว่าธุรกิจในภาคการผลิตมีแนวโน้มได้รับผลกระทบ นักลงทุนอาจพิจารณาขายหรือชะลอการลงทุนในหุ้นของบริษัทภาคการผลิต


PMI กับราคาทองคำ

รู้หรือไม่? ค่า PMI สามารถบ่งบอกสภาวะเศรษฐกิจได้ ดังนั้นหากสภาวะเศรษฐกิจดีก็แปลว่าสินทรัพย์ปลอดภัยอาจจะไม่ใช่สิ่งที่นักลงทุนมองหาในช่วงเวลานั้นค่ะ และในทางกลับกัน ถ้าสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหรือถดถอยก็แปลว่าสินทรัพย์ปลอดภัยเป็นสิ่งที่น่าลงทุนในช่วงเวลานั้น ก็จะส่งผลให้ทองคำราคาขึ้น หรือให้พูดง่าย ๆ ได้ตามนี้ค่ะ

PMI สูง = ราคาทองคำอาจปรับตัวลงต่ำ
PMI ต่ำ = ราคาทองคำอาจปรับตัวสูงขึ้น

PMI และ ทองคำ

PMI กับตลาดการเงิน Forex

แม้ว่าดัชนี PMI และตลาดการเงิน Forex จะไม่ได้มีความสัมพันธ์กันโดยตรงเหมือนกับทองคำ แต่อาจมีปัจจัยทางอ้อมอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อกันดังนี้ค่ะ

ความสัมพันธ์ทางอ้อมระหว่าง PMI กับ Forex

1. ดัชนี PMI สะท้อนสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันและคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต

PMI สูง : บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจมีการขยายตัว ภาคธุรกิจมีการผลิตและสั่งซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนมีความมั่นใจในเศรษฐกิจ เริ่มมีการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ มากขึ้น เช่น หุ้น กองทุน หรือตราสารหนี้ ทำให้ค่าเงินของประเทศเริ่มแข็งค่าขึ้น
PMI ต่ำ : บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจมีการชะลอตัวหรือหดตัว ภาคธุรกิจมีการผลิตและสั่งซื้อสินค้าลดลง และนักลงทุนมีความกังวลต่อเศรษฐกิจและชะลอการลงทุนในช่วงดังกล่าว ส่งผลทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นอ่อนค่าลง

2. PMI สูงช่วยกระตุ้นการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ

ค่า PMI สูง แสดงให้เห็นถึงภาพรวมของเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัวสูงขึ้น ซึ่งช่วยกระตุ้นการลงทุนของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศได้เป็นอย่างดี เมื่อนักลงทุนต่างชาติเริ่มเข้ามาลงทุนในประเทศมากขึ้นจะส่งผลให้ความต้องการของสกุลเงินนั้น ๆ สูงขึ้น ทำให้สกุลเงินในประเทศแข็งค่าขึ้นและเกิดการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศซึ่งถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ดีค่ะ

🔎แล้วความสัมพันธ์ทางอ้อมของดัชนี PMI และ Forex สำคัญอย่างไร ?

ความสัมพันธ์ของ PMI และ Forex จะอยู่ที่แนวโน้มเศรษฐกิจภายในประเทศที่ขยายตัวหรือหดตัว โดยวิเคราะห์จากตัวเลขดัชนี PMI ซึ่งตัวเลขดังกล่าวย่อมส่งผลกับค่าเงินในประเทศ ซึ่งค่าเงินถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในตลาดการเงิน Forex ค่ะ


🔎 บทความที่เกี่ยวข้องกับดัชนี PMI ที่เทรดเดอร์ควรรู้
วิธีอ่านข่าว Forex Factory
CPI คืออะไร ? ทำไมเทรดเดอร์ควรให้ความสำคัญ
Indicator ยอดนิยมสำหรับเทรดเดอร์
วิธีเปิดบัญชี Forex สำหรับมือใหม่ใน 7 ขั้นตอน
GDP คืออะไร ? ส่งผลต่อราคาทองคำอย่างไร ?


ดัชนี PMI ใช้บ่งบอกแนวโน้มของเศรษฐกิจ หากดัชนี PMI สูงกว่า 50 แสดงว่าเศรษฐกิจหรือภาวะธุรกิจมีทิศทางดีขึ้น แต่หากดัชนี PMI ต่ำกว่า 50 แสดงว่าเศรษฐกิจหรือภาวะธุรกิจมีทิศทางแย่ลง

PMI ย่อมาจาก Purchasing Managers Index ซึ่งก็คือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อขาย เป็นตัวบ่งชี้ที่สุขภาพทางเศรษฐกิจของภาคการผลิตว่าดีขึ้นหรือแย่ลง

ดัชนี PMI ใช้เพื่อให้ข้อมูลทางด้านสภาวะเศรษฐกิจ ณ ขณะนั้นต่อนักลงทุน เพื่อใช้ในการวางแผนการลงทุน


PMI คือ ดัชนีที่ใช้เป็นตัวชี้วัดการเติบโตหรือสภาวะทางเศรษฐกิจ หากค่าตัวเลขออกมาสูงกว่า 50 แสดงว่าสภาวะเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดีหรือมีการขยายตัว แต่ถ้าหากค่าต่ำกว่า 50 แสดงว่าเศรษฐกิจอยู่ในสภาวะถดถอยนั่นเองค่ะ โดยค่า PMI นี้ถือเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนในการพิจารณาตลาดเพื่อเลือกลงทุนได้อย่างคุ้มค่าค่ะ


สำหรับใครที่สนใจอ่านรีวิวโบรกเกอร์ : Review Brokers

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

คุณน้า
คุณน้า
คุณน้าเป็นเทรดเดอร์ที่คลุกคลีอยู่ในตลาดต่าง ๆ ร่วม 10 ปี จึงอยากนำความรู้ที่มีมาแบ่งปันให้กับทุกคน
Recent Post
3 สินทรัพย์น่าลงทุน หลังโดนัลด์ ทรัมป์คว้าชัย!
3 สินทรัพย์น่าลงทุน หลังโดนัลด์ ทรัมป์คว้าชัยในสมัยที่ 2

คุณน้าจะพาทุกคนมาส่อง 3 สินทรัพย์น่าลงทุนในยุคของโดนัลด์ ทรัมป์ จะมีสินทรัพย์ไหนเข้าตาบ้าง และผลกระทบของเศรษฐกิจไทยจะรุนแรงมากแค่ไหน เพื่อให้ทุกคนสามารถปรับพอร์ตลงทุนได้อย่างทันท่วงที

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 By คุณน้าพาเทรด

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งไม่มีมีข่าวสำคัญ สำหรับวันนี้คาดการณ์ว่า ราคาทองคำปรับตัวขึ้นไปที่บริเวณ 2,660-2,670 ดอลลาร์

รีวิว Titan FX เปิดทุกคุณสมบัติที่ควรรู้
รีวิว Titan FX เปิดทุกคุณสมบัติที่ควรรู้ ปี 2024

กลับมาพบกับคุณน้ารีวิวกันอีกแล้วนะคะ ในวันนี้ คุณน้าจะพาทุกคนไปอ่านรีวิวโบรกเกอร์ Titan FX ในทุกคุณสมบัติที่เทรดเดอร์ควรรู้ ไม่ว่าจะเป็นใบอนุญาต, ประเภทบัญชี, ค่าสเปรด, การฝากถอนเงิน รวมถึงจุดเด่นและจุดแข็งของ Titan FX กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปหาคำตอบกันเลย!