7 เช็กลิสต์ โบรกเกอร์ Forex โกงดูอย่างไร?

7 เช็กลิสต์ โบรกเกอร์ Forex โกงดูอย่างไร? ไม่ให้ถูกหลอก
Table of Contents

ในยุคที่การทำธุรกรรมทางการเงินพัฒนาแบบก้าวกระโดด ส่งผลให้ทุกคนสามารถลงทุนได้ง่าย ๆ ด้วยตนเอง เพียงแค่คลิกเดียว การทำธุรกรรมของคุณก็เป็นอันสำเร็จ ด้วยเหตุนี้เอง ก็เหมือนการเปิดโอกาสให้อาชญากรไซเบอร์อาศัยช่องว่างบนโลกอินเทอร์เน็ตเข้ามาหลอกลวงทุกคนได้เช่นกันค่ะ โดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เราจะเห็นข่าวการโกงเงินที่อ้างถึงการลงทุนมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Forex 3D และโบรกเกอร์ WCF เป็นต้น ดังนั้น ในบทความนี้ คุณน้าจะมาเตือนภัยทุกคนด้วย 7 เช็กลิสต์ โบรกเกอร์ Forex โกงดูอย่างไร? ไม่ให้ถูกหลอก เพื่อช่วยให้ทุกคนสามารถรู้เท่าทันกลโกงและป้องกันการตกเป็นเหยื่อได้อย่างทันท่วงทีค่ะ 

*หมายเหตุ : บทความนี้เป็นเพียงบทความให้ความรู้เท่านั้น ไม่ใช่บทความชักชวนลงทุนแต่อย่างใด โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านและระมัดระวังการลงทุนทุกรูปแบบ


โบรกเกอร์ Forex โกง คืออะไร?

โบรกเกอร์ Forex โกง คือ นายหน้าที่ให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขาย Forex แต่มีเจตนาในการหลอกลวงอย่างชัดเจน ซึ่งการหลอกลวงลักษณะนี้ เราจะเรียกกันว่า โบรกเกอร์เถื่อนนั่นเองค่ะ โดยปกติแล้ว โบรกเกอร์เถื่อนจะไม่มีใบอนุญาตและหน่วยงานที่กำกับดูแลอย่างถูกกฎหมายหรือโบรกเกอร์บางรายก็ไม่มีความรู้ที่เกี่ยวกับ Forex เลย อาศัยเพียงแต่การสร้างเว็บไซต์ปลอมขึ้นมาพร้อมกับการโฆษณาชวนเชื่อที่ล่อตาล่อใจ อย่างการการันตีกำไร 100% หรือเปิดออเดอร์ได้ทันที เพียงคลิกลิงก์นี้ แล้วคุณจะได้ผลตอบแทนทันที เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้เอง เทรดเดอร์มือใหม่หรือนักลงทุนที่ไม่ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ Forex อย่างละเอียดและรอบคอบ จึงตกเป็นเหยื่อให้กับโฆษณาชวนเชื่อได้อย่างง่ายดายค่ะ ดังนั้น ในบทความนี้ คุณน้าจะมาเตือนภัยเกี่ยวกับโบรกเกอร์ Forex โกงดูอย่างไร? พร้อมกับ 7 เช็กลิสต์ โบรกเกอร์ Forex ที่คุณควรระมัดระวังมีอะไรบ้าง เพื่อไม่ให้ทุกคนถูกหลอกได้นั่นเองค่ะ

7 เช็กลิสต์ โบรกเกอร์ Forex ที่ควรระมัดระวัง มีอะไรบ้าง?

7 เช็กลิสต์ โบรกเกอร์ Forex ที่ควรระมัดระวัง มีอะไรบ้าง?

1. โบรกเกอร์ Forex ที่ไม่มีการจดทะเบียน

อันดับแรกที่เทรดเดอร์ควรระวัง คือ โบรกเกอร์ Forex ที่ไม่มีการจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพราะโบรกเกอร์ที่มีความน่าเชื่อถือจะต้องเป็นโบรกเกอร์ที่สามารถตรวจสอบได้และมีหน่วยงานที่ให้การกำกับดูแลอย่างชัดเจนค่ะ เพราะการได้รับใบอนุญาตไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากโบรกเกอร์ต้องวางหลักประกันตามที่หน่วยงานแต่ละแห่งกำหนด ต้องพัฒนาระบบเทรดให้มีเสถียรภาพ และที่สำคัญต้องได้รับการตรวจสอบจากหน่วยงานอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการทุจริตและเป็นการรักษาเงินทุนให้กับเทรดเดอร์อีกด้วยค่ะ

