โบรกเกอร์ Forex คืออะไร?
โบรกเกอร์ Forex เป็นเสมือนนายหน้าที่ให้บริการซื้อขาย Forex โดยโบรกเกอร์นั้นจะทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ที่คอยรวบรวมคำสั่งซื้อขายแล้วส่งไปยังตลาดกลางอีกที ซึ่งนักลงทุนหรือเทรดเดอร์ทุกคนหากจะทำการเทรดก็จะต้องทำการซื้อขายผ่านทางโบรกเกอร์เท่านั้น ไม่สามารถซื้อขายโดยตรงกับตลาดกลางได้นะ โดยเทรดเดอร์อย่างเราๆ จะไม่สามารถเทรดโดยตรงกับตลาดได้ จำเป็นที่จะต้องส่งคำสั่งผ่านโบรกเกอร์เท่านั้น
คุณน้าจะตัวอย่างเช่น โบรกเกอร์ A ได้รับราคาคู่สกุลเงิน EUR/USD มาจากตลาดกลางที่ราคา 1.20020 แต่เมื่อเราจะกด Buy เพื่อทำการซื้อเราก็จะได้มาในราคา 1.20040 แทน เป็นต้น นั้นหมายความว่าเมื่อเรากดซื้อเราจะขาดทุนทันที 20 จุด ทั้งนี้ทั้งนั้นส่วนต่างของราคาขึ้นอยู่กับแต่ละโบรกเกอร์และประเภทบัญชีเทรดด้วย ซึ่งบางประเภทบัญชีเทรดก็อาจจะไม่มีค่าส่วนต่างของราคาแต่ต้องมาเสียค่าคอมมิชชันให้กับทางโบรกเกอร์แทน ซึ่ง โบรกเกอร์นั้นสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทคือ Non Dealing Desk (NDD) และ Dealing Desk (DD)
หลังจากรู้ความหมายของคำว่า โบรกเกอร์ Forex คืออะไรแล้ว เราจะไปดูกันว่า โบรกเกอร์มีกี่ประเภท เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง? ดูเปรียบเทียบถึงข้อดีและข้อเสียได้จากด้านล่างนี้จ้า
โบรกเกอร์ Forex มี 2 ประเภท ดังนี้
1. โบรกเกอร์ Dealing Desk (DD)
โบรกเกอร์ Dealing Desk (DD) นี้ก็จะเป็นโบรกเกอร์ที่ทำการเก็บออเดอร์เอาใว้มาจับคู่กันเอง ไม่ส่งคำสั่งไปที่ตลาดกลาง ซึ่งปัญหาของโบรกเกอร์ประเภทนี้คือความเสี่ยงในช่วงที่กราฟผันผวนสูงๆ จนทำให้ทางโบรกเกอร์นั้นจับคู่คำสั่งซื้อกับคำสั่งขายไม่ทัน ส่งผลให้เวลาที่เราจะกด เปิด-ปิด ออเดอร์ก็มักจะมีการปฏิเสธคำสั่งซื้อขายของเราหรือเกิดรีโควตนั่นเอง อีกทั้งหากมีความผันผวนสูงมากแล้วกราฟดันวิ่งไปในทิศทางเดียวกันกับทิศทางที่มีเทรดเดอร์ส่วนใหญ่ซื้อ ก็อาจจะทำให้ทางโบรกเกอร์นั้นเกิดการขาดทุนอย่างหนักจนอาจถึงขั้นล้มละลายได้เลยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น วิกฤติ SNB ในปี 2558 ที่ผ่านมาที่ทำให้โบรกเกอร์ทั่วโลกกว่า 10 แห่งนั้นต้องล้มละลายกันเลยทีเดียวน้า
- จับคู่ออเดอร์ของลูกค้าภายในโบรกเกอร์เอง โดยนำออเดอร์ของลูกค้าที่กดคำสั่ง BUY จับคู่กับลูกค้าที่กดคำสั่ง SELL
- หากโบรกเกอร์ไม่สามารถจับคู่สถานะของลูกค้าภายในโบรกเกอร์ตนเองได้ ก็จะนำคำสั่งซื้อ-ขายของลูกค้าไปเทรดตรงข้ามกับลูกค้าในตลาดจริงหรือโบรกเกอร์อื่นเพื่อป้องกันความเสี่ยง
- รับออเดอร์จากลูกค้าโดยตรง เนื่องจากตรวจสอบดูแล้วน่าจะเป็นส่วนที่ไม่ทำกำไร โดยโบรกเกอร์รับออเดอร์ส่วนนี้ไว้เอง
ข้อดีของโบรกเกอร์ประเภท Dealing Desk (DD)
- ค่า Spread ต่ำ แบบ Fixed ตายตัว
- ค่า commission ต่ำ (บางโบรกไม่คิดก็มีนะ)
