เงินแข็งค่า คืออะไร ? ส่งผลอย่างไรบ้าง ? ทำไมเทรดเดอร์ควรให้ความสำคัญ

เงินแข็งค่าคืออะไร
Table of Contents

คุณน้าเชื่อว่า เราต้องเคยได้ยินคำว่า “เงินบาทอ่อนค่า” หรือ “เงินบาทแข็งค่า” กันมาไม่มากก็น้อยนะคะ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจนั้นส่งผลให้ค่าเงินมีการปรับตัวขึ้นลงในแต่ละวัน จนส่งผลในตลาดการลงทุน โดยเฉพาะในตลาด Forex ของเรา เพราะการคำนึงถึงเงินอ่อนค่า และเงินแข็งค่า ถือเป็นเรื่องสำคัญไม่ใช่น้อย

วันนี้เราจะมาดูกันบ้างว่า เงินแข็งค่า คืออะไร ปัจจัยที่ทำให้เงินแข็งค่า และในฐานะเทรดเดอร์หรือนักลงทุน เราควรลงทุนหรือรับมืออย่างไรในช่วงที่เงินแข็งค่า ว่าแล้วก็มาเริ่มกันเลยค่ะ

คุณน้าพารู้จักเงินแข็งค่า

เงินแข็งค่าคืออะไร ?

เงินแข็งค่าคืออะไร

“การแข็งค่าของสกุลเงิน” หรือที่เราเรียกกันว่า “ค่าเงินแข็งค่า” หมายถึงการเพิ่มขึ้นของมูลค่าสกุลเงินของประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ โดยมักวัดจากการเพิ่มมูลค่าขึ้นของอัตราแลกเปลี่ยนค่ะ

อย่างเช่น เงินบาทของเรา ที่เรามักจะเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
เช่น 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 35 บาทไทย ณ ปัจจุบัน (วันที่ 21 ธันวาคม 2566)
ซึ่งในบางครั้งที่เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าก็อาจจะเป็น 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 36 บาท หรือ 37 บาทได้

ในทางกลับกัน ถ้าเงินบาทเป็นฝ่ายแข็งค่าแทน
1 ดอลลาร์สหรัฐก็อาจจะเป็น 34 บาท หรือ 33 บาทไทยได้เช่นกันค่ะ

โดยมีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อมูลค่าสกุลเงินของแต่ละประเทศ และสามารถส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นหรืออ่อนค่าลงได้เช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง


สาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เงินแข็งค่า

วันนี้คุณน้าจะยกสาเหตุและปัจจัยหลัก ๆ ที่มักส่งผลให้เงินแข็งค่ามาให้ดูกันค่ะ ซึ่งก็คือ

การเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง

เศรษฐกิจเติบโตทำให้เงินแข็งค่า


ประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งมักจะดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ส่งผลให้ความต้องการสกุลเงินของตนเพิ่มขึ้น และทำให้เงินแข็งค่าขึ้นนั่นเองค่ะ

อัตราเงินเฟ้อต่ำ

อัตราเงินเฟ้อต่ำ ทำให้เงินแข็งค่า

อัตราเงินเฟ้อต่ำสามารถเพิ่มมูลค่าของสกุลเงินได้โดยการรักษากำลังซื้อค่ะ เพราะถ้าหากเงินเฟ้อสูง แปลว่าเราต้องมีเงินมากขึ้นเพื่อซื้อของชิ้นเดิม นั่นทำให้สกุลเงินอ่อนค่าด้วยเช่นกัน

อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น

อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นช่วยให้เงินแข็งค่า

ในประเทศที่ธนาคารกลางรักษาอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น จะดึงดูดเงินทุนต่างประเทศที่ต้องการผลตอบแทนที่ดีกว่าด้วยค่ะ เพราะหากนักลงทุนย้ายเงินทุนไปยังประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า ความต้องการใช้สกุลเงินท้องถิ่นก็เพิ่มขึ้น ซึ่งนำไปสู่การแข็งค่าขึ้นของสกุลเงินนั้น ๆ ค่ะ