เทรดเดอร์สามารถเช็กความน่าเชื่อถือของหน่วยงานที่กำกับดูแลได้ที่เว็บไซต์ของโบรกเกอร์หรือเว็บไซต์ของหน่วยงานที่กำกับดูแลได้เลย

2. การโฆษณาชวนเชื่อเกินจริง

อันดับต่อมา คือ การโฆษณาชวนเชื่อเกินจริง โดยเฉพาะการการันตีกำไร 100% โดยปกติแล้ว โบรกเกอร์ Forex จะไม่การันตีผลตอบแทน เนื่องจากการลงทุนมีความเสี่ยงค่ะ อีกทั้งตลาด Forex ยังมีความผันผวนค่อนข้างมาก ทำให้เทรดเดอร์ต้องอาศัยทักษะและประสบการณ์ในการเทรดพอสมควร ซึ่งหากโบรกเกอร์รายไหนมีการการันตีผลกำไร นั่นเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า โบรกเกอร์นั้นอาจเป็นมิจฉาชีพ

3. ไม่สามารถถอนเงินได้

เมื่อเทรดเดอร์ต้องการถอนเงิน แล้วไม่สามารถถอนเงินออกมาได้หรือมีข้อบังคับเกี่ยวกับการถอนเงินต่าง ๆ นานา นั่นอาจจะทำให้เทรดเดอร์เสี่ยงต่อการโดนโกงได้ค่ะ โดยเฉพาะเมื่อมีการทำกำไรหรือมีการถอนเงินในจำนวนมาก โดยโบรกเกอร์ที่ส่อแววโกงจะเข้าควบคุมบัญชีเทรดของคุณ โดยไม่ได้รับอนุญาตและปรับเปลี่ยนบัญชีเพื่อผลประโยชน์ของตนเองค่ะ หลังจากนั้น จะล็อกบัญชีและเชิดเงินหนีไปในที่สุด

ดังนั้น เทรดเดอร์ควรตรวจสอบเงื่อนไขการถอนเงินของโบรกเกอร์ให้รอบคอบ ก่อนตัดสินใจเปิดบัญชีเทรด โดยปกติแล้ว โบรกเกอร์ที่มีความน่าเชื่อถือจะมีนโยบายป้องกันเงินทุนของลูกค้า เพื่อคุ้มครองการทำธุรกรรมของลูกค้า รวมถึงการป้องกันไม่ให้คุณขาดทุนจนเกินไปนั่นเองค่ะ

4. สัญญาณการซื้อขายมีความผิดพลาด

สัญญาณการซื้อขายถือว่า มีความสำคัญต่อตลาด Forex เป็นอย่างมากค่ะ เพราะเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำกำไรได้มากขึ้น ซึ่งโบรกเกอร์เถื่อนจะใช้วิธีการปรับค่า Spread ให้กว้างขึ้นแบบผิดปกติ (สเปรดถ่าง) เมื่อเทรดเดอร์เทรดในช่วงที่มีข่าวสำคัญก็อาจทำให้ลดโอกาสในการทำกำไร โดยเฉพาะเทรดเดอร์ที่มีต้นทุนจำกัดก็อาจเสี่ยงขาดทุนได้เช่นเดียวกัน 

นอกจากการปรับสเปรดถ่างแล้ว บางโบรกเกอร์ก็มีความตั้งใจในการทำ Slippage เพื่อทำให้การเปิดออเดอร์คลาดเคลื่อนออกไปและเทรดเดอร์ไม่สามารถเปิดออเดอร์ได้ในราคาที่ต้องการ โดยทั่วไปแล้ว การเกิด Slippage ถือเป็นความผิดพลาดทางระบบที่โบรกเกอร์ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งปกติแล้ว การเกิด Slippage สามารถเกิดขึ้นได้ค่ะ

อย่างไรก็ดี การเกิด Slippage ควรเกิดให้น้อยที่สุด เพราะเป็นการบ่งบอกว่า ระบบเทรดไม่มีเสถียรภาพและหากโบรกเกอร์ตั้งใจให้เกิด Slippage ในทุก ๆ ครั้ง นั่นแสดงให้เห็นว่า โบรกเกอร์เข้าข่ายหลอกลวง