- ค่าบริการต่างๆ ถูกกว่าปกติ
ข้อเสียของโบรกเกอร์ประเภท Dealing Desk (DD)
- อาจมีการส่งคำสั่งซื้อขายที่ล้าช้า
- ราคาที่ได้อาจไม่ใช่ราคาจริงในตลาด (คลาดเคลื่อนนิดหน่อยจ้า)
- อาจมีการปฏิเสธการรับคำสั่งซื้อ (Re-Quotes)
- ช่วงที่มีปริมาณการเทรดมาก ช่วงมีข่าว มักมีปัญหาบ่อย ๆ
- ในบางโบรกเกอร์ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ โบรกเกอร์สามารถตกแต่งราคาเองได้ (มันเคยมีข่าว SL Hunter ด้วย)
2. โบรกเกอร์ Non Dealing Desk (NDD)
โบรกเกอร์ Non Dealing Desk (NDD) ประเภทนี้จะเป็นโบรกเกอร์ที่ส่งคำสั่งซื้อขายไปยังตลาดกลางโดยตรง จะไม่ทำการเก็บออเดอร์เอาใว้เอง ข้อดีคือเราจะได้ซื้อขายในราคาเดียวกับตลาดกลางเลยจ้า และ ทางโบรกเกอร์เองก็จะลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาไปได้พอสมควรทำให้โบรกเกอร์แบบแรกนี้ก็จะดูมีความน่าเชื่อถือมากกว่า อีกทั้งการส่งคำสั่งซื้อขายของเราก็จะมีความรวดเร็วมากกว่า เนื่องจากทางโบรกเกอร์นั้นส่งคำสั่งไปที่ตลาดกลางโดยตรง จึงทำให้มีสภาพคล่องที่สูง
โบรกเกอร์ประเภท No Dealing Desk (NDD) สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท ประกอบด้วย
- STP (Straight Through Processing System) ระบบ STP คือ การประมวลผลโดยตรง ในการจับคู่คำสั่งซื้อ-ขายของลูกค้าเข้าสู่ตลาดจริงโดยตรง ทำให้ได้ราคาตรงกับราคาตลาดจริงโดยระบบจะจัดเรียงลำดับ Bid กับ Ask ให้กับทางโบรกเกอร์ที่ใช้ระบบ STP
- ECN+STP (Electronic Communication Network + Straight Through Processing) โบรกเกอร์ที่เป็น ECN+STP คือ การใช้ระบบที่ทำให้คำสั่งซื้อ-ขายสามารถจับคู่กับราคาในตลาดได้อย่างรวดเร็ว ไม่เกิดการรีโควต เนื่องจากระบบนี้เป็นระบบที่เมื่อเปิดบัญชีและป้อนคำสั่งเข้าไปแล้วระบบจะไม่เก็บข้อมูลไว้ที่โบรกเกอร์ก่อนส่งไปยังส่วนกลาง ทำให้ซื้อ-ขายได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับนักเทรดที่อยู่ในระดับมืออาชีพแล้ว
ข้อดีของโบรกเกอร์ประเภท No Dealing Desk (NDD)
- จับคู่การซื้อขาย รวดเร็ว
- ไม่ค่อยมี Re quote
- มีความปลอดภัย มีความน่าเชื่อถือมากกว่า
- โบรกเกอร์ต้องมีการขอในอนุญาติ ใบรับรอง มีกฎระเบียนในการดำเนินการที่เคร่งครัด ทำให้สามารถไว้วางใจได้
ข้อเสียของโบรกเกอร์ประเภท No Dealing Desk (NDD)
- ค่า Spread สูง
- ค่า Commission สูง
- ค่าดูแล ค่าบริการต่างๆ อาจจะแพงกว่านิดหน่อย
ปัจจุบันโบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ ส่วนใหญ่ในตลาดทั่วโลก นิยมใช้ระบบแบบผสมผสานทั้งแบบ DD และ NDD โดยเลือกใช้ระบบที่เหมาะสมกับประเภทลูกค้า เช่น หากเป็นลูกค้ารายใหญ่จะส่งเข้าสู่ตลาดโดยตรง ลูกรายย่อยเลือกจับคู่ภายในโบรกเกอร์หรือรับไว้เองจ้า
บทความในเรื่องการลงทุนที่น่าสนใจ : Investing
คลังความรู้จากคุณน้า : Knowledge