เสถียรภาพทางการเมือง

การเมืองส่งผลต่อเงินแข็งค่า

ประเทศที่มีสภาพแวดล้อมทางการเมืองที่มั่นคงและมีรัฐบาลที่ดี จะถือว่ามีความเสี่ยงน้อยกว่าสำหรับการลงทุนค่ะ เพราะนักลงทุนต่างชาติอาจต้องการถือสินทรัพย์ในสกุลเงินของประเทศที่มีความมั่นคงทางการเมือง ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

ดุลการค้าที่ดี

ดุลการค้าที่ดีช่วยให้เงินแข็งค่า

เมื่อประเทศส่งออกมากกว่านำเข้า จะสะสมทุนสำรองเงินตราต่างประเทศได้ดีขึ้น โดยสิ่งนี้สามารถนำไปสู่การแข็งค่าของสกุลเงินในประเทศได้ค่ะ

ความแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น

เงินแข็งค่า

การแข็งค่าของสกุลเงินหนึ่งอาจสัมพันธ์กับการอ่อนค่าของสกุลเงินหลักอื่น ๆ หากสภาพเศรษฐกิจของประเทศดูแข็งแกร่งกว่าคู่ค้า สกุลเงินของประเทศนั้นอาจแข็งค่าขึ้นค่ะ อย่างเช่นที่มีช่วงหนึ่งสกุลเงินดอลลาร์แข็งค่า จนทำให้คู่เงิน USDJPY สูงขึ้น หรือมองอีกมุมเหมือนสกุลเงินเยนอ่อนค่า ทั้ง ๆ ที่จริงเป็นเพราะว่าดอลลาร์แข็งค่าขึ้นนั่นเองค่ะ

การแทรกแซงของรัฐบาล

การแทรกแซงของรัฐบาลช่วยให้เงินแข็งค่า

ธนาคารกลางสามารถมีอิทธิพลต่อค่าสกุลเงินผ่านเครื่องมือนโยบายการเงินต่าง ๆ ค่ะ (เราคงเห็นได้ชัดเลยกับ FED นั่นเอง) โดยเฉพาะเวลาที่มีการปรับดอกเบี้ยหรือนโยบายรับมือกับเงินเฟ้อ สิ่งต่าง ๆ นี้ล้วนส่งผลต่อสกุลเงินทั้งนั้นเลยค่ะ

ภาวะเศรษฐกิจโลก

เศรษฐกิจโลกช่วยให้เงินแข็งค่า

ไม่ใช่แค่ภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศนะคะที่มีผลต่อสกุลเงิน เพราะว่าภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มในประเทศเศรษฐกิจหลักอาจส่งผลต่อค่าสกุลเงินด้วยเช่นกัน ประเทศที่มีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและยืดหยุ่นอาจเห็นค่าเงินแข็งค่าในช่วงที่เศรษฐกิจโลกกำลังน่าเป็นห่วง (ดูได้จากช่วงโควิดนั่นเองค่ะ)

ข้อดี ข้อเสีย เมื่อเงินแข็งค่า

ส่งผลให้ราคานำเข้าต่ำกว่าเดิม

ข้อดีหลักของการแข็งค่าของสกุลเงินคือทำให้ราคานำเข้าลดลงค่ะ เพราะเมื่อค่าเงินแข็งค่าขึ้น ราคาสินค้าและบริการนำเข้าก็จะลดลง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคที่สามารถซื้อสินค้าจากต่างประเทศได้ในอัตราแลกเปลี่ยนที่ดีกว่า

อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำกว่า

สกุลเงินที่แข็งค่าขึ้นสามารถช่วยควบคุมอัตราเงินเฟ้อได้โดยการลดต้นทุนของสินค้านำเข้าและวัตถุดิบค่ะ นี่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับประเทศที่ต้องพึ่งพาการนำเข้านั่นเอง

กำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น

ผู้บริโภคในประเทศที่ค่าเงินแข็งค่า จะได้มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นเมื่อซื้อสินค้าและบริการจากประเทศที่มีค่าเงินอ่อนค่าค่ะ สิ่งนี้สามารถกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศได้ดีเลยทีเดียว

ต้นทุนการกู้ยืมที่ต่ำกว่า

สกุลเงินที่แข็งค่าขึ้นอาจส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยลดลงด้วย ทำให้รัฐบาลและธุรกิจกู้ยืมเงินจากทางสถาบันการเงินหรือธนาคารกลางได้ถูกกว่า สิ่งนี้สามารถกระตุ้นการลงทุนและการเติบโตทางเศรษฐกิจได้อีกด้วย