5. ไม่มีข้อบังคับและกฎระเบียบที่ชัดเจน

กลโกงที่โบรกเกอร์เถื่อนชอบใช้ก็คือ การไม่มีข้อบังคับและกฎระเบียบที่ชัดเจนประกอบกับไม่มีคำเตือนถึงความเสี่ยงของการลงทุน ซึ่งโบรกเกอร์จะอาศัยการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับข้อบังคับและกฎระเบียบ เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากเทรดเดอร์เพิ่มเติม โดยที่พวกเขาไม่รู้ตัว ซึ่งเรียกว่า เป็นค่าธรรมเนียมแอบแฝงหรือบางโบรกอาจจะให้จ่ายภาษี Forex ก่อนการเปิดบัญชีเทรด ซึ่งลักษณะนี้ก็ถือว่า เข้าข่ายหลอกลวงเช่นกันค่ะ

6. นำเสนอกลยุทธ์น่าสงสัย

โบรกเกอร์ที่มีการฉ้อโกงจะนำเสนอกลยุทธ์น่าสงสัย โดยจะมาในรูปแบบของเครื่องมือช่วยเทรด อย่างแพลตฟอร์มการเทรดที่ไม่ได้มาจาก Terminal ที่น่าเชื่อถือ หรือแนะนำให้โหลดแอปพลิเคชันที่ไม่อยู่ใน App Store และ Play Store เป็นต้น

นอกจากนี้ บางโบรกยังมีกลยุทธ์ที่น่าสงสัย อย่างการการันตีกำไรหรือการระดมทุนเพื่อชักชวนการลงทุนจำนวนมาก เมื่อเทรดเดอร์หลงเชื่อก็ปรากฏว่า ไม่ได้รับผลตอบแทนอย่างที่คิด หรือขาดทุนจนทำให้พอร์ตแตกและสูญเสียเงินเป็นจำนวนมาก

7. การปลอมแปลงรีวิวและคะแนน (IO)

โบรกเกอร์เถื่อนจะมีการปลอมแปลงรีวิวของลูกค้าและตกแต่งบัญชีให้มีความน่าเชื่อถือด้วยการสร้าง IO เพื่อดึงดูดผู้ใช้บริการ ซึ่งการปลอมแปลงรีวิวจะปรากฏอยู่บนเว็บไซต์ของโบรกเกอร์ ทำให้เทรดเดอร์เสี่ยงต่อการถูกหลอกได้ง่าย ดังนั้น เทรดเดอร์ควรศึกษาการรีวิวคะแนนและความน่าเชื่อถือของโบรกเกอร์จากหลาย ๆ เว็บไซต์ เพื่อเปรียบเทียบความเหมาะสมและป้องกันความเสี่ยงจากมิจฉาชีพได้ค่ะ


หากโดนโบรกเกอร์ Forex โกง แจ้งหน่วยงานไหนได้บ้าง?

อย่างที่เรารู้กันดีว่า โบรกเกอร์ Forex ยังไม่ได้ถูกรับรองจากก.ล.ต. ในประเทศไทย แต่โบรกเกอร์ Forex ก็ไม่ได้ผิดกฎหมายนะคะ เพราะเทรดเดอร์สามารถเทรด Forex กับโบรกเกอร์ที่มีใบอนุญาตจากต่างประเทศได้ แต่หากเกิดคดีฉ้อโกงขึ้นมา เทรดเดอร์จะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้นเอง เพราะถือว่าอยู่นอกเหนือการกำกับดูแลของ ก.ล.ต. นั่นเองค่ะ

📢 แล้วอย่างนี้ หากโดนโบรกเกอร์ Forex โกง แจ้งหน่วยงานไหนได้บ้าง คุณน้าขอบอกว่าสามารถทำได้ 2 กรณีหลัก ๆ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. กรณีโบรกเกอร์ที่มีหน่วยงานในการกำกับดูแล

ผู้เสียหายสามารถรวบรวมข้อมูลหลักฐานทุกชิ้นจากการโดนโกง แล้วส่งอีเมลไปที่หน่วยงานที่ให้การกำกับดูแลของโบรกเกอร์ได้เลยค่ะ หลังจากนั้น ทางหน่วยงานจะทำการตรวจสอบข้อมูล หากโบรกเกอร์ทำผิดจริง โบรกเกอร์นั้นจะถูกตรวจสอบพร้อมกับชดเชยค่าเสียหาย และอาจจะโดนยึดใบอนุญาตได้ในท้ายที่สุด

📢 สามารถตรวจสอบหน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินที่มีการจัดอันดับได้ที่ TrustFinance

2. กรณีโบรกเกอร์ไม่มีหน่วยงานในการกำกับดูแล

หากโบรกเกอร์ที่โกงไม่มีหน่วยงานที่กำกับดูแลอย่างถูกต้อง วิธีที่กล่าวไปข้างต้น จะไม่สามารถใช้ได้นะคะ โดยผู้เสียหายสามารถรวบรวมหลักฐานให้ครบถ้วน แล้วแจ้งไปที่กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวน อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) โดยมีรายละเอียดการแจ้งความ ดังนี้

