ไขข้อข้องใจ Margin ในตลาด Forex คืออะไร ทำไมต้องมี ?

ไขข้อข้องใจ Margin ในตลาด Forex คืออะไร ทำไมต้องมี ?
Table of Contents

เมื่อเราเริ่มศึกษา Forex นอกจากคำศัพท์พื้นฐานเกี่ยวกับกลไกตลาดมากมายที่ควรรู้แล้ว อีกอย่างที่สำคัญไม่แพ้กันเลยก็คือ “Margin” ซึ่งคุณน้าเชื่อว่า หลาย ๆ คนอาจจะสงสัยว่า มันคืออะไรกันแน่ สำคัญอย่างไร แล้วคำนวณยังไงนะ? คุณน้าจะพาไปหาคำตอบกันค่ะ


Margin คืออะไร?

Margin หรือมาร์จิ้น คือ หลักประกันที่นักลงทุนต้องฝากไว้กับโบรกเกอร์ เมื่อพวกเขาต้องการยืมเงินโบรกเกอร์มาซื้อขายสินทรัพย์ หรือทำสัญญาอนุพันธ์ ดังนั้น นักลงทุนจึงต้องมีหลักประกันเพื่อสะสมเครดิตนั่นเองค่ะ

ตัวอย่างเช่น นักลงทุนที่ทำการ Short Sell ค่าเงินบาทไทยเมื่อช่วงต้มยำกุ้ง ซึ่งคุณน้าคิดว่า ทุกคนน่าจะเห็นภาพมากขึ้นค่ะ เพราะการโจมตีค่าเงินบาทต้องใช้เงินจำนวนมาก ดังนั้น การทำ Short Sell จึงต้องยืมเงินจากโบรกเกอร์มาเก็งกำไรจากตลาดขาลงอย่างมหาศาล ประกอบกับเงินหลักประกันที่เราวางร่วมกับโบรกเกอร์ค่ะ


ไขข้อข้องใจ Margin ในตลาด Forex คืออะไร ทำไมต้องมี ?

การทำงานของ Margin

การซื้อขายมาร์จิ้นในตลาด Forex คือ การฝากเงินเพื่อเปิดและรักษาตำแหน่ง (Position) การซื้อขาย ซึ่งมันจะทำให้คุณได้รับความเสี่ยงอย่างเต็มที่ โดยใช้เพียงเศษเสี้ยวของมูลค่าเต็มของการเทรด ดังนั้น มาร์จิ้นจึงไม่ใช่ต้นทุนหรือค่าธรรมเนียม แต่เป็นส่วนหนึ่งของยอดเงินในบัญชีของคุณที่กันไว้สำหรับการซื้อขายตามคำสั่งค่ะ

ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการซื้อคู่เงิน USD/JPY มูลค่า $10,000 คุณก็ไม่จำเป็นต้องใช้เงินเต็มจำนวน เพราะการใช้มาร์จิ้นจะทำให้คุณสามารถใช้เงินเพียงบางส่วนเท่านั้น เช่น คุณมีเงิน $1,000 และใช้เลเวอเรจ 1:10 เพียงเท่านี้ คุณจะสามารถซื้อคู่เงิน USD/JPY ด้วยมูลค่า $10,000 ได้แล้ว

จำนวนมาร์จิ้นที่ต้องการมักจะกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่น 30% แต่มันอาจจะแตกต่างกันไปแล้วแต่โบรกเกอร์ จำนวนเงินทุนที่ต้องใช้ สินทรัพย์ที่มีการซื้อขาย ขนาด Lot หรืออื่น ๆ ซึ่งเราจะได้รับเงินส่วนนี้คืนก็ต่อเมื่อเราทำการปิดออเดอร์ค่ะ


ไขข้อข้องใจ Margin ในตลาด Forex คืออะไร ทำไมต้องมี ?