ผลกระทบเชิงลบต่อผู้ส่งออก

อุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออกอาจต้องเจอความท้าทายมากกว่าอุตสาหกรรมอื่นค่ะ เนื่องจากความสามารถในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศลดลง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการตกงานและปัญหาทางการเงินสำหรับบริษัทที่ต้องพึ่งการส่งออก ส่งผลกระทบไปต่อตัวเลขการว่างงานและเศรษฐกิจในประเทศอีกด้วยค่ะ

ความสามารถในการแข่งขันลดลง

สกุลเงินที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่องอาจกัดกร่อนความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์และบริการของประเทศในตลาดโลก ซึ่งอาจนำไปสู่ความไม่สมดุลทางการค้า

ผลกระทบต่อการท่องเที่ยว

สกุลเงินที่แข็งค่าขึ้นอาจทำให้ประเทศมีราคาแพงขึ้นสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติค่ะ ส่งผลให้รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงได้

แรงกดดันจากภาวะเงินฝืด

การแข็งค่าของสกุลเงินอย่างต่อเนื่องสามารถนำไปสู่แรงกดดันภาวะเงินฝืดได้โดยการลดราคาสินค้าและบริการนำเข้า แม้ว่าราคาที่ลดลงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค แต่ภาวะเงินฝืดอาจส่งผลเสียต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้เช่นกันค่ะ

ช่วงเงินแข็งค่า ควรลงทุนอย่างไรดี ?

คุณน้าสงสัย ลงทุนอย่างไรดี

ลงทุนในสินค้าหรือสินทรัพย์ที่ถูกลงเมื่อสกุลเงินแข็งค่า

แน่นอนว่าพอสกุลเงินแข็งค่า จะทำให้เรามีกำลังซื้อมากขึ้น ถ้าหากเรามีการลงทุน สำรองสกุลเงิน หรือว่าสินค้าที่สามารถซื้อได้ในราคาที่ถูกกว่าเดิม และเมื่อสกุลเงินเกิดการอ่อนค่าลง แปลว่าเราสามารถนำสินค้าหรือเทขายสกุลเงินในราคาที่สูงขึ้น ได้กำไรจากส่วนต่างนั่นเองค่ะ

รับข่าวสารและทำการวิเคราะห์

ติดตามตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ, นโยบายของธนาคารกลาง และเหตุการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินที่เรากำลังสนใจลงทุน จากนั้นประเมินพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศที่เกี่ยวข้อง ดูปัจจัยต่าง ๆ เช่น อัตราเงินเฟ้อ, การจ้างงาน และดุลการค้า เพื่อวัดความสมบูรณ์โดยรวมของเศรษฐกิจว่ามีความน่าลงทุนมากน้อยแค่ไหน

อย่าลืมใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคเพื่อระบุแนวโน้ม แนวรับ และแนวต้าน ไว้ด้วยนะคะ ซึ่งสามารถเลือกใช้ Indicators ได้ตามที่เราถนัดเลย

กระจายความเสี่ยง, บริหารความเสี่ยง และป้องกันความเสี่ยง

กระจายการถือครองสกุลเงินเพื่อกระจายความเสี่ยงนั้นเป็นเรื่องที่ดีค่ะ แต่อย่าลืมมีสกุลเงินผสมหรือคู่สกุลเงินในการซื้อขายที่ไม่มีความสัมพันธ์กันมากนักไว้ในพอร์ตด้วย เพราะถ้าหากเราถือแต่คู่สกุลเงินที่มีความสัมพันธ์กัน ข้อดีคือหากเราถือถูกหน้า (เช่น หน้า Sell หน้า Buy) ก็จะทำให้เราทำกำไรได้ในทุกสกุลเงินหรือสินทรัพย์ที่เราถือ แต่ถ้าหากว่าผิดทาง ก็อาจส่งผลเสียต่อพอร์ตเราได้มากเช่นกันค่ะ