1. เข้าเว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com 

2. ลงทะเบียนผู้ใช้งาน โดยการยืนยันตัวตน OTP ผ่านอีเมลที่ใช้ลงทะเบียน

3. เข้าสู่ระบบอีกครั้ง เพื่อแจ้งความออนไลน์

4. กรอกข้อมูลผู้เสียหายให้ครบถ้วน รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับคนร้าย

5. จากนั้น จะได้รับเลขรับแจ้งมาจากระบบ ภายใน 3 ชั่วโมง

6. Admin ตำรวจไซเบอร์จะติดต่อกลับไปและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

7. สุดท้าย คือ ผู้เสียหายรอติดตามข้อมูลในลำดับต่อไป

7 ขั้นตอน โดนโบรกเกอร์ Forex โกง แจ้ง บช.สอท.

Tip! บช.สอท. เตือนภัยและประชาสัมพันธ์การถูกหลอกลงทุนเพิ่มเติม

นอกจากที่กล่าวไปข้างต้น บช.สอท. ยังมีการเตือนภัยและประชาสัมพันธ์ เพื่อไม่ให้ประชาชนถูกหลอกลงทุนเพิ่มเติม โดยมีรายละเอียด ดังนี้ค่ะ 

  • สามารถตรวจสอบรายชื่อการโอนเงิน เพื่อป้องกันมิจฉาชีพออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ Chaladohn.com (ฉลาดโอน)
  • การทำธุรกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศจะต้องทำกับผู้ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเท่านั้น นั่นก็คือ ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทหลักทรัพย์ และในปัจจุบันยังไม่มีนิติบุคคลใดที่มีใบอนุญาตเกี่ยวกับการทำธุรกรรมการเงินจากต่างประเทศ โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อได้ที่เว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศ www.bot.or.th


คุณน้าแนะนำ : โบรกเกอร์ Forex ที่มีความน่าเชื่อถือ 

จากที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่า โบรกเกอร์ Forex ที่ไม่มีความน่าเชื่อถือเป็นภัยใกล้ตัวที่ทุกคนควรเฝ้าระวังเป็นอย่างมากค่ะ เพราะโบรกเกอร์เถื่อนเหล่านี้จะอาศัยการชักชวนการระดมทุนที่ล่อตาล่อใจ ส่งผลให้มีผู้หลงเชื่อเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อไม่ให้ถูกหลอกลวงจากโบรกเกอร์ที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ คุณน้าขอแนะนำ 5 โบรกเกอร์ Forex ที่น่าเชื่อถือจากการตรวจสอบและหาข้อมูลเพิ่มเติมของคุณน้า โดยมีรายชื่อโบรกเกอร์ ดังนี้ค่ะ 

ชื่อโบรกเกอร์ใบอนุญาตและหน่วยงานที่กำกับดูแล
SwissquoteFCA, CSSF, FINMA, DFSA, SFC และ MAS
SAXO BankFSA, FINMA และ ASIC
IUXSVGFSA, FSCA, ASIC และ FSC Mauritius
PepperstoneASIC, CySEC, DFSA, BaFin, FCA และ CMA
IC MarketsFSA, ASIC, CySEC และ SCB

สำหรับใครที่สนใจอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ 5 โบรกเกอร์ที่มีความน่าเชื่อถือเพิ่มเติม สามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ

🔍 นอกจากโบรกเกอร์ที่มีความน่าเชื่อถือแล้ว คุณน้ายังได้รวบรวมประเภทโบรกเกอร์ที่มีคุณสมบัติเด่นในด้านต่าง ๆ ไว้อีกมากมาย โดยเทรดเดอร์สามารถเลือกประเภทโบรกเกอร์ที่สนใจได้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ค่ะ

▶️ 5 โบรกเกอร์ Forex สเปรดต่ำที่สุด

▶️ 5 โบรกเกอร์เทรดทองยอดนิยม

▶️ 5 โบรกเกอร์ Forex ถอนเงินเร็ว ฝากเงินไว

▶️ เทรด Forex โบรกไหนดี อัปเดตการจัดอันดับทุก Rank


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเตือนภัยโบรกเกอร์ Forex

เทรด Forex โบรกไหนดี? 

