วันนี้คุณน้าพามาทำความรู้จักดัชนี S&P 500 คืออะไร ? ปัจจุบันนี้ผู้คนหันมาสนใจในการลงทุนกันเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนทางตรงหรือการลงทุนทางอ้อม วันนี้คุณน้าจะพาทุกคนมาทำความรู้จักดัชนี S&P 500 คืออะไร ? ทำไมนักลงทุนถึงนิยมลงทุนในดัชนี S&P 500 รวมถึงต้นกำเนิดของดัชนี S&P 500 หากพร้อมแล้วไปอ่านพร้อม ๆ กันในบทความนี้ได้เลยค่ะ
ดัชนี S&P 500 คืออะไร ?
S&P 500 คือ ดัชนีที่เกิดจากมูลค่าของบริษัทแนวหน้า 500 แห่งในสหรัฐฯ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) และตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ เข้าไว้ด้วยกัน โดยจะมีเกณฑ์การพิจารณาบริษัทจากสภาพคล่อง มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด รวมถึงหลักเกณฑ์อื่น ๆ ร่วมด้วยค่ะ จึงทำให้ดัชนี S&P 500 สามารถสะท้อนสภาพตลาดโดยรวมในสหรัฐฯ ได้
ต้นกำเนิดดัชนี S&P 500
ดัชนี S&P 500 ถือกำเนิดเมื่อปี 1923 โดยบริษัท Standard Statistics ซึ่งจะประกอบด้วยหุ้นของบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในสหรัฐฯ 233 บริษัท ก่อนที่จะรวมกิจการกับบริษัท Poor’s Publishing และเปลี่ยนชื่อไปเป็น Standard and Poor’s (S&P) และได้เพิ่มจำนวนหุ้นบริษัทเป็น 500 แห่งในปี 1957 และใช้ชื่อ S&P 500 ที่เรารู้จักกันในปัจจุบันค่ะ
โดยดัชนี S&P 500 จะครอบคลุมหลากหลายอุตสาหกรรมด้วยกัน เช่น อุตสาหกรรมเทคโนโลยี อุตสาหกรรมการเงิน อุตสาหกรรมสุขภาพ และ อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
ทำไมดัชนี S&P 500 ถึงน่าสนใจ ?
ทำไมดัชนี S&P 500 ถึงน่าสนใจ อย่างที่ทราบกันดีว่าดัชนี S&P 500 คือ ดัชนีที่ได้ทำการรวบรวมบริษัทแนวหน้าของสหรัฐฯ เข้าไว้ด้วยกันจึงทำให้มูลค่าโดยรวมของหุ้นใน S&P 500 นั้นมีมากถึง 80% ของตลาดหุ้นทั้งหมดของสหรัฐฯ อีกทั้ง ยังเป็น 500 บริษัทใหญ่ที่ติดอันดับโลก ทำให้บริษัทต่างประเทศใหญ่ ๆ ไปจดทะเบียนกับตลาดสหรัฐฯ นั่นหมายความว่า สินค้าและบริการต่าง ๆ จะถูกกระจายไปยังผู้บริโภคทั่วโลกค่ะ ทำให้ Market Cap. ตลอดจนกำไรสุทธิของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ค่อนข้างมีอิทธิพลต่อตลาดโลก ซึ่งยังไม่นับรวมอิทธิพลของค่าเงินดอลลาร์ด้วย
ดัชนีหุ้นไทย vs ดัชนีหุ้นสหรัฐฯ
ดัชนี | จำนวนหุ้น | Market Cap |
S&P 500 | 503 | 46.93T |
SET 50 | 50 | 27.43B |
รายชื่อหุ้น S&P 500 มีอะไรบ้าง ?