เพราะฉะนั้นการถือสกุลเงินหรือสินทรัพย์ที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน หรือสัมพันธ์กันต่ำ ก็จะสามารถช่วยลดผลกระทบของค่าเงินที่อ่อนค่าลงได้เช่นกันนะคะ

มีวินัย

เมื่อเราวางแผนด้านการลงทุนเรียบร้อยแล้ว ก็เหลือแค่การทำตามแผนและมีวินัยกับแผนที่เราคิดไว้ค่ะ สิ่งสำคัญเลยที่เทรดเดอร์หรือนักลงทุนมักจะมองข้ามหรือผิดพลาดกับมันก็คือการไม่ทำตามแผนและปล่อยให้อารมณ์หรือความกลัวเป็นใหญ่กว่าเหตุและผลค่ะ เพราะฉะนั้น การมีวินัยจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมาก ๆ เลยค่ะ

คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับเงินแข็งค่า

เงินแข็งค่า คือ การเพิ่มขึ้นของมูลค่าสกุลเงินของประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ โดยมักวัดจากการเพิ่มมูลค่าขึ้นของอัตราแลกเปลี่ยน

ข้อดี

  • ส่งผลให้ราคานำเข้าต่ำกว่าเดิม
  • อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำกว่า
  • กำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น
  • ต้นทุนการกู้ยืมที่ต่ำกว่า

ข้อเสีย

  • ผลกระทบเชิงลบต่อผู้ส่งออก
  • ความสามารถในการแข่งขันลดลง
  • ผลกระทบต่อการท่องเที่ยว
  • แรงกดดันจากภาวะเงินฝืด
  1. ศึกษาข้อมูลและข่าวสาร
  2. กระจายความเสี่ยงในการลงทุน
  3. ศึกษาสินทรัพย์ปลอดภัย
  4. ดูว่าคู่สกุลเงินหรือสินทรัพย์ใดได้ผลประโยชน์เมื่อสกุลเงินแข็งค่า
  5. บริหารเงินลงทุน

สรุปเงินแข็งค่าคืออะไร ?

เงินแข็งค่าเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถการันตีได้ว่า ประเทศเจ้าของสกุลเงินนั้นกำลังมีเศรษฐกิจหรือสถานการณ์ในประเทศที่ดีขึ้น เนื่องจากมีปัจจัยหลากหลายในเชิงบวกที่สามารถส่งผลต่อสกุลเงินให้แข็งค่าขึ้นได้

และถ้าหากเงินแข็งค่าก็จะทำให้นักลงทุนหันมาลงทุนในประเทศได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน แต่ถึงแม้ว่าเงินจะแข็งค่าขึ้นแล้ว ก็อย่าลืมติดตามข่าวสารหรือปัจจัยที่สามารถส่งผลต่อราคาสกุลเงินไว้ด้วยนะคะ เพราะสามารถผันผวนได้เสมอ

คุณน้าหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับเงินอ่อนค่าและเงินแข็งค่าได้ไม่มากก็น้อยนะคะ

คุณน้าพารู้จักเงินแข็งค่า

ขอบคุณข้อมูลจาก : Investopedia 

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

คุณน้า
คุณน้า
คุณน้าเป็นเทรดเดอร์ที่คลุกคลีอยู่ในตลาดต่าง ๆ ร่วม 10 ปี จึงอยากนำความรู้ที่มีมาแบ่งปันให้กับทุกคน
Recent Post
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 16 ธันวาคม 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 16 ธันวาคม 2567 By คุณน้าพาเทรด

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 16 ธันวาคม 2567 ซึ่งมีข่าวสำคัญจากสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า ราคาทองคำมีโอกาสปรับตัวลงไปที่บริเวณ 2,645-2,647 ดอลลาร์ และเกิด QM ค่ะ

แนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุน ต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส
แนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุน ต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส

คุณน้าจะขอแนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุนต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส ไปกับตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นสหรัฐฯ เพื่อเป็นการเอาฤกษ์เอาชัย ก่อนจะเริ่มต้นปี 2025 กันค่ะ

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 11 ธันวาคม 2567
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 11 ธันวาคม 2567 By คุณน้าพาเทรด

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันพุธที่ 11 ธันวาคม 2567 กันค่า วิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ เมื่อวานนี้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นกว่า 33 ดอลลาร์