เทรด Forex กับ 5 โบรกเกอร์ที่น่าเชื่อถือต้องมีใบอนุญาตและหน่วยงานที่ให้การกำกับดูแล โดยคุณน้าแนะนำ 5 โบรกเกอร์ ได้แก่ Swissquote, SAXO Bank, IUX, Pepperstone และ IC Markets

โดนโบรกเกอร์หลอก ทำอย่างไรดี?

หากโดนโบรกเกอร์ Forex หลอกลวง เทรดเดอร์สามารถรวบรวมข้อมูลหลักฐานและส่งอีเมลไปที่หน่วยงานที่ให้การกำกับดูแลได้ แต่หากโบรกเกอร์นั้นไม่มีหน่วยงานให้การกำกับดูแลผู้เสียหายสามารถแจ้งความได้กับ บช.สอท. ผ่านเว็บไซต์ thaipoliceonline.com

เทรด Forex ได้เงินจริงไหม?

เทรด Forex มีโอกาสทำกำไรและได้เงินจริง แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่คุณจะไม่ได้เงินกลับมา หรือเสี่ยงขาดทุน เนื่องจากตลาด Forex มีความผันผวนสูงและต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างในการวิเคราะห์ ทั้งปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค ดังนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะได้รับผลตอบแทนอย่างรวดเร็ว เพราะเทรดเดอร์ต้องอาศัยประสบการณ์ เพื่อให้สามารถเอาชนะตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง


สรุปเตือนภัยโบรกเกอร์ Forex โกง

สำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ที่กำลังก้าวเข้าสู่วงการเทรด Forex โปรดระมัดระวังโบรกเกอร์ Forex ที่เข้าข่ายหลอกลวง โดยสามารถนำ 7 เช็กลิสต์ ที่คุณน้ารวบรวมไว้ให้ไปประกอบการตัดสินใจเลือกโบรก ก่อนเปิดบัญชีเทรดจริงนะคะ เพื่อป้องกันไม่ให้คุณสูญเสียเงินลงทุนโดยใช่เหตุ ซึ่งการเลือกโบรกเกอร์ Forex ที่มีใบอนุญาตและหน่วยงานที่ให้การกำกับดูแลที่น่าเชื่อถือ ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการเทรด Forex ค่ะ 

อย่างไรก็ดี ในบทความนี้เป็นเพียงบทความที่ให้ความเท่านั้น ไม่ได้ชักชวนการลงทุนแต่อย่างใด และสุดท้ายนี้ การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดระมัดระวังและศึกษาข้อมูลให้ละเอียดรอบคอบ ด้วยความปรารถนาดีจากทีมงานคุณน้าพาเทรดค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : RTP Cyber Vaccinated และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)


สำหรับใครที่สนใจอ่านรีวิวโบรกเกอร์ : Review Brokers

บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing

คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge

Picture of khunnaphatrade
khunnaphatrade
Recent Post
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 มกราคม 2568
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 มกราคม 2568 By คุณน้าพาเทรด

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 20 มกราคม 2568 ซึ่งมีข่าวสำคัญจากสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า ราคาทองคำจะปรับตัวลงไปทดสอบแนวรับที่ 2,690 ดอลลาร์อีกครั้งค่ะ

Exness ดีไหม? รีวิวทุกข้อสำคัญ ปี 2025
Exness ดีไหม? รีวิวทุกข้อสำคัญ ฉบับอัปเดตปี 2025

วันนี้คุณน้าเลยอยากจะหยิบยกโบรกเกอร์ Exness มาให้ทุกคนได้อ่านกัน เผื่อว่าท่านใดที่สนใจหาข้อมูลโบรกเกอร์อยู่จะใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ

Day Trade คืออะไร เรียนรู้การเป็นเทรดเดอร์รายวันแบบละเอียด
Day Trade คืออะไร? เรียนรู้การเป็นเทรดเดอร์รายวันแบบละเอียด

Day Trade (เดย์เทรด) คือ กลยุทธ์สำหรับเทรดเดอร์ที่ชื่นชอบการเปิดปิดออเดอร์ภายในวันเดียว ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นนักเก็งกำไรระยะสั้น

วิเคราะห์ทองคำวันที่ 13 มกราคม 2568
วิเคราะห์ทองคำวันที่ 13 มกราคม 2568 By คุณน้าพาเทรด

สวัสดีสายเทรดทองทุกท่านนะคะ วันนี้มาติดตามวิเคราะห์ทองคำประจำวันจันทร์ที่ 13 มกราคม 2568 กันค่า วิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้ บทวิเคราะห์ภาพรวมปัจจัยพื้นฐาน เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาราคาทองคำปรับตัวขึ้น 18