ตัวอย่างหุ้นแต่ละ Sector ในดัชนี S&P 500
อุตสาหกรรม | ชื่อหุ้น |
เทคโนโลยี | Microsoft (MSFT) |
Apple (AAPL) | |
การเงิน | Berkshire (BRK.A , BRK.B) |
JP MORGAN CHASE (JPM) | |
สุขภาพ | Eli lilly (LLY) |
Jhonson & Jhonsan (JNJ) | |
การค้าปลีก | Amazon (AMZN) |
Walmart (WMT) | |
สินค้าอุปโภคบริโภค | Protect & Gameble (PG) |
Nike (NKE) | |
บริการเชิงพาณิชย์ | VISA (V) |
Mastercard (MA) | |
แร่พลังงาน | Exxon Mobil (XOM) |
Chevron Corporation (CVX) | |
ระบบขนส่ง | Union Pacific (UNP) |
Uber TechnoloGies (UBER) | |
การสื่อสาร | T-Mobile (TMSU) |
Verizon Communications (VZ) |
เปรียบเทียบผลตอบแทนย้อนหลัง ระหว่าง S&P 500 กับ SET 50
แม้ว่า Market Cap. ของดัชนี SET 50 จะแตกต่างจาก S&P 500 เป็นอย่างมาก แต่ตลาดหุ้นไทยก็มีเสน่ห์เฉพาะตัวค่ะ อย่างไรก็ดี ในช่วง 5 ปีย้อนหลังมานี้ เราจะเห็นว่าผลตอบแทนของทั้ง 2 ตลาดสวนทางกันอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก อีกทั้ง หลายคนยังมองว่าเสน่ห์ของตลาดหุ้นไทยได้หายไป ทำให้นักลงทุนจำนวนมากหันไปลงทุนหุ้นต่างประเทศผ่านช่องทางต่าง ๆ แทน ซึ่งตลาดที่ได้รับความนิยมสูงเป็นอันดับต้น ๆ ก็คือ หุ้นสหรัฐฯ ค่ะ
S&P 500 ซื้อที่ไหนได้บ้าง
การลงทุนใน S&P 500 สามารถทำได้ผ่านช่องทางดังต่อไปนี้ค่ะ
ลงทุนในกองทุนรวม
การลงทุนกองทุนรวมดัชนี S&P 500 คือ การลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นอ้างอิงกับดัชนี S&P 500 ทุกตัวในสัดส่วนเดียวกันจึงทำให้ได้รับผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับดัชนี S&P 500 ค่ะ
ข้อดี
เหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่ มีค่าธรรมเนียมที่ต่ำ สามารถกระจายความเสี่ยงได้ดี และง่ายต่อการลงทุน
ข้อเสีย
นักลงทุนไม่สามารถเลือกหุ้นในการลงทุนเองได้ เนื่องจากกองทุนรวมจะเลือกลงทุนในหุ้นอ้างอิงตามดัชนี S&P 500
ลงทุนใน ETF (Exchange Traded Funds)
การลงทุนใน S&P 500 ETF คือ การลงทุนใน ETF ที่มีนโยบายสร้างผลตอบแทนให้มีความใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิง S&P 500 ซึ่งจะคล้ายกันกับการลงทุนผ่านกองทุนรวม แต่ก็จะมีข้อแตกต่างในเรื่องของการซื้อขายค่ะ
ข้อดี
ซื้อขายได้ตลอดเวลาเหมือนหุ้น ค่าธรรมเนียมในการจัดการกองทุนต่ำกว่ากองทุนรวม
ข้อเสีย
ETF ไม่ได้รับความนิยมเท่าหุ้นมากนักในปัจจุบัน จึงทำให้มีสภาพคล่องที่ค่อนข้างต่ำ อีกทั้ง หากต้องการลงทุนใน ETF ยังต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม เพราะประเทศไทยยังไม่มี นักลงทุนต้องซื้อ ETF ผ่านตลาดต่างประเทศแทน
ลงทุนในตราสารอนุพันธ์ (CFD)
การลงทุนในตราสารอนุพันธ์ (CFD) S&P 500 คือ การลงทุนโดยการทำสัญญาแลกเปลี่ยน ซึ่งการลงทุนประเภทนี้จะทำกำไรจากส่วนต่างของราคาและสามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง
ข้อดี