ความสัมพันธ์ระหว่าง Margin และ Leverage

ข้อกำหนดมาร์จิ้นจะสะท้อนถึงเลเวอเรจของคุณด้วย หรืออาจกล่าวได้ว่า มาร์จิ้นและเลเวอเรจ มีความสัมพันธ์แบบ “แปรผกผันกัน” เนื่องจากเลเวอเรจถูกใช้ในการคำนวณมาร์จิ้น โดยสรุปได้ดังนี้ค่ะ

  • Leverage ที่สูงขึ้น หมายความว่า Margin ที่ใช้จะต่ำลง
  • Leverage ที่ต่ำลง หมายความว่า Margin ที่ใช้จะสูงขึ้น

ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการซื้อคู่เงิน USD/JPY มูลค่า $50,000 จำนวน 1 Lot ใช้ Leverage 1:1 นั่นหมายความว่า คุณไม่จำเป็นต้องวางเงินประกัน หรือมาร์จิ้น แต่หากคุณเพิ่ม Leverage เป็น 1:100 ซึ่งเป็นการเพิ่มกำลังซื้อ คุณจะต้องใช้มาร์จิ้นในการเทรดค่ะ


วิธีการคำนวณ Margin

เราสามารถหามาร์จิ้นได้จากสูตรต่อไปนี้ หรือหาได้จากโปรแกรมคำนวณที่มีให้ใช้อย่างแพร่หลาย เช่น forexnew.org และ XM ค่ะ

วิธีการคำนวณ Margin

ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการซื้อคู่เงิน USD/JPY ด้วยเงิน $50,000 จำนวน 1 Lot (กำหนดให้ 1 Lot มีขนาดสัญญาเท่ากับ 100,000) ใช้ Leverage 1:100 โดยมีราคาปัจจุบันอยู่ที่ 138.85 สามารถหา Margin ได้ดังนี้

Margin = [138.85 x 1 x 100,000] / 100 ผลลัพธ์เท่ากับ $138,850

อย่างไรก็ตาม ในการคำนวณมาร์จิ้น หน่วยที่ได้จะเป็น Base Currency ซึ่งข้างต้นจะเป็น USD แต่หากโจทย์ไม่ใช่ USD คุณจะต้องทำการแปลงคำตอบที่ได้เป็นหน่วย USD ก่อนค่ะ


Margin แต่ละประเภท

หลังจากเปิดคำสั่งซื้อขายโดยใช้มาร์จิ้นแล้ว จะปรากฏมาร์จิ้นหลายส่วน ซึ่งคุณน้าขออธิบายสั้น ๆ ดังนี้ค่ะ

1. Free Margin

หรือหลักประกันที่เหลือในบัญชี คือ จำนวนเงินในบัญชีการซื้อขายที่พร้อมใช้งานเพื่อเปิด Position ใหม่ ซึ่งลบมาร์จิ้นที่ใช้ออกจากส่วนของบัญชี

2. Margin Level

หรืออัตราส่วนหลักประกันที่เหลืออยู่ คือ หลักประกันที่เหลืออยู่แสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ ซึ่งโบรกเกอร์จะใช้เพื่อกำหนดว่า นักลงทุนสามารถเปิด Position ใหม่ได้หรือไม่

3. Margin Call

หรือการแจ้งเตือนพอร์ตการลงทุน คือ การแจ้งเตือนจากโบรกเกอร์ว่า ระดับมาร์จิ้นของคุณลดลงต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการตัดปิดออเดอร์ (Stop Out) หรือพอร์ตแตกนั่นเองค่ะ


ข้อดีและข้อเสียของการซื้อขายด้วย Margin

ไขข้อข้องใจ Margin ในตลาด Forex คืออะไร ทำไมต้องมี ?

