ไม่ว่าใครก็ตามถ้าหากว่าเริ่มเข้าสู่โลกแห่งการลงทุนแล้ว ก็ต้องคาดหวังถึงกำไรใช่มั้ยคะ คุณน้าพาเทรดก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วยเช่นกัน แล้วเราจะทำยังไงให้การลงทุนของเรานั้นมีประสิทธิภาพและได้ผลกำไรกันนะ ?
วันนี้คุณน้ามีกฎเหล็ก 5 ข้อที่ควรทำตาม ซึ่งแต่ละข้อนั้นมีความสำคัญ และถ้ายิ่งทำทุกข้อไปพร้อม ๆ กันก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ จะมีอะไรบ้าง มาอ่านกันเล้ยย
กฎข้อที่ 1 : ต้องมีแผนในการซื้อขายเสมอ
ในปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีเข้าช่วยทั้งในแพล็ตฟอร์มต่าง ๆ ที่สามารถทดลองแนวคิดการซื้อขายก่อนเราก่อนจะเริ่มเสี่ยงด้วยเงินจริง โดยวิธีนี้เรียกว่า backtesting ก็คือการที่เราจะใช้แนวคิดการซื้อขายไปใช้ โดยทดสอบกับข้อมูลในอดีต และพิจารณาได้ว่าแนวทางการซื้อขายของคุณนั้นจะเป็นอย่างไร ถ้าหากว่าผลออกมาไม่ดี เราก็ยังสามารถเปลี่ยนแพลนของเราใหม่ได้ค่ะ
กฎข้อที่ 2 : ทำให้การเทรดเป็นเหมือนธุรกิจ
พยายามมองว่าการเทรดไม่ใช่แค่งานอดิเรกหรืองานเสริมเท่านั้น แต่จงมองว่าเรากำลังเริ่มทำธุรกิจที่สำคัญอยู่ นั่นจะทำให้เรามีความมุ่งมั่นในการเรียนรู้มากขึ้น การเทรดนั้นเป็นเหมือนธุรกิจ เพราะมีทั้งค่าใช้จ่าย เงินลงทุน มีการขาดทุนบ้าง ต้องมีการเสียภาษี แถมยังมีทั้งความเสี่ยงและอาจจะมีความเครียดด้วยเช่นกัน ดังนั้นต้องนึกภาพว่าเราเป็นเจ้าของธุรกิจ และเริ่มวางแผนอย่างจริงจัง
กฎข้อที่ 3 : รักษาเงินทุนไว้ให้ดี
บางครั้งการที่เรากว่าจะได้เงินทุนมานั้นอาจจะต้องใช้เวลาในการเก็บออมใช่มั้ยล่ะคะ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการรักษาเงินทุนเริ่มต้นของเราไว้ให้ดี อย่างเช่นใช้เงินทุนกระจายซื้อขายหุ้นที่มีความเสี่ยงต่ำหรือเริ่มลงในหุ้นที่คุณมั่นใจว่าสามารถทำกำไรได้แน่ ๆ และนำกำไรจากเงินทุนเหล่านั้นใช้ในการเทรดต่อไปค่ะ
กฎข้อที่ 4 : อย่าหยุดเรียนรู้
การศึกษานั้นเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ ไม่ว่าอายุเท่าไหร่เราก็ยังสามารถเรียนรู้ได้อยู่เสมอ ทั้งผลของการวิเคราะห์, ผลจากการวิจัย รวมไปถึงข่าวรายวันจะช่วยให้เทรดเดอร์เข้าใจสถานการณ์ในตลาดการซื้อขายมากขึ้น แถมยังได้ฝึกฝนสัญชาตญาณของตัวเองได้มากขึ้น ยิ่งเรียนรู้มากเท่าไหร่ ก็ยังพร้อมสำหรับการซื้อขายทั้งในปัจจุบันและอนาคตมากขึ้นค่ะ
กฎข้อที่ 5 : เสี่ยงเท่าที่ไหวและต้องรู้ว่าเมื่อไหร่ควรหยุด
ก่อนที่เราจะเริ่มเทรดในแต่ละครั้งควรต้องมีการคิดซ้ำอีกครั้งถึงความเป็นไปได้ ว่าโอกาสได้กำไรเท่าไหร่ โอกาสขาดทุนจะอยู่ที่เท่าไหร่ และถ้าหากขาดทุนต้องอยู่ในเกณฑ์ที่เรายังรับไหวด้วยนะคะ และควรรู้ว่าเมื่อไหร่ที่เราควรจะหยุด ไม่ว่าจะได้กำไรหรือขาดทุนก็ตามค่ะ