ต้นทุนในการซื้อขายต่ำสามารถใช้ Leverage ในการลงทุนได้เหมาะสำหรับการเก็งกำไรระยะสั้น
ข้อเสีย
นักลงทุนไม่ได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์จริง ๆ เป็นแค่เพียงการทำสัญญาซื้อขายเท่านั้นและยังมีความเสี่ยงในเรื่องของการใช้ Leverage
ลงทุนหุ้นรายตัวใน S&P 500
การลงทุนหุ้นรายตัวใน S&P 500 คือ การที่นักลงทุนเลือกลงทุนในหุ้นที่อยู่ในดัชนี S&P 500 โดยตรง ในการลงทุนประเภทนี้นักลงทุนจะต้องมีประสบการณ์และความเข้าใจในหุ้นที่ตนเองเลือกลงทุนค่ะ
ข้อดี
ผลตอบแทนสูงสามารถจัดพอร์ตการลงทุนได้ด้วยตนเอง
ข้อเสีย
มีความเสี่ยงที่สูงเนื่องจากการลงทุนในหุ้นรายตัว ไม่มีการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนเหมือนกับกองทุนและ ETF อีกทั้ง ยังมีค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย ภาษีหุ้นต่างประเทศ และความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
ทำไมคนถึงนิยมลงทุนในกองทุนรวม S&P 500
กองทุนรวม S&P 500 เป็นกองทุนที่เหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่ อีกทั้งยังเป็นที่นิยมในกลุ่มนักลงทุนหลาย ๆ กลุ่มด้วยค่ะ เนื่องจากกองทุนรวม S&P 500 สามารถกระจายความเสี่ยงในการลงทุนได้ดีและเหมาะสำหรับการลงทุนในระยะยาว เพราะกองทุนรวม S&P 500 สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาวค่ะ
แม้กระทั่งนักลงทุนที่เรารู้จักกันดีอย่าง วอร์เรน บัฟเฟตต์ เองยังเคยแนะนำให้ลงทุนในกองทุนรวม S&P 500 มาแล้ว ส่วนตัวคุณน้ามองว่าหากใครที่กำลังมองหาการลงทุนที่สร้างผลตอบแทนดีในระยะยาว การลงทุนในกองทุนรวมก็ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจเช่นกันค่ะ
เลือกกองทุนดัชนี S&P 500 ตัวไหนดีปี 2024
5 กองทุนรวมดัชนี S&P 500 ที่น่าสนใจในปี 2024 มีดังต่อไปนี้ค่ะ
กองทุนรวม SCBS&P500
บลจ. : ไทยพาณิชย์ จำกัด
ประเภทกองทุนรวม : Passive Fund
นโยบายการลงทุน : ลงทุนกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ได้แก่ กองทุน iShares Core S&P 500 ETF
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี : 22.13%
เงินปันผล : จ่าย
ลงทุนครั้งแรกขั้นต่ำ : 1 บาท
ระดับความเสี่ยง : ความเสี่ยงระดับ 6
กองทุนรวม TMBUS500
บลจ. : อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด
ประเภทกองทุนรวม : Passive Fund
นโยบายการลงทุน : เน้นลงทุนในกองทุน iShares Core S&P 500 ETF (กองทุนหลัก)
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี : 24.60%
เงินปันผล : ไม่จ่ายเงินปันผล
ลงทุนครั้งแรกขั้นต่ำ : 1 บาท
ระดับความเสี่ยง : ความเสี่ยงระดับ 6
กองทุนรวม ASP-SP500
บลจ. : แอสเซท พลัส จำกัด
ประเภทกองทุนรวม : Passive Fund
นโยบายการลงทุน : ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน SPDR S&P500 ETF (กองทุนหลัก) ซึ่งเป็นกองทุนรวมอีทีเอฟ (Exchange Traded Fund)
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี : 21.46%