ข้อดี

  • สามารถใช้เลเวอเรจเพื่อเพิ่มกำลังในการซื้อขายได้
  • สามารถทำกำไรได้มากขึ้น
  • มีความยืดหยุ่นมากกว่าสินเชื่อประเภทอื่น ๆ เพราะอาจไม่มีกำหนดการชำระคืนที่แน่นอน

ข้อเสีย

  • ในขณะที่สามารถทำกำไรได้มากขึ้น ก็เพิ่มการขาดทุนด้วยเช่นกัน
  • หากมูลค่าของหลักทรัพย์ที่ซื้อด้วยมาร์จิ้นลดลงอย่างรวดเร็ว นักลงทุนจะเป็นหนี้ทั้งเงินลงทุนเริ่มแรก และหนี้เงินทุนเพิ่มเติมอีกด้วย
  • โบรกเกอร์มักเรียกเก็บดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมจากการซื้อขายด้วยมาร์จิ้น
  • จำนวนเงินในพอร์ตต้องเหลืออยู่ในระดับที่เพียงพอ เพื่อให้ไม่โดน Margin Call


สรุปรวม Margin คืออะไร ?

โดยรวมแล้ว “มาร์จิ้น” ก็คือ การยืมเงินโบรกเกอร์มาใช้เปิดออเดอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งนักลงทุนอาจมีเงินไม่เพียงพอ ดังนั้น โบรกเกอร์จึงทำหน้าที่เสมือน “ผู้ให้กู้” เพื่อให้เราสามารถทำการซื้อขายสินทรัพย์ได้ แต่อย่างไรก็ดี เราจะต้องวางหลักประกันส่วนหนึ่ง หรือก็คือมาร์จิ้นด้วยเช่นกันค่ะ และเงินในส่วนนี้เราจะได้คืนก็ต่อเมื่อเราทำการปิดออเดอร์ค่ะ

ทั้งนี้ ทุกคนต้องพึงระวังไว้ด้วยนะคะว่า การซื้อขายด้วยมาร์จิ้นก็เป็นการยืมเงินชนิดหนึ่ง ยิ่งหากเพิ่มเลเวอเรจเข้ามาด้วย ก็จะทำให้ความเสี่ยงของคุณเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น คุณน้าขอให้ทุกคนศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนลงทุน เพื่อไม่ให้โดน Margin Call ซึ่งเป็นฝันร้ายของนักลงทุนทุกคนค่ะ


ขอบคุณข้อมูลจาก : Forexlearning, Investopedia, Admiralmarkets, IG

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

khunnaphatrade
khunnaphatrade
Recent Post
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 By คุณน้าพาเทรด

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งมีข่าวสำคัญ สำหรับวันนี้คาดการณ์ว่า ราคาทองคำมีโอกาสปรับตัวลงไปที่บริเวณ 2,610-2,590 ดอลลาร์

3 สินทรัพย์น่าลงทุน หลังโดนัลด์ ทรัมป์คว้าชัย!
3 สินทรัพย์น่าลงทุน หลังโดนัลด์ ทรัมป์คว้าชัยในสมัยที่ 2

คุณน้าจะพาทุกคนมาส่อง 3 สินทรัพย์น่าลงทุนในยุคของโดนัลด์ ทรัมป์ จะมีสินทรัพย์ไหนเข้าตาบ้าง และผลกระทบของเศรษฐกิจไทยจะรุนแรงมากแค่ไหน เพื่อให้ทุกคนสามารถปรับพอร์ตลงทุนได้อย่างทันท่วงที

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 By คุณน้าพาเทรด

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งไม่มีมีข่าวสำคัญ สำหรับวันนี้คาดการณ์ว่า ราคาทองคำปรับตัวขึ้นไปที่บริเวณ 2,660-2,670 ดอลลาร์

รีวิว Titan FX เปิดทุกคุณสมบัติที่ควรรู้
รีวิว Titan FX เปิดทุกคุณสมบัติที่ควรรู้ ปี 2024

กลับมาพบกับคุณน้ารีวิวกันอีกแล้วนะคะ ในวันนี้ คุณน้าจะพาทุกคนไปอ่านรีวิวโบรกเกอร์ Titan FX ในทุกคุณสมบัติที่เทรดเดอร์ควรรู้ ไม่ว่าจะเป็นใบอนุญาต, ประเภทบัญชี, ค่าสเปรด, การฝากถอนเงิน รวมถึงจุดเด่นและจุดแข็งของ Titan FX กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปหาคำตอบกันเลย!