หุ้นพื้นฐาน หรือ หุ้นขนาดใหญ่ที่เรารู้จักกันทั่วไปที่มีการเติบโตมาจากปัจจัยพื้นฐานของกิจการ ซึ่งบทความนี้คุณอาจึงอนาพาทุกคนมาทำเข้าใจ 10 วิธีสำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่ควรรู้ก่อนลงทุนในหุ้น โดยขั้นตอนแรก คือเราต้องศึกษารายละเอียดข้อมูลของหุ้นที่เราสนใจลงทุน หลังจากนั้นลองคำนวณวงเงินที่เราจะนำไปลงทุนให้อยู่ในระดับที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้ เมื่อเรารวบรวมหุ้นได้มากขึ้น หลังจากนั้นเราจะรู้สไตล์การลงทุนของตนเอง และจัดพอร์ตการลงทุนของตนเองได้เก่งขึ้นครับ
การเริ่มลงทุนหุ้น มีขั้นตอนอะไรบ้าง
1. สำรวจอายุของตัวเอง
ก่อนที่เราจะเปิดบัญชีซื้อขายหุ้น ทางธนาคารจะขอดูเอกสารบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อตรวจสอบอายุของนักลงทุน ตามกฎหมายว่าด้วยบุคคลที่บรรลุนิติภาวะ ในอายุ 20 ปีบริบูรณ์ จะทำการซื้อขายหรือทำสัญญาต่างๆ ได้โดยไม่เป็น “โมฆียะ” (หมายถึง การลงทุนของเราอาจเป็นโมฆะได้เมื่อมีการบอกล้าง หรือมีผลสมบูรณ์เมื่อมีการให้สัตยาบัน นั่นเองครับ)
2. เตรียมเอกสารที่ใช้ในการเปิดบัญชีหุ้น
เอกสารที่เราต้องใช้เปิดบัญชีซื้อขายหุ้น คือ สำเนาบัตรประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน, ใบเปลี่ยนชื่อสกุล (ถ้ามี), สำเนาบัญชีออมทรัพย์ย้อนหลัง 6 เดือน (อาจมีความแตกต่างเล็กน้อยตามแต่ละโบรกเกอร์)
3. มีเงินเท่าไรถึงจะเล่นหุ้นได้
โดยหุ้นบางตัว จะมีราคาขั้นต่ำการซื้อขายแค่หลักพันบาท แต่อาจมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น หากเลือกเปิดบัญชีเงินสด (Cash Account) ก็ต้องวางหลักประกัน 15% ของวงเงิน เพื่อใช้ซื้อขายหุ้น ถ้าได้รับวงเงิน 100,000 บาท ก็ต้องวางหลักประกัน 15,000 บาท ใช้หลักประกันเป็นเงินสดครับ เพราะฉะนั้นก่อนจะซื้อขายหุ้นต้องประเมินการลงทุนของตนเองก่อนนะ เพื่อเตรียมเงินสดและหลักทรัพย์มาลงทุน
4. เลือกเปิดบัญชีเงินสด (Cash Account) หรือแคชบาลานซ์ (Cash Balance/ Cash Deposit)
ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแนะนำมือใหม่ ให้เราเปิดบัญชีเงินสด (Cash Account) หรือ บัญชีแคชบาลานซ์ (Cash Balance/ Cash Deposit) ซึ่งเป็นการใช้หลักทรัพย์ หรือเงินทุนส่วนตัวของนักลงทุน มาใช้ซื้อขายหุ้นนั่นเอง
ส่วนบัญชีมาร์จิ้น (Margin Account/ Credit Balance) เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญแล้วระดับหนึ่ง เพราะใช้เงินซื้อหุ้นส่วนหนึ่งเป็นเงินกู้ โดยนักลงทุนต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มด้วย (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่นะครับ)
5. ทำแบบประเมินความเสี่ยง ก่อนซื้อหุ้น
เนื่องจากหุ้นแต่ละตัวมีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน ก่อนเปิดบัญชีซื้อขายกับทางบริษัทหลักทรัพย์ต่าง ๆ เขาจะให้นักลงทุนทำแบบประเมินความเสี่ยงก่อน ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจความเสี่ยงการลงทุนของตัวเองมากขึ้น และใช้เป็นส่วนหนึ่งในเอกสารเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์เพื่อสร้างพอร์ตหุ้นด้วยครับ
6. เลือกโบรกเกอร์
เราต้องเลือกเปิดพอร์ตหุ้นกับโบรกเกอร์ ที่สะดวกต่อการจัดการพอร์ตของเรา โดยพิจารณาจากค่าธรรมเนียม และคำแนะนำต่างๆ ที่ได้จากโบรกเกอร์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุน โดยคุณอานำเว็ปตรวจสอบรายชื่อโบรกเกอร์ จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (คลิกที่นี่ได้เลยครับ)
7. ศึกษารายละเอียดของหุ้นที่จะซื้อ ดูข้อมูลงบการเงินต่างๆ
ก่อนที่เราจะเข้าซื้อหุ้นสักตัว ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดของหุ้นที่จะซื้อก่อน เช่น หุ้นที่จะซื้อนั้นจัดอยู่ในธุรกิจประเภทใด ใครเป็นเจ้าของกิจการ มีปันผลหรือไม่ และรายละเอียดอื่นๆ ที่ควรรู้ ยิ่งเรารู้เยอะ ยิ่งทำให้เรามั่นใจในการลงทุนกับบริษัทนี้มากขึ้นครับ
8. ติดตามข้อมูลข่าวสารหุ้นอยู่เสมอ
นักลงทุนควรศึกษาข่าวสารที่น่าสนใจของหุ้น ทั้งจากหนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ และช่องทางของโบรกเกอร์ ซึ่งประกอบด้วยบทวิเคราะห์ตามช่วงเวลาต่าง ๆ ให้เราคิดเหมือนกับว่าเราเป็นเจ้าของกิจการนั้นจริง ๆ เลยนะครับ
9. ติดตั้งโปรแกรมซื้อขายหลักทรัพย์
การศึกษาราคาของหุ้นรายวัน หากเราไม่ได้ติดตามตลอด ก็สามารถลงโปรแกรมสำหรับซื้อขายหลักทรัพย์ ที่เข้ามาดูค่าต่างๆ ย้อนหลังได้ เราสามารถกดซื้อขายผ่านแอปพลิเคชันได้เลย และมีบางบริษัทสร้างโปรแกรมทดลองสร้างพอร์ตของตัวเองด้วย หากเราจะติดตั้งโปรแกรมซื้อขายหลักทรัพย์ จากตลาดหลักทรัพย์ คุณอานำลิงก์ สำหรับไปดาวน์โหลดมาให้ครับ (สามารถคลิกที่นี่ได้เลยครับ)
10. การสร้างพอร์ตหุ้น
มาถึงขั้นต้อนการลงทุนจริงกันแล้วครับ เมื่อเราศึกษาข้อมูลมาสักระยะแล้ว ให้เริ่มซื้อขายหุ้นได้สัก 1-2 ตัว จนเริ่มชำนาญแล้วก็สร้างเป็นพอร์ตหุ้นของตัวเอง ซึ่งพอร์ตหุ้นนี้ ที่เราติดตามมาจะค่อยๆ เติบโตให้ผลกำไรขึ้นในอนาคตครับ
สรุป
หุ้นพื้นฐาน หรือ หุ้นขนาดใหญ่ที่เรารู้จักกันทั่วไปที่มีการเติบโตมาจากปัจจัยพื้นฐานของกิจการ ซึ่งคุณอาได้มีการสรุป 10 วิธีสำหรับการลงทุนในหุ้น เพื่อให้ง่ายต่อคนที่สนใจลงทุน อย่างไรก็ตามการลงทุนย่อมมีความเสี่ยงเสมอ ดังนั้นก่อนที่เราจะลงทุน ควรมีการศึกษาข้อมูลสินทรัพย์อย่างระเอียด อีกทั้งยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นด้วยนะครับ
บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : คลิกที่นี่
คลังความรู้จากคุณน้า : คลิกที่นี่