เงินปันผล : ไม่จ่ายเงินปันผล
ลงทุนครั้งแรกขั้นต่ำ : 1,000 บาท
ระดับความเสี่ยง : ความเสี่ยงระดับ 6
กองทุนรวม K-US500X-A(A)
บลจ. : กสิกรไทย จำกัด
ประเภทกองทุนรวม : Passive Fund
นโยบายการลงทุน : ลงทุนในกองทุน iShares Core S&P 500 ETF (กองทุนหลัก)
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี : 26.27%
เงินปันผล : ไม่จ่ายเงินปันผล
ลงทุนครั้งแรกขั้นต่ำ : 500 บาท
ระดับความเสี่ยง : ความเสี่ยงระดับ 6
กองทุนรวม TISCOUS-A
บลจ. : ทิสโก้ จำกัด
ประเภทกองทุนรวม : Passive Fund
นโยบายการลงทุน : ลงทุนในกองทุน SPDR S&P 500 ETF (กองทุนหลัก) ซึ่งมีนโยบายลงทุนในตราสารทุน
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี : 22.37%
เงินปันผล : ไม่จ่ายเงินปันผล
ลงทุนครั้งแรกขั้นต่ำ : 0 บาท
ระดับความเสี่ยง : ความเสี่ยงระดับ 6
⭐ การเลือกลงทุนในกองทุน S&P 500 ควรพิจารณาจากปัจจัยหลาย ๆ ด้าน เช่น ระดับความเสี่ยงของกองทุน ผลตอบแทนย้อนหลัง รวมถึงค่าธรรมเนียมต่าง ๆ และความเสี่ยงที่ตัวเราเองสามารถรับได้ค่ะ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ S&P 500
Nasdaq กับ S&P 500 ต่างกันยังไง ?
Nasdaq ถือเป็นตัวแทนของหุ้นฝั่งเทคโนโลยีซึ่งจะประกอบด้วยหุ้นสหรัฐและหุ้นต่างประเทศที่จดทะเบียนใน Nasdaq ค่ะ
ส่วน S&P 500 จะประกอบไปด้วยหุ้น 500 แห่งของสหรัฐที่จดทะเบียนในตลาดหุ้น NYSE และ Nasdaq โดยจะถือเป็นตัวแทนของหุ้นสหรัฐค่ะ
S&P 500 ซื้อยังไง ?
สามารถซื้อ S&P 500 ได้ 4 ช่องทาง ได้แก่ 1. ซื้อผ่านกองทุนรวม 2. ซื้อผ่าน ETF 3. ซื้อผ่านตราสารอนุพันธ์ และ 4. ซื้อผ่านหุ้นรายตัวใน S&P 500
กองทุน S&P 500 ธนาคารไหนดี ?
การเลือกลงทุนใน S&P 500 นักลงทุนสามารถเลือกพิจารณากองทุนที่ตรงตามเป้าหมายการลงทุนของตนเองได้เลยค่ะ ซึ่งแต่ละกองทุนนั้นก็จะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไปค่ะ
สรุป ดัชนี S&P 500 คืออะไร ?
ดัชนี S&P 500 คือ ดัชนีที่มีต้นกำเนิดจากบริษัท Standard and Poor’s โดยมาจากการรวบรวมมูลค่าของบริษัทแนวหน้าจากหลาย ๆ อุตสาหกรรมในสหรัฐฯ ทั้งหมด 500 บริษัทเข้าไว้ด้วยกันจึงทำให้ดัชนี S&P 500 มีมูลค่าหุ้นมากถึง 80% และดัชนี S&P 500 ยังเป็นเหมือนภาพสะท้อนของตลาดหุ้นในสหรัฐอีกด้วยค่ะ
การลงทุนในดัชนี S&P 500 สามารถลงทุนผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้หลายช่องทางตามที่กล่าวไปข้างต้น นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนตามความถนัดและประสบการณ์ของตนเองได้เลยค่ะ แต่อย่าลืมว่าทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ดังนั้นผู้ลงทุนควรศึกษาการลงทุนให้ดีก่อนเริ่มทำการลงทุนนะคะ เนื่องจากผลตอบแทนในอดีตไม่ได้เป็นการการันตีผลตอบแทนในอนาคตค่ะ
สำหรับใครที่สนใจอ่านรีวิวโบรกเกอร์ : Review Brokers
บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